ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีสำคัญต่อสุขภาพโดยรวมของเราทุกคน เพราะเซลล์เกือบทั้งหมดของคุณมักจะมีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบอยู่ และอย่างที่ทราบกันดีว่าธาตุเหล็กส่วนใหญ่ในร่างกายนั้นมักจะอยู่ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ซึ่งมีหน้าที่ส่งออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะและเนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ทั่วทั้งร่างกาย อีกทั้งธาตุเหล็กมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตทางร่างกาย, การพัฒนาทางระบบประสาทการทำงานของเซลล์ และการสังเคราะห์ฮอร์โมนบางชนิด (5) จึงไม่แปลกใจที่ว่าทำไมธาตุเหล็กถึงมีความสำคัญต่อร่างกายของเราขนาดนี้ เพราะธาตุเหล็กนั้นมีบทบาทในการสร้างพลังงานจากสารอาหาร และยังช่วยกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทนั่งเองค่ะ

แน่นอนค่ะว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับธาตุเหล็กที่เพียงพอต่อวันจากมื้ออาหารที่ทานเข้าไป และธาตุเหล็กก็เป็นสารอาหารที่ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ดังนั้น “อาหารเสริมธาตุเหล็ก“ จึงเข้ามามีบทบาทเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับใครหลาย ๆ คนมากยิ่งขึ้น
อาหารเสริมธาตุเหล็ก สามารถชดเชยธาตุเหล็กในส่วนที่ขาดหายไปในแต่ละวันได้ เพียงแค่คุณทานอาหารเสริมเหล่านี้ตามที่ฉลากระบุไว้เท่านั้น และเพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาก่อนที่จะเราเข้าสู่การรีวิวสินค้า เราอยากให้คุณรู้ถึงเหตุผลที่ว่าทำไมอาหารเสริมธาตุเหล็กถึงมีความสำคัญต่อคุณ และมันมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด
ทำไมคุณถึงต้องการอาหารเสริมธาตุเหล็ก
1. ลดความเสี่ยงโรคโลหิตจาง
หากร่างกายของคุณขาดธาตุเหล็กในระดับที่เหมาะสม ก็อาจจะเกิดความเสี่ยงภาวะโลหิตจางได้ ซึ่งมักเกิดจากการที่เม็ดเลือดแดงของคุณมีธาตุเหล็กไม่เพียงพอ ทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปยังเซลล์เนื้อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนเช่นเดิม โดยอาการของโรคโลหิตจางนั้นจะมีอาการเหนื่อยล้าที่ผิดปกติ(3), รู้สึกอ่อนเพลีย(3), หายใจถี่(4), เวียนหัว(4), หัวใจของคุณเต้นเร็วผิดปกติ(4) รวมถึงมีสมาธิสั้นเป็นต้น

โรคโลหิตจางนั้นมักจะเกิดขึ้นโดยเฉพาะกับผู้หญิงที่มีอายุอยู่ในช่วง 20-30 ปี มักจะมีแนวโน้มที่ร่างกายขาดธาตุเหล็กสูงกว่าผู้ชาย เนื่องจากการมีประจำเดือนนั่นเองค่ะ เพราะยิ่งคุณสูญเสียเลือดทุก ๆ เดือน บวกกับการทานสารอาหารที่มีปริมาณของธาตุเหล็ก, วิตามิน B12 และวิตามิน B9 (โฟเลต) ไม่เพียงพอ ก็ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคโลหิตจางได้นั่นเอง (1,2)
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจจะทำให้เกิดเป็นโรคโลหิตจางได้ที่ไม่ใช่เกิดเฉพาะผู้หญิง อาทิเช่นโรคแผลในกระเพาะอาหาร, มะเร็งในทางเดินอาหาร, การสูญเสียเลือกจำนวนมากจากการบาดเจ็บหรือการบริจาคเลือด, หรือมีเลือดออกในทางเดินอาหาร ซึ่งส่วนมากมักเกิดจากการใช้ยาแอสไพรินและไอบรูโพรเฟนเป็นต้น
2. คุณกำลังตั้งครรภ์

หากคุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรอยู่ คุณจำเป็นต้องได้รับธาตุเหล็กในระหว่างตั้งครรภ์ 27 มิลลิกรัม และในระหว่างนมบุตร 9 มิลลิกรัม ตามที่สถาบันสุขภาพแห่งชาติของอเมริกา (NIH) แนะนำ (5) ก่อนจะรับประทานอาหารเสริมเราแนะนำให้คุณพูดคุยกับแพทย์ประจำตัวเกี่ยวกับอาหารเสริมธาตุเหล็ก รวมถึงอาหารเสริมวิตามินอื่น ๆ ก่อนรับประทาน
3. ผู้หญิงที่มีประจำเดือน
โดยทั่วไปแล้วมนุษย์จะสูญเสียธาตุเหล็กเพียงเล็กน้อยจากการปัสสาวะหรืออุจจาระในระบบทางเดินอาหารและตามผิวหนัง แต่การสูญเสียธาตุเหล็กนั้นจะมีมากขึ้นกับผู้หญิงที่มีประจำเดือน เนื่องจากการสูญเสียเลือด Hepcidin ซึ่งเป็นฮอร์โมนเปปไทด์ที่หมุนเวียนอยู่เป็นตัว ซึ่งควบคุมหลักของการดูดซึมธาตุเหล็กและการกระจายตัวของธาตุเหล็กทั่วร่างกายรวมทั้งในพลาสมานั่นเองค่ะ (5)
อย่างที่กล่าวไปแล้วว่าผู้หญิงนั้นมีแนวโน้มเป็นโรคโลหิตจางมากกว่าผู้ชาย (1) อันเนื่องมากจากการสูญเสียเลือดหรือประจำเดือนในแต่ละเดือนในปริมาณที่ไม่ใช่น้อย ๆ ดังนั้นหากคุณเป็นผู้หญิงที่ยังอยู่ในช่วยมีประจำเดือนอยู่ละก็ เราขอแนะนำให้คุณทานอาหารเสริมธาตุเหล็ก เพื่อเป็นการเสริมธาตุเหล็กให้เพียงพอ เพื่อที่ไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาวไม่ว่าจะเป็นอาการเหนื่อยล้า, อ่อนเพลีย, หัวใจของคุณเต้นเร็วผิดปกติ หายใจถี่ และเวียนหัว (3,4) นั้นเองค่ะ โดยองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ทานอาหารเสริมธาตุเหล็กและอาหารเสริมกรดโฟลิกสำหรับการลดโรคโลหิตจาง (2)
4. โรคสมาธิสั้น
การศึกษา 2014 จาก National Center for Biotechnology Information, U.S. National Library of Medicine พบว่าการที่ร่างกายของคุณขาดธาตุเหล็กมีความสัมพันธ์กับภาวะโรคสมาธิสั้น หรือ Attention deficit hyperactivity disorder (ADHD) เนื่องจากธาตุเหล็กเป็นธาตุที่สำคัญสำหรับการทำงานและพัฒนาการทางระบบประสาทและสมอง (6)
เราใช้เกณฑ์ในการเลือกสินค้าโดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของแบรนด์ รวมไปถึงยอดขายและรีวิวของผู้ใช้บริการในเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ ก่อนซื้อแนะนำในอ่านฉลากส่วนประกอบต่าง ๆ รวมไปถึงปรีกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหรือเภสัชกร
* เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรรับประทาน *
อาหารเสริมธาตุเหล็ก ยี่ห้อไหนดี
![]() DAS Gesunde Plus (mivolis) สูตรสีแดง ธาตุเหล็กผสมวิตามินซี | ![]() อาหารเสริมบำรุงเลือด Swisse Ultiboost Iron Supplement วิตามินบำรุงเลือด | ![]() Maxxlife Iron Amino Acid Chelate ธาตุเหล็กบำรุงเลือด | ![]() อาหารเสริมธาตุเหล็ก Now Foods Double Strengt Iron 36 mg |
|
|
|
|
การบริโภคธาตุเหล็ก (5)
แม้ว่าจะมีผู้คนบางกลุ่มสามารถรับธาตุเหล็กในปริมาณที่เพียงพอจากการรับประทานอาหาร แต่ทารก, เด็กเล็ก, ผู้หญิงวัยรุ่น, สตรีมีครรภ์ และสตรีวัยก่อนหมดประจำเดือน มีความเสี่ยงที่จะได้รับธาตุเหล็กในปริมาณที่ไม่เพียงพอ
คุณสามารถหาธาตุเหล็กทานจากแหล่งอาหารต่าง ๆ อย่างเช่น พวกอาหารทะเล, เนื้อไม่ติดมัน, พืชตระกูลถั่ว, ผัก, ธัญพืชต่าง ๆ ทั้งในขนมปังและซีเรียลอาหารเช้า รวมถึงในนมเองก็มีธาตุเหล็กสูงเช่นกันค่ะ
ปริมาณธาตุเหล็กเฉลี่ยต่อวันจากอาหาร
- สำหรับในเด็กอายุ 2–11 ปี : 11.5–13.7 มิลลิกรัม/วัน
- วัยรุ่นเด็กผู้หญิงอายุ 12–19 ปี : 15.1 มิลลิกรัม/วัน
- วัยรุ่นเด็กผู้ชายอายุ 12–19 ปี : 16.3–18.2 มิลลิกรัม/วัน
- ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 19 ปี : 12.6–13.5 มิลลิกรัม/วัน
ปริมาณธาตุเหล็กเฉลี่ยต่อวันจากอาหารเสริม
- สำหรับในเด็กอายุ 2–11 ปี : 13.7–15.1 มิลลิกรัม/วัน
- วัยรุ่นเด็กผู้หญิงอายุ 12–19 : ปี 16.3 มก. มิลลิกรัม/วัน
- วัยรุ่นเด็กผู้ชายอายุ 12–19 ปี : 19.3–20.5 มิลลิกรัม/วัน
- ผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 19 ปี : 17.0–18.9 มิลลิกรัม/วัน
เมื่อร่างกายขาดธาตุเหล็ก จะเป็นอย่างไร (5)
การที่ร่างกายขาดธาตุเหล็กนั้นคงไม่ใช่เรื่องแปลกมากเท่าไหร่ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก, สตรีวัยเจริญพันธุ์และสตรีที่ตั้งครรภ์ เนื่องจากการขาดธาตุเหล็กเกี่ยวข้องกับการรับประทานอาหารที่ไม่ดี, ความผิดปกติของการดูดซึมแร่ธาตุในร่างกาย และการสูญเสียเลือดในปริมาณมาก ๆ สำหรับผู้ที่ขาดธาตุเหล็กนั้นจึงมักมีจะภาวะขาดสารอาหารอื่น ๆ ตามมาด้วยเช่นกัน
องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดการณ์ว่าประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคโลหิตจาง หรือ 1.62 พันล้านรายทั่วโลกที่เป็นโรคโลหิตจางนั้น เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก แม้ว่าการขาดธาตุเหล็กจะเป็นสาเหตุหลักของโรคโลหิตจางที่พบบ่อยที่สุด แต่การขาดสารอาหารอื่น ๆ เช่นโฟเลตและวิตามินบี 12 และปัจจัยอื่น ๆ เช่นการติดเชื้อเรื้อรังและการอักเสบ อาจทำให้เกิดโรคโลหิตจางในรูปแบบต่าง ๆ หรือส่งผลให้เกิดความรุนแรงได้เช่กัน

นอกจากโรคโลหิตจางแล้วการขาดธาตุเหล็กยังส่งผลต่อ ระบบทางเดินอาหาร, ร่างกายอ่อนแอ, มีความเมื่อยล้า, มีความลำบากในการหายใจ, สมาธิสั้นจดจ่ออะไรได้ไม่นาน, การรับรู้บกพร่อง และการทำงานของระบบภูมิคุ้มแย่ลง โดยในทารกและเด็กนั้นอาจส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางจิตและส่งผลถึงปัญหาในการเรียนรู้-ความเข้าใจต่าง ๆ อีกด้วย แน่นอนค่ะว่าความบกพร่องในช่วงวัยเด็กสามารถส่งกระทบผลไปยังอนาคตเมื่อพวกเขาเติบโตได้
ใครที่ควรรับประทานธาตุเหล็ก (5)
ดังนั้นผู้ที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงขาดธาตุเหล็ก ควรจะหันมาบริโภทอาหารเสริมหรืออาหารที่มีธาตุเหล็ก เพื่อให้ร่างรับธาตุเหล้กได้เพียงพอต่อความต้องการ อาทิเช่น สตรีมีครรภ์, ทารกและเด็กเล็ก, ผู้ที่เป็นโรคสมาธิสั้น, ผู้หญิงที่มีประจำเดือนหรือผู้ที่มีประจำเดือนมาก, ผู้บริจาคโลหิตบ่อย, ผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และผู้ป่วยมะเร็งชนิดอื่น ๆ, ผู้ที่มีความผิดปกติของระบบทางเดินอาหารหรือเคยผ่าตัดระบบทางเดินอาหาร, ผู้ที่เป็นโรคหัวใจล้มเหลว, ผู้ที่กำลังฟอกไต, ผู้ที่ทานยาปฏิชีวนะยาลดธาตุเหล็ก ยากลุ่ม Quinolones, Panmycin, Ranitidine, Omeprazole, ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE และ Colestipol กับ Cholestyramine เป็นต้น
บทสรุป
เป็นอย่างไรกันบ้างค่ะ สำหรับอาหารเสริมธาตุเหล็กที่เราได้รัวิวไป สำหรับที่ชอบทานอาหารเสริมเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว อันที่จริงในอาหารเสริมบำรุงผม, อาหารเสริมสำหรับผู้สูงอายุ, อาหารเสริมวิตามินรวม พวกนี้ก็มีธาตุเหล็กเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วย เพียงแต่จะมีปริมาณมากน้อยเท่าไหร่นั้น ก็ต้องขึ้นอยู่กับประเภทการใช้งานด้วยเช่นกัน
สำหรับสาว ๆ ที่อยากจะศึกษาเกี่ยวกับอาหารเสริมชนิดอื่น ๆ ที่ช่วยบำรุงสุขภาพ ผิวพรรณ และความงาม เราก็มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเลือกซื้อวิตามินมาฝากกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น อาหารเสริมรักษาสิว, อาหารเสริมวิตามินบีรวม, อาหารเสริมคอลลาเจน, อาหารเสริมกลูต้า, อาหารเสริมวิตามินซี, อาหารเสริมแคลเซียม, อาหารเสริมโอเมก้า, อาหารเสริมแมกนีเซียม, อาหารเสริมเมลาโทนิน, อาหารเสริมบำรุงสมอง และอาหารเสริมไฟเบอร์
แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น แม้ว่าการรับประทานอาหารเสริมจะเป็นเรื่องที่ดี การดูแลร่างกายให้แข็งแรงด้วยวิธีอื่น อย่างเช่นการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, การออกกำลังกายเป็นประจำ, การทานอาหารที่มีประโยชน์ และการดื่มน้ำเปล่าในปริมาณที่เหมาะสม จะช่วยทำให้อาหารเสริมที่คุณทานเข้าไปนั้นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังนั้นแล้วคุณไม่ควรจะพึ่งพาแต่อาหารเสริมในการทำให้ร่างกายแข็งแรงเพียงอย่างเดียว แต่คุณควรจะหันมาใส่สุขภาพด้วยตัวเองควบคู่ไปกับการทานอาหารไปด้วยจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ 🙂
References
- Global anaemia prevalence and number of individuals affected (โรคโลหิตจางมักจะเกิดโดยเฉพาะกับผู้หญิง)
- Micronutrient Facts
- Fatigue and acute/chronic anaemia (ความเหนื่อยล้าจากการขาดธาตุเหล็กหรือโรคโลหิตจาง)
- Iron deficiency anaemia (โรคโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก: หายใจถี่)
- Iron: Fact Sheet for Health Professionals
- Higher Prevalence of Iron Deficiency as Strong Predictor of Attention Deficit Hyperactivity Disorder in Children (ขาดธาตุเหล็กทำให้เป็นโรคสมาธิสั้น)