หากคุณมีกิจการเป็นของตัวเอง การสร้างความน่าเชื่อถือเกี่ยวกับการป้องกันโรคติดต่อจะต้องมาเป็นอันดับแรกเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การทำความสะอาดด้วยการใช้เครื่องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ, การใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ผสมแอลกอฮอล์เช็ดถูพื้นผิวบริเวณที่สัมผัสบ่อย ๆ รวมถึงการขอความร่วมให้ผู้ใช้บริการสวมหน้ากากอนามัยและล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ก่อนเสมอ สิ่งเหล่านี้คืออุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อโควิดที่ดีที่สุดในขณะนี้
แต่อย่างไรก็ตามการคัดกรองด้วย “ชุดตรวจโควิด ATK” , “หนังสือรับรองการฉีดวัคซีนโควิด 19” และ “การตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย” ก็เป็นสิ่งสำคัญที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการ ทั้งยังเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือที่ดีแก่กิจการ, บริษัท หรือองค์กรของคุณ โดยการใช้ “เครื่องมือวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบไม่สัมผัส” จะเป็นวิธีที่รวดเร็วและง่ายที่สุด ทั้งยังช่วยลดความเสี่ยงระหว่างผู้วัดและผู้ถูกวัดอุณหภูมิได้เป็นอย่างดี เหมาะสำหรับการใช้ตรวจอุณหภูมิในช่วงโควิด 19 ที่กำลังระบาดขณะนี้ เนื่องจากสามารถติดต่อกันได้ง่ายโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสายพันธ์ุโอไมครอนที่แพร่เชื้อได้เร็วมาก
เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบไม่สัมผัส น่าเชื่อถือไหม ?
|
การตรวจวัดอุณหภูมิในบ้างครั้งก็ไม่ได้มีความแม่นยำเสมอไป อาจมีค่าความคลาดเคลื่อนไปบ้างประมาณ 0.3 – 0.4 °C เพราะด้วยมาตรฐานและระบบเซนเซอร์ที่มีความแม่นยำของแต่ละยี่ห้อต่างกัน บวกกับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ทั้งแสงแดด ลม หรือฝน ที่อาจจะทำให้ค่าอุณหภูมิออกมาเพี้ยนได้
ยกตัวอย่างเช่น จุดที่วัดอุณหภูมิทางเข้าร้านค้าตั้งอยู่ในช่วงที่แอร์ลงพอดิบพอดีก็จะทำให้เครื่องอ่านค่าอุณหภูมิได้ต่ำกว่าปกติ หรือบางครั้งคุณอาจใช้งานเครื่องวัดอุณหภูมิผิดวิธี และที่แย่ไปกว่านั้นคุณอาจกำลังใช้เครื่องวัดอุณหภูมิผิดประเภทอยู่ก็ได้ค่ะ แต่ทั้งนี้ค่าความคลาดเคลื่อนของเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายอินฟาเรดแบบไม่สัมผัสก็ยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เพราะจุดประสงค์ของการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิประเภทนี้ก็เพื่อต้องการคัดกรองผู้คนอย่างรวดเร็วเท่านั้น |
อุณหภูมิปกติของร่างกายมนุษย์ ในเครื่องวัดแต่ละประเภทควรมีค่าเท่าไหร่ ?
โดยทั่วไปแล้วอุณหภูมิปกติของมนุษย์จะอยู่ที่ประมาณ 37.0 °C แต่ทั้งนี้ร่างกายของคนเราก็มีความแตกต่างกัน ดังนั้นบางคนก็อาจจะมีอุณหภูมิอยู่ในช่วง 36.5 – 37.5 °C ได้เช่นกัน (หากพบว่ามีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 37.5 ℃ ขึ้นไป แสดงว่าเริ่มมีไข้อ่อน ๆ และถ้ามากกว่า 38 ℃ หมายความว่ามีไข้สูง) นอกจากนี้การวัดอุณหภูมิจากเครื่องวัดที่มีการใช้งานต่างกันก็จะให้ค่าอุณหภูมิต่างกันด้วย และเพื่อให้คุณสามารถใช้เครื่องวัดอุณหภูมิได้อย่างถูกต้อง เรามาดูกันค่ะว่าเครื่องอุณหภูมิแต่ละชนิดควรจะมีอุณหภูมิปกติอยู่ที่เท่าไหร่
ค่าอ้างอิงอุณหภูมิร่างกายปกติที่จัดทำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) | |
ช่องทางที่ใช้วัดอุณหภูมิ | ค่าโดยประมาณของอุณหภูมิปกติที่ควรวัดได้ |
สำหรับวัดอุณหภูมิจากทางช่องปาก | 35.5 – 37.5 ℃ |
สำหรับวัดอุณหภูมิจากทางรักแร้ | 34.7 – 37.3 ℃ |
สำหรับวัดอุณหภูมิจากทางทวารหนัก | 36.6 – 38.0 ℃ |
สำหรับวัดอุณหภูมิจากทางหน้าผาก | 35.8 – 37.8 ℃ |
สำหรับวัดอุณหภูมิจากทางหู | 35.8 – 38.0 ℃ |
ข้อดี-ข้อเสียของเครื่องวัดอุณหภูมิแต่ละประเภท
|
|
|
|
|
|
|
|
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบยิงหน้าผาก (Forehead thermometer) มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า เทอร์โมมิเตอร์อินฟราเรดแบบไม่สัมผัส (non-contact infrared body thermometers) |
|
|
|
ประโยชน์ของเครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก
- วิธีการวัดโดยต้องไม่สัมผัส จะช่วยลดความเสี่ยงของการแพร่กระจายเชื้อโรคระหว่างกันได้ดี
- ง่ายต่อการใช้งาน มีความสะดวกในการพกพา
- ดูแลรักษา ทำความสะอาด และฆ่าเชื้อได้ง่าย
- สามารถวัดอุณหภูมิและแสดงค่าการอ่านได้อย่างรวดเร็ว
- มีความสามารถในการปรับอุณหภูมิตามสภาพแวดล้อมรอบข้างได้อย่างรวดเร็ว
ข้อแตกต่างระหว่าง เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก VS เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด ภาคอุตสาหกรรม (1)
ข้อแตกต่าง | เครื่องวัดอุณหภูมิหน้าผาก | เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด (ภาคอุตสาหกรรม) |
ชื่อภาษาอังกฤษ | Forehead thermometer หรือ non-contact infrared body thermometers | Infrared Thermometer |
การใช้งาน | ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิร่างกาย | ใช้สำหรับวัดอุณหภูมิของวัตถุ |
หลักการทำงาน | ใช้การแผ่รังสีความร้อน ไม่ต้องสัมผัสกับคน | ใช้การแผ่รังสีความร้อน ไม่ต้องสัมผัสกับวัตถุ |
ค่าความคลาดเคลื่อน | 0.3 – 0.4°C ตามมาตรฐาน ISO 80601-2-56 | มากกว่า 1°C |
มีฟังก์ชันวัดอุณหภูมิร่างกาย | มี | ไม่มี |
สามารถตั้งค่าการเปล่งรังสี | ใช้สำหรับวัดผิวหนังโดยเฉพาะ | ไม่สามารถตั้งค่าได้ (ยกเว้นบางรุ่น) ส่วนใหญ่ตั้งค่าเปล่งรังสีในตัวเครื่องประเภทนี้จะเท่ากับ 0.95
หากคุณนำมาวัดอุณหภูมิที่ผิวหนัง โดยที่ไม่เข้าไปปรับค่าเปล่งรังสีให้ใช้สำหรับผิวหนังก่อน จะทำให้ผลการวัดคลาดเคลื่อนได้ประมาณ 1.5°C |
เลเซอร์สำหรับการชี้เป้า | ไม่มี เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ | มี เพื่อกำหนดจุดได้แม่นยำมากขึ้น |
หมายเหตุ* ค่าการเปล่งรังสี เป็นค่าที่แสดงถึงความสามารถในการแผ่รังสีความร้อนของพื้นผิวของวัตถุแต่ละชนิด โดยมีค่าระหว่าง 0-1 ค่าการเปล่งรังสีของผิวหนังมนุษย์จะมีค่าประมาณ 0.98 ในขณะที่ค่าการเปล่งของวัตถุอื่นมีค่าแตกต่างกันไป อาทิเช่น อลูมิเนียมฟอลัย 0.04, น้ำแข็ง 097-0.98 และคอนกรีต 0.94 เป็นต้น
สรุป : เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด (ภาคอุตสาหกรรม) ไม่สามารถนำมาใช้วัดอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ได้ เพราะมีการใช้งานที่ต่างกัน หากนำมาใช้ผิดจุดประสงค์อาจจะเกิดอันตรายต่อผู้ถูกวัดได้
เครื่องวัดอุณหภูมิแบบขาตั้ง ควรวัดที่หน้าผากหรือฝามือแบบไหนดีกว่ากัน ?

อย่างที่บอกไปแล้วว่า เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด ชนิดที่ไม่ต้องสัมผัสกับสิ่งวัดนั้น มีอยู่ 2 ประเภท คือเครื่องที่ใช้วัดอุณหภูมิร่างกาย (Forehead thermometer) และ เครื่องที่ใช้วัดอุณหภูมิสิ่งของ (Infrared Thermometer)
แต่ทั้งนี้หลาย ๆ พื้นก็มีการใช้งานที่ผิดประเภทไป อาทิเช่น มีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบขาตั้งที่เป็นชนิด Infrared Thermometer แต่ไม่มีการเปลี่ยนโหมดวัดอุณหภูมิวัตถุ (Surface temperature) ไปเป็นโหมดวัดอุณหภูมิร่างกาย (Body temperature) เสียก่อน ซึ่งจะทำให้ค่าอุณหภูมิร่างกายที่วัดได้ออกมาคลาดเคลื่อนไปมาก นี่จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เวลาเครื่องอ่านค่าอุณหภูมิของเราเดี๋ยวก็สูงเดี๋ยวก็ต่ำนั้นเองค่ะ
ประการที่สอง แม้ว่าเครื่องวัดอุณหภูมิแบบขาตั้งจะเป็นชนิด Forehead thermometer หรืออาจเป็น Infrared Thermometer (ที่ปรับโหมดแล้ว) ก็ไม่ควรนำมาใช้วัดอุณหภูมิที่ฝามืออยู่ดีค่ะ เพราะฟังก์ชันของเครื่องอุณหภูมิแบบอินฟาเรดได้มีการออกแบบให้ใช้สูตรคำนวณสำหรับวัดพื้นผิวบนหน้าผากเท่านั้น ซึ่งจากหัวข้อก่อนหน้านี้คุณจะเห็นว่าการวัดอุณหภูมิร่างกายบนอวัยวะที่ต่างกันก็จะมีค่าอุณหภูมิในเกณฑ์ปกติที่ต่างกันด้วย
อีกทั้งบริเวณหน้าผากถือเป็นแกนกลางของร่างกายที่วัดอุณหภูมิได้ง่ายกว่าฝามือ เนื่องจากฝามือของเราอาจมีการเปลี่ยนอุณหภูมิได้ตามสิ่งของที่จับก่อนหน้านี้ ตัวอย่างเช่น หากคุณถือแก้วกาแฟปั่นเย็น ๆ ก่อนมาวัดอุณหภูมิ ก็จะทำให้อุณหภูมิที่ได้มีค่าต่ำกว่าปกตินั้นเองค่ะ
ข้อจำกัดของเครื่องวัดอุณหภูมิอินฟราเรดแบบไม่สัมผัส
วิธีและตำแหน่งที่ใช้สำหรับเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดนั้น อาจส่งผลกระทบต่อการวัด ตัวอย่างเช่น มีสิ่งกีดกั้นระหว่างเครื่องและผิวหนัง, สภาพแวดล้อมรอบข้างมีอุณหภูมิที่ร้อนเกินไปหรือหนาวเกินไป และการวางตำแหน่งของเครื่องวัด สำหรับเครื่องประเภทนี้ ยิ่งใช้วัดในระยะใกล้ผิวหนังมากเท่าไหร่ ค่าของอุณหภูมิที่วัดได้ก็จะออกมาถูกต้องและแม่นยำมากเท่านั้น ซึ่งโดยทั่วไปแล้วระยะห่างจะอยู่ที่ 1 – 5 cm โดยเฉลี่ย

ดังนั้นสำหรับใครที่ต้องการความแม่นยำ แต่ก็กังวลเกี่ยวกับอยู่ใกล้ผู้ป่วยในระยะใกล้จนเกินไปและอาจจะเสี่ยงติดเชื้อได้ คุณก็อาจจะพบปัญหาในส่วนนี้ได้ค่ะ
แต่หากคุณไม่ได้ต้องการความแม่นยำมากนัก เอาแค่พอรู้ว่าคนที่วัดอยู่ ณ ขณะนี้มีไข้หรือไม่ ก็ยังถือว่าใช้ในการประเมินสถานการณ์ขั้นตั้นได้ในระดับหนึ่งค่ะ
คำแนะนำการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิอินฟาเรดแบบยิงหน้าผาก ที่ถูกต้อง (2)
ผู้ใช้อุปกรณ์ควรปฏิบัติตามคู้มือและคำแนะนำของผู้ผลิตอย่างเคร่งครัด สำหรับการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดนั้น โดยปกติแล้วคำแนะนำของผู้ผลิตจะมีดังต่อไปนี้
1. สภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
สภาพแวดล้อมในขณะการใช้งาน อาจส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดได้ อาทิเช่น พื้นที่ที่มีลมร้อนและแสงแดดส่องจัด ๆ หรืออยู่ใกล้แหล่งความร้อนที่แผ่รังสีเป็นวงกว้าง โดยทั่วไปแล้วสภาพแวดล้อมรอบตัวควรจะอยู่ที่ 16-40 ºC และต้องมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำกว่า 85% ดังนั้นควรวางเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดในสภาพแวดล้อมที่ต้องการใช้งานก่อนเป็นเวลาอย่างน้อย 10-30 นาที เพื่อที่จะให้เครื่องปรับค่าอุณหภูมิให้เข้ากับสภาพแวดล้อมรอบข้าง ก่อนทำการวัดจริง ๆ
2. ทำความสะอาดระหว่างการใช้
สำหรับการทำความสะอาดเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรดระหว่างการใช้งานนั้น ให้ทำตามคำแนะนำทั่วไป อาทิเช่น การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็มีคำแนะนำส่วนใหญี่ที่ระบุว่าไม่ควรแช่ในน้ำหรือของเหลวอื่น ๆ แนะนำให้เป็นการใช้ผ้าที่ชุบน้ำยาเช็ดแทนมากกว่าค่ะ
3. การเตรียมบุคคลที่กำลังถูกวัดอุณหภูมิ
สำหรับวัดผ่านหน้าผากนั้น พื้นที่วัดจะต้องสะอาดและแห้ง อีกทั้งไม่ควรมีอะไรมาปิดกั้นระหว่างการวัดอุณหภูมิ ไม่ว่าจะเป็นการสวมหมวกหรือการสวมที่คาดผมแบบผ้าก็ตามค่ะ
วิธีการใช้เครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟาเรด ไม่สัมผัส
- สำหรับการถือ ให้เครื่องวัดอุณหภูมิตั้งตรงกับด้านจับที่ออกแบบมาให้ โดยจะต้องตั้งฉากกับหน้าผาก และผู้ที่ถูกวัดจะต้องหยุดอยู่นิ่ง ๆ ระหว่างการวัด นอกจากนี้ไม่ควรมีสิ่งกีดขวางระหว่างหน้าผากกับตัวเครื่องที่วัด
- ระยะห่างระหว่างเครื่องวัดอุณหภูมิและหน้าผากของแต่ละยี่ห้อจะมีระยะที่ไม่เท่ากัน ดังนั้นคุณจะต้องอ่านคู่มือการใช้งานก่อนเสมอ
- อย่าสัมผัสบริเวณที่ใช้ตรวจจับอุณหภูมิของเครื่องเด็ดขาด เพราะจะทำให้เครื่องอ่านค่าผิดพลาดได้ และควรทำความสะอาดเซ็นเซอร์ที่ใช้วัดอยู่เสมอ อย่าลืมว่าต้องรอให้เครื่องแห้งก่อนใช้งานด้วยนะคะ
![]() |
![]() |
![]() |
ขอบคุณที่มารูปภาพจาก: fda.gov |
เปรียบเทียบวิธีการวัดอุณหภูมิที่แตกต่างกัน
สำหรับ | ปาก | หู | ทวารหนัก | หน้าผาก | รักแร้ |
ทารก/เด็กอายุ < 6 ปี | ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
ผู้ใหญ่/เด็กที่มีอายุ > 6 ปี | ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
ผู้ใหญ่/เด็กที่มีอายุ > 6 ปี (ไม่มีสติ) |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
|
ระดับความแม่นยำ | ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
สะดวกรวดเร็ว | ![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
อุณหภูมิที่ถือว่ามีไข้ | > 37.5°C | > 38°C | > 38°C | > 36°C | > 37.3°C |
หมายเหตุ* > 36 °C เป็นเพียงระดับอ้างอิง ซึ่งอาจแตกต่างกันได้ในแต่ละยี่ห้อ แนะนำให้ผู้ใช้ศึกษาคู่มือของเครื่องวัดนั้น ๆ เองอีกครั้ง
วิธีการวัดอุณหภูมิและข้อควรระวังเฉพาะ
วิธีการวัด | เงื่อนไขที่ไม่เหมาะสมสำหรับวิธีการวัดเหล่านี้ |
ทางปาก | ● มีอาการทุกข์ทรมานและหายใจถี่ ● มีอาการจามซ้ำ ๆ และมีอาการไออย่างหนัก หรือมีอาการชัก ● ไม่รู้สึกตัว หรือมีอาการสับสน มึนงง ● ไม่สามารถปิดปากให้แน่นได้ด้วยตัวเอง |
ทางหู | ● มีอาการติดเชื้อที่หู ● มีอาการอุดตันที่รูหู ● เป็นคนที่ต้องสวมเครื่องช่วยในการฟัง |
ทางทวารหนัก | ● มีอุจจาระจำนวนมากสะสมในทางทวารหนัก ● มีโรคเกี่ยวกับทางทวารหนัก อาทิเช่น ริดสีดวงทวารหรือท้องเสีย ฯลฯ ● ทวารมีบาดแผล / แผลในทวารหนัก |
ทางรักแร้ | ● ไม่สามารถหนีบเทอร์โมมิเตอร์ไว้ใต้รักแร้ได้ |
ทางหน้าผาก | ● มีบางสิ่งครอบคลุมหน้าผากอยู่ เช่นผ้าพันแผล / แผ่นเจลทำความเย็น |
แนวทางทั่วไปในการวัดอุณหภูมิร่างกายและการใช้เทอร์โมมิเตอร์
- เปรียบเทียบความแม่นยำของเครื่องวัดแต่ละรุ่น รวมถึงดูความเหมาะสมและความสะดวกในการใช้งานของเทอร์โมมิเตอร์ก่อนซื้อ
- เลือกเครื่องวัดอุณหภูมิที่มีวิธีการวัดที่เหมาะสมกับการใช้งานของแต่ละบุคคล โดยอาจจะดูจากอายุหรือสุขภาพเป็นหลัก และควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหากมีข้อสงสัย
- ผู้ป่วยที่มีโรคติดต่อควรใช้เครื่องวัดอุณหภูมิส่วนบุคคล เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อ และควรหมั่นทำความสะอาดเครื่องและฆ่าเชื้อเป็นประจำ
- ทำความคุ้นเคยกับการใช้เทอร์โมมิเตอร์ และศึดษาการอ่านอุณหภูมิอย่างถูกต้อง โดยอ่านจากคู่มือคำแนะนำที่มีมาให้
- หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่บิดเบือนการวัดอุณหภูมิ เช่น ดื่มน้ำร้อนก่อนที่จะวัดอุณหภูมิ (แบบวัดทางปาก)
- หมั่นทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องวัดอุณหภูมิตามขั้นตอนที่แนะนำจากคู่มือ
- ในกรณีที่จำเป็นต้องวัดอุณหภูมิของร่างกายอย่างสม่ำเสมอและต้องมีความแม่นยำสูง ควรจะวัดอุณหภูมิในเวลาเดียวกันทุก ๆ วัน และใช้วิธีการวัดอุณหภูมิแบบเดียวกันตลอด
- หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการอ่านอุณหภูมิของร่างกาย โปรดปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ
References :