มีหลายคนที่มองว่าแผลขนาดเล็กบนร่างกายเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็นต้องดูแลอะไรมากมาย เพียงแค่ล้างด้วยสบู่และปล่อยทิ้งไว้ให้ร่างกายของเราก็สามารถรักษาด้วยตัวเอง ซึ่งในบางกรณีอาจทำได้ครับ แต่อย่าลืมว่าทุกส่วนบนร่างกายของเราล้วนแล้วแต่มีระบบประสาท อีกทั้งแผลยังเป็นการเปิดโอกาสให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายจนเกิดการติดเชื้อได้ ดังนั้นทุกครั้งที่เกิดแผลเราจำเป็นต้องล้างแผลให้สะอาดอยู่เสมอ

โดยการล้างแผลเราจะต้องเตรียมอุปกรณ์และยาให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น การล้างแผลด้วยน้ำเกลือ เพื่อล้างเอาเศษสิ่งสกปรกบนแผลออก หลังจากนั้นก็รอให้แห้งแล้วตามด้วยการทายาแผลสด เมื่อทายาเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ให้ปิดแผลด้วย พลาสเตอร์ แต่ในกรณีแผลใหญ่ขึ้นมาหน่อยอาจจำเป็นต้องใช้ผ้าก๊อซ เพื่อคลุมแผลให้รอบ และข้อดีของผ้าก๊อซอีกอย่างหนึ่งคือผิวของมันค่อนข้างนุ่มและความหนากำลังพอดีทำให้เชื้อโรคไม่สามารถเข้าไปสัมผัสกับแผลของเราได้ โอกาสการติดเชื้อก็จะน้อยตามไปด้วย
ผ้าก๊อซใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ?
เราทราบกันดีอยู่แล้วว่าผ้าก๊อซมีไว้สำหรับการทำแผลหรือพันแผลเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปสัมผัสกับแผลของเราจนเกิดการติดเชื้อ ทั้งนี้ผ้าก๊อซก็สามารถใช้ได้ในหลากหลายสถานการณ์
1. กระดูกหัก
กระดูกมือสามารถเกิดการแตกหัก โดยการบาดเจ็บที่พบได้บ่อยสุดคือบริเวณนิ้วมือหรือโคนนิ้ว ซึ่งการใช้ผ้าก๊อซพันทำให้มันสามารถช่วยพยุงกระดูกและป้องกันการเคลื่อนไหวของมือและนิ้วที่แตกหักได้นั่นเองครับ ทั้งนี้สัญญาณที่บ่งบอกว่าจำเป็นจะต้องผ้าก๊อซมาช่วยในการรักษาคือ
- กระดูกบริเวณมือมีการงอและผิดรูปอย่างชัดเจน
- มือมีอาการช้ำ, นุ่ม และนวม
- ไม่สามารถขยับมือหรือนิ้วได้
- มือหรือนิ้วมีอาการชา
- มีอาการเจ็บปวดแม้ว่าจะใช้ยาแก้ปวดแล้วก็ตาม

2. แพลง
อาการตึงมือเกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อยืดหรือฉีกตัว โดยอาการแพลงบริเวณข้อมือเกิดขึ้นได้บ่อยเมื่อมีการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ อย่างเช่น การพิมพ์หรือใช้เมาส์ ซึ่งการใช้ผ้าก๊อซพันจะช่วยตรึงส่วนที่บาดเจ็บเอาไว้ไม่ให้เคลื่อนไหวมากจนเกินไปเพื่อให้ร่างกายฮีลหรือรักษากล้ามเนื้อด้วยตัวเอง
3. แผล
ผ้าก๊อซช่วยให้แผลของเรามีความสะอาด ป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าไปสัมผัสกับแผล ดังนั้นร่างกายจะสามารถรักษาตัวเองได้เต็มที่ ดังนั้นทุกครั้งหลังจากการทำแผลด้วยการทายาเรียบร้อยแล้ว ก็แนะนำให้นำผ้าก๊อซมาพันแผลทุกครั้ง โดยแผลที่สามารถนำผ้าก๊อซมาใช้ได้จะมี ดังนี้
- แผลเจาะ
- เลือดออกค่อนข้างมาก
- แผลที่มีอาการปวด
- แผลใหญ่และแผลลึก
- แผลมีอาการชา
- แผลโดยสัตว์กัด
- แผลที่มีโอกาสติดเชื้อ
- แผลติดเชื้อ

4. แผลไหม้
แผลไหม้เกิดขึ้นจากการโดนความร้อนสูง ไม่ว่าจะเป็น ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือเปลวไฟ นอกจากนี้ยังอาจหมายรวมไปถึงสิ่งที่ไม่ใช่ความร้อนอีกด้วย อย่างเช่น ความเย็น, สารเคมี และกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้การใช้ผ้าก๊อซมาพันแผลไหม้หลังจากทำแผลหรือปล่อยให้เย็นลงแล้ว ผ้าก๊อซจะสามารถป้องกันแผลไหม้ได้ โดยแผลไหม้ที่ใช้ผ้าก๊อซพันได้จะมีลักษณะ ดังนี้
- แผลไหม้ลึก
- ผิวหนังแห้งหรือมีความหยาบ
- แผลไหม้เกรียม หรือมีลักษณะปื้นสีขาว, ดำ และน้ำตาล
- แผลไหม้ที่มีขนาดใหญ่กว่า 3 นิ้ว
ผ้าก๊อซหรือผ้าพันแผลมีทั้งหมดกี่ประเภท ?
แผลที่เกิดขึ้นตามร่างกายเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ดังนั้นผ้าก๊อซที่ใช้ก็จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับแผลแต่ละชนิด
- ผ้าพันผ้ารัด ผ้าพันแผลชนิดนี้มีความยืดหยุ่น สามารถซัพพอร์ตกระดูก, ข้อต่อ และเนื้อเยื่อ หลังจากเกิดการแพลง
- ผ้าพันแผลชนิดเป็นม้วน ผ้าก๊อซจะมีความหนา นำไปพันกับแผลขนาดกลางไปจนถึงขนาดใหญ่ได้
- ผ้าพันแผลลินิน/คอตตอน ลักษณะของผ้าก๊อซคล้ายกับผ้าพันผ้ารัด เพื่อทำให้ผ้าก๊อซด้านในคงที่ไม่เคลื่อนตัว
- ผ้ายืดตาข่ายคลุมแผล ผ้าคลุมแผลชนิดนี้ใช้ได้ดีกับส่วนที่มีการเคลื่อนไหวอยู่บ่อย ๆ อย่างเช่น นิ้ว หรือ ข้อศอก เพื่อซัพพอร์ตอาการบาดเจ็บบริเวณนั้น
วิธีการเลือกผ้าก๊อซ

1. ระบายอากาศได้ดี
ผ้าก๊อซจะต้องมีคุณสมบัติในการระบายอากาศได้ดี เพื่อป้องกันไม่ให้แผลด้านในเกิดความอับชื้นจนเกิดการติดเชื้อหรือใช้เวลาในการรักษานานกว่าปกติ ดังนั้นไม่ว่าจะซื้อผ้าก๊อซชนิดไหนมาใช้ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือมันต้องระบายอากาศได้ดี
2. ซึมซับความชื้นได้ดี
แผลในบางชนิดอาจมีเลือดออกหรือมีของเหลวไหลออกมาได้ ซึ่งถ้าหากปล่อยเอาไว้อย่างนั้นโดยไม่ได้ซับออกหรือมีการใช้ผ้าก๊อซที่ไม่ได้คุณภาพ แน่นอนว่าความชื้นบนแผลจะทำให้กระบวนการรักษาตัวเองช้าลง และร้ายแรงหน่อยอาจเกิดการติดเชื้อได้เลย ฉะนั้นผ้าก๊อซที่ดีก็ควรมีคุณสมบัติในการซึมซับความชื้น
3. ขนาดของผ้าก๊อซ
ขนาดของผ้าก๊อซสำคัญมาก เพราะผ้าก๊อซที่ใช้ควรต้องปิดแผลหรือพันบริเวณแผลหรือร่างกายในส่วนนั้น ๆ ได้อย่างครอบคลุม เพื่อป้องกันไม่ได้แผลติดเชื้อหรือซัพพอร์ตอาการบาดเจ็บได้แบบเต็มที่
ผ้าก๊อซ แบบไหนเหมาะกับคุณ?
![]() | ผ้าก๊อซ พลาสเตอร์ แบบพร้อมใช้ SOS Plus | |
![]() | ผ้าก๊อซ Hivan Gauze Pad ผ้าปิดแผล | |
![]() | NEXCARE ผ้าก๊อซปิดแผล 2IN1 พร้อมแผ่นซับชนิดนุ่มไม่ติดแผล | |
![]() | ผ้าก๊อซแผ่นปิดแผล ปลอดเชื้อ Betadress Gauze pad | |
![]() | ICARE ก๊อซพับ ผ้าก๊อซปิดแผล |
วิธีการทำแผลในเบื้องต้น
- ล้างมือให้สะอาด ล้างมือให้สะอาดเพื่อกำจัดแบคทีเรียและลดโอกาสการติดเชื้อของแผล
- ห้ามเลือด นำผ้าสะอาดหรือตัดผ้าก๊อซชนิดเล็กมาทับไว้บนแผล 1 – 2 นาทีเพื่อห้ามเลือด
- ทำความสะอาดแผล หลังจากเลือดหยุดไหลแล้วก็ให้นำน้ำสะอาดหรือจะเป็นน้ำกลั่นก็ได้มาล้าง ส่วนผิวหนังรอบแผลก็ให้ล้างด้วยสบู่ แต่ห้ามให้โดนแผลเด็ดขาดเนื่องจากมันจะเกิดอาการระคายเคือง
วิธีการใช้ผ้าก๊อซอย่างถูกต้อง
ทุกครั้งก่อนทำแผลหรือหยิบจับผ้าก๊อซคุณจะต้องล้างมือและใส่ถุงมืออนามัยก่อนทุกครั้ง เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าบนมือของเรามีเชื้อโรคอะไรเกาะอยู่บ้าง
- ล้างทำความสะอาดแผลและผิวหนังรอบ ๆ ให้สะอาด จากนั้นปล่อยให้แห้ง
- จับปลายผ้าก๊อซทั้งสองเอาไว้
- วางผ้าก๊อซลงไปบนแผลโดยตรง
- พันผ้าก๊อซไปเรื่อย ๆ จนปลายอีกด้านทบกับผ้าก๊อซได้สนิท
- นำเทปมาปิดให้แน่น เพื่อป้องกันไม่ให้ผ้าก๊อซหลุดออกมา