ดวงตาเป็นอวัยวะที่สำคัญและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวันมาก ๆ แต่เมื่อเรามีอายุมากขึ้นการมองเห็นของเราก็ลดลงตามธรรมชาติ บางคนก็อาจรู้สึกว่าตัวเองไม่จำเป็นต้องใส่แว่นสายตา ในขณะที่บางคนก็พบว่าการมองเห็นของตัวเองแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด แม้แต่หน้าจอคอมที่อยู่ใกล้ ๆ คุณยังต้องปรับขนาดตัวหนังสือและปรับความสว่างให้ถึงขีดสุด หรือบางครั้งคุณก็อาจพบว่าตัวเองมีอุปสรรคในการมองเห็นช่วงกลางคืนและโฟกัสภาพได้ไม่ชัดเจน ปัญหาเหล่านี้ย่อมมีที่มาที่ไปเสมอค่ะ
เพราะโลกในปัจจุบันนี้มีการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ คนจำเป็นต้องใช้สายตาจดจ่อกับหน้าจอดิจิตอลกันวันละหลายชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็น การใช้โน๊ตบุ๊คสำหรับทำงาน, การใช้แท็บเล็ตสำหรับเรียนหนังสือ รวมถึงสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือการใช้สมาร์ทโฟน แม้ว่าตอนนี้เหล่าผู้ผลิตจะมีการนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ เข้ามาใช้กับหน้าจอเพื่อถนอมดวงตาของผู้ใช้งานกันมากขึ้น แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการจ้องหน้าจอนาน ๆ ก็เสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพตาในอนาคตได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ค่าสายตาที่สั้นลง, ปัญหาจอประสาทตาเสื่อม, ตาแห้ง, มองเห็นภาพซ้อน, ปวดตา, ดวงตาเหนื่อยล้า, ตาไวต่อแสง และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ที่เรียกว่า “อาการของสายตาดิจิตอล” ค่ะ (1-2)
ทั้งนี้หลาย ๆ คนจึงพยายามปกป้องดวงตาของตนเองด้วยการสวมแว่นกรองแสงสีฟ้า, ติดฟิล์มถนอมสายตาตัดแสงสีฟ้า หรือการหยุดพักสายตาทุก ๆ 30 นาทีขณะใช้จอดิจิตอล แต่วิธีเหล่านี้ไม่อาจจะช่วยถนอมดวงตาของคุณได้อย่างยั่งยืน เพราะตราบใดที่คุณยังต้องนั่งทำงานและใช้สายตาผ่านหน้าจออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมงต่อวัน สัญญาณอันตรายของสุขภาพตาก็จะเกิดขึ้นไม่ช้าก็เร็วค่ะ แม้ว่าตอนนี้การมองเห็นของคุณยังเป็นปกติไม่พบปัญหาอะไร แต่โรคที่เกี่ยวกับดวงตาหลาย ๆ โรคก็ไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ บอกให้คุณรู้ล่วงหน้าได้เช่นกัน ดังนั้นคุณอาจมีปัญหาทางสายตาโดยไม่ทราบสาเหตุได้ทุกเมื่อเลยค่ะ แต่ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดีให้คุณได้อุ่นใจนะคะ เพราะมีหลายอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการมีสุขภาพตาที่ดีในระยะยาว อย่างเช่นการทาน “อาหารเสริมบำรุงดวงตา” หรือ “วิตามินบำรุงสายตา” นั้นเองค่ะ
การเลือก วิตามินบำรุงสายตาสำหรับวัยทำงานหรือผู้ใหญ่ ที่ต้องใช้สายตานั่งหน้าคอมนานๆ
ควรเพิ่มปริมาณสารแคโรทีนอยด์ยบางชนิดในแต่ละวัน (9-2)
ลูทีน (Lutein), ซีแซนทีน (Zeaxanthin), เมโส-ซีแซนทีน (Meso-Zeaxanthin) จัดว่าเป็นสารแคโรทีนอยด์ชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ สารแคโรทีนอยด์ทั้งสามนี้มีอยู่ภายในดวงตาคุณอยู่แล้ว ซึ่งมันเป็นสารที่ช่วยปกป้องดวงตาของคุณจากการทำลายของอนุมูลอิสระได้ นอกจากนี้มันยังทำหน้าที่เป็นเหมือนครีมกันแดดที่คอยดูดซับแสงสีฟ้าและรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อดวงตาของคุณได้อีกด้วย (9,21)
แน่นอนว่าเมื่อเราอายุมากขึ้นอาการจอประสาทตาเสื่อม ต้อกระจก หรืออาการอื่น ๆ ก็สามารถเกิดขึ้นกับคุณได้ทั้งนั้น แต่สารแคโรทีนอยด์ที่มีอยู่ในดวงตาของคุณอาจมีไม่มากพอที่จะดูแลสุขภาพดวงตาให้ดีได้เหมือนเมื่อก่อน ดังนั้นการทานอาหารที่อุดมด้วยสาร Lutein และ Zeaxanthin จะสามารถป้องกันหรือชะลอการลุกลามของโรค AMD (โรคจุดรับภาพเสื่อมในผู้สูงอายุ) รวมถึงความผิดปกติของดวงตาที่เกี่ยวข้องกับอายุได้ (9,23-24)
โดยสาร Lutein และ Zeaxanthin มักจะพบได้ใน ผักเคล, ผักโขม, พริกหยวก, ข้าวโพด, องุ่นแดง หรือในไข่แดง เป็นต้น ซึ่งปริมาณ Lutein ที่แนะนำในแต่ละวันจะอยู่ที่ประมาณ 6-20 มิลลิกรัม/วัน ส่วน Zeaxanthin ประมาณ 2-4 มิลลิกรัม/วัน แต่จากการศึกษาพบว่าผู้คนส่วนใหญ่มักจะได้รับสารแคโรทีนอยด์ทั้งสองชนิดนี้ไม่ถึงตามเป้าที่ตั้งไว้หรอกค่ะ เพราะโดยเฉลี่ยแล้วจะได้รับ Lutein เพียง 1-2 มิลลิกรัม/วัน และ Zeaxanthin น้อยกว่า 1 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น (22)
ดังนั้นคุณจึงต้องทานผักและผลไม้ให้มากขึ้นเพื่อที่จะได้รับสาร Lutein และ Zeaxanthin อย่างเพียงพอ ส่วน Meso-Zeaxanthin ถือว่าเป็นแคโรทีนอยด์อีกตัวหนึ่งที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดเมื่อเทียบกับ Lutein และ Zeaxanthin แต่น่าเสียดายที่ Meso-Zeaxanthin ไม่สามารถพบได้ในอาหารทั่วไปค่ะ (22)
ดังนั้นการทานอาหารเสริมที่มีสาร Lutein, Zeaxanthin และ Meso-Zeaxanthin ในปริมาณที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันความเสียหายจากออกซิเดชันที่ดวงตา ทั้งยังช่วยป้องกันอาการเมื่อยล้าของดวงตาจากการจ้องหน้าจอคอมหรือจอสมาร์ทโฟนเป็นเวลานาน ๆ อีกด้วยค่ะ (23-24)
วิตามินอื่น ๆ ที่อาจช่วยให้สุขภาพตาดีขึ้นได้
โอเมก้า 3 | คุณสามารถพบ DHA ในปริมาณมากได้จากเรตินาในดวงตาของคุณ ซึ่ง DHA จะช่วยรักษาเซลล์ของเรตินาและกระจกตา ให้มีการสร้างใหม่ได้ดีขึ้นหลังจากที่ดวงตาของคุณได้รับความเสียหายจากแสงสีฟ้าหรือมีความเสื่อมสภาพ อีกทั้ง DHA ยังป้องกันอาการตาแห้งได้อีกด้วย นอกจากนี้การขาด DHA ก็อาจทำให้การมองเห็นบกพร่องได้ (โดยเฉพาะในเด็ก) ค่ะ (28-29) |
วิตามิน C และ E | การศึกษาหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่าวิตามิน C ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกบางประเภท ทั้งยังพบว่าการทานอาหารเสริมวิตามิน C และอาหารเสริมวิตามิน E ร่วมกันจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดต้อกระจกและชะลอการลุกลามของโรคต้อกระจกได้ (25-27) |
สังกะสี (Zinc) | Zinc สามารถพบได้ในดวงตาของคุณ มันมีส่วนเกี่ยวข้องในการสร้างเม็ดสีที่มองเห็นในเรตินา และ Zinc ยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันความเสียหายของเซลล์ในดวงตาอีกด้วย (18-20) |
วิตามิน B | มีวิตามิน B หลายชนิดที่อาจผลกระทบต่อสุขภาพดวงตาได้ โดยเฉพาะวิตามิน B6, B9 และ B12 เพราะมีงานวิจัยระบุว่าการทานวิตามิน B ทั้ง 3 ตัวนี้ร่วมกัน อาจช่วยลดการพัฒนาของโรค AMD ลดลงได้ถึง 34% ส่วนวิตามิน B2 หรือไรโบฟลาวินเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดต้อกระจกลงได้ 31–51% เลยค่ะ (38-39) |
วิตามิน A | หากคุณได้รับวิตามิน A ไม่เพียงพอคุณอาจมีอาการตาบอดกลางคืน (Night Blindness) ได้ หรือมีอาการตาแห้ง ตาพร่ามัว หรือหากร้ายแรงกว่านี้ก็จะส่งผลให้ตาบอดได้ ซึ่งอาการต่าง ๆ จะขึ้นอยู่กับการขาดวิตามิน A ของแต่ละคนค่ะ (30-31) |
ผลไม้ตระกูลเบอรี่ ดีต่อดวงตาอย่างไร ?
อีกหนึ่งสารต้านอนุมูลอิสระที่เราไม่ได้บอกในข้อหัวก่อนหน้านี้ก็คือ แอนโธไซยานิน (Anthocyanin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระฟลาโวนอยด์ มักพบได้ในผักหรือผลไม้ที่มีเม็ดสีน้ำเงินเข้ม ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยตามผลไม้อย่างพวก บลูเบอร์รี่, บิลเบอร์รี่ (เราจะพบในอาหารเสริมบำรุงดวงตามากที่สุด), แครนเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่สีดำ, ทับทิม หรือเชอร์รี่ รวมถึงผักที่มีสีม่วงอย่าง มะเขือม่วง, กะหล่ำปลีม่วง หรือแรดิชก็สามารถพบแอนโธไซยานินได้เช่นกันค่ะ
แอนโธไซยานินจากผลไม้บิลเบอร์รี่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในส่วนผสมพื้นฐานของอาหารเสริมบำรุงสายตา เนื่องจากสารแอนโธไซยานินมีความสำคัญต่อการปรับปรุงสุขภาพตาที่ดีขึ้น อาทิเช่น ช่วยปรับปรุงการมองเห็นของคนที่สายตาสั้นหรือคนที่เป็นโรคต้อหิน, ช่วยลดการอักเสบในเนื้อเยื่อของดวงตา, ช่วยดูแลบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เรตินาของคุณได้รับความเสียหายจากแสงสีฟ้า โดยรวมแล้วมันเหมาะสำหรับคนที่ต้องทำงานกับจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ เพราะสารแอนโธไซยานินนั้นจะเน้นช่วยลดอาการตาแห้ง รวมถึงอาการอื่น ๆ จากความล้าของดวงตาได้เป็นอย่างดีเลยค่ะ (33-37)
เราใช้เกณฑ์ในการเลือกสินค้าโดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์ รวมไปถึงยอดขายและรีวิวของผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ ก่อนซื้อแนะนำในอ่านฉลากส่วนประกอบต่าง ๆ รวมไปถึงปรีกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกร
* เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน *
วิตามินบำรุงสายตา ยี่ห้อไหนดี
![]() Luteina (ลูทีน่า) สารสกัดจากดอกดาวเรือง | ![]() Herbal One Ocoberry (เฮอร์บัล วัน โอโคเบอร์รี่) | ![]() Vistra Bilberry Extract Plus Lutein Beta-Carotene & Vitamin E | ![]() Blackmores Bilberry 2500 (แบลคมอร์ส บิลเบอร์รี) |
![]() Mega We Care (เมก้า วีแคร์ ไอไอแคร์) ii Care Bilberry Extract | ![]() Clover Plus Bilberry and Marigold Complex โคลเวอร์พลัส | ![]() Dr. Lyn Lutein Bilberry Plus A | ![]() BRAND'S สารสกัดจากเเบล็กเคอร์เเรนท์ ผสมลูทีน ซีเเซนทีน |
อาหารเสริมสามารถปรับปรุงสุขภาพดวงตาและการมองเห็นได้จริงหรือไม่ ?
จากที่เราได้บอกไปแล้วว่ามีสารอาหารอะไรบ้างที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพดวงตาของคุณ แต่คุณต้องยอมรับว่าการทานผักผลไม้ในมื้ออาหารเพียงอย่างเดียวไม่สามารถเติมเต็มความต้องการของร่างกายได้เต็มที่ ดังนั้นอาหารเสริมที่อัดแน่นมาด้วยวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ ในรูปแบบที่ทานง่าย จะส่งผลต่อสุขภาพดวงตาของคุณได้เป็นอย่างมากในเวลาอันรวดเร็วเลยค่ะ ส่วนมากหากคุณได้รับวิตามินและสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่เหมาะสมก็เห็นความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นไม่มากก็น้อยภายใน 2 สัปดาห์เท่านั้น
แต่แม้ว่าอาหารเสริมจะช่วยปรับปรุงการมองเห็นให้ดีขึ้นขนาดไหนก็ตาม แต่อาหารเสริมเหล่านี้ไม่สามารถช่วยให้ดวงตาของคุณกลับมาเป็นดวงตาแบบปกติได้ 100% เหมือนเมื่อก่อนแน่นอนค่ะ เพราะอย่างไรก็ตามสายตาของคุณจะต้องเสื่อมสภาพลงไปตามอายุที่สูงขึ้น และคุณจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้งานสายตาผ่านหน้าจอ LED ทั้งหลายให้น้อยลงด้วยค่ะ เพราะไม่ใช่ว่าอาหารเสริมทุกชนิดบนโลกนี้จะช่วยให้คุณมีสุขภาพเป็นหนุ่มสาวได้ตลอดไป มันแค่อาจช่วยชะลอหรือป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นเท่านั้นค่ะ
การดูแลสุขภาพตาในเด็ก ควรเสริมด้วยวิตามินและสารอาหารอะไรดี ?
หากคุณคิดว่าปัญหาเกี่ยวกับดวงตามักจะเกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ใหญ่ขอบอกเลยว่าคุณกำลังคิดผิดอย่างมหันต์ เพราะการเรียนรู้ในสมัยนี้เต็มไปด้วยเทคโนโลยีมากมายที่จะเข้ามาเติมเต็มจินตนาการในหลักสูตรของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นวีดีโอการเรียนรู้ หรือการเรียนออนไลน์จากที่บ้านในยุคโควิดเองก็ตาม และสิ่งสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งเลยก็คือทุก ๆ การเรียนรู้ของเด็ก ๆ จะต้องใช้การมองเห็นร่วมด้วย ดังนั้นสุขภาพตาและการมองเห็นที่ดีจึงมีความสำคัญต่อเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก แต่เมื่อเด็ก ๆ เริ่มโตขึ้นก็จะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสายตาและการมองเห็นในแต่ละช่วงอายุต่างกันไป ทำให้เด็ก ๆ ในแต่ละวัยมีความต้องการด้านสุขภาพตาที่ไม่เหมือนกัน สิ่งสำคัญที่สุดคือผู้ปกครองต้องส่งเสริมสุขภาพตาและดูแลเรื่องวิสัยทัศน์การมองเห็นที่ดีแก่ลูก ๆ ของคุณ โดยเลือกทานสารอาหารและวิตามินที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพดวงตาของพวกเขา โดยแยกออกเป็นดังนี้ค่ะ
สุขภาพตาในวัยเด็ก (อายุ 3-10 ปี)
เนื่องจากปัญหาการมองเห็นสามารถเริ่มต้นได้ในวัยเด็ก การรับประทานอาหารที่อุดมด้วยสารอาหารเช่นวิตามิน A, C และ E รวมถึง สังกะสี, ซีลีเนียม, แอนโธไซยานิน, และ DHA อย่าง น้ำมันปลา เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับสุขภาพดวงตาที่เหมาะสมในเด็กเล็กค่ะ (3-4) แต่เพราะเนื่องจากเด็ก ๆ ช่วงวัยนี้มีอายุน้อยมาก ดังนั้นควรศึกษาเกี่ยวกับปริมาณของสารอาหารแต่ละตัวที่เหมาะสมกับเด็กในแต่ละวัยด้วยนะคะ บางครั้งหากคุณทำอาหารกินเองทุกมื้อคุณอาจจะเติมเต็มสารอาหารเหล่านี้จากมื้ออาหารแทนก็ได้ค่ะ
สุขภาพตาในเด็กวัยรุ่น (อายุ 11-18 ปี)
ในช่วงวัยเด็กนี้จะเริ่มมีการอ่านเขียนผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ดังนั้นโภชนาการที่เหมาะสมยังคงเป็นพวกวิตามิน A, วิตามิน B รวม, วิตามิน C และวิตามิน E รวมถึงสังกะสี, ซีลีเนียม, แอนโธไซยานิน และกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่าง DHA ค่ะ แต่เด็กอายุประมาณนี้จะเริ่มใช้เวลาอยู่หน้าจอนานขึ้นอย่างต่อเนื่องมากขึ้น ซึ่งอาจมีความเสี่ยงสูงที่จะได้รับผลกระทบจากแสงสีฟ้า ดังนั้นคุณอาจจะเสริมด้วย ลูทีน (Lutein) และ ซีแซนทีน (Zeaxanthin) ที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพจอประสาทตาเข้ามาด้วย เพราะมันช่วยปกป้องดวงตาของเด็กจากแสงสีฟ้าที่ปล่อยออกมาจากหน้าจอ LED ได้ค่ะ (5-9)
แสงสีฟ้ามีผลกระทบต่อสุขภาพตาอย่างไรบ้าง ?
คุณเคยมีปัญหาในการนอนหลับตอนกลางคืนหรือไม่? บางทีปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คุณนอนไม่หลับอาจมาจากแสงสีฟ้าของหน้าจอดิจิทัลรุ่นเก่าที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น หน้าจอคอมพิวเตอร์, จอสมาร์ทโฟน, จอแท็บเล็ต และจอโทรทัศน์ รวมถึงหลอดไฟให้ความสว่างอย่างหลอดไฟ LED ที่เราใช้ในทุก ๆ วันอีกด้วย ซึ่งมันอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพดวงตา, การนอนหลับ รวมถึงผิวพรรณของคุณนั่นเองค่ะ (8-9)
1. แสงสีฟ้าอาจทำให้ ปวดตา, ตาแห้ง, จอประสาทตาเสื่อม และตาบอด
เนื่องจากคนส่วนใหญ่กะพริบตาโดยเฉลี่ย 15 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อคุณเริ่มจดจ่ออยู่กับหน้าจอจำนวนครั้งในการกระพริบตาก็จะลดลงเหลือเพียง 3-4 ครั้งต่อนาทีเท่านั้น โดยที่เราไม่รู้ตัวเลย ซึ่งมันอาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดวงตาได้ อาทิเช่นก่อให้เกิดอาการปวดตาและตาแห้ง ดังนั้นการกะพริบเป็นประจำ จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการกระจายน้ำตาให้ทั่วเพื่อปกป้องผิวดวงตาของคุณ (10-12)
ในขณะเดียวกันแสงสีฟ้าอาจทำทำลายดวงตาได้เช่นกัน เพราะอย่างที่ทราบดีว่ากระจกตาและเลนส์จะช่วยปกป้องเรตินาเอาไว้ แต่การที่เลนส์ดูดซับแสงสีฟ้านาน ๆ เป็นประจำก็จะทำให้มีอาการเลนส์สีขุ่นหรือเลนส์เปลี่ยนสี เป็นผลทำให้เกิดเป็นต้อกระจกและอาจนำไปสู่การตาบอดได้ในที่สุด นอกจากนี้การได้รับแสงสีฟ้ายังเสี่ยงต่อความเสียหายจากปฏิกิริยาออกซิเดชันต่อเรตินา และยังทำให้จอประสาทตาเสื่อมเร็วขึ้น ซึ่งมันเป็นสาเหตุหลักของการสูญเสียการมองเห็นนั่นเองค่ะ (9)
2. ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ
มีการศึกษาจำนวนมากที่บอกว่าแสงสีฟ้ามีผลต่อการนอนหลับได้ ไม่ว่าจะเป็น การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในร่างกายและจังหวะการเต้นของหัวใจ, การรบกวนการทำงานของสมองให้ผลิตเมลาโทนินที่ไม่เพียงพอ ส่งผลให้คุณรู้สึกตื่นตัวและทำให้หลับยากขึ้นนั่นเองค่ะ ดังนั้นหากคุณมีปัญหาในการนอนหลับร่วมด้วยแนะนำให้ทานอาหารเสริมเมลาโทนินควบคู่กันไปค่ะ สิ่งนี้อาจช่วยทำให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้นได้ (9,13-14)
3. อาจเร่งการเกิดริ้วรอยของผิว
แสงสีฟ้ามีส่วนทำให้เซลล์ผิวเสียหายและเสื่อมสภาพเร็วขึ้น ดังนั้นการผิวของคุณสัมผัสโดนแสงสีฟ้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นประจำบ่อย ๆ จะทำให้เกิดความเสียหายจากออกซิเดชันต่อเซลล์ผิวส่งผลให้เกิดริ้วรอยเร็วขึ้นนั่นเอง และยังอาจทำให้สีผิวคล้ำมากกว่าโดนแสงรังสี UV จากดวงอาทิตย์อีกค่ะ (15-17)
บทสรุป ในการดูแลสุขภาพดวงตาของคุณ
การเปิดรับแสงสีฟ้าแบบเรื้อรังเป็นเวลานานสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ในระยะยาว โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสุขภาพตาของคุณ เนื่องจากมีผลกระทบด้านลบมากมายที่เราได้กล่าวไปแล้วในบทความนี้ แต่มันสามารถบรรเทาได้ดังนี้
- การลดเวลาอยู่หน้าจอให้น้อยลง โดยเฉพาะในช่วงตอนเย็นที่พระอาทิตย์ตกดิน (32)
- การใช้ฟิลเตอร์กรองแสงสีฟ้าในสมาร์ทโฟน, การใช้ฟิล์มกรองแสงสีฟ้า หรือการใช้แว่นกรองแสงสีฟ้า (32)
- การดูคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานอาจทำให้ดวงตาของคุณล้าได้ ดังนั้นควรพักสายตาทุก ๆ 20-30 นาที โดยให้มองออกไปไกล ๆ อย่างน้อย 20 วินาที/ครั้ง (32)
- ปกป้องดวงตาของคุณจากรังสี UV ด้วยการสวมแว่นกันแดดเมื่อคุณอยู่กลางแจ้ง และหลีกเลี่ยงการจ้องมองที่แสงแดดจ้าโดยตรง (32)
- การรับประทานอาหารเสริมที่มีแคโรทีนอยด์สูงอย่างพวก ลูทีน, ซีแซนทีน และ เมโสซีแซนทีน ตามคำแนะนำของผู้ผลิตอาหารเสริมแต่ละยี่ห้อ นอกจากนี้อาจจะเสริมด้วยพวกวิตามิน A, วิตามิน B รวม, วิตามิน C, วิตามิน E, กรดไขมันโอเมก้า 3 และอื่นๆ ที่เป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการมองเห็นที่ดี วิตามินเหล่านนี้สามารถรับประทานควบคู่กับสารแคโรทีนอยด์ได้ค่ะ (32)
- ควรเลิกสูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ไม่ได้ส่งผลเสียต่อปอดเพียงอย่างเดียว แต่ยังทำร้ายดวงตาได้อีกด้วย! เนื่องจากการสูบบุหรี่จะเข้าไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับตาได้ เช่น จอประสาทตาเสื่อมและต้อกระจก และอาจเป็นอันตรายต่อเส้นประสาทตาได้ค่ะ (32)
- นอกจากนี้การทานอาหารเสริมซิงค์ (Zinc) ก็สามารถชะลอจอตาเสื่อมตามอายุที่สูงขึ้นได้ หรือที่เรียกว่าโรคจอประสาทตาเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับอายุ (AMD) ซึ่งเจ้าโรค AMD นี่แหละค่ะ ที่เป็นตัวการสำคัญทำให้คุณการสูญเสียการมองเห็นเมื่ออายุสูงขึ้นนั้นเองค่ะ (18-20) และที่สำคัญคือหลังจากอายุ 60 ปีขึ้นไป คุณควรตรวจสุขภาพตาเป็นประจำทุกปีอย่างสม่ำเสมอด้วยนะคะ
References :
- Visual implications of digital device usage in school children: a cross-sectional study
- Digital eye strain: prevalence, measurement and amelioration
- The organization of tissues of the eye by different collagen types
- The vicious cycle of vitamin a deficiency: A review
- Lutein, Zeaxanthin and Meso-zeaxanthin Supplementation Associated with Macular Pigment Optical Density
- Dietary carotenoids, vitamins A, C, and E, and advanced age-related macular degeneration. Eye Disease Case-Control Study Group
- Visual implications of digital device usage in school children: a cross-sectional study
- Effects of blue light on the circadian system and eye physiology
- Research progress about the effect and prevention of blue light on eyes
- Changes in blink rate and ocular symptoms during different reading tasks
- Reducing Short-Wavelength Blue Light in Dry Eye Patients with Unstable Tear Film Improves Performance on Tests of Visual Acuity
- Blink rate, incomplete blinks and computer vision syndrome
- Exposure to Room Light before Bedtime Suppresses Melatonin Onset and Shortens Melatonin Duration in Humans
- Light, melatonin and the sleep-wake cycle.
- Blue light disrupts the circadian rhythm and create damage in skin cells
- Can Light Emitted from Smartphone Screens and Taking Selfies Cause Premature Aging and Wrinkles?
- Sunlight Effects on Immune System: Is There Something Else in addition to UV-Induced Immunosuppression?
- Zinc Fact Sheet for Health Professionals
- Zinc supplementation inhibits complement activation in age-related macular degeneration
- Epidemiology of age-related macular degeneration (AMD): associations with cardiovascular disease phenotypes and lipid factors
- The Photobiology of Lutein and Zeaxanthin in the Eye
- Dietary Sources of Lutein and Zeaxanthin Carotenoids and Their Role in Eye Health
- Lutein + zeaxanthin and omega-3 fatty acids for age-related macular degeneration: the Age-Related Eye Disease Study 2 (AREDS2) randomized clinical trial
- Modulatory Effect of Carotenoid Supplement Constituting Lutein and Zeaxanthin (10:1) on Anti-oxidant Enzymes and Macular Pigments Level in Rats
- Vitamin C and the Lens: New Insights into Delaying the Onset of Cataract
- Inverse Association of Vitamin C with Cataract in Older People in India
- Diet and Nutrition Adding powerful antioxidants to your diet can improve your eye health.
- Docosahexaenoic Acid, Protectins and Dry Eye
- Retina and Omega-3
- The WHO programme of prevention and control of vitamin A deficiency, xerophthalmia and nutritional blindness
- The eye signs of vitamin A deficiency
- Keep Your Eyes Healthy
- The effect of a natural, standardized bilberry extract (Mirtoselect®) in dry eye: a randomized, double blinded, placebo-controlled trial
- Bilberry extract supplementation for preventing eye fatigue in video display terminal workers
- Anthocyanosides of Vaccinium myrtillus (bilberry) for night vision–a systematic review of placebo-controlled trials
- Ginkgo biloba extract and bilberry anthocyanins improve visual function in patients with normal tension glaucoma
- Therapeutic Effects of Anthocyanins for Vision and Eye Health
- Diet and nuclear lens opacities
- Folic acid, pyridoxine, and cyanocobalamin combination treatment and age-related macular degeneration in women: the Women’s Antioxidant and Folic Acid Cardiovascular Study