ในปัจจุบันพาวเวอร์แบงค์มีให้เลือกหลายความจุ และหลายราคามาก ๆ เพื่อให้สอดรับกับการเพิ่มขึ้นของจำนวนสมาร์ทดีไวซ์ ที่นับวันยิ่งมีอุปกรณ์ไร้สายเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็น สมาร์ทโฟน, แท็บเล็ต หรือแม้แต่เกมคอนโซล ซึ่งก็มีแบบพกพาอย่าง Nintendo Switch ออกมา ซึ่งแน่นอนครับทุก ๆ อุปกรณ์ต่างก็มีประสิทธิภาพที่สูงขึ้นเป็นเท่าตัว ทำให้สามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น แถมยังทำได้ดีขึ้นอีกด้วย หมายความว่า อุปกรณ์แต่ละเครื่องของคุณจะจำเป็นต้องใช้แบตเตอรี่มากขึ้นตามไปด้วย
เพราะฉะนั้นหากคุณกําลังมองหา พาวเวอร์แบงค์ ที่มีคุณภาพดี ๆ มีความจุสูง ๆ และมีระบบความปลอดภัยที่น่าเชื่อถือเอาไว้ชาร์จอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลาย ๆ เครื่อง หากคุณต้องการพาวเวอร์แบงค์ที่มีคุณสมบัติแบบที่เราได้กล่าวมาด้านต้นแสดงว่าคุณได้มาถูกที่แล้วล่ะครับ ซึ่งในบทความนี้เราขอนำเสนอ พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh รุ่นที่น่าสนใจที่สุด ปีนี้กัน โดยมาพร้อมความจุแบบเหลือ ๆ ใช้ชาร์จได้หลายครั้งและหลายเครื่อง แต่ยังพกได้ง่ายและที่สำคัญยังนำขึ้นเครื่องได้อยู่ครับ
ซึ่งสินค้าทั้งหมดเรารวบรวมมาล้วนเป็นแบรนด์ชั้นนำที่มีมาตรฐานต่าง ๆ รองรับเท่านั้น ดังนั้นไม่ต้องห่วงเรื่องความปลอดภัยเลย เดี่ยวเรามาดูกันว่า จะมีรุ่นไหน ? จากแบรนด์อะไรกันบ้าง ? แต่ขอบอกเลยว่า คุ้มค่าแน่นอน (อ่านเพิ่มเติม พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh นำขึ้นเครื่องได้หรือไม่ ?)
วิธีเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ 30000mAh ต้องดูอะไรบ้าง ?
สำหรับ พาวเวอร์แบงค์ 30,000mAh นับเป็นตัวเปลี่ยนเกมที่ดีสุด ๆ เลย เพราะมันมากพอสำหรับอุปกรณ์หลาย ๆ ชิ้น หรือถ้ามีอุปกรณ์แค่ 1-2 เครื่อง มันก็ชาร์จได้หลายวันเลยล่ะครับ ดังนั้นคุณจะมั่นใจได้เลยว่า อุปกรณ์ของคุณจะมีแบตฯ ให้ใช้งานตลอดทั้งวันอย่างแน่นอน แถมความจุ 30,000mAh ก็ยังสามารถนำติดตัวขึ้นเครื่องบินได้อยู่ เพราะฉะนั้นมันไม่มีอะไรเหมาะกว่านี้อีกแล้วและเพื่อช่วยให้คุณตัดสินใจง่ายขึ้น เราก็มี คำแนะนำในการเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ แบบง่าย ๆ มาฝาก ไปดูกันว่าเราควรพิจารณาจากอะไรบ้าง
1. ดูความจุที่แท้จริง
ความจุของพาวเวอร์แบงค์ เป็นตัวกําหนดปริมาณประจุที่สามารถจัดเก็บได้ พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะเพื่อเก็บพลังงานปริมาณมาก ช่วยให้คุณสามารถชาร์จอุปกรณ์ของคุณได้หลายครั้งก่อนที่จะต้องชาร์จแบตสํารอง แต่ในปัจจุบันพาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh ที่น่าเชื่อถือ มีความจุจริง ๆ ถึงตามสเปก มีค่อนข้างน้อยครับ
ดังนั้นในบทความนี้เราจึงเลือกพาวเวอร์แบงค์ความจุตั้งแต่ 24,000-30,000 mAh เลย ซึ่งก็อยู่ที่คุณแล้วล่ะครับว่าต้องการชาร์จอะไรบ้าง ? ถ้าหากเน้นชาร์จแค่มือถือ พาวเวอร์แบงค์ถูก ๆ รุ่นเริ่มต้น ก็พอแล้ว แต่ถ้าหากคุณต้องการชาร์จแท็บแล็ต และแล็ปท๊อปอย่าง MacBook ด้วย คุณก็ต้องยอมจ่ายในราคาที่สูงขึ้น ขอแนะนำ ZMI Cuktech P23, Anker 737 หรือ ZMI QB826 แพงหน่อย แต่คุ้มค่าแน่นอนครับ
2. พอร์ตเชื่อมต่อ ความเข้ากันได้

คุณควรตรวจสอบให้แน่ใจว่า พาวเวอร์แบงค์รุ่นที่คุณเลือกมารองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วที่ตรงกับอุปกรณ์ที่คุณต้องการชาร์จหรือไม่ ? นอกจากนี้ก็อย่าลืมดูพอร์ตเชื่อมต่อด้วยนะครับ พาวเวอร์แบงค์บางรุ่นให้พอร์ต Output มาเป็น USB-A อย่างเดียว ในขณะที่บางรุ่นได้ให้มาคู่กับพอร์ต USB-C รวมไปถึงพอร์ตอื่น ๆ ดังนั้นเพื่อให้ใช้งานได้ คุณควรตรวจสอบว่าอุปกรณ์ของคุณว่า ต้องการพอร์ต หรือมาตรฐานการชาร์จเฉพาะหรือไม่ ?
3. ความเร็วในการชาร์จ
ในปัจจุบันพาวเวอร์แบงค์หลาย ๆ รุ่นก็รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วได้แทบทุกอย่างครับ (อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เทคโนโลยีการชาร์จเร็ว) โดยหลัก ๆ จะรองรับ Quick Charge (QC) เป็นพื้นฐานของ Android และ Power Delivery (PD) เป็นพื้นฐานของ Apple และ Samsung แต่ถึงอย่างนั้น คุณก็จะต้องรู้ด้วยว่ามือถือ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ แต่ละเครื่อง ก็จะรองรับกำลังไฟสูงสุดได้ไม่เท่ากัน
เช่น สมาร์ทโฟนจากจีนรุ่นใหม่ ๆ บางรุ่นรองรับไฟได้สูงสุดถึง 200W แต่ iPhone ส่วนใหญ่ก็จะรองรับกำลังได้สูงสุดที่ 20W เท่านั้น ซึ่งอยู่ที่คุณเองแล้วครับว่า ต้องการจะนำพาวเวอร์แบงค์นี้ไปชาร์จอะไร ?
|
วิธีดูกำลังไฟ Watt (W) แบบง่าย ๆ : ถ้าคุณดูสเปกของพาวเวอร์แบงค์ทุก ๆ รุ่น ไม่ว่าจะเป็นพอร์ต Output หรือ Input ในสเปกส่วนใหญ่จะมีการระบุมาเป็น แรงดันไฟฟ้า Volt (V) และกระแสไฟฟ้า Amp (A) เสมอ อย่าง USB-A = 5V 3.0A, 9V 2.0A, 12V 1.5A (ตามภาพตัวอย่างแรก) ซึ่งในการคำนวณหากำลังไฟแบบคร่าว ๆ ทำได้ง่าย ๆ โดยใช้สมการ V × A = W พูดง่าย ๆ คือ เอาตัวเลขมาคูณกัน อาทิเช่น 9V 2.0A ก็จะได้ 9V × 2A = 18W ถ้าเป็นพอร์ต Output หมายความว่า พอร์ตนี้สามารถจะจ่ายกำลังไฟให้กับอุปกรณ์สูงสุดได้ที่ 18W นั่นเอง |
4. ขนาดและน้ำหนัก
อย่างที่บอกครับ พาวเวอร์แบงค์ยิ่งมีความจุมากขึ้น ขนาดและน้ำหนักก็จะมากขึ้นตามไปด้วย อย่างพาวเวอร์แบงค์ 30,000mAh ก็จะมีขนาดและน้ำหนักมากอยู่ประมาณนึงครับ ซึ่งในรุ่นที่มีความจุเท่า ๆ กัน ก็จะต่างกันเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้ หรือแม้แต่พาวเวอร์แบงค์ถูก ๆ ราคาหลักร้อยบางรุ่นก็เขียน mAh หลอกมา แต่ภายในมีถ่านจริง ๆ อยู่เพียงไม่กี่ก้อน แต่มันจะใส่เหล็ก หรือทรายถ่วงน้ำหนักมาแทน เพราะฉะนั้นคุณควรพิจารณาขนาดและน้ำหนักของพาวเวอร์แบงค์ให้ดี ๆ หากความจุ 30,000 mAh มันใหญ่ และหนักเกินไป คุณก็สามารถเลือกความจุ 20,000mAh ได้ครับ เพื่อให้มันเล็กพอที่จะใส่ในกระเป๋าเสื้อของคุณ
พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh รุ่นไหนดี ?
- Orsen by Eloop E29 – พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh ที่ได้รับความนิยมที่สุด ชาร์จเร็วระดับมาตรฐาน ราคาไม่แพง
- ZMI Cuktech P23 – พาวเวอร์แบงค์ 25000 mAh สำหรับคนที่ต้องการชาร์จเร็วพร้อม ๆ กัน หลายเครื่อง
- Anker 737 PowerCore 24K – พาวเวอร์แบงค์ 24000 mAh สำหรับคนที่ใช้งานถี่ ๆ รีชาร์จเต็มใน 52 นาที
- ZMI QB826 – พาวเวอร์แบงค์ 25000 mAh สำหรับการพกพา บางเบา ชาร์จเร็ว
- Baseus Amblight 65W – พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh ที่คุ้มค่าที่สุด สำหรับใช้งานทั่วไป ชาร์จเร็วกลาง ๆ ทุกระบบ
- Anker PowerCore+ 26800 – พาวเวอร์แบงค์ 26800 mAh ที่คุ้มค่าสำหรับอุปกรณ์ Andriod เป็นหลัก
- ACMIC A30PD – พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh ที่มีราคาประหยัด ความเร็วการชาร์จระดับมาตรฐานเน้นใช้ทั่วไป
ราคา 965 บาท* เรามาเริ่มกันที่พาวเวอร์แบงค์ที่ได้รับความนิยมมาอย่างยาวนานกันก่อนเลยกับ Orsen by Eloop E29 พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh รุ่นสุดคุ้ม ที่มาในบอดี้แบบเรียบ ๆ ถึงแม้ขนาดอาจจะใหญ่ไปหน่อย แต่ด้วยความบางไม่ถึง 2 ซม. มันจึงเก็บในกระเป๋าได้อย่างสะดวกครับ แถมยังใช้วัสดุเป็นอะลูมิเนียมอย่างดี ช่วยเป็นเกราะป้องกัน รุ่นนี้จึงเหมาะกับการพกพาสุด ๆ ส่วนการชาร์จมาพร้อมเทคโนโลยีชาร์จเร็วทั้ง QC3.0 และ PD3.0 เลยครับ โดยมีพอร์ตมาให้ 4 ช่อง ได้แก่ micro USB 1 ช่อง เป็นพอร์ต Input รับกำลังไฟเข้าได้ 10W พอร์ต USB-C อีก 1 ช่อง ที่เป็น Input และ Output ในตัว ใช้รับ และจ่ายกำลังไฟ ได้สูงสุด 18W และยังมี USB-A อีก 2 ช่อง เป็นพอร์ต Output จ่ายไฟได้สูงสุด 18W เช่นกัน ช่วยตอบโจทย์คนที่ต้องการชาร์จหลาย ๆ เครื่องมาก ๆ ครับ สำหรับมาตรฐานต่าง ๆ ก็ให้มาครบครัน ตามสไตล์แบรนด์ Orsen by Eloop ราคา 5,990 บาท* หากคุณกำลังมองหาพาวเวอร์แบงค์ประสิทธิภาพสูง ๆ ชาร์จอย่างรวดเร็วได้ทุกอุปกรณ์ ตั้งแต่ มือถือ ยันแล็ปท็อป ขอแนะนำ ZMI Cuktech P23 พาวเวอร์แบงค์ 25000mAh ตัวท็อป จากแบรนด์ดังอย่าง ZMI ที่ถึงแม้ความจุแบตเตอรี่ มันจะมีน้อยกว่าหัวข้อที่เราตั้งไว้ แต่ด้วยประสิทธิภาพการชาร์จที่สูงเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาด ทำให้ความจุที่น้อยกว่าไม่ได้เสียเปรียบรุ่นอื่น ๆ เลย โดยรุ่นนี้โดดเด่นตั้งแต่หน้าตามาในทรงทาวเวอร์แบบเหลี่ยม ๆ มีขนาดพอ ๆ กับฝ่ามือ ส่วนน้ำหนักอาจจะมากหน่อยครับ เพราะอัดแน่นเทคโนโลยีมาแบบจัดเต็มจริง ๆ โดยอยู่ที่ประมาณ 630 กรัม ผลิตด้วยวัสดุ PC มีทนทาน มีคุณสมบัติไม่ลามไฟ จุดเด่นคือ จอ LCD TFT แบบสี 1.54 นิ้ว ที่ออกแบบมาเป็นอย่างดี สามารถบอกค่าต่าง ๆ ได้ครบเลยครับ ไม่ว่าจะเป็น ปริมาณแบตฯ คงเหลือ กำลังไฟฟ้าของฝั่ง Input และ Output รวมไปถึงสามารถบอก ค่า W ค่า A และค่า V ของแต่ละพอร์ตได้ด้วย พร้อมเพิ่มความล้ำด้วยแถบไฟวิ่ง LED เมื่อมีการชาร์จ พร้อมกับมีการออกแบบภายในใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายความร้อนให้ทำได้เร็วขึ้น เพื่อลดปัญหาความร้อนเกิน เมื่อใช้งานหนัก ๆ พร้อมระบบ Low-Current Charging จ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ขนาดเล็ก และเสริมความปลอดภัยด้วยระบบต่าง ๆ ถึง 9 ชั้น ส่วนพอร์ตชาร์จจะให้มา 3 ช่อง แบ่งเป็น Input และ Output ในตัว 2 ช่อง คือ พอร์ต USB-C1 ที่รับไฟได้สูงสุด 110W (ชาร์จแค่ 19 นาที พาวเวอร์แบงค์ จะมีแบตถึง 40%) และจ่ายไฟออกได้สูงสุด 140W ด้วยเทคโนโลยีชาร์จเร็ว PD3.1 และ QC5 ตัวล่าสุด ช่วยให้การชาร์จ MacBook Pro มันสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 140W เลย ส่วนถ้าชาร์จพวก iPhone จะชาร์จประมาณ 30 นาที จะได้แบตฯ 55% หรือถ้าชาร์จ Xiaomi 13 Pro แบตก็จะเต็ม 100% ภายในเวลาแค่ 19 นาทีเท่านั้น นับว่ามันชาร์จได้เร็วมาก ๆ ส่วนพอร์ต USB-C2 สามารถรับ และจ่ายไฟได้สูงสุด 60W เท่ากัน พร้อมกับมีพอร์ต USB-A ให้อีก 1 ช่อง เป็นพอร์ต Output อย่างเดียว จ่ายไฟสูงสุด 30W ครับ ใครต้องการชาร์จแบบเร็ว ๆ ชาร์จได้ยันแล็ปท๊อป ขอแนะนำเลยครับ ราคา 6,199 บาท* พาวเวอร์แบงค์ประสิทธิภาพสูง Anker 737 PowerCore 24K พาวเวอร์แบงค์ 24000mAh ที่โดดเด่นด้านการชาร์จที่รวดเร็ว รองรับได้ทุกอุปกรณ์ตั้งแต่ มือถือ ยันแล็ปท็อป รวมทั้งการรีชาร์จตัวเองรุ่นนี้ก็เป็นหนึ่งในรุ่นที่ชาร์จตัวเองเร็วที่สุดด้วย โดยมันสามารถชาร์จจนเต็ม 100% ได้ภายใน 52 นาที เท่านั้นครับ ใครที่ต้องการชาร์จอุปกรณ์บ่อย ๆ ชาร์จถี่ ๆ แนะนำรุ่นนี้เลย ถึงแม้ความจุแบตจะน้อยที่สุดในบทความนี้ แต่ด้วยความเร็วในการรีชาร์จ มันทดแทนได้สบาย ๆ เลย โดยมาในดีไซน์แบบทาวเวอร์ เป็นกล่องเหลี่ยม ๆ ขนาดพอดีมือ จับถือง่าย แต่น้ำหนักอาจจะหนักสักหน่อยนะครับ ด้านวัสดุก็ใช้อย่างดีแข็งแรง ทนต่อความร้อน ไม่ลามไฟ และกันแรงกระแทกได้ และจุดเด่นอีกอย่างคือ หน้าจอดิจิตอลอัจฉริยะ ที่บอกได้ทุกค่า ทั้ง ค่า W ค่า A ค่า V เวลา และอื่น ๆ เรียกว่าละเอียดสุด ๆ ไปเลย แถมยังพลิกหน้าจอตามการวางพาวเวอร์แบงค์ของเราได้ด้วย ส่วนการชาร์จเร็วรุ่นนี้โดดเด่นทั้ง ชาร์จเข้า และชาร์จออก เลย โดยมาพร้อมเทคโนโลยีชาร์จเร็ว PD3.1 แบบ Bi-Directional สองทิศทาง และ Power IQ 4.0 ซึ่งจะให้มาทั้งหมด 3 ช่อง แบ่งเป็นพอร์ต Input และ Output ในตัว 1 ช่อง คือ USB-C1 รับไฟได้สูงสุด 140W ช่วยให้การรีชาร์จตัวเองจนเต็ม 100% ทำได้ใน 52 นาที เท่านั้น และจ่ายไฟได้สูงสุด 140W เช่นกันครับ ช่วยให้ชาร์จ MacBook Pro 16" จาก 0-50% ภายในเวลา 50 นาที เท่านั้น นับว่ามันชาร์จได้เร็วมาก ๆ และมีพอร์ต Output อย่างเดียวอีก 2 ช่อง คือ พอร์ต USB-C2 สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 140W เช่นกัน และพอร์ต USB-A ซึ่งจ่ายไฟสูงสุด 18W สำหรับชาร์จอุปกรณ์เล็ก ๆ ที่กำลังไฟไม่สูง บอกเลยใครต้องการใช้พาวเวอร์แบงค์ชาร์จเร็วบ่อย ๆ รุ่นนี้ตอบโจทย์สุด ๆ ครับ ราคา 3,099 บาท* ถัดมาเป็นหนึ่งในพาวเวอร์แบงค์พกพาที่ชาร์จเร็วที่สุดในตลาด จากแบรนด์ที่อยู่ในเครือ Xiaomi กับ ZMI QB826 พาวเวอร์แบงค์ 25000mAh ที่สามารถจ่ายไฟรวมกันได้สูงสุด 200W เลยทีเดียว ช่วยให้สามารถชาร์จได้ตั้งแต่มือถือ ไปจนถึงแล็ปท็อป เครื่องเล็ก ๆ เลย ในส่วนหน้าตาจะมีสไตล์แบบมินิมอล ดูเรียบหรู ใช้วัสดุพลาสติก ABS+PC ที่ทนต่อความร้อน และป้องกันแรงกระแทกได้ดี มาในขนาดที่กะทัดรัดมาก ๆ ครับ แถมบางแค่ 2.7 ซม. เอง มันจึงพกพาสะดวกสุด ๆ ด้านการชาร์จมันจัดเต็มสุด ๆ มาพร้อมเทคโนโลยีชาร์จเร็วที่รองรับทุกระบบ รุ่นนี้มีพอร์ตทั้งหมด 3 ช่องครับ ซึ่ง 2 ช่องเป็น Input และ Output ในตัว ใช้พอร์ต USB-C ที่รองรับเทคโนโลยี PD โดย USB-C1 (พอร์ตสีส้ม) จะรับไฟสูงสุด 65W ทำให้การรีชาร์จตัวเองจนเต็ม ใช้เวลาแค่ 3 ชม. เท่านั้น และจ่ายไฟสูงสุดถึง 100W ช่วยให้ใช้ชาร์จ MacBook ได้อย่างรวดเร็ว โดยชาร์จ 1 ชม. ได้แบตขึ้นมาถึง 75% เลย ใช้งานต่อได้สบาย ๆ ส่วน USB-C2 (สีดำ) สามารถรับและจ่ายไฟได้สูงสุด 45W เท่ากัน ส่วนอีก 1 ช่องเป็น Output ใช้พอร์ต USB-A ซึ่งรองรับ QC4.0 ช่วยให้จ่ายไฟได้สูดสุด 120W เลยทีเดียว เร็วเป็นอันดับต้น ๆ ในตลาด และจุดเด่นอีกอย่าง ก็คือ การชาร์จอุปกรณ์พร้อม ๆ กัน 3 พอร์ต ทุกช่องยังมีการชาร์จเร็วอยู่ โดย USB-C1 จ่ายไฟ 65W, USB-A จ่ายไฟ 120W และ USB-C2 จ่ายไฟ 15W ครับ ดังนั้นรุ่นนี้จึงเหมาะมากกับผู้ที่ใช้อุปกรณ์หลาย ๆ เครื่อง ตั้งแต่ มือถือ แท็บเล็ต (ทั้ง iOS และ Andriod) ไปจนถึงแล็ปท๊อปเลย โดยต้องการการชาร์จที่รวดเร็วพร้อม ๆ กัน และสามารถชาร์จได้หลายรอบ ซึ่งถึงแม้ความจุแบตจะน้อยกว่าหัวข้อของเรา แต่มันก็เป็นความจุจริง ๆ ครับ สามารถใช้ชาร์จมือถือรุ่นต่าง ๆ โดยเฉพาะ iPhone ได้มากถึง 5 รอบ เลยทีเดียว หรือถ้าเป็น iPad และ MacBook มันชาร์จได้ประมาณ 1 รอบกว่า ๆ ในบางรุ่นก็ชาร์จได้เกือบ ๆ 2 รอบ เลย อีกทั้งยังมีระบบความปลอดภัยให้ถึง 9 ชั้น และโหมดการชาร์จด้วยกระแสไฟต่ำ ช่วยปรับกระแสไฟให้เหมาะสำกับอุปกรณ์เล็ก ๆ ครับ แพงหน่อย แต่คุ้มค่าแน่นอน ราคา 1,699 บาท* พาวเวอร์แบงค์พกพาอีกหนึ่งรุ่นที่น่าสนใจไม่แพ้รุ่นอื่น ๆ เลย กับ Baseus Amblight 65W พาวเวอร์แบงค์ ความจุ 30,000 mAh (111Wh) ที่มาพร้อมพอร์ตชาร์จที่มากถึง 7 ช่อง ครบทุกระบบ รองรับทุกการเชื่อมต่อ ไม่ว่าคุณจะใช้สายชาร์จอะไรมันก็รองรับได้หมด ตัวบอดี้มาในดีไซน์เรียบ ๆ ขอบโค้งมน ขนาดกำลังดี หนาประมาณ 3.8 ซม. และมีการทำพื้นผิวขรุขระเล็กน้อย ช่วยให้การถือกระชับยิ่งขึ้น พร้อมมีหน้าจอแสดงผล LED มาให้ด้วย ซึ่งใช้บอกกำลังไฟ, แรงดันไฟ, กระแสไฟ และปริมาณแบตฯ ที่เหลือ ส่วนประสิทธิภาพการชาร์จก็ทำได้ดีเกินราคามาก ๆ ครับ โดยรองรับเทคโนโลยีชาร์จไว ทั้ง QC3.0, PD3.0, SCP และ AFC เรียกได้ว่า ครอบคลุมทุกระบบเลย โดยพอร์ตชาร์จจะมีมาให้ทั้งหมด 7 ช่อง ครับ แบ่งเป็นพอร์ต Input ทางเดียว 2 ช่อง คือ micro USB ที่รับไฟเข้าสูงสุด 18W และพอร์ต Lightning รับไฟเข้าสูงสุด 12W สำหรับใช้ในยามฉุกเฉิน มีพอร์ต Input และ Output ในตัว 1 ช่องเป็น USB-C ที่สามารถรับไฟสูงสุดถึง 60W เลยทีเดียว ช่วยให้การรีชาร์จตัวเองจนเต็ม ใช้เวลาแค่ 3 ชม. กว่า ๆ เท่านั้น และจ่ายไฟได้สูงสุด 65W ทำให้สามารถชาร์จแล็ปท๊อปเครื่องเล็ก ๆ ได้ และมีพอร์ต Output อีก 4 ช่อง เป็น USB-A ทั้งหมด โดย USB-A 1-3 จะเป็นพอร์ตธรรมดา จ่ายไฟได้สูงสุด 15W ส่วน USB-A4 สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 30W ครับ เหมาะกับอุปกรณ์ Android ต่าง ๆ โดยถ้าชาร์จด้วยพอร์ตชาร์จเร็วพร้อม ๆ กัน 2 ช่อง USB-C จะจ่ายไฟ 45W ส่วน USB-A4 จ่ายไฟ 15W ครับ ซึ่งยังคงชาร์จได้เร็วอยู่ ราคา 1,999 บาท* ถัดมาเป็นอีกหนึ่งแบรนด์คุณภาพอย่าง Anker ที่โดดเด่นเรื่องอุปกรณ์ชาร์จมาก ๆ โดยได้รับมาตรฐานสูงสุดจากทั่วโลก การันตีด้วยยอดขายที่สูงมากในอเมริกา กับรุ่น Anker PowerCore+ 26800 พาวเวอร์แบงค์ ความจุ 26,800 mAh (96.48 Wh) ที่มีดีไซน์ดูพรีเมียมสุด ๆ ส่วนขอบออกแบบให้โค้งมน ขนาดเหมาะมือ หนาแค่ประมาณ 2.2 ซม. เท่านั้น ช่วยให้การจับถือรู้สึกถนัดมือมาก ๆ บวกกับตัวบอดี้ใช้อะลูมิเนียมผิวด้านอย่างดี มอบสัมผัสที่กระชับ พร้อมคุณสมบัติทนต่อความร้อน และแรงกระแทกได้ดี ช่วยให้เหมาะกับการพกพาสุด ๆ ครับ สำหรับการชาร์จรุ่นนี้รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วสำหรับ Android เป็นหลัก ทั้ง QC3.0, SCP, FCP และ PowerIQ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีชาร์จเร็วของ Anker เอง ช่วยให้รองรับการชาร์จเร็วอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้มากขึ้น ในส่วนพอร์ตชาร์จ จะมาให้ 4 ช่อง โดยพอร์ต Input จะใช้ micro USB 1 ช่อง สามารถรับไฟเข้าสูงสุด 18W ช่วยให้การรีชาร์จตัวเองจนเต็ม 100% ใช้เวลาประมาณ 6-7 ชม. และพอร์ต Output เป็น USB-A มาอีก 3 ช่อง โดยทั้งหมดจะรองรับเทคโนโลยี Power IQ เป็นมาตรฐาน สามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 15W และจะมีพอร์ต USB-A 1 ใน 3 ช่องนี้ (พอร์ตสีเขียว) จะเป็นช่องเดียวที่รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็ว QC3.0 และอื่น ๆ ครับ ซึ่งสามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 18W ช่วยให้มันเหมาะกับอุปกรณ์ Android และอุปกรณ์อื่น ๆ มาก ๆ ส่วนระบบความปลอดภัยก็ใส่มาให้แบบจัดเต็ม โดยจะมีมากถึง 8 ระบบ พร้อมกับมีการรับรองมาตรฐานจากทั่วโลก รวมถึง มอก. ของไทยเราด้วย และเพิ่มความมั่นใจด้วยการรับประกันสินค้าอีก 1 ปี เต็ม ราคา 690 บาท* ถัดมาเป็นหนึ่งในพาวเวอร์แบงค์แบรนด์ของไทยเราเอง อย่าง ACMIC A30PD พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh รุ่นประหยัด ที่มีดีไซน์โดดเด่น ดูพรีเมียมสุด ๆ ขนาดกำลังเหมาะมือ และมีความหนาประมาณ 4 ซม. มาพร้อมสายคล้องในตัว ช่วยให้สามารถเกี่ยวกับกระเป๋า หรือหิ้วติดตัวไปด้วยได้ง่าย ๆ ครับ แถมยังใช้วัสดุอย่างดี ที่มีคุณสมบัติทนความร้อน และป้องกันการกระแทก ช่วยให้เหมาะกับการพกพามาก ๆ สำหรับการชาร์จรุ่นนี้รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วทั้ง QC3.0 และ PD3.0 เลยครับ โดยมีพอร์ตมาให้ 4 ช่อง ได้แก่ micro USB 1 ช่อง เป็นพอร์ต Input และพอร์ต USB-C ให้อีก 1 ช่อง ที่เป็น Input และ Output ในตัว รับไฟเข้าได้สูงสุด 18W ทั้งคู่ และสามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 20W เลยทีเดียว และก็มี USB-A ให้มาอีก 2 ช่อง เป็นพอร์ต Output จ่ายไฟได้สูงสุด 18W ครับ ช่วยให้รองรับการชาร์จอุปกรณ์ได้ทุกรุ่นเลยทั้ง iOS และ Android เลย ส่วนมาตรฐานต่าง ๆ รุ่นนี้ก็ใส่มาครบครันถึง 8 ระบบ และการรับรองมาตรฐานจาก มอก. มาแล้ว พร้อมมีการรับประกันสินค้าอีก 1 ปี ชาร์จได้อย่างสบายใจ * หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้าOrsen by Eloop E29 พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh รุ่นขายดี
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 30,000 mAh จำนวนพอร์ต 4 พอร์ต Input Ports
Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 20W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ
ชาร์จไร้สาย Charging Time 8 ชั่วโมง (ด้วยช่องพอร์ต Type C) ขนาด 16.4 × 8.6 × 1.9 ซม. น้ำหนัก 450 กรัม ZMI Cuktech P23 พาวเวอร์แบงค์ 25000mAh จ่ายไฟสูงถึง 210W พร้อมหน้าจอสุดล้ำ
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 25000mAh (3.6V, 90Wh) จำนวนพอร์ต 3 พอร์ต Input Ports
Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 210W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ PD3.1 และ QC5.0 ชาร์จไร้สาย Charging Time 19 นาที ได้แบตถึง 40% (PD3.1 110W) ขนาด 15.9 × 5.5 × 5.5 ซม. น้ำหนัก 630 กรัม Anker 737 Power Bank (PowerCore 24K) พาวเวอร์แบงค์ 24000mAh รับและจ่ายไฟสูงสุด 140W
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 24000mAh (3.6V, 86.4Wh) จำนวนพอร์ต 3 พอร์ต Input Ports 1 × USB-C1 (140W) Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 140W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ PD3.1 (Bi-Directional) ชาร์จไร้สาย Charging Time 52 นาที เต็ม 100% (PD3.1 140W) ขนาด 15.5 × 5.4 × 4.9 ซม. น้ำหนัก 630 กรัม ZMI QB826 Powerbank 25000mAh พาวเวอร์แบงค์พกพา จ่ายไฟสูงสุด 200W
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 25000mAh ( 3.6V, 90.7Wh) จำนวนพอร์ต 3 พอร์ต Input Ports
Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 200W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ
ชาร์จไร้สาย Charging Time 3 ชั่วโมง (PD 65W) ขนาด 18.8 × 8.0 × 2.7 ซม. น้ำหนัก 580 กรัม Baseus Amblight Power Bank 65W พาวเวอร์แบงค์ 30000mAh ที่คุ้มราคา
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 30000mAh (3.6V, 111Wh) จำนวนพอร์ต 7 พอร์ต Input Ports
Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 30W (ชาร์จ 5 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ QC3.0, PD3.0, SCP และ AFC ชาร์จไร้สาย Charging Time 3.5 ชั่วโมง (PD 60W) ขนาด 14.5 × 6.5 × 3.8 ซม. น้ำหนัก 550 กรัม Anker PowerCore+ 26800 Power Bank แบตสำรอง 26800 mAh สำหรับ Android
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 26800mAh (3.6V, 96.48Wh) จำนวนพอร์ต 4 พอร์ต Input Ports 1 × micro USB (18W) Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 33W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ QC3.0, SCP, FCP, AFC และ PowerIQ ชาร์จไร้สาย Charging Time 6-7 ชั่วโมง (QC3.0 18W) ขนาด 17 × 7 × 2.2 ซม. น้ำหนัก 580 กรัม ACMIC A30PD พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh ราคาประหยัด
ข้อดี
ข้อควรพิจารณา
ความจุแบตเตอรี่ 30000 mAh ( 3.7V, 111Wh) จำนวนพอร์ต 4 พอร์ต Input Ports
Output Ports
จ่ายไฟรวมสูงสุด 20W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ
ชาร์จไร้สาย Charging Time 8 ชั่วโมง (ด้วยช่องพอร์ต Type C) ขนาด 14.3 × 7.1 × 4.0 ซม. น้ำหนัก 521 กรัม
ความจุแบตเตอรี่ : 30,000 mAh จำนวนพอร์ต : 4 พอร์ต Input Ports: Output Ports: จ่ายไฟรวมสูงสุด: 20W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ: ชาร์จไร้สาย: Charging Time: 8 ชั่วโมง (ด้วยช่องพอร์ต Type C) ขนาด: 16.4 × 8.6 × 1.9 ซม. น้ำหนัก : 450 กรัม ความจุแบตเตอรี่ : 25000mAh (3.6V, 90Wh) จำนวนพอร์ต : 3 พอร์ต Input Ports : Output Ports : จ่ายไฟรวมสูงสุด : 210W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ : PD3.1 และ QC5.0 ชาร์จไร้สาย : Charging Time : 19 นาที ได้แบตถึง 40% (PD3.1 110W) ขนาด : 15.9 × 5.5 × 5.5 ซม. น้ำหนัก : 630 กรัม ความจุแบตเตอรี่ : 24000mAh (3.6V, 86.4Wh) จำนวนพอร์ต : 3 พอร์ต Input Ports : 1 × USB-C1 (140W) Output Ports : จ่ายไฟรวมสูงสุด : 140W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ : PD3.1 (Bi-Directional) ชาร์จไร้สาย : Charging Time : 52 นาที เต็ม 100% (PD3.1 140W) ขนาด : 15.5 × 5.4 × 4.9 ซม. น้ำหนัก : 630 กรัม ความจุแบตเตอรี่ : 25000mAh ( 3.6V, 90.7Wh) จำนวนพอร์ต : 3 พอร์ต Input Ports : Output Ports : จ่ายไฟรวมสูงสุด : 200W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ : ชาร์จไร้สาย : Charging Time : 3 ชั่วโมง (PD 65W) ขนาด : 18.8 × 8.0 × 2.7 ซม. น้ำหนัก : 580 กรัม ความจุแบตเตอรี่ : 30000mAh (3.6V, 111Wh) จำนวนพอร์ต : 7 พอร์ต Input Ports : Output Ports : จ่ายไฟรวมสูงสุด : 30W (ชาร์จ 5 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ : QC3.0, PD3.0, SCP และ AFC ชาร์จไร้สาย : Charging Time : 3.5 ชั่วโมง (PD 60W) ขนาด : 14.5 × 6.5 × 3.8 ซม. น้ำหนัก : 550 กรัม ความจุแบตเตอรี่ : 26800mAh (3.6V, 96.48Wh) จำนวนพอร์ต : 4 พอร์ต Input Ports : 1 × micro USB (18W) Output Ports : จ่ายไฟรวมสูงสุด : 33W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ : QC3.0, SCP, FCP, AFC และ PowerIQ ชาร์จไร้สาย : Charging Time : 6-7 ชั่วโมง (QC3.0 18W) ขนาด : 17 × 7 × 2.2 ซม. น้ำหนัก : 580 กรัม ความจุแบตเตอรี่: 30000 mAh ( 3.7V, 111Wh) จำนวนพอร์ต : 4 พอร์ต Input Ports : Output Ports : จ่ายไฟรวมสูงสุด : 20W (ชาร์จ 3 พอร์ตพร้อมกัน) เทคโนโลยีชาร์จ : ชาร์จไร้สาย : Charging Time : 8 ชั่วโมง (ด้วยช่องพอร์ต Type C) ขนาด : 14.3 × 7.1 × 4.0 ซม. น้ำหนัก : 521 กรัม * หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้าเปรียบเทียบ 7 พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh รุ่นไหนดี ปี 2023
พาวเวอร์แบงค์ 30000 mAh นำขึ้นเครื่องได้หรือไม่ ?
ถ้าเราดูตาม กฎมาตรฐานความปลอดภัย ของ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association – IATA) ที่ได้มีการกำหนดมาตรการออกมาอย่างชัดเจน เกี่ยวกับการนำพาวเวอร์แบงค์ หรือแบตเตอรี่สำรอง ขึ้นเครื่องบิน โดยกำหนดเอาไว้ดังต่อไปนี้ครับ
1. กำหนดความจุแบตฯ และจำนวนของพาวเวอร์แบงค์ ที่ถือขึ้นเครื่องได้
- นำขึ้นเครื่องได้ โดยไม่จำกัด : พาวเวอร์แบงค์ความจุ น้อยกว่า 20,000mAh (100Wh) ผู้โดยสารสามารถถือขึ้นเครื่องได้อย่างอิสระ โดยไม่มีการจำกัดจำนวน
- นำขึ้นเครื่องได้ ไม่เกิน 2 ก้อน : พาวเวอร์แบงค์ที่มีความจุ 20,000mAh (100Wh) ขึ้นไป และมันไม่เกิน 32,000mAh (160Wh) ผู้โดยสารยังสามารถนำขึ้นเครื่องได้อยู่ แต่จะจำกัดจำนวน ไม่เกิน 2 ก้อน/คน
- ห้ามนำขึ้นเครื่องโดยเด็ดขาด : พาวเวอร์แบงค์ ความจุ 32,000mAh (160Wh) ขึ้นไป ห้ามนำขึ้นเครื่องโดยเด็ดขาด !
2. ห้ามนำพาวเวอร์แบงค์โหลดใส่ใต้เครื่องในทุกกรณี
หลายคนอาจจะงง ๆ ว่า ทำไมอนุญาตให้ถือพาวเวอร์แบงค์ติดตัวขึ้นเครื่องได้ แต่ห้ามนำใส่กระเป๋าโหลดใต้ท้องเครื่องโดยเด็ดขาด ซึ่งคำตอบก็ง่าย ๆ เลยครับ นั่นก็เพราะว่าพาวเวอร์แบงค์เป็นอุปกรณ์ที่มีการเก็บพลังงานไฟฟ้าไว้ในตัวมันเอง ซึ่งแค่คุณใช้งานทั่ว ๆ ไป คุณยังรู้สึกร้อนเลย ดังนั้นถ้าหากเก็บไว้ใต้ท้องเครื่อง มันจะมีโอกาศสูงมาก ๆ ที่มันจะร้อน จนระเบิด และมีสะเก็ดไฟเกิดขึ้นมา ซึ่งก็จะสอดคล้องกับความจุพาวเวอร์แบงค์ ยิ่งมีความจุสูงเท่าไหร่สะเก็ดไฟก็จะยิ่งมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งหากเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในห้องสัมภาระใต้ท้องเครื่อง แน่นอนครับว่ากว่าที่นักบินหรือลูกเรือจะรู้ และรีบทำการดับไฟ มันก็อาจจะสายไปแล้วก็ได้ เพราะฉะนั้นเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเอง และผู้โดยสารคนอื่น ๆ คุณสามารถเริ่มได้ง่าย ๆ ที่ตัวของคุณเอง
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับ พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh รุ่นยอดนิยม ที่เราได้คัดเลือกมารีวิวในวันนี้ มีรุ่นไหนถูกใจ และตรงความต้องการคุณบ้างรึเปล่าครับ ? ซึ่งถึงแม้ในตลาด อุปกรณ์มือถือ ในประเทศไทยของเราจะมีตัวเลือกเยอะมาก ๆ แต่มันก็มีทั้ง สินค้าปลอม สินค้นเลียนแบบ และแถมหลาย ๆ รุ่นก็ยังไม่ได้มาตรฐาน มอก. ในบ้านเรา หลานคนจึงได้พาวเวอร์แบงค์ไม่ตรงปก เช่น ความจุน้อยหลอก ชาร์จรอบเดียวหมด หรือความเร็วชาร์จ ที่ทำไม่ได้ตามที่ลงรายละเอียดสินค้าไว้ เป็นต้น
ดังนั้นขอแนะนำว่า ในการเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ 30,000 mAh คุณควรดูหลาย ๆ อย่างครับ และที่สำคัญ อย่าเลือกเพราะราคาถูกเด็ดขาด นะครับ ซึ่งถ้ายิ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าไม่ว่าอะไรก็แล้วแต่ อยากให้คุณลงทุนกับรุ่นที่ดี ๆ หน่อย เพราะมันไม่คุ้มเลย ถ้าใช้ ๆ อยู่แล้วเกิดไฟกระชากจนมือถือพัง หรือร้ายแรงถึงขึ้นเกิดระเบิดขึ้น