ไม่ว่าคุณจะทำงานจากที่บ้านหรือต้องเดินทางไปออฟฟิศในทุก ๆ เช้า อย่างไรก็ตามสิ่งหนึ่งที่คุณต้องเผชิญอยู่ทุกวันก็คืออาการปวดเมื่อยจากการนั่งทำงานในท่าเดิมตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็น อาการปวดเอว, ปวดหลัง, ปวดไหล่ หรือปวดช่วงต้นคอ ซึ่งหลาย ๆ คนอาจมีไอเทมที่ช่วยลดอาการออฟฟิศซินโดรมด้วยการใช้เข็มขัดพยุงหลัง, หมอนรองคอ, เครื่องนวดแบบมือถือ, แท่นวางแล็ปท็อป, ที่วางเท้าใต้โต๊ะ, เบาะเสริมรองนั่งหรือเบาะรองหลัง แต่โปรดทราบไว้ว่าอุปกรณ์เหล่านี้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการเจ็บปวดเท่านั้นไม่สามารถรักษาอาการปวดหลังได้อย่างตรงจุด
เพราะในความเป็นจริงแล้วการรักษาที่ถูกต้องคือคุณจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต รวมถึงพฤติกรรมการทำงานควบคู่ไปด้วย แต่สำหรับช่วงเวลาทำงานที่คุณจะต้องนั่งทำงานท่าเดิมอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวันนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยค่ะ แม้ว่าบางคนจะพยายามบังคับตัวเองให้นั่งในท่าที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์แล้วก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่ามันไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ทันที เพราะด้วยความเคยชินจะทำให้คุณกลับมานั่งเดิมที่ไม่ถูกต้องอยู่เสมอ โดยที่คุณเองก็ไม่รู้ตัว ดังนั้นการลงทุนกับเก้าอี้ทำงานที่ดีที่สุดทั้งยังถูกหลักสรีรศาสตร์และโต๊ะทำงานที่ดีที่สามารถปรับระดับความสูงได้ตามต้องการ อาจสามารถช่วยคุณแก้ปัญหาในส่วนนี้ได้
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราอยากจะแนะนำ “เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ” หรือ “เก้าอี้ Ergonomic” ที่จะช่วยสนับสนุนกระดูกสันหลังของคุณให้ดีขึ้นจากการนั่งทำงานท่าเดิมเป็นเวลานาน แม้ว่าการหาซื้อเก้าอี้ Ergonomic ที่เหมาะกับสรีระของคุณจะเป็นเรื่องยาก เพราะร่างกายของแต่ละคนก็จะมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น ส่วนสูง, น้ำหนัก, ความยาวของหลัง, ความยาวของขา และอื่น ๆ อีกมากมาย แต่มันก็ไม่ได้ยากเกินความสามารถของเราที่จะแนะนำเก้าอี้ Ergonomic ดี ๆ สักตัวที่จะช่วยให้คุณนั่งหลังตรงอย่างสะดวกสบายขึ้นขณะที่ทำงาน ทั้งยังช่วยลดความเสียหายต่อร่างกายในระยะยาวอีกด้วยค่ะ 🙂
เก้าอี้เออร์โกโนมิกส์ (Ergonomic) คืออะไร ?
Ergonomics แปลตามตัวก็คือ “การยศาสตร์” ดังนั้นเก้าอี้ Ergonomic ก็คือเก้าอี้ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์เพื่อซัพพอร์ตร่างกายมนุษย์ได้ดีที่สุด ทั้งยังช่วยลดอาการเมื่อยล้าจากการนั่งเป็นนาน ๆ ซึ่งจะมีคุณสมบัติหลายประการ อาทิเช่น การช่วยปรับปรุงท่าทาง, เพิ่มความสบายขณะนั่ง, มีส่วนช่วยในการซัพพอร์ตกระดูกสันหลัง ขา คอ และดูแลสุขภาพโดยรวมทั้งหมด
หากคุณกำลังสงสัยว่ามันต่างจากเก้าอี้ในสำนักงานทั่วไปหรือเก้าอี้ผู้บริหารอย่างไร? ขอบอกเลยว่าต่างกันค่ะ! เพราะเก้าอี้ Ergonomic ไม่ได้เน้นฟังก์ชันใช้งานพื้นฐาน ความสวยงาม หรือความหรูหราแต่อย่างใด แต่เก้าอี้ Ergonomic จะเน้นการใช้งานที่สามารถปรับระดับความยืดหยุ่นในส่วนต่าง ๆ ของตัวเก้าอี้ได้หมดทุกส่วน เพื่อให้รองรับสรีระของผู้ใช้งานแต่ละคนได้ดีที่สุด ซึ่งเก้าอี้ Ergonomic ที่ดีควรจะมีคุณสมบัติอะไรบ้างตามมาดูในหัวข้อถัดไปกันเลยค่ะ
เก้าอี้สำนักงานที่เหมาะกับสรีระของคุณ ควรมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง?

credit : bestreview.asia
1. การปรับระดับความสูงของเบาะนั่ง
เก้าอี้ทำงานที่ดีควรสามารถปรับระดับความสูงได้ง่าย ๆ ซึ่งโดยปกติแล้วตัวปรับระดับความสูงจะใช้เป็นตัวคันโยกในการปรับขึ้นลง เราขอแนะนำให้คุณปรับเบาะนั่งสูงจากพื้นประมาณ 16-21 นิ้ว วิธีนี้จะช่วยให้คุณสามารถวางเท้าราบไปกับพื้นได้ โดยที่ช่วงต้นขาและแขนอยู่ในเดียวระนาบระดับเดียวกับความสูงของโต๊ะ หากโต๊ะทำงานของคุณสูงเกินไปจนเก้าอี้ไม่สามารถปรับให้สูงตามได้ แนะนำให้คุณใช้ที่วางเท้าใต้โต๊ะเป็นตัวช่วยให้การจัดระเบียบท่านั่งที่ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์ค่ะ
2. ความกว้าง-ความลึกของเบาะนั่ง
เบาะนั่งควรมีความกว้างและความลึกที่เหมาะสมเพื่อที่จะรองรับสรีระร่างกายของผู้ใช้ทุกคนได้อย่างสบาย โดยปกติความกว้างของเบาะนั่งจะอยู่ที่ประมาณ 17-20 นิ้ว ส่วนความลึก (คือจากด้านหน้าไปด้านหลังเบาะนั่ง) จะต้องมีพื้นที่ที่เพียงพอให้ผู้นั่งสามารถพิงพนักพิงเก้าอี้ได้ด้วย โดยเมื่อนั่งแล้วข้อพับของเข่าและขอบเบาะจะต้องมีช่องว่างประมาณ 2-4 นิ้ว (ทั้งนี้ตัวเลขอาจจะไม่แน่นอนเสมอไป เพราะอย่าลืมว่าจะต้องมีการปรับความเอียงของเบาะนั่งไปข้างหน้าหรือข้างหลังตามสรีระของแต่ละคนด้วยค่ะ) ดังนั้นเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่ดีจะต้องสามารถปรับความสูงต่ำและความลึกได้ด้วยนะคะ
3. ปรับลาดความเอียงของเบาะนั่ง
เก้าอี้ Ergonomic ที่ดีจะต้องปรับเอียงเบาะนั่งได้ด้วย เพราะบางครั้งคุณอาจต้องการปรับให้ตัวเบาะนั่งเผยอสูงขึ้นเล็กน้อยตามสรีระของคุณ หรือบางครั้งก็ปรับให้ก้มต่ำหลังเพื่อที่ได้พักขาระหว่างทำงาน ซึ่งการปรับระดับความชันของเบาะจะช่วยให้คุณวางตำแหน่งกระดูกเชิงกรานได้อย่างถูกต้อง นับว่าเป็นฟังก์ชันที่ไม่ควรมองข้ามสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องกระดูกเชิงกรานค่ะ
4. การซัพพอร์ตช่วงเอว หรือ Lumbar Support
Lumbar Support เป็นการรองรับหลังตรงส่วนล่างหรือตรงช่วงเอวให้เหมาะสมกับสรีระของผู้นั่ง จัดว่าเป็นฟังก์ชันที่สำคัญมาก ๆ เพราะอย่าลืมว่ากระดูกสันหลังช่วงล่างของเราจะมีความโค้งเว้าเข้าไปด้านใน และการนั่งทำงานเป็นเวลานาน ๆ โดยที่ไม่มีอะไรมาดัน มาซัพพอร์ต หรือรับรองส่วนโค้งตรงนี้เลย ก็จะทำให้เกิดโอกาสกระดูกสันหลังงอได้ค่ะ ดังนั้นเก้าอี้ทำงานทำงานที่ดีจะต้องมีการสนับสนุนส่วนเอวด้วยค่ะ ซึ่งมันควรเป็นฟังก์ชันที่ต้องปรับระดับได้ทั้งความสูงและความลึกได้หลายมิติ เพื่อให้ผู้ใช้แต่ละคนสามารถปรับให้พอดีกับกระดูกสันหลังของตัวเอง

credit : bestreview.asia
แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่ค่อยพบ Lumbar Support ในเก้าอี้ทำงานทั่วไป อย่างมากที่สุดจะเป็นเพียงการดัดพนักพิงเก้าอี้ให้มีความโค้งเท่านั้นไม่สามารถปรับอะไรได้เลย ดังนั้นหากคุณต้องการเก้าอี้เออร์โกโนมิกส์ที่ดีต่อสุขภาพจริง ๆ ควรเลือกรุ่นที่ปรับ Lumbar Support ตรงส่วนนี้ได้ด้วยค่ะ
5. พนักพิงหลังเอนหลังได้อย่างยืดหยุ่น
พนักพิงของเก้าอี้ทำงานที่ดีและเหมาะกับสรีระร่างกายของคุณ จะช่วยให้คุณนั่งทำงานได้อย่างสบายและไม่ปวดหลัง ดังนั้นขนาดของพนักพิงจึงควรมีความกว้างประมาณ 12-19 นิ้ว และจะต้องเป็นพนักพิงที่สามารถปรับเอนความยืดหยุ่นได้ด้วย อย่างน้อย ๆ ก็ควรเอนหลังได้มากกว่า 20 องศาขึ้นไป ในกรณีที่พนักพิงที่แยกจากเบาะนั่งก็ควรปรับความสูงได้ แต่หากเป็นพนักพิงที่ติดกับเบาะนั่งเลยก็ควรปรับให้ไปข้างหน้าและด้านหลังได้ด้วย ที่สำคัญคือจะต้องมาพร้อมกับกลไกการล็อค (ที่ล็อกพนักพิง) เพื่อป้องกันไม่ให้พนักพิงเอียงไปด้านหลังมากเกินไป
6. ตัวเก้าอี้หมุนได้รอบทิศทาง
ไม่ว่าจะเป็นเก้าอี้ทำงานแบบธรรมดาหรือเก้าอี้เออร์โกโนมิกส์เพื่อสุขภาพ ก็ควรมีคุณสมบัติที่สามารถหมุนไปมารอบทิศทางมาด้วย เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงพื้นที่ต่างๆ ของโต๊ะทำงานได้อย่างสะดวกที่สุด จัดว่าเป็นฟังก์ชันขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องมีเลยค่ะ
7. ที่พักแขน / ที่วางแขน
หลาย ๆ คนอาจจะมองข้ามที่พักแขนหรือที่วางแขนไป แต่ในความเป็นจริงแล้วมันเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะมันจะช่วยให้แขนท่อนล่าง ข้อศอก และไหล่ของคุณได้พักผ่อนอย่างสบายตัว หากเป็นไปได้ควรเลือกที่พักแขนแบบมีเบาะหรือวัสดุห่อหุ้มมาให้ เพราะถ้าเป็นพลาสติกแข็ง ๆ ก็จะทำให้คุณรู้สึกเจ็บได้ นอกจากนี้ควรเลือกรุ่นที่สามารถปรับระดับความสูงหรือมุมของที่พักแขนได้ด้วยก็จะดีมาก ๆ ค่ะ
8. พนักพิงศีรษะ
พนักพิงศีรษะเป็นอีกสิ่งที่หลาย ๆ คนมักมองข้ามเช่นกัน เพราะคิดว่ามันเป็นฟังก์ชันที่ไม่ค่อยได้ใช้งานเท่าไหร่นัก แต่เก้าอี้ทำงานที่ดีควรมีพนักพิงส่วนนี้ไว้สำหรับรองรับส่วนหลังของศีรษะและต้นคอ เพื่อลดความตึงเครียดที่ไหล่และลำตัวส่วนบนค่ะ และควรเป็นพนักพิงศีรษะแบบปรับระดับได้ด้วย ไม่ควรเป็นแบบยึดติดอยู่กับที่เพราะมันไม่ค่อยได้ช่วยอะไรเท่าไหร่นัก เนื่องจากในบางครั้งคุณก็จำเป็นต้องรับการผ่อนคลายบ้าง หลังจากนั่งตัวตรงมาหลายชั่วโมง ดังนั้นพนักพิงศีรษะจึงถือว่าเป็นฟังก์เสริมที่ดีที่ควรมีค่ะ
9. วัสดุที่ใช้ทำเบาะรองนั่งและพนักพิง
วัสดุของส่วนเบาะรองนั่งหรือพนักพิงควรเป็นเป็นวัสดุที่ให้ความสะดวกสบายสามารถระบายอากาศได้ดี ไม่ควรเป็นวัสดุที่สร้างความอับชื้นหรือทำให้หลังและก้นของผู้ใช้งานมีเหงื่อออก แนะนำก็เลือกเป็นวัสดุจากหนังอย่างดี, ผ้ากำมะหยี่ หรือตาข่ายคุณภาพสูง โดยเฉพาะตาข่ายจัดว่าเป็นวัสดุน่าสนใจมาก มันสามารถรองรับน้ำหนักได้โดยที่ไม่ยืดหรือย้วย แต่จะต้องเลือกเป็นตาข่ายคุณภาพที่ดีหน่อยค่ะ อย่างไรก็ตามวัสดุคุณภาพสูงมักมีราคาแพงด้วยเช่นกัน ดังนั้นการเลือกซื้อเก้าอี้ตามวัสดุก็อาจจะขึ้นอยู่กับงบประมาณของคุณด้วยค่ะ
10. ล้อสำหรับเคลื่อนที่
ล้อสำหรับเคลื่อนที่เป็นฟังก์ชันพื้นฐานที่มาพร้อมกับเก้าอี้ทำงานเกือบทุกรุ่น ดังนั้นการเลือกล้อที่ดีให้เหมาะกับการใช้งาน คุณควรพิจารณาจากพื้นผิวที่นำเก้าอี้ไปตั้งค่ะ หากเป็นพื้นผิวแข็งให้มองหาเก้าอี้ที่มีล้อยางนุ่ม แต่หากเป็นพื้นที่มีการปูพรมไว้ ให้เลือกล้อแบบแข็ง เพราะมันจะช่วยให้คุณเคลื่อนไหวได้ดีขึ้นค่ะ
เก้าอี้นักเรียน เก้าอี้สำนักงาน ปรับระดับส่วนต่าง ๆ ได้

ราคา 1,945 บาท*
แม้ว่าเก้าอี้ตัวนี้จะไม่สามารถเรียกว่าเป็นเก้าอี้เพื่อสุขภาพหรือเก้าอี้ Ergonomic ได้อย่างสนิทใจ แต่เมื่อพูดถึงฟังก์ชันที่ครอบคลุมในราคาหลักพัน ก็ถือว่าเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีงบน้อยที่สามารถปรับระดับส่วนต่าง ๆ ของเก้าอี้ให้ยืดหยุ่นตามรูปร่างสรีระของตัวเองได้มากกว่าเก้าอี้ทั่วไป
สำหรับเก้าอี้ตัวนี้ มันสามารถปรับเบาะนั่งความลึกได้มาก ทำให้หลังของคุณแนบชิดกับพนักพิงเก้าอี้อย่างสนิท และยังปรับความสูงของตัวเก้าอี้ได้ด้วย สามารถใช้งานกับโต๊ะความสูงแบบไหนก็ได้ ในส่วนของการเอนพนักพิงสำหรับผ่อนคลายก็ปรับเอนได้ 30° ทำให้คุณสามารถผ่อนคลายกล้ามเนื้อระหว่างการทำงานได้อย่างเต็มที่ ส่วนที่พักแขนก็สามารถยกขึ้นลงได้สุด ดังนั้นมันจึงไม่ค่อยเกะกะมากนักเมื่อคุณไม่ใช้งานในส่วนนี้ สุดท้ายจุดซัพพอร์ตตรงส่วนเอวก็สามารถปรับขึ้นลงเพื่อให้มันนูนมากนูนน้อยได้ตามต้องการด้วยค่ะ
ข้อดี- ราคาไม่แพง สามารถปรับได้หลากหลาย เหมาะสำหรับผู้เริ่มต้นมีอาการปวดหลัง
- ด้วยขนาดที่เล็กจึงเหมาะสำหรับพื้นที่ที่จำกัดอย่างอพาร์ทเมนต์หรือคอนโด ทั้งยังเก็บเข้ามุมช่วยให้ประหยัดพื้นที่ได้ดี
- ตัวนี้สามารถใช้ได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ เพราะโครงสร้างจะเหมาะกับคนที่ตัวเล็กหรือเด็กนักเรียนช่วงมัธยมต้น-ปลาย
ข้อควรพิจารณา
- บางคนก็พบว่าส่วนซัพพอร์ต Lumbar Support ค่อนข้างแข็งไป ดังนั้นจะต้องหาหมอนหรือเบาะรองหลังมาใช้เสริม
- ตัวเบาะค่อนข้างนุ่มมาก หากใช้นั่งนาน ๆ ก็อาจจะเจ็บก้นได้ เพราะมันยุบตัวง่าย ต้องมีเบาะรองหนังเสริม
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ตาข่าย + ผ้าที่หุ้มด้วยตาข่าย |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | ไม่มี |
รับประกัน | 3 เดือน |
Modena เก้าอี้ออฟฟิศเพื่อสุขภาพ รุ่น Anya

ราคา 4,890 บาท*
สำหรับเก้าอี้เออร์โกโนมิกส์ตัวนี้ค่อนเป็นที่สนใจอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ เพราะด้วยราคาถูก สามารถเอื้อมถึงได้ในงบไม่เกิน 5 พันบาท นับว่าเป็นจุดเด่นที่เรียกความนิยมจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี ซึ่งฟังก์ชันต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการซัพพอร์ตท่านั่งตามสรีรศาสตร์นั้น ก็ถือว่าทำได้ดีในระดับหนึ่งอีกด้วยค่ะ ไม่ว่าจะเป็น ที่พักแขนแบบ 3 มิติ (ขึ้น-ลง หมุนซ้าย-ขวา เลื่อนหน้า-หลัง), การปรับเอนพนักพิงได้สูงถึง 135° มาพร้อมกับพนักพิงรูปทรง S-Curve ที่ช่วยรองรับกระดูกสันหลังและยังมี Lumbar Support มาให้ด้วย ซึ่งสามารถปรับระดับขึ้นลงได้ตามต้องการ ในส่วนของเบาะนั่งทำจากโฟมที่ออกแบบเป็นพิเศษ สามารถรองรับก้นกบได้โดยเฉพาะและยังให้สัมผัสที่นุ่มสบายขณะนั่งทำงานอีกด้วย
ข้อดี- ถือว่าเป็นเก้าอี้ Ergonomic ที่มีวัสดุดีในระดับหนึ่งเมื่อเทียบกับราคา เพราะมีความแข็งแรงทนทาน ดูกระชับใช้งานได้สมบุกสมบัน
- โครงสร้างโดยรวมเหมาะกับคนที่รูปร่างสูงใหญ่
- เบาะนั่งไม่สามารถปรับความลึกได้ และที่พิงศีรษะปรับขั้นลงไม่ได้
- การปรับเอนพนักพิงต้องอาศัยจังหวะและออกแรงพอสมควร
- การปรับตำแหน่งและองศาของที่วางแขน ค่อนข้างปรับได้น้อยมาก ๆ โดยเฉพาะการปรับให้ต่ำลง
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ตาข่าย + หนังที่หุ้มด้วยตาข่าย |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | |
รับประกัน | 5 ปี |
Ergotrend เก้าอี้เพื่อสุขภาพ รุ่น Ergo Joy Plus

ราคา 8,900 บาท*
เก้าอี้เพื่อนสุขภาพ Ergotrend รุ่น Ergo Joy Plus นับว่าเป็นสินค้าที่ขายดีของทางแบรนด์อีกรุ่น เนื่องจากมีฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุม โดยมาในราคาไม่เกิน 1 หมื่นบาทเท่านั้น สามารถปรับระดับต่าง ๆ ได้ตามสรีระของผู้นั่ง ไม่ว่าจะเป็น ที่รองคอที่สามารถปรับสูง-ต่ำและปรับองศาได้ หรือจะเป็นที่รองแขนก็สามารถปรับได้ 3 มิติ ส่วนจุดเด่นที่มองข้ามไม่ได้คือพนักพิงตาข่ายที่ปรับระดับสูง-ต่ำได้ทั้งชิ้นอีกด้วย ซึ่งจะช่วยรองรับเอวช่วงล่างและหลังให้แนบกับเก้าอี้ได้ตามสรีระของแต่ละคนง่ายขึ้น ทั้งยังสามารถล็อกระดับการเอนของพนักพิงได้ทุกระดับ มาพร้อมกับตัวเบาะรองนั่งที่ปรับความลึกเลื่อนเข้า-ออก ปรับสูง-ต่ำ และยังสามารถปรับความลาดเอียงของเบาะเพื่อพักขาได้
เราเชื่อว่าหลาย ๆ คนกำลังชั่งใจคิดไม่ตกว่าจะเลือกซื้อเก้าอี้เพื่อสุขภาพของ Ergotrend รุ่นไหนดี? ระหว่างรุ่น Plus และรุ่น Pro คุณไม่ต้องไปข้อมูลที่ไหนไกลค่ะ เราได้สรุปมาให้แล้ว! ในส่วนของรุ่น Plus ตัวเบาะจะห่อหุ้มด้วยผ้าอย่างดีให้ความรู้สึกนุ่มสบาย ตรงพนักพิงสามารถล็อกได้ทุกระดับ และสามารถปรับพนักพิงให้แนบแผ่นหลังขณะนั่งทำงานได้มากกว่ารุ่น Pro ทั้งยังสามารถปรับความลาดเอียงของเบาะรองนั่งได้ ซึ่งในรุ่น Pro ปรับไม่ได้
ส่วนตัวรุ่น Pro เบาะจะเป็นตาข่ายอย่างดี ที่มีความยืดหยุ่นเหมาะสำหรับคนที่มีปัญหากระดูกเชิงกราน ตรงพนักพิงสามารถล็อกได้เพียงระดับเดียวเท่านั้น แต่สามารถปรับเอนพนักพิงได้มากกว่ารุ่น Plus ใครที่ชอบนั่งหลังตรงทำงานก็อาจจะเลือกรุ่น Pro ก็ได้ค่ะ เพราะคุณไม่จำเป็นต้องใช้ระบบล็อกพนักพิงทุกระดับเหมือนรุ่น Plus แต่หากคุณอยากได้ฟังก์ที่ครอบคลุมในราคาไม่ต่างกันก็แนะนำเป็นรุ่น Plus ดีกว่าค่ะ
ข้อดี- ตรงพนักพิงหลังสามารถปรับเลื่อนขึ้นลงได้ 5 ระดับ ทำให้มีความยืดหยุ่นด้านการใช้งาน สามารถปรับให้เหมาะสมกับสรีระของแต่ละคนได้ง่าย ช่วยซัพพอร์ตหลังตรงช่วงเอวได้ดี
- เบาะนั่งสามารถปรับความลึกและความลาดเอียงได้ จึงช่วยให้คุณนั่งทำงานแบบหลังตรงแนบชิดพนักพิงหรือจะนั่งพักขาระหว่างวันก็ได้
- โครงสร้างโดยรวมของเก้าอี้ค่อนข้างเหมาะกับคนตัวใหญ่ ใครที่สูงในช่วง 150 ซม. แนะนำรุ่นอื่นดีกว่า
- ระยะห่างของที่วางพักแขนค่อนข้างกว้างออกจากตัวเก้าอี้มากไป คนตัวเล็กจะไม่ค่อยได้ใช้ฟังก์ชันในส่วนนี้
- การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับไม่ได้ (แต่สามารถปรับความสูงต่ำของพนักงานพิงได้)
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ตาข่าย + ผ้า |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | |
รับประกัน | 1 ปี |
Xiaomi Yuemi YM Ergonomic Office Chair เก้าอี้สุขภาพ รุ่น RTGXY01YM

ราคา 10,020 บาท*
สำหรับใครที่เป็นสาวกของเสี่ยวมี่ เราก็มีรีวิวเก้าสำนักงาน Ergonomic มาฝากกันด้วยนะคะ โดยจริง ๆ แล้วรุ่นนี้ค่อนข้างมีวัสดุให้เลือกหลากหลายเลยค่ะ ทั้งตาข่ายสีดำ-สีขาวหรือจะเป็นหนังสีดำ-สีน้ำตาล แต่ตัวที่จะแนะนำในวันนี้จะเป็นตาข่ายสีขาวที่ไม่เพียงแต่ให้ความเป็นมินิมอลเท่านั้น แต่ยังระบายกาศและกระจายน้ำหนักได้ดี
ในส่วนของฟังก์ชันอื่น ๆ อย่างจุด Lumbar Support ก็สามารถดันขึ้นลงได้เพื่อให้มันนูนขึ้นจนรองรับช่วงเอวได้อย่างเหมาะสม, ตรงเบาะนั่งค่อนข้างกว้าง มีความนุ่มนั่งสบาย ทั้งยังปรับสูงต่ำและความลึกได้ด้วย, ในส่วนของพนักพิงก็สามารถปรับเอนได้เยอะมาก จะใช้นอนพักสายตาระหว่างวันได้ก็ยังได้ค่ะ ซึ่งจะมาพร้อมกับปุ่มล็อคป้องกันการเอนด้วยนะคะ และในส่วนของที่พักแขนเป็นแบบ 3 มิติที่ปรับระดับสูงต่ำหรือจะเลื่อนเข้าออกได้ตามต้องการ
ข้อดี
- ฟังก์ชันการใช้งานมีเยอะพอ ๆ กับเก้าอี้ราคาหลัก 2-3 หมื่น วัสดุที่ใช้มีความแข็งแรงทนทาน
- ที่พักแขนมีพื้นที่กว้างมาก สามารถวางแขนได้อย่างอิสระ อีกทั้งวัสดุที่พักแขนยังให้สัมผัสที่นุ่มสบายผิว ป้องการเจ็บข้อศอกได้เป็นอย่างดี
ข้อควรพิจารณา
- พนักพิงปรับเอนได้เยอะก็จริง แต่สามารถล็อคการเอนได้เพียงตำแหน่งเดียวเท่านั้น
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ตาข่าย + ผ้าที่หุ้มด้วยตาข่าย |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | |
รับประกัน | 1 เดือน / 1 ปี (แล้วแต่ร้านค้า) |
COMFPRO เก้าอี้เพื่อสุขภาพเด็ก เก้าอี้เขียนหนังสือเด็ก รุ่น YV618

ราคา 11,840 บาท*
ไม่ใช่เพียงแต่ผู้ใหญ่เท่านั้นที่รู้สึกปวดหลังได้ เพราะเด็ก ๆ เองก็อาจมีสิทธิ์ปวดหลังได้เช่นกัน อันที่จริงแล้วเด็ก ๆ ต้องนั่งเรียนหนังสือวันละ 7-8 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำไม่ต่างจากผู้ใหญ่อย่างเราเลยค่ะ บางครั้งเมื่อเลิกเรียนแล้วก็ยังต้องมานั่งเรียนพิเศษหรือทำการบ้านที่บ้านต่ออีก หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของกระดูกสันหลังของเด็ก ๆ ในอนาคตตั้งแต่เนิ่น ๆ เราขอแนะนำเก้าอี้เพื่อสุขภาพสำหรับเด็กจากแบรนด์ COMFPRO รุ่น YV618 เลยค่ะ
โดยรุ่นนี้จะเหมาะสำหรับเด็ก ๆ ที่มีความสูงอย่างน้อย 125 ซม. หรือผู้ใหญ่คนไหนที่ตัวเล็ก ๆ หน่อยก็สามารถใช้รุ่นนี้ได้เช่นกันค่ะ (ในกรณีที่เด็กยังตัวเล็กไป คุณพ่อคุณแม่สามารถหาที่วางเท้ามาเป็นอุปกรณ์เสริมเพื่อไม่ให้ขาลอยเหนือพื้นได้ค่ะ) โดยความพิเศษของเก้าอี้ตัวนี้คือมันสามารถปรับความนูนของพนักพิงให้รองรับกับหลังเด็ก ๆ ได้ด้วย ทำให้เด็ก ๆ สามารถนั่งเขียนหนังสือโดยที่แผ่นหลังชิดกับเก้าอี้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งนี้ตรงหนักพิงก็สามารถปรับระดับความสูงต่ำได้อีกด้วยจึงค่อนข้างเหมาะกับเด็กทุกวัย
ในส่วนของเบาะรองนั่งก็ออกแบบมาให้มีส่วนเว้าเพื่อรองรับต้นขาทั้ง 2 ข้าง และยังสามารถปรับระดับให้ขึ้นลงได้อย่างเหมาะสมกับความสูงของโต๊ะ เพิ่มความปลอดภัยด้วยฟังก์ชันตัวล็อคล้อ เพราะเด็ก ๆ มันจะชอบเคลื่อนไหวไปมาขณะนั่งบนเก้าอี้ตามนิสัย แต่หากคุณล็อคล้อแล้วก็จะทำให้เก้าอี้ไม่ให้คลื่อนที่ขณะนั่งค่ะ
ข้อควรพิจารณา
- มีไม่ฟังก์ชัน ที่พักแขนหรือพนักพิงศีรษะมาให้
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ผ้าหุ้มเบาะ |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | ไม่มี |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | ไม่มี |
รับประกัน | ไม่มีการรับประกันสินค้า |
Modernform เก้าอี้เออร์โกโนมิกส์เพื่อสุขภาพ Steelcase Ergonomic รุ่น Series 1

ราคา 14,000 บาท*
หากคุณเป็นคนที่ต้องนั่งทำงานหลายชั่วโมงต่อวัน แต่คุณมีงบประมาณหลักหมื่นต้น ๆ เราขอแนะนำ Steelcase ergonomic รุ่น Series 1 ที่ช่วยให้คุณไม่รู้สึกหนื่อยล้าอีกต่อไป โดยคุณสมบัติของ Steelcase รุ่นนี้ ถือว่ามีฟังก์ชันการออกแบบที่เหมาะสมกับสรีระทุก ๆ ท่านั่ง ไม่ว่าจะเป็นการปรับความสูงต่ำของเก้าอี้, การปรับความลึกของเบาะที่สามารถเลื่อนได้ตามขนาดก้นของผู้นั่ง, ที่วางแขนปรับขั้น-ลง หมุนซ้าย-ขวา ทั้งยังปรับขนาดให้ยาวหรือสั้นได้, การเอนหลังสามารถปรับองศาได้เยอะ ทั้งยังมีระบบล็อคมาให้ โดยจะปรับเอนได้ 3 ระดับ, ตรงพนักพิงศีรษะสามารถเลื่อนขึ้นลงได้ตามสัดส่วนของแต่ละคน (หากซื้อช่วงโปรทางร้านจะแถมพนักพิงศรีษะมาให้ค่ะ)
สำหรับจุดสำคัญอย่างการ Lumbar Support ก็สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ตามความต้องการ แม้ว่าจะไม่ได้มีส่วนโค้งเว้าที่ยื่นออกมาเป็นทรง S-Curve ที่เด่ดชัดเหมือนยี่ห้ออื่น ๆ แต่เป็นเพราะทางแบรนด์ต้องการให้ผู้ใช้นั่งทำงานบนเบาะแบบเต็มก้นมากกว่า โดยให้คุณอาศัยการปรับความลึกของเบาะของเบาะแทน ในส่วนของพนักพิงโดยรวมค่อนข้างยืดหยุ่น เหมาะสำหรับการซัพพอร์ตกระดูกสันหลัง โดยมีการหุ้มด้วยผ้าตาข่ายไมโครนิตช่วยลดความอับชื้นได้ดี
ข้อดี
- ตัวเก้าอี้สามารถปรับความลึกของเบาะนั่งได้ ทำให้มันสามารถนั่งให้หลังชนพนักพิงได้อย่างเต็มที่ ถือว่าฟังก์ชันส่วนนี้ค่อนข้างยืดหยุ่นต่อรูปแบบสรีระที่หลากหลายมากเลยค่ะ
ข้อควรพิจารณา
- ตัวเบาะและขนาดของเก้าอี้ค่อนข้างเหมาะสำหรับคนที่มีโครงสร้างไม่ใหญ่มากนัก หากคุณมีส่วนสูงประมาณ 180 ซม. แนะนำให้หารุ่นอื่นดีกว่าค่ะ
- ในกรณีที่ต้องการพนักพิงศีรษะด้วย แนะนำให้ตรวจสอบกับโปรโมชั่นของทางร้านก่อนซื้อเสมอด้วยนะคะ
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ตาข่าย + ผ้า |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | |
รับประกัน | 12 ปี |
Bewell เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ Ergonomic Chair รุ่น Embrace

ราคา 19,599 บาท*
เก้าอี้เออร์โกโนมิกส์จาก Bewell ที่ออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์มาพร้อมกับฟังก์ชันต่าง ๆ ที่ช่วยให้คุณนั่งสบายตลอดเวลาที่นั่งทำงาน หากใครที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ของ Bewell คุณจะรู้ว่าแบรนด์นี้เค้าโดดเด่นในเรื่องอุปกรณ์สำนักงานบรรเทาอาการออฟฟิศซินโดรม โดยครั้งนี้ได้มีการผลิต Ergonomic Chair ที่มีดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์มาก ๆ ตรงส่วนพนักพิงจะเป็นโครงตาข่าย 3 มิติที่ใช้โพลีเอสเตอร์อีลาสโตเมอร์ ซึ่งมีความยืดหยุ่นสูงคล้ายกับยาง แต่ในขณะเดียวกันก็แข็งแรงทนทานมากกว่าพลาสติก และยังระบายอากาศได้ดีว่าตาข่ายทั่วไป ส่วนตัวเบาะนั่งขนาดกว้างพิเศษ ทำจากเมมโมรี่โฟมที่หุ้มด้วยหนังไมโครไฟเบอร์อีกทีจึงให้สัมผัสที่นุ่มสบาย สามารถปรับความลึกและความสูงต่ำได้ตามต้องการ, ที่วางแขนเป็นแบบ 4 มิติ สามารถปรับได้รอบทิศทาง (สูงต่ำ/กว้างแคบ/หน้าหลัง/องศา)
หากใครที่อยากปรับนิสัยให้นั่งทำงานหลังตรง คุณจะต้องชอบรุ่นนี้ค่ะ เพราะมีโหมดปรับพนักพิงให้นั่งหลังตรงทำมุม 90° โดยที่ตั้งฉากกับพื้นตามท่านั่งสรีรศาสตร์ หรือจะปรับเป็นโหมด Relax ที่เอนหลังได้สูงสุดถึง 45° ก็ได้ค่ะ โดยคุณสามารถปรับน้ำหนักแรงต้านของพนักพิงให้ตึงหรือหย่อนได้ด้วย เพื่อให้เหมาะกับรูปร่างของตัวเองค่ะ และสุดท้ายคือส่วนรองคอสามารถปรับความสูงและองศาได้ด้วย
ข้อดี
- มีโหมดนั่งหลังตรง (Vertical Upright Mode) สำหรับท่านั่งตามสรีรศาสตร์ที่ถูกต้อง
- สามารถปรับที่วางแขนให้กว้างหรือแคบได้ จึงเหมาะกับผู้ใช้ที่มีโครงสร้างต่างกัน
- เบาะนั่งกว้างมาก สามารถยกขาขึ้นมานั่งบนเบาะได้ทั้ง 2 ข้างสบาย ๆ
ข้อควรพิจารณา
- การปรับความลึกของเบาะเป็นแบบมือหมุน ทำให้มันค่อนข้างใช้งานยุ่งยาก หากทำเป็นแบบเลื่อนน่าจะรวดเร็วมากกว่า
- น่าเสียดายที่ไม่มีฟังก์ชันการปรับส่วน Lumbar Support มาด้วย ทำให้การใช้งานไม่ค่อยครอบคลุมเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับราคา
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | โครงตาข่าย + หนังไมโครไฟเบอร์ |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | |
รับประกัน | 3 ปี |
Herman Miller Aeron เก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพ เฮอร์แมน มิลเลอร์

ราคา 40,000 บาท*
เก้าอี้ตัวนี้ก็จัดว่าเป็นเก้าอี้ Ergonomic ที่แล้วนั่งสบายไม่ปวดหลังแน่นอนค่ะ โดยตัวเก้าอี้ออกแบบมาให้เราสามารถนั่งตรงหรือปรับองศาให้เอียงไปหน้าข้างและข้างหลังได้เล็กน้อย เพราะทางแบรนด์ไม่สนับสนุนให้เรานั่งแบบกึ่งนอน เนื่องจากป้องกันไม่ให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันในอนาคตค่ะ ทั้งนี้ยังสามารถปรับตำแหน่งได้ทุกจุด ไม่ว่าจะเป็น ความสูงของที่นั่ง, ปรับที่วางแขน, ปรับเบาะ, ปรับความตึงของเก้าอี้ และยังมีแผ่นอิเล็กโทรด PostureFit SL แบบปรับได้ที่ใช้สำหรับพยุงตรงส่วนเอว หรือจุด Lumbar Support ทำให้กระดูกสันหลังของคุณมั่นคงขึ้น
วัสดุทำจากตาข่ายอย่างดี โดยนำมาใช้ทั้งในส่วนของที่นั่งและพนักพิง จึงสามารถยืดหยุ่นได้ตามน้ำหนักและสรีระของผู้นั่ง ทั้งยังระบายอากาศได้ดี เมื่อนั่งไปนาน ๆ ไม่มีความรู้สึกชุ่มเหงื่อหรือเหนียวตัวแม้แต่น้อย นอกจากนี้ตาข่ายก็ยังทนทานมาก ๆ ไม่มียืดหรือย้วยแต่อย่างใด แม้ว่าจะใช้งานกับคนที่น้ำหนักตัวเยอะก็ตาม
ในส่วนของขนาดเก้าอี้นั้น คุณสามารถเลือกขนาดที่เหมาะกับรูปร่างของตัวเองได้ง่ายมาก เพราะทางแบรนด์มีมาให้เลือกถึง 3 ไซส์ คือ Small, Medium, Large แม้ว่าราคามันจะสูงไปหน่อย แต่หากคุณมีงบมากพอ การลุงทุนในด้านสุขภาพไปกับเก้าอี้ของ Herman Miller รุ่น Aeron ก็นับว่าเป็นการลงทุนที่ดี
ข้อดี
- เป็นเก้าอี้ที่เหมาะกับสรีระร่างกายและตรงตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นจริง ๆ การันตีด้วยยอดขายมากกว่า 8 ล้านชิ้นทั่วโลก
- มีขนาดให้เลือก 3 ขนาด จึงทำให้มันเป็นเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพที่สามารถใช้งานได้ครอบคลุมต่อผู้คนทุกกลุ่มจริง ๆ
- วัสดุเป็นตาข่ายคุณภาพสูงที่ยืดหยุ่นกระจายน้ำหนักได้ดีมาก สามารถรองรับน้ำหนักและระบายอากาศได้ดี โดยทางแบรนด์ได้ใช้ตาข่ายทั้งในส่วนของพนักพิงและเบาะนั่งเลยค่ะ ค่อนข้างต่างจากยี่ห้ออื่น ๆ ที่จะใช้เฉพาะพนักพิงเท่านั้น
ข้อควรพิจารณา
- ราคานี้ไม่ได้มาพร้อมส่วนของพนักพิงศีรษะ ดังนั้นต้องซื้อชิ้นส่วนมาต่อเพิ่ม
วัสดุพนักพิงและที่นั่ง | ตาข่ายทั้งหมด |
---|---|
ปรับความลึกของเบาะ | |
การซัพพอร์ตช่วงเอวปรับได้ | |
ที่พักแขนปรับได้ | |
พนักพิงศีรษะปรับได้ | (ไม่มีต้องซื้อแยก) |
รับประกัน | 12 ปี |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ความแตกต่างของ เก้าอี้เกมมิ่ง (Gaming Chair) VS เก้าอี้เออร์โกโนมิกส์ (Ergonomic Chair) มีข้อดีข้อเสียอะไรบ้าง ?
หากคุณกำลังลังเลไม่แน่ใจว่าจะซื้อเก้าอี้เกมมิ่งหรือเก้าอี้เออร์โกโนมิกส์เพื่อสุขภาพดี? อย่างแรกเลยคุณจะต้องรู้จักตัวเองก่อนว่าคุณจัดอยู่ในกลุ่มคนประเภทไหน? หากคุณเป็นนักเล่นเกมตัวยงที่ใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่นเกม ก็ขอให้เลือกซื้อเก้าอี้ Gaming แต่หากคุณจัดอยู่ในกลุ่มคนคนบ้างาน (Workaholic) ที่ชอบทำงานทั้งวันทั้งคืนแบบไม่มีวันหยุด คุณควรจะซื้อเก้าอี้ Ergonomic ที่เหมาะกับสรีระของคุณ เพื่อช่วยให้คุณได้รับความสบายพร้อมกับรักษาสุขภาพโดยรวมอย่างแท้จริง
หากถามว่าเก้าอี้ทั้ง 2 ประเภทนี้มีความแตกต่างกันมากมั้ย? ต้องบอกว่าเก้าอี้ทั้ง 2 ประเภทจัดเป็นเก้าอี้ที่รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ ให้เหมาะกับสรีระร่างกายของผู้นั่ง สามารถนั่งทำงานหรือเล่นเกมได้เป็นวลานาน มองดูเผิน ๆ อาจคิดว่ามันไม่ต่างกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วมันก็จะมีความแตกต่างกันบ้างในบางเรื่อง ซึ่งจะมีอะไรบ้างนั้นตามมาดูกันเลยค่ะ
1. การออกแบบดีไซน์โดยรวม
ในแง่ของดีไซน์นั้นเก้าอี้ Gaming จะเน้นสไตล์สีสันสะดุดตามีความสวยงามเป็นพิเศษ โดยส่วนใหญ่จะเป็นสีทูโทน อย่างเช่นแดง-ดำ, ขาว-ดำ หรือเขียว-ดำ ในขณะที่เก้าอี้ Ergonomic ให้ความสำคัญกับโครงสร้างและความสบายตามหลักสรีรศาสตร์มากกว่าสีสันที่ฉูดฉาด ดังนั้นดีไซน์ของเก้าอี้ Ergonomic ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบเรียบง่ายเน้นสีพื้น ๆ ที่ดูดีมีรสนิยม อย่างเช่น สีดำ สำเทา หรือสีน้ำตาลเป็นต้นค่ะ
2. ปีกของเบาะนั่ง
เบาะนั่งของเก้าอี้ Gaming จะมีการออกแบบที่ยกขึ้นให้สูงทั้ง 2 ด้าน เพราะมันเป็นเบาะนั่งได้รับบันดาลใจมาจากเบาะของรถแข่ง F1 ที่คอยประคองร่างกายคุณอยู่ตลอดเวลาขณะที่ขับรถ ส่วนเหตุผลที่ใส่เข้ามาในเก้าอี้ Gaming ก็เพื่อเป็นการเพิ่มความเท่และอรรถรสในการเล่นเกมนั่นเองค่ะ
ซึ่งเอาจริง ๆ แล้วมันดูสวยและมีเสน่ห์มากเลยค่ะ แต่ในแง่ของความสะดวกสบายหรือตามหลักสรีรศาสตร์มันอาจจะไม่ตอบโจทย์สักเท่าไหร่ เพราะมันมีพื้นที่สำหรับนั่งที่จำกัด เหมาะสำหรับเหล่าเกมเมอร์ที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่ายกายไปมามากนัก แต่สำหรับใครที่ชอบนั่งไขว่ห้าง ชอบยกเท้าข้างหนึ่งหรือยกทั้งสองข้างไว้บนเบาะ เตรียมตัวบอกลาเบาะเก้าอี้ Gaming แบบนี้ไปเลยค่ะ
นอกจากนี้สำหรับผู้ที่โครงสร้างร่างกายขนาดใหญ่ ก็อาจจะไม่เหมาะกับเก้าอี้ Gaming ที่มีปีกเบาะแบบนี้เช่นกัน เพราะโดยทั่วไปแล้ว ร้อยทั้งร้อยขนาดของเบาะที่ระบุมาให้มักจะไม่ค่อยมีความแม่นยำค่ะ ในทางกลับกันเก้าอี้ Ergonomic จะเป็นเพียงแค่เบาะตามมาตรฐานทั่วไปไม่มีส่วนของปีกเบาะ จึงไม่แน่จำกัดพื้นที่ของเบาะนั่ง สามารถรองรับท่านั่งที่หลากหลาย
3. พนักพิงแบบมีปีก
เป็นอีกครั้งที่เก้าอี้ Gaming ได้รับบันดาลใจจากเบาะรถยนต์ ที่มักมาพร้อมกับพนักพิงที่มีปีกยื่นออกมาเล็กน้อย จุดประสงค์หลักของมันเพื่อช่วยให้คุณอยู่กับที่เมื่อการเลี้ยวโค้งขณะที่ขับรถจริง ๆ แต่ปัญหาคือการนำฟังก์ชันนี้มาใช้กับเก้าอี้ Gaming ต่อให้คุณเล่นเกมแข่งรถที่ลุ้นระทึกขณะไหนก็ตามมันก็ไม่อาจสร้างแรงเหวี่ยงจนทำให้ร่างกายของคุณแกว่งไปมาได้เหมือนตอนขับรถจริง ๆ
ดังนั้นข้อดีและข้อเสียของพนักพิงมีปีกจึงคล้ายกับปีกของเบาะนั่ง สิ่งเหล่านี้มีส่วนช่วยเพิ่มประสบการณ์การเล่นเกมของคุณให้สนุกมากยิ่งขึ้น แต่ในมุมมองตามหลักสรีรศาสตร์ มันค่อนข้างจำกัดการเคลื่อนไหวร่างกายส่วนบนของผู้นั่ง หากคุณเป็นคนที่ตัวใหญ่หรือมีโครงสร้างใหญ่ก็อาจรู้สึกอึดอัดคับแคบได้ ซึ่งถ้าถามว่าฟังก์ชันส่วนนี้ควรมีไหม ถ้าจะนำไปใช้สำหรับการทำงาน? ก็ขอตอบเลยว่ามันไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ค่ะ อีกอย่างเก้าอี้ Ergonomic ส่วนใหญ่ก็ไม่ออกแบบมาให้มีปีกตรงพนักพิงด้วยค่ะ

credit : bestreview.asia
4. ความหนาของเบาะนั่งด้านหน้า
เก้าอี้ Gaming จะมาพร้อมกับเบาะด้านหน้าที่ยกตัวให้สูงขึ้นและยังมีความหนาเป็นพิเศษด้วยการใช้ฟองน้ำอัดแน่น โดยที่ไม่สามารถปรับอะไรได้เลย ซึ่งเป็นการเลียนแบบมาจากเบาะของรถยนต์อีกเช่นเคย (หากนึกไม่ออกมันจะคล้าย ๆ คาร์ซีทสำหรับเด็กค่ะ) โดยเบาะประเภทนี้จะช่วยพยุงขาคนขับขึ้นเล็กน้อย ทำให้พวกเขาสามารถเอื้อมตัวไปเหยียบคันเร่งได้ง่ายขึ้น ทั้งยังช่วยให้คนขับนั่งอยู่ในที่นั่งอีกด้วย แม้ว่าการออกแบบเช่นนี้จะดีต่อสถานการณ์ขับรถจริง ๆ แต่สำหรับการนั่งทำงานหรือเล่นเกมในเวลานาน ๆ มันส่งผลไม่ดีก็ได้ค่ะ เพราะท่านั่งตามหลักสรีรศาสตร์ที่แนะนำคือคุณควรจะงอเข่า 90 องศา โดยที่เท้าราบกับพื้น
ดังนั้นเมื่อเบาะนั่งมีการยกด้านหน้าให้สูงขึ้น มันจึงเข้าไปเพิ่มแรงกดที่ด้านหลังของต้นขามากขึ้นด้วย จนทำให้คุณรู้สึกขาชาได้ ในทางกลับกันเก้าอี้ Ergonomic ออกแบบมาให้ตัวเบาะสามารถปรับความเอียงก้มเงยได้ตามสะดวก ดังนั้นมันจึงมีความยืดหยุ่นมากกว่าในแง่ของการใช้งานค่ะ
5. หมอนรองเอวและหมอนรองศีรษะ
หมอนรองเอวและหมอนรองศีรษะจัดเป็นเป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับเก้าอี้ Gaming ที่ขาดไม่ได้เลยค่ะ แต่หากถามว่ามันสามารถช่วยในเรื่องของหลักสรีรศาสตร์หรือไม่? คำตอบสั้น ๆ ดูเหมือนจะใช่ แต่ก็ไม่ได้ช่วย 100% เพราะหมอนรองเอวหรือหมอนรองศีรษะของเก้าอี้ Gaming ส่วนใหญ่มักจะเป็นบล็อกหรือก้อนเบาะหนา ๆ สั้น ๆ ที่สามารถถอดออกได้ แต่มันก็ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้ซัพพอร์ตได้ดีเยี่ยมขนาดนั้น อย่างหมอนรองศีรษะนั้นก็ไม่สามารถปรับองศาได้ ทำได้เพียงแค่เปลี่ยนตำแหน่งจากรองศีรษะมาเป็รองคอ (บางตัวก็ซัพพอร์ตได้เฉพาะตำแหน่งคอเท่านั้น) ส่วนหมอนรองเอวที่แม้ว่าจะสามารถปรับตำแหน่งต่าง ๆ ได้ แต่มันก็เป็นรูปทรงที่ไม่มีความสโลพใด ๆ ทำให้มันเหมาะจะใช้งานซัพพอร์ตเฉพาะช่วงเอวเท่านั้น ไม่สามารถซัพพอร์ตกระดูกสันหลังได้ทุกส่วน บวกกับมันไม่สามารถปรับองศาความลึกได้
ในทางกลับกันสำหรับเก้าอี้ Ergonomic โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะออกแบบมาให้สามารถปรับได้ทุกส่วนทั้งเอวและศีรษะ โดยที่ปรับองศาหรือความสูงได้ตามต้องการเพื่อความสบายขณะนั่ง ดังนั้นเราจึงไม่ต้องกังวลในเรื่องนี้มากนัก แต่ก็อาจจะมีบางรุ่นที่ออกแบบมาให้ส่วนเอวและศีรษะยึดติดกับเก้าอี้เลย ดังนั้นก็ควรพิจารณาในส่วนนี้ด้วยเช่นกันค่ะ
6. ความสูงของพนักพิงหลัง และพนักพิงศีรษะ
สำหรับเก้าอี้ Gaming เกือบทุกรุ่นมักมีการออกแบบมาให้มีพนักพิงที่สูง (นับว่าเป็นข้อดีค่ะ) ซึ่งจะมาพร้อมกับพนักพิงศีรษะแบบตายตัวที่ไม่สามารถปรับองศาหรือความสูงได้เลย (แต่ยังดีหน่อยที่ให้หมอนรองศีรษะมาด้วยเพื่อรองรับช่วงคอหรือศีรษะมาให้) ฟังก์ชันความสูงแบบพิเศษของพนักพิงนี้ ส่งผลให้เก้าอี้ Gaming ค่อนข้างเหมาะกับสรีรศาสตร์มากกว่าเมื่อเทียบกับเก้าอี้สำนักงานมาตรฐานทั่วไป ที่มีความสูงของพนักพิงในระดับกลาง ๆ หรือระดับต่ำเพราะมันจะไม่มีพนักพิงศีรษะมาให้อย่างแน่นอน จำเป็นต้องซื้อต่อแยก อีกทั้งความสูงของพนักพิงนี้ก็ยังเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบพักผ่อนด้วยการงีบแบบเอนหลัง เพราะจะให้อารมณ์คล้ายกับเก้าอี้เอนนอนเลยค่ะ
แต่แน่นอนว่าสำหรับเก้าอี้ Ergonomic ส่วนใหญ่ก็จะมีพนักพิงศีรษะมาให้ด้วย และมันก็สามารถปรับระดับความสูงหรือมุมองศาได้ตามต้องการ ซึ่งถือว่าเป็นฟังก์ชันที่ดีเมื่อเทียบกับพนักพิงศีรษะยึดติดกับเก้าอี้ไปเลย แต่แนะนำอีกนิดว่าใครที่ชอบเอนหลังบ่อย ๆ ขอให้เลือกเก้าอี้ Ergonomic ที่มีพนักพิงสูง ๆ ให้เหมือนกับเก้าอี้ Gaming ก็ดีค่ะ เพราะเก้าอี้ที่มีพนักพิงสูงจะเอื้อต่อความสบายหลังขณะนั่งในระยะยาว และยังหลีกเลี่ยงอาการปวดหลังได้อีกด้วยค่ะ
7. ระดับองศาเอนหลังของพนักพิง
เก้าอี้ Gaming ส่วนใหญ่มีพนักพิงในระดับสูงมากซึ่งบางตัวก็สามารถเอนหลังได้มากถึง 180 องศา เพื่อใช้สำหรับเอนตัวนอนหากถามว่าเก้าอี้ที่ดีควรปรับระดับเอนหลังได้เท่าไหร่? เราขอยกตัวอย่างจากข่าวของนักวิจัยชาวแคนาดา Waseem Amir Bashir ที่เขาได้ใช้การสแกนด้วยเครื่อง MRI (Magnetic Resonance Imaging) เพื่อตรวจสอบปริมาณของแรงกดในท่านั่งต่าง ๆ ที่กระทำต่อกระดูกสันหลัง ผลปรากฏว่ามุมที่ออกแรงน้อยที่สุดคือการนั่งด้วยตำแหน่งพนักพิง 135 องศา ดังนั้นการนั่งตัวตรงก็อาจจะ ‘ไม่ดีสำหรับหลัง’ เสมอไปแล้วค่ะ (1)

รูปภาพจาก bbc.co.uk
ดังนั้นนักเล่นเกมที่ต้องนั่งหน้าคอมหลายชั่วโมง ต้องใช้เก้าอี้ที่มีพนักพิงสูงและสามารถปรับเอนหลังได้มาก เพราะจะช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่สำหรับเก้าอี้ทำงานทั่วไปจะค่อนข้างถูกจำกัดระดับในการเอนหลังพอสมควร อย่างมากที่สุดจะปรับเอนได้ไม่เกิน 10-20 องศาเท่านั้น ดังนั้นเก้าอี้ Gaming จึงมีความอเนกประสงค์มากกว่าในแง่การปรับเอนค่ะ
ทั้งนี้สำหรับเก้าอี้ Ergonomic เพื่อสุขภาพก็สามารถปรับระดับการเอนหลังได้ดีเช่นกัน อย่างน้อย ๆ ก็มากกว่า 10-20 องศาอย่างแน่นนอน แต่ในบางรุ่นก็ไม่ได้ปรับได้สูงสุด 180 องศาเหมือนเก้าอี้ Gaming ดังนั้นแนะนำให้คุณตรวจสอบส่วนนี้ให้ดีก่อนซื้อนะคะ
8. ที่พักแขนแบบปรับได้ 2D / 3D / 4D
และข้อสุดท้ายคือที่วางแขน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฟังก์ชันที่มักพบได้ทั่วไปในเก้าอี้ Gaming มันสามารถปรับระดับต่าง ๆ ได้ตามสะดวก แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเทียบราคากันแล้วกับเก้าอี้ Ergonomic (ที่มีราคาเท่ากัน) เราแทบจะไม่พบฟังก์ชันเหล่านี้ในเก้าอี้ Ergonomic เลยค่ะ หากคุณต้องการเก้าอี้ Ergonomic ที่มีที่วางแขนแบบ 2D / 3D / 4D ที่สามารถปรับระดับความสูง ความลึก หรือมุมในตำแหน่งต่าง ๆ ได้ตามต้องการ คุณอาจจะต้องเพิ่มจำนวนเงินเข้าไปอีกหน่อยค่ะ
สรุปควรซื้อเก้าอี้ทำงานเพื่อสุขภาพแบบไหนดี
เก้าอี้ Gaming | เก้าอี้ Ergonomic | เก้าอี้สำนักงานทั่วไป | |
พนักพิงศีรษะ | ปรับไม่ได้ | ปรับได้ | ปรับไม่ได้หรือไม่มีเลย |
พนักพิงหลัง | มีปีกและสูงเป็นพิเศษ | ไม่มีปีก, ความสูงแล้วแต่รุ่น | ไม่มีปีก, ความสูงกลาง ๆ |
เบาะนั่ง | ด้านหน้าหนา ปรับเบาะไม่ได้ | ปรับเอียงเบาะได้ | ปรับเบาะไม่ได้ |
ขอบเบาะนั่ง | มีขอบ | ไม่มีขอบ | ไม่มีขอบ |
องศาการเอนหลัง | ปรับเอนได้สูงมาก | ปรับเอนได้กลาง ๆ ถึงสูง | ปรับเอนได้เล็กน้อย |
การซัพพอร์ตช่วงเอว | ปรับไม่ได้ แต่มีหมอนเสริมมาให้ | ปรับได้ | ปรับไม่ได้ |
ที่พักแขน | ปรับได้ | ปรับได้ | ปรับไม่ได้หรือไม่มีเลย |
สรุปแล้วควรซื้อเก้าอี้เกมมิ่ง (Gaming) หรือเก้าอี้เออร์โกโนมิกส์ (Ergonomic) แบบไหนดี? เราขอสรุปง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ
- เบาะนั่งและพนักพิงที่มีปีกด้านข้างของเก้าอี้ Gaming อาจส่งผลเสียมากกว่าผลดี เมื่อมองจากมุมมองตามหลักสรีรศาสตร์ มันเป็นฟังก์ชันที่ไม่จำเป็นต้องมีเลย แต่ในแง่ของอรรถรสในการเล่นเกม มันจะช่วยให้คุณสนุกและ enjoy มากขึ้น
- หากมองในเรื่องของงบประมาณที่จำกัด เก้าอี้ Gaming ที่มีราคาถูกกว่า มักมาพร้อมกับฟังก์ชันพื้นฐานของเก้าอี้ที่ดี ไม่ว่าจะเป็น หมอนรองคอ, หมอนรองเอว, พนักพิงที่สูงและแข็งแรง, องศาการเอนหลังได้หลายระดับ, ที่วางแขนแบบ 2D หรือ 3D เป็นต้น
- หากมองในแง่ของการลงทุนเพื่อสุขภาพในระยะยาว ดูเหมือนเก้าอี้ Ergonomic จะมาพร้อมกับนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ส่งเสริมคุณภาพการนั่งของคุณให้ถูกต้องตามหลักสรีรศาสตร์มากกว่า ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมันมักจะถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสูงในหลาย ๆ ด้านเลยค่ะ
ปัจจุบันนี้การนั่งทำงานในแต่ละวันอาจจะใช้ระยะเวลายาว 8-10 ชั่วโมง แน่นอนว่าการนั่งทำงานในท่าเดิมแบบนี้จะส่งผลเสียต่อสุขภาพหลังเป็นอย่างมาก ยิ่งถ้าหากเก้าอี้ทำงานที่คุณใช้ ไม่มีฟังก์ชันซัพพอร์ตสรีระ ก็ยิ่งทำให้คุณมีอาการปวดหลังมากขึ้น หากคุณยังคงปล่อยไว้แบบนี้นาน ๆ เข้า ก็จะทำให้คุณกลายเป็นออฟฟิศซินโดรมได้ในที่สุด ดังนั้นการลงทุนกับไปเก้าอี้ Ergonomic ที่มีราคาสูงกว่าเก้าอี้ทำงานทั่วไป จะให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าด้านสุขภาพในระยะยาวมากกว่าแน่นอนค่ะ และเราก็หวังว่าคุณจะพบว่าข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากในบทความของเราไม่มากก็น้อยนะคะ
References :