นอกจากการรับประทานอาหารแล้ว การแปรงฟันก็เป็นอีกหนึ่งกิจวัตรที่คนเราจำเป็นจะต้องทำทุกวัน เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่คุณละเลยการแปรงฟัน แน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือปัญหาภายในช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นปัญหาฟันผุ, ปัญหาเกี่ยวกับเหงือก, ปัญหากลิ่นปาก บางรายที่ละเลยการแปรงฟันเป็นเวลานานก็อาจจะมีปัญหาลึกถึงรากฟันและอาจจะส่งผลต่อการดำเนินชีวิตได้เลยค่ะ ยิ่งเดี๋ยวนี้มีการผลิตแปรงสีฟันออกมาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เข้ากับช่วงวัยและความต้องการของผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นแปรงสีฟันสำหรับเด็ก, แปรงสีฟันทั่วไป, แปรงสีฟันขนอ่อนนุ่มเป็นพิเศษ, แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันโดยเฉพาะ หรือแปรงสีฟันไฟฟ้าที่ช่วยให้การแปรงฟันเป็นเรื่องง่ายมากขึ้น
เช่นเดียวกับแปรงสีฟัน ยาสีฟันเองก็มีการผลิตออกมาหลากหลายรูปแบบเพื่อให้เข้ากับช่วงวัยและช่วยแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากได้อย่างตรงจุด โดยทั่วไปแล้วส่วนผสมพื้นฐานของยาสีฟันก็จะมีฟลูออไรด์ที่มีส่วนช่วยให้ฟันแข็งแรงและลดปัญหาฟันผุ, สารขัดฟันที่จะช่วยขัดเอาคราบหินปูนติดแน่น, สารลดแรงตึงผิวที่ทำให้ยาสีฟันเกิดฟอง ทำให้สามารถขัดเศษอาหารได้มากขึ้น, สารคงสภาพทำให้ยาสีฟันไม่แห้งจนเกินไป และสารกันเสียที่จะป้องกันไม่ให้จุลินทรีย์และแบคทีเรียเจริญเติบโตภายในหลอดยาสีฟันค่ะ (1,2,3) ไม่ว่าจะเป็นยาสีฟันสำหรับเด็ก, ยาสีฟันเพื่อฟันขาว, ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน, ยาสีฟันลดคราบหินปูน และ “ยาสีฟันสมุนไพร” ที่ใช้สมุนไพรเป็นส่วนผสมเพื่อลดการใช้สารเคมีที่อาจจะตกค้างอยู่ภายในร่างกายของคุณ ก็มักจะมีสารเหล่านี้เป็นส่วนประกอบ
ยาสีฟันสมุนไพร คืออะไร
ยาสีฟันสมุนไพร คือยาสีฟันอีกหนึ่งรูปแบบที่ผลิตมาจากธรรมชาติ มีส่วนผสมของสมุนไพรหลากหลายประเภทที่มีผลในการรักษาอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับช่องปาก ไม่ว่าจะเป็นโรคเหงือก, อาการปวดหรือเสียวฟัน, คราบหินปูน หรือการลดการสะสมของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดปัญหากลิ่นปาก

ซึ่งสมุนไพรที่ใช้เป็นส่วนผสมส่วนใหญ่จะเป็นสมุนไพรไทย ๆ ที่คุณคุ้นเคยดีอยู่แล้ว เช่น กานพลู, สะระแหน่, พิมเสน, ข่อย, เกลือ หรือการบูร เป็นต้น นอกจากสามารถหาได้ง่ายแล้วสมุนไพรเหล่านี้ยังไม่ทิ้งสารตกค้างต่าง ๆ ไว้ในร่างกายและคุณจะรู้สึกได้ถึงความสะอาดสดชื่นตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้เลยค่ะ
สมุนไพรแต่ละชนิดก็จะมีสรรพคุณที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. กานพลู (Clove) (5,6,7,9)

เป็นไม้ยืนต้นสูง 5 – 10 เมตร มีสรรพคุณแก้ปวดท้อง, ขับลม, แก้ปวดมวน, แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ, แก้จุกเสียด, ขับเสมหะ, แก้อาการเลือดออกตามไรฟัน, แก้รำมะนาด และแก้อาการปวดฟัน เป็นต้น ส่วนที่นิยมนำมาใช้มากที่สุดจะเป็นดอกแห้งเพราะมีกลิ่นหอม มีรสเผ็ดอ่อน ๆ สามารถนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยและใช้เป็นยาชาเฉพาะที่ สามารถใช้กับทารกและผู้ใหญ่ได้ ใช้กับคนที่แพ้ยาชาทั่วไปค่ะ
2. สะระแหน่ (Kitchen Mint) (8,9,10)

สะระแหน่เป็นพืชที่หลายคนคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว เพราะพืชชนิดนี้เป็นที่นิยมไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นวงการอาหารและเครื่องดื่ม, วงการเครื่องหอม หรือทางการแพทย์ก็มีการนำสะระแหน่มาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหยและใช้ในการรักษาโรค สะระแหน่มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ช่วยให้ความรู้สึกผ่อนคลายได้ นอกจากนี้สะระแหน่ยังมีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดหัวต่าง ๆ รวมไปถึงอาการหน้ามืด ตาลาย วิงเวียนศีรษะ, ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ, แก้อาการปวดฟัน, รักษาแผลในช่องปาก, ระงับกลิ่นปาก และสามารถไล่ยุงหรือนำไปสกัดเป็นยาปฏิชีวนะได้อีกด้วยเพราะใบสะระแหน่สามารถต่อต้านสารอนุมูลอิสระได้
3. อบเชย (Cinnamon) (11,12)

อบเชยเป็นที่รู้จักในต่างประเทศ เพราะรสชาติหวานหอมของสมุนไพรชนิดนี้เป็นที่ชื่นชอบของชาวต่างชาติ มีการนำอบเชยมาเป็นส่วนผสมทั้งในอาหารและเครื่องดื่ม มักจะมาในรูปแบบผงหรือเปลือกแท่งเป็นแท่ง ซึ่งนอกจากความหอมแล้วอบเชยยังมีสรรพคุณในการขับลม, บำรุงธาตุ, แก้วิงเวียน, ฆ่าเชื้อ, แก้อาการอ่อนเพลีย, แก้ปวดประจำเดือน, ต้านแบคทีเรีย, ลดอาการอักเสบต่าง ๆ , สารแทนนินในอบเชยมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และช่วยดับกลิ่นปากได้
4. การบูร (Camphor) (5,13)
ถ้ามองจากลักษณะภายนอกแล้วหลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าผงสีขาวกลิ่นหอมเย็นนี้ถือว่าเป็นพืชชนิดหนึ่ง อยู่ในตระกูลเดียวกับอบเชย ซึ่งผงการบูรก็จะเป็นผลึกสีขาวแทรกอยู่ในเนื้อไม้ ก่อนใช้จะต้องนำมาสกัดและเก็บไว้ในสถานที่มิดชิดเพราะการบูรสามารถระเหยได้ง่ายค่ะ ถึงแม้ว่าการบูรจะมีกลิ่นหอมเย็นแต่กลับมีรสชาติร้อน ทำให้เมาได้ มีสรรพคุณแก้อาการปวดฟัน, ลดอาการเหงือกบวม, บำรุงหัวใจ, แก้วิงเวียน, ขับเสมหะ, แก้ปวดท้อง, ใช้เป็นยาชาและสามารถต้านเชื้อจุลินทรีย์ได้
5. พิมเสน (Borneol) (4,5,14,15)
พิมเสนเป็นพืชยืนต้นชนิดหนึ่ง มีเกล็ดพิมเสนลักษณะสีขาวขุ่นและมีกลิ่นหอมและค่อนข้างฉุน แทรกอยู่ในเนื้อไม้คล้าย ๆ กับต้นการบูร และพิมเสนยังสามารถละลายได้ในน้ำมันปิโตรเลียมหรือน้ำมันเบนซิน มีสรรพคุณเป็นยาขับเหงื่อและกระตุ้นการหายใจ, แก้อาการหน้ามืด วิงเวียนศีรษะ, รักษาแผลสดและแผลเรื้อรัง, แก้อาการปวดท้อง และใช้เป็นยาถอนพิษ
6. ข่อย (Tooth brush tree) (5,16)
หลายคนคงจะรู้จักต้นข่อยในบทบาทของไม้ประดับที่นิยมปลูกและตกแต่งเป็นรูปต่าง ๆ แต่สิ่งที่บางคนอาจจะยังไม่รู้คือบรรพบุรุษของเราใช้กิ่งข่อยเป็นแปรงสีฟันมาตั้งแต่ในอดีต โดยการทุบกิ่งข่อยให้นิ่มแล้วนำมาสีฟัน นอกจากนี้ข่อยยังมีสรรพคุณช่วยให้ฟันแข็งแรง, แก้อาการปวดบิด ท้องเสีย, แก้ปวดฟัน, แก้ริดสีดวงจมูก, บรรเทาอาการปวดประจำเดือน, ฆ่าเชื้อในช่องปาก และทานเมล็ดเป็นยาอายุวัฒนะ
7. ใบฝรั่ง (Guava leaves) (17)
ฝรั่งเป็นผลไม้โปรดของหลาย ๆ คนเนื่องจากฝรั่งมีรสหวาน, วิตามินซีสูง และยังช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้นอีกด้วย แต่ฝรั่งก็ได้มีดีแค่ผลเท่านั้น เพราะใบฝรั่งมีสรรพคุณป้องกันลำไส้อักเสบ, แก้ปวดฟัน, ใช้รักษาแผล, แก้เหงือกบวม, ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย, รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน, แก้อาการปวดบิด, ล้างพิษ, ใบสดสามารถใช้ล้างแผล ดูดหนอง และถอนพิษได้ นอกจากนี้คุณยังสามารถเคี้ยวใบฝรั่งสด ๆ เพื่อดับกลิ่นปากแบบเร่งด่วนได้อีกด้วย
8. ใบสะเดา (Siamese neem leaves) (18,19)
สะเดาเป็นสมุนไพรที่ถือว่าเป็นสุดยอดแห่งยาเลยค่ะ เพราะเราสามารถนำทุกส่วนของพืชชนิดนี้มาทำเป็นยาได้หมด ไม่ว่าจะเป็นราก, เปลือก, ยาง, ใบ, ก้านใบ, ดอก, ยอดอ่อน หรือผล ส่วนที่นิยมนำมารับประทานมากที่สุดก็คือยอดอ่อนสะเดาลวกที่เข้ากับน้ำปลาหวานได้เป็นอย่างดี ส่วนสรรพคุณก็มีมากมายบรรยายไม่หมด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการแก้ไข้มาลาเรีย, แก้โรคผิวหนัง, ดับร้อน, บำรุงธาตุ, ช่วยให้เจริญอาหาร, แก้ริดสีดวงในลำคอ, แก้คันยุบยิบ, แก้มูกเลือด นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นยาฆ่าแมลงแบบออแกนิคได้อีกด้วย
9. ว่านหางจระเข้ (Aloe Vera) (20)
หลายคนโดยเฉพาะสาว ๆ คงจะรู้จักและคุ้นเคยกับพืชอวบน้ำชนิดนี้ดีอยู่แล้ว ว่านหางจระเข้เป็นพืชที่มีประโยชน์มากมายและสามารถใช้เป็นส่วนผสมของแทบจะทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นส่วนผสมในเครื่องดื่ม, วงการแพทย์ หรือวงการความงามก็มีการนำว่านหางจระเข้ไปสกัดและผสมอยู่ในเครื่องสำอาง เช่น เจลว่านหางจระเข้ และอย่างที่หลายคนรู้กันอยู่แล้วว่าพืชชนิดนี้โด่งดังในเรื่องของการปลอบประโลมผิว โดยเฉพาะผิวไหม้แดดและยังสามารถลบเลือนจุดด่างดำได้อีกด้วย นอกจากนี้ว่านหางจระเข้ยังมีสรรพคุณในการขับน้ำคาวปลา, รักษาโรคหนองใน, เป็นยาระบายอ่อน ๆ , ใช้พอกแผลสดต่าง ๆ , ช่วยสมานแผล และสามารถต้านเชื้อแบคทีเรียได้
10. มะขามป้อม (Amla) (21)
อีกหนึ่งสมุนไพรไทย ๆ ที่หาทานได้ค่อนข้างยากในปัจจุบัน มะขามป้อมเป็นพืชขนาดกลาง ผลสีเขียวอ่อน ดูฉ่ำน้ำ มีรสเปรี้ยวเพราะอุดมไปด้วยวิตามินซีที่มากกว่าน้ำส้มถึง 20 เท่า เมื่อทานแล้วให้ความรู้สึกชุ่มคอ แก้ไอและขับเสมหะได้ดี นอกจากนี้มะขามป้อมยังสามารถแก้หวัด, แก้คอแห้ง, แก้เจ็บคอ, แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน, เป็นยาระบายธรรมชาติ, บำรุงหัวใจ, ขับปัสสาวะ, ขับพยาธิ, ลดความดันโลหิต, แก้โรคเรื้อน, ช่วยย่อยอาหาร และรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ ได้อีกด้วย
ยาสีฟันสมุนไพร พริมเพอร์เฟค เฮอร์เบอร์ ทูธเพสท์ ภูมิพฤกษา

ราคา 30 บาท*
ปริมาณ | 25 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | ตลับ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | กานพลู, ข่อย, พิมเสน, ใบเสจ และการบูร |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดกลิ่นปาก |
ยาสีฟันสมุนไพร ฟันสวย บาย โภคา สูตรเพิ่มฟลูออไรด์

ราคา 50 บาท*
ปริมาณ | 25 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | ตลับ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | พิมเสน, การบูร, เมนทอล และกานพลู |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันป้องกันฟันผุ |
ยาสีฟันสมุนไพรจีนซูซัน

ราคา 52 บาท*
ปริมาณ | 80 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | กระป๋อง |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | การบูร, พิมเสน และเกลือ |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดอาการปวดฟัน |
ยาสีฟันสมุนไพร ตราใจฟ้า

ราคา 56 บาท*
ปริมาณ | 60 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | ใบฝรั่ง, สะระแหน่, การบูร, พิมเสน และกานพลู |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดกลิ่นปาก |
ยาสีฟันสมุนไพร เทพไทย

ราคา 79 บาท*
ปริมาณ | 70 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | สะระแหน่, กานพลู, พิมเสน, ใบฝรั่ง และข่อย |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดกลิ่นปาก |
Kolbadent คอลบาเด้นท์ ยาสีฟันสมุนไพรสกัดบริสุทธิ์

ราคา 80 บาท*
ปริมาณ | 160 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | ข่อย, กานพลู และเกล็ดสะระแหน่ |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันป้องกันฟันผุ |
ยาสีฟันปัญญ์ชลี ยาสีฟันสมุนไพรสูตรเข้มข้น

ราคา 90 บาท*
ปริมาณ | 80 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | พิมเสน, เมนทอล, การบูร และกานพลู |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน |
Herbal Dents toothpaste ยาสีฟันสมุนไพรเฮอร์เบิลเดนท์ส

ราคา 153 บาท*
ปริมาณ | 120 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | ใบฝรั่ง, กานพลู, ใบสะเดา, ว่านหางจระเข้, สะระแหน่, พิมเสน และการบูร |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดกลิ่นปาก |
Wanthai Herbal Toothpaste ยาสีฟันสมุนไพร ว่านไทย

ราคา 153 บาท*
ปริมาณ | 50 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | การบูร, สะระแหน่, พิมเสน, ใบฝรั่ง และว่านหางจระเข้ |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดอาการเสียวฟัน |
Colgate ยาสีฟันสมุนไพร คอลเกต ปัญจเวท ดีท็อกซ์

ราคา 189 บาท*
ปริมาณ | 120 กรัม |
---|---|
รูปแบบ | หลอดบีบ |
ส่วนประกอบที่สำคัญ | กานพลู, ใบมะกอก, ขิง, มะขามป้อม และสะเดา |
ประเภทของยาสีฟัน | ยาสีฟันลดกลิ่นปากและป้องกันฟันผุ |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ รีวิว ยาสีฟันสมุนไพร ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี 2022 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
และนี่ก็คือยาสีฟันสมุนไพรทั้ง 10 แบรนด์ที่เราคัดเลือกมาแนะนำเพื่อน ๆ ในบทความนี้ค่ะ ถ้าเพื่อน ๆ กำลังมองหายาสีฟันสมุนไพรที่ปลอดภัยต่อสุขภาพช่องปากนี่ต้องถูกใจแน่นอนเลย เพราะสมุนไพรต่าง ๆ ที่นำมาเป็นส่วนผสมล้วนแล้วแต่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและปลอดภัยต่อร่างกายของคุณแน่นอนค่ะ

และอีกหนึ่งเอกลักษณ์ที่ทำให้ยาสีฟันสมุนไพรแตกต่างจากยาสีฟันชนิดอื่นก็คือกลิ่นและสี เนื่องจากมันมีส่วนผสมจากธรรมชาติดังนั้นคุณจะเห็นได้เลยว่าสีของยาสีฟันบางชนิดจะมีลักษณะเข้ม ๆ มีกลิ่นของสมุนไพรตีจมูก และบางครั้งก็มีรสชาติขมอ่อน ๆ หรือรู้สึกเย็นขณะแปรงฟัน สำหรับคนที่ไม่ชอบสมุนไพรอาจจะรู้สึกทรมาณสักหน่อย แต่หลังจากบ้วนปากแล้วคุณจะรู้สึกได้ถึงความสดชื่นทันทีเลยค่ะ
นอกจากแปรงฟันแล้ว การใช้น้ำยาบ้วนปาก, อุปกรณ์ความสะอาดลิ้น, ไหมขัดฟัน หรือการใช้แผ่นฟอกฟันขาวก็เป็นวิธีที่ช่วยลดปัญหากลิ่นปาก, มอบฟันขาวสะอาด และช่วยให้คุณมีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นได้อีกด้วยนะคะ
References
- ฟันสวยอย่างธรรมชาติ – ศูนย์ประสานงานโครงการพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- มารู้จักนมฟลูออไรด์กันเถอะ – กระทรวงสาธารณสุข
- ฟลูออไรด์คืออะไร – โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
- ยาสีฟันสมุนไพรสูตรผสมเกลือ – สถาบันการแพทย์แผนไทย
- ยาสีฟันสมุนไพร – ศูนย์ประสานงานโครงการพระราชดำริ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
- กานพลู – กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
- กานพลู (วิกิพีเดีย)
- สะระแหน่ (วิกิพีเดีย)
- ลดอาการปวดฟัน – สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
- วิธีการขจัดกลิ่นปาก – ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
- อบเชย (วิกิพีเดีย)
- Cinnamon: A Multifaceted Medicinal Plant – National Center for Biotechnology Information
- การบูร – กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล
- พิมเสนหนาด – คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- พิมเสน – กองเภสัชกรรม โรงพยาบาลอานันทมหิดล
- ข่อย (วิกิพีเดีย)
- ฝรั่ง สรรพคุณและประโยชน์ของฝรั่ง 33 ข้อ ! – องค์การบริหารส่วนตำบลเขาขาว อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช
- สะเดา (วิกิพีเดีย)
- “สะเดา” หวานเป็นลมขมเป็นยา – คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- ประโยชน์ของว่านหางจระเข้ – คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- มะขามป้อม (วิกิพีเดีย)