เมื่อพูดถึง เครื่องดนตรี หลาย ๆ คนอาจนึกถึงเครื่องดนตรียอดฮิต อย่างเช่น ไวโอลิน, กลอง, กีตาร์, คีย์บอร์ด หรืออูคูเลเล่ เป็นต้น เพราะเครื่องดนตรียอดฮิตเหล่านี้ ล้วนแล้วแต่สามารถนำมาใช้ร้อง ใช้เล่น เพลงต่าง ๆ ที่เราชื่นชอบได้ ไม่ว่าจะเป็นแนว Pop, Rock, Hiphop, Classic หรืออื่น ๆ ซึ่งแน่นอนครับว่า เสียงเพลงและเสียงดนตรีต่าง ๆ สามารถสร้างความผ่อนคลายให้กับเราได้ในทุก ๆ ครั้งที่เล่น แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือ เครื่องดนตรียอดฮิตที่เราได้กล่าวไปข้างต้นทั้งหมดล้วนมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ครับ ดังนั้นการที่เราจะพกพาไปเล่นตามที่ต่าง ๆ มันก็จะลำบากไปด้วย
แต่ก็ใช่ว่าคุณจะไม่มีทางเลือกนะครับ เพราะในทุกวันนี้มีเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่กำลังเป็นเทรนด์มากคือ ‘คาลิมบา (Kalimba)’ นั่นเองครับ โดยคาลิมบาเป็นเครื่องดนตรี ขนาดเล็ก กะทัดรัด อีกทั้งรูปทรงก็ดูน่ารักมาก ๆ ในขณะเดียวกันถ้าหากจะลองเปรียบเทียบวิธีการเล่นกับเครื่องดนตรีสากลชนิดอื่น ๆ เจ้าคาลิมบาถือเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้ง่ายมาก ๆ ครับ ใช้เวลาในการเรียนรู้ไม่นาน คุณก็สามารถเล่นเพลงพื้นฐานได้แล้ว รวมไปถึงอุปกรณ์ในการเล่นก็ยังน้อยมาก ๆ อีกด้วยครับ ขอเพียงแค่คุณมี คาลิมบา ตัวเดียว ก็สามารถนำไปเล่นได้ทุกที่ตามต้องการเลย หากคุณยังไม่รู้จักว่า เจ้า คาลิมบา นี้คืออะไร ? วันนี้เราขอพาทุก ๆ คนไปรู้จักกับเครื่องดนตรีชนิดนี้ให้มากขึ้นกันครับ พร้อมไกด์ไลน์วิธีเลือกซื้อคาลิมบาที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุดมาแชร์กันด้วยครับ
คาลิมบา แบบไหนเหมาะกับคุณมากที่สุด ?
- คาลิมบาโปร่ง: Kalimba LingTing LT-K17S/LT-K17SEQ เสียงดังกังวานดี จูน A 17 คีย์
- คาลิมบาใส: Kimi crystal Kalimba คาลิมบา 17 คีย์
- คาลิมบาแบบเพลท: April Yang Kalimba คาลิมบา
- คาลิมบาไฟฟ้า: Kalimba New DUAL D1s ไฟฟ้า ไม้ Sapele Wood
- คาลิมบา 17 คีย์: Kalimba Myron MK-17A รุ่นเพิ่มตัวเลขที่คีย์ จูน C
คาลิมบา (Kalimba) คืออะไร ?

คาลิมบา หรืออีกชื่อหนึ่งเรียกว่า ‘เปียโนนิ้วโป้ง’ เป็นเครื่องเล่นดนตรีโมเดิร์น ที่เกิดขึ้นในทวีปแอฟริกา เมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อน แต่เครื่องดนตรีชนิดนี้เริ่มมีกระแสและคนหันมาสนใจมากขึ้นเมื่อมีมานุษยดนตรีวิทยา ชาวอังกฤษ ชื่อว่า ‘Hugh Tracey’ ได้เดินทางไปยังประเทศซิมบับเว เพื่อไปศึกษาเครื่องดนตรีท้องถิ่นของที่นั่น
ซึ่งแน่นอนครับว่า เขาได้ไปพบเข้ากับเครื่องดนตรีอย่าง ‘คาลิมบา’ จนท้ายที่สุด Hugh ก็ได้นำคาลิมบามาเผยแพร่ ให้ชาวโลกรู้จักมากยิ่งขึ้นในช่วงปี 1960 โดยในยุคนั้นคาลิมบาถือว่ามีชื่อเสียงเป็นอย่างมากครับ จนนักร้องชื่อดังหลาย ๆ คน ในสาย R&B และ Soul ได้นำคาลิมบาไปใช้ในการแสดงโชว์ และคอนเสิร์ตของตัวเอง
โดย คาลิมบา จะเป็นเครื่องดนตรีแฮนด์เมดหรือผลิตด้วยมือทั้งหมด มีคีย์ตั้งแต่ 5 – 21 คีย์ สำหรับการกดเล่น ซึ่งถือเป็นเครื่องดนตรีที่เล่นได้ค่อนข้างง่าย มีเสียงที่ไพเราะ ฟังสบาย ๆ และมีขนาดเล็กมาก ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ทำให้คุณสามารถพกคาลิมบาติดตัวไปเล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา ดังนั้นคาลิมบาจึงเข้าถึงคนได้ทุกกลุ่ม และเป็นกระแสมาจนถึงทุกวันนี้
วิธีการเลือกคาลิมบา (Kalimba) ต้องพิจารณาอะไรบ้าง ?
1. ลิ่มเสียง (Tines)
ลิ่มเสียง จะทำหน้าที่ในการผลิตเสียงขึ้นมา เมื่อเรามีการกดลงไป หากลิ่มเสียงไม่มีคุณภาพ แน่นอนครับว่าคุณภาพของเสียงก็จะลดลงตามไปด้วย ดังนั้นส่วนประกอบตรงนี้ จึงค่อนข้างที่จะสำคัญมาก ๆ ในการเลือกซื้อ ‘คาลิมบา’ ครับ
ลิ่มเสียงเหล็ก
ลิ่มเสียงของคาลิมบาโดยพื้นฐานแล้วจะเป็นเหล็กทั้งหมดครับ แต่เราก็จะต้องมาดูว่าเหล็กที่ใช้นั้นเป็นเหล็กประเภทไหน ? โดยเหล็กพื้นฐานที่นิยมใช้กัน ได้แก่ เหล็กรีไซเคิล, เหล็กสปริง และ เหล็กกล้าไร้สนิม ซึ่งเหล็กทั้ง 3 ชนิดนี้ ถือว่าเป็นเหล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ดังนั้นหากทางแบรนด์ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า มีการใช้เหล็กเหล่านี้ มั่นใจได้เลยครับว่า เสียงของคาลิมบาจะออกมาไพเราะ และใสกังวานอย่างแน่นอนครับ
ส่วน เหล็กกล้าคาร์บอน, แร่โลหะ และ เหล็กกล้าแมงกานีส เหล็กเหล่านี้เป็นเหล็กที่สามารถนำมาใช้แทนเหล็กทั้ง 3 ตัวด้านบนได้ครับ แต่ข้อเสียของมันก็คือ ความยาวของลิ่มเสียงอาจจะไม่เท่ากันได้ ซึ่งอาจจะทำให้การเล่นลำบากขึ้นมาเล็กน้อย ฉะนั้นควรเช็กความยาวของลิ่มเสียงให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อครับ
ลิ่มเสียงเหล็กอลูมิเนียม
ลิ่มเสียงเหล็กอลูมิเนียม เป็นเหล็กอีกประเภทหนึ่งที่ออกมาวางขายเช่นเดียวกัน (แต่มันอาจจะไม่ได้เยอะเท่ากับเหล็ก 6 ชนิดด้านบนครับ) ซึ่งคุณสมบัติที่ดีของมันก็คือ ความนุ่มในระหว่างการกดเล่น ทำให้การเล่นคาลิมบาไหลลื่นมากขึ้นกว่าเดิมนั่นเองครับ
2. ช่องว่างระหว่างลิ่มเสียง
ในบางครั้งคนที่มีปัญหามือใหญ่ หรือนิ้วโป้งใหญ่เกินไป อาจจะลำบากในการเล่นคาลิมบาที่มีช่องว่างระหว่างลิ่มเสียงแขบ ๆ ในขณะเดียวกัน ถ้าหากช่องว่างกว้างมากจนเกินไป มันก็จะทำให้การเล่นยากขึ้นกว่าเดิมด้วยเช่นกันครับ
- ลิ่มเสียงแคบ : จะช่วยให้การเล่นง่าย จับคอร์ดได้ง่ายขึ้น ทำให้การเล่นสมูธมากยิ่งขึ้นครับ ทั้งยังไม่ทำให้เล็บของเราได้รับความเสียหายอีกด้วย
- ลิ่มเสียงกว้าง : ง่ายสำหรับมือใหม่ ในขณะเดียวกันก็อาจจะเพิ่มความยากให้กับคนที่มีทักษะ หรือเล่นมาสักระยะเวลานึงแล้ว เพราะการกดคอร์ด คุณจะต้องเอื้อมนิ้วมากขึ้นนั่นเอง
จริง ๆ แล้วช่องว่างระหว่างลิ่มเสียงมันจะไม่ได้มีบอกอย่างชัดเจนในรายละเอียดสินค้า ดังนั้นเราจะต้องเช็กจากภาพเองก่อนที่จะซื้อครับ
3. จำนวนลิ่มเสียง (จำนวนคีย์)
ทุกวันนี้ จำนวนคีย์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ คาลิมบา 17 คีย์ (17 ลิ่มเสียง) โดยในช่วงระหว่าง 15 – 17 คีย์ ถือว่ากำลังดีครับ เพราะมีจำนวนคีย์ที่ครบถ้วน และไม่ยากจนเกินไปสำหรับการเล่น ทั้งนี้ถ้าหากคาลิมบามีทั้งหมด 17 คีย์ มันจะมีอยู่ประมาณ 2 คีย์ ซึ่งป็นคีย์พิเศษ (ถึงแม้จะมีโอกาสใช้น้อย แต่ในบางเพลงอาจมีการใช้อยู่บ้าง)
โดยบางคนอาจเลือก 10 คีย์ เพื่อแก้ไขปัญหาช่องว่างระหว่างลิ่มเสียงแคบจนเกินไป หรือคนที่อยากเริ่มต้นการเล่นจากคีย์ที่ไม่เยอะเกินไป เพื่อให้การเล่นง่ายยิ่งขึ้น ส่วนในช่วง 7 – 8 คีย์ จะไม่ค่อยนิยมกันสักเท่าไหร่นัก เพราะมันอาจไม่สามารถเล่นตรงตามโน๊ตของเพลงได้ทั้งหมด แต่มันก็มีข้อดีคือ การเล่นของเราจะรีแลกซ์ยิ่งขึ้น เนื่องจากคีย์น้อยลงทำให้การกดมีความถนัดขึ้น
4. ประเภทของคาลิมบา
![]() |
คาลิมบาโปร่งคาลิมบาโปร่ง ส่วนใหญ่แล้วจะมีช่วงเสียงที่กว้างกว่า (แม้ว่าจะกดคีย์ต่ำก็ยังคงได้ยินเสียงอยู่) เนื่องจากเนื้อไม้ที่ใช้ค่อนข้างจะน้อย |
![]() |
คาลิมบาตัวตัน (คาลิมบาเพลท)คาลิมบาตัวตัน หรือ คาลิมบาเพลท ช่วงเสียงอาจจะไม่ได้ดังเท่าหรือกว้างเท่ากับคาลิมบาแบบโปร่ง แต่ความดังของเสียงจะเท่ากันในทุกคีย์ |
![]() |
คาลิมบาอะคริลิคคาลิมบาอะคริลิค เป็นอีกหนึ่งตัวที่ขายได้ดีในไทย เพราะการดีไซน์ทำออกมาได้สวยใสน่ารัก เป็นรูปการ์ตูนต่าง ๆ (ส่วนใหญ่แล้วจะทำออกมาในรูปทรงหมี) แบรนด์ที่ฮิตกันตอนนี้ก็จะเป็น ‘Kimi’ แต่ข้อเสียของมันคือเสียงอาจจะไม่ดีเท่ากับ คาลิมบาโปร่ง และ คาลิมบาตัวตัน รวมไปถึงน้ำหนักก็จะเยอะกว่าเกือบเท่าตัวครับ |
5. ประเภทของไม้ที่ใช้ในการผลิต
คาลิมบา ที่วางขายตามท้องตลาดจะเป็นไม้เกือบ 90% ครับ แต่ความแตกต่างจะอยู่ที่ชนิดของไม้ ซึ่งไม้แต่ละชนิด จะส่งผลต่อเสียงที่ปล่อยออกมาไม่เหมือนกัน นั่นคือ เสียงสั่นพ้อง (Resonance) หรือความยาวของเสียง โดยหากไม้มีความแข็งมากเท่าไหร่ ก็หมายความว่าเสียงสั่นพ้องจะมากขึ้นตามไปด้วย (ยิ่งพ้องมากเท่าไหร่ยิ่งเพราะมากขึ้นเท่านั้น) ซึ่งไม้ที่แข็งและนิยมใช้ในการผลิตก็จะมี ดังนี้
|
|
Nightingale K17-M Kalimba 17 Key Mahogany คาลิมบา 17 คีย์ ไม้มะฮอกกานี

ราคา 590 บาท*
Nightingle อาจจะไม่ใช่แบรนด์ที่ดังเท่ากับ ‘Lingting’, ‘Dual, ‘Kimi’ หรือ ‘Gecko’ แต่ถ้าลงลึกไปถึงดีเทลของมันแล้ว บอกได้เลยว่าสู้ได้แบบสูสีกับตัวท็อปเลยครับ อย่างแรกคือ น้ำหนักที่เบามาก เนื่องจากไม้ที่ใช้ จะเป็นมะฮอกกานีคุณภาพ ส่วนลิ่มเสียงก็กดได้ง่าย ไม่มีคำว่าแป๊ก มีการสลักกำกับชื่อคีย์และตัวเลขเอาไว้ เพื่อให้เล่นคาลิมบาได้ง่ายขึ้น อีกทั้งคีย์ทั้งหมดก็มีให้เล่นถึง 17 คีย์ สามารถเล่นได้ทุกเพลงที่ใช้คีย์พื้นฐานเลยละครับ
จุดเด่น
- น้ำหนักของเครื่องค่อนข้างเบา เพราะผลิตมาจากไม้ฮอกกานี
- ลิ่มเสียงกดได้ง่าย และมีคีย์ให้เล่นถึง 17 คีย์
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาโปร่ง |
วัสดุ | ไม้มะฮอกกานี |
น้ำหนัก | 0.28 กิโลกรัม |
Kimi crystal Kalimba คาลิมบา 17 คีย์

ราคา 714 บาท*
Kimi จัดเป็นอีกหนึ่งตัวท็อปที่มียอดขายเป็นอันดับต้น ๆ ในไทยเลยก็ว่าได้ครับ เพราะความสวยงามของอะคริลิคที่ใสทะลุเครื่องเสียง รวมไปถึงการดีไซน์ให้เป็นรูปทรงของหมีน้อยน่ารัก (ในวงการจะเรียกว่า ‘หมีใส’) ทำให้หลาย ๆ คนต่างถูกใจในความน่ารักของมันไปตาม ๆ กัน ส่วนทางด้านเสียงก็ถือว่าทำออกมาได้ดีไม่แพ้กัน หากใครชอบเสียงแบบใสกริ๊ป ๆ เหมือนกับ Music Box รับรองได้เลยว่า ไม่ผิดหวังอย่างแน่นอน แต่อีกอย่างหนึ่งที่ผมรู้สึกชอบก็คือ มันจะมาพร้อมกับกล่องใส่เครื่องดนตรี พร้อมให้คุณพกพาไปตามสถานที่ต่าง ๆ ได้สะดวกยิ่งขึ้น และยังมีอุปกรณ์ทำความสะอาด รวมไปถึงอุปกรณ์จูนเสียงแบบครบเซ็ต ซึ่งคีย์ของรุ่นนี้ก็มีให้กดถึง 17 คีย์ สามารถจะเล่นเพลงไทย และสากลได้ทุกเพลง ตามที่เราต้องการเลยครับ
จุดเด่น
- การดีไซน์มีความใสและสวยกว่าตัวอื่น ๆ ภายในลิสต์
- เสียงใสมาก ! ฟังแค่โน๊ตตัวเดียวก็รู้เลยว่าเพราะ
- มาพร้อมกับกล่องใส่ที่พกพาสะดวก นำติดตัวไปได้ทุกที่
ข้อควรพิจารณา
- น้ำหนักค่อนข้างเยอะ
- วัสดุเป็นอะคริลิกทำให้เกิดรอยและลายนิ้วมือได้ง่าย
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาอะคริลิค |
วัสดุ | อะคริลิค |
น้ำหนัก | 1 กิโลกรัม |
Kalimba Gecko K17CAS CASEQ ไฟฟ้า B Tone

ราคา 890 บาท*
Gecko รุ่น K17CAS ตอบโจทย์สำหรับมือใหม่มาก ๆ ครับ เพราะน้ำหนักของเครื่องดนตรีเบามาก เรียกได้ว่า ใกล้เคียงกับมือถือรุ่นเล็กเลยครับ ดังนั้นการหยิบจับจะง่ายเป็นพิเศษ รวมไปถึงส่วนของลิ่มเสียงก็มีความสโลปและปลายของมันก็จะกดง่ายนุ่มมือ นอกจากนี้จุดเด่นที่ผมยกให้เป็นไฮไลท์ของรุ่นนี้คงหนีไม่พ้นในเรื่องของเสียงครับ เนื่องจากไม้ที่ใช้นั้นเป็นไม้การบูรอย่างดี ซึ่ง แน่นอนว่า ความกังวาลของเสียงจะดีมาก!!! อีกทั้งด้วยความที่เป็นไม้การบูร กลิ่นหอมของมันจะแตะจมูกมาก ตั้งแต่เปิดกล่องออกมา ซึ่งความหอนนี่ละครับ ทำให้ฟีลลิ่งของเราดีมาก ๆ ส่วนอุปกรณ์ภายในกล่อง ก็แถมกันมาแบบครบเซ็ต มีทั้งอุปกรณ์จูนเสียงและดนตรีเพลงให้อีกด้วย ไม่ต้องไปซื้ออุปกรณ์เพิ่มเติมให้วุ่นวาย
จุดเด่น
- เสียงมีความกังวาล เพราะผลิตมาจากไม้การบูร
- กลิ่นของคาลิมบาจะมีความหอมฟุ้งไม่เหมือนใคร
- น้ำหนักเบาและลิ่มเสียงกดง่าย มือใหม่สามารถเริ่มต้นด้วยเครื่องนี้ได้
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาตัวตัน (คาลิมบาเพลท) |
วัสดุ | ไม้การบูร |
น้ำหนัก | 0.80 กิโลกรัม |
Kalimba Myron MK-17A รุ่นเพิ่มตัวเลขที่คีย์ จูน C

ราคา 1,090 บาท*
Myron น่าจะเป็นที่คุ้นหน้าคุ้นตากันดีครับ เพราะจุดเด่นอย่างหนึ่งของทางแบรนด์คือการออกแบบให้คาลิมบาเป็นรูปทรงน้องแมวน่ารัก ซึ่งไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน โดยรุ่นที่ผมจะมาแนะนำกันในบทความนี้คือ ‘MK-17A’ เนื่องจากรุ่นนี้อัพเกรดทั้งตัวไม้และเสียง ทำให้คุณสมบัติของมันดีขึ้นมาเยอะกว่ารุ่นก่อน ๆ อย่างชัดเจน
เริ่มต้นด้วยซึ่งใช้ในการผลิตอย่าง Ash wood พร้อมด้วยการเคลือบ ดังนั้นผิวของมันจะเรียบเนียนเป็นแผ่นเดียวกันและมีความสวยใสไม่แพ้ใคร ส่วนเรื่องเสียงจะค่อนข้างชัดเจนเลยครับว่ามันนุ่มขึ้นมาก ๆ หากใครชอบเสียงในโทนที่ไม่สูงหรือใสมากจนเกินไป Myron รุ่นนี้ตอบโจทย์เลยละครับ
จุดเด่น
- ไม้ผ่านการเคลือบ ทำให้ตัวคาลิบามีความมันวาวและสวยมาก ๆ
- เสียงที่ออกมาค่อนข้างจะนุ่ม ไม่แหลมสูงจนเกินไป
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาตัวตัน (คาลิมบาเพลท) |
วัสดุ | ไม้แอช |
น้ำหนัก | 0.70 กิโลกรัม |
Kalimba LingTing LT-K17S/LT-K17SEQ เสียงดังกังวานดี จูน A 17 คีย์

ราคา 1,190 บาท*
LingTing รุ่น LTK17 จะมีทั้งแบบปกติและไฟฟ้าให้เราได้เลือก โดยสิ่งที่ผมค่อนข้างจะประทับใจคือการดีไซน์ครับ ถ้าหากจะเปรียบเทียบในเรื่องของลายไม้และความเนียนสวย Linting ถือว่ากินขาด คงเป็นเพราะการใช้ไม้ Swartizia แบบ 100% (ไม่มีผสมไม้อัดแน่นอน) และงานฝีมือก็สมกับราคาของสินค้า
นอกจากนี้ลิ่มเสียงของมันก็มีความบาง ทำให้กดและเล่นง่ายเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ที่เพิ่งหัดเล่นก็สามารถเริ่มต้นจากคาลิมบาตัวนี้ได้ทั้งหมด ในขณะเดียวกันเสียงของ Linting ก็หวานกลมกล่อมมาก ๆ มีความใสและความนุ่มที่บาลานซ์ คือไม่สูงและต่ำจนเกินไป ถึงแม้ว่าราคาจะสูงไปสักเล็กน้อย แต่คุณภาพคับแก้ว คุ้มค่าแก่การลงทุนแน่นอน
จุดเด่น
- ไม้ที่ใช้จะเป็น Swartizia แบบ 100% ดังนั้นลายจะสวยและ Limited ไม่เหมือนใคร
- ลิ่มเสียงจะบางและเบา ทำให้กดง่าย มือใหม่สามารถเล่นได้
- เสียงมีความหวานกลมกล่อม
ข้อเสีย
- หากโดนความชื้นและหล่น เครื่องอาจได้รับความเสียหาย เพราะตัวเครื่องจะเป็นไม้ 100%
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาโปร่ง |
วัสดุ | ไม้สวาร์ตเซีย |
น้ำหนัก | 0.90 กิโลกรัม |
April Yang Kalimba คาลิมบา

ราคา 1,199 บาท*
April Yang เป็นแบรนด์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไปไม่แพ้กว่า ‘Kimi’ หรือ ‘Myron’ เลย ซึ่งสาเหตุที่แบรนด์นี้ค่อนข้างฮอตและขายได้ดี ก็เนื่องจากเจ้าของแบรนด์เป็นนักดนตรีชาวจีนชื่อดังที่ใช้คาลิมบาในการทำเพลงต่าง ๆ ซึ่งความเป็นมืออาชีพตรงนี้ ทำให้ทุกคนค่อนข้างมั่นใจในเรื่องของคุณภาพ และก็ต้องยอมรับว่า April Yang มีเสียงที่ค่อนข้างไฟเราะ และใสอีกตัวหนึ่งในวงการคาลิบา ทั้งนี้ทางแบรนด์จะมีให้เลือกอยู่ 2 แบบ คือ คลาสสิก และไฟฟ้า รวมถึงชนิดของไม้ระหว่าง ไม้บีช และมะฮอกกานีครับ โดยถ้าพูดถึงไม้แล้วทั้งสองไม้นี้จะมีคุณภาพที่ไม่ได้แตกต่างกันสักเท่าไหร่ เพราะเสียงที่ออกมาจะใสและกังวาลไม่แพ้กัน แต่มันจะแตกต่างกันในส่วนของรุ่นคลาสสิกและไฟฟ้า ซึ่งถ้าหากเป็นคลาสสิกเสียงจะออกมาจากการสั่นสะเทือนของลิ่มเสียง แต่ถ้าเป็นไฟฟ้า คุณสามารถเชื่อมต่อเข้ากับลำโพงเพื่อขยายเสียงให้ดังขึ้นได้
จุดเด่น
- เสียงมีความหวานใสและกังวาล
- แผ่นคีย์ หรือลิ่มเสียงกดได้ง่าย และมีการสลักชื่อคีย์เอาไว้ ทำให้เล่นได้ง่ายยิ่งขึ้น
- รุ่นไฟฟ้าจะไม่มีถ่าน ไม่จำเป็นต้องชาร์จไฟ สามารถเสียบเข้ากับสายแอมป์ เพื่อขยายเสียงได้ทันที
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาตัวตัน (คาลิมบาเพลท) |
วัสดุ | ไม้บีช |
น้ำหนัก | 350 กรัม |
คาลิมบา Seeds Kalimba 34 Key

ราคา 1,950 บาท*
Seeds ตัวนี้มาใน 34 คีย์ นั่นหมายความว่า คุณสามารถเลือกเล่นโน๊ตดนตรีได้กว่า 34 โน๊ต ภายในคาลิมบาตัวนี้ตัวเดียว คุณไม่จำเป็นจะต้องจูนเปลี่ยนเสียงอะไรให้เสียเวลา แต่ผมเชื่อว่าหลายคนที่เพิ่งเริ่มต้นเล่นคาลิบาอาจรู้สึกว่า จำนวนลิ่มเสียงของมันเยอะจนเกินไป จนอาจทำให้คิดว่ามันเล่นได้ยาก แต่จริง ๆ มันไม่ใช่แบบนั้นครับ เพราะลิ่มแถวล่างจำนวน 17 คีย์ จัดเรียงได้ไม่แตกต่าง ‘Gecko’, ‘Lingting’, ‘Myron’ หรือ ‘Dual’
ดังนั้นคุณสามารถเริ่มต้นด้วยการเล่นแถวล่างจนถนัดก่อน แล้วจึงค่อยไปเล่นโน๊ตแถวบนเมื่อเริ่มถนัดแล้ว ส่วนข้อดีอีกอย่างคือด้วยโน๊ตที่เยอะขนาดนี้ทำให้มันสามารถจะเล่นได้ทุกเพลงบนโลกใบนี้เลยก็ว่าได้ ในขณะที่โทนเสียงของคาลิมบาตัวนี้จะมีความแหลมสูง แต่ยังคงความใสและเพราะอยู่ในตัว ฟังแต่ละครั้งรับรองว่าเบาหวิวลอยตัวไปพร้อมความหวานของเสียงเลยครับ ถือว่าเป็นเครื่องที่มีฟังก์ชันครบถ้วนและเสียงอันไพเราะอีกหนึ่งเครื่องที่ผมอยากแนะนำกับทุกคน
จุดเด่น
- จำนวนคีย์เยอะมากถึง 34 คีย์ สามารถเล่นได้ทุกเพลงบนโลก
- เสียงค่อนข้างเสถียร ไม่จำเป็นต้องปรับหรือจูนบ่อยครั้ง
- เสียงค่อนข้างใสและเพราะมาก
จำนวนคีย์ | 34 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาตัวตัน (คาลิมบาเพลท) |
วัสดุ | ไม้วอลนัท |
น้ำหนัก | 1.1 กิโลกรัม |
Kalimba New DUAL D1s ไฟฟ้า ไม้ Sapele Wood

ราคา 2,600 บาท*
คาลิบา Dual D1s ถูกเปรียบเทียบกันค่อนข้างบ่อยกับทาง ‘April Yang’ ครับ เพราะทั้งคู่เป็นคาลิมบาไฟฟ้าที่มีสเปกและฟังก์ชันค่อนข้างจะใกล้เคียงกัน แต่ความพิเศษของรุ่นนี้คือ ตัวคอนเนคเตอร์ หรือ พอร์ตเชื่อมต่อ สามารถเสียบเข้ากับหูฟังได้เลยทันที ไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณใด ๆ เพิ่มเติม ในขณะที่เสียงเองก็มีคุณภาพเหมือนกันครับ เพราะมันจะให้เสียงที่มีความหวานใส และไพเราะไม่ได้น้อยไปกว่าแบรนด์อื่น ๆ แต่ถ้าหากเปรียบเทียบในเรื่องของเสียงกับ ‘April Yang’ เราก็คงต้องบอกว่า Dual D1s อาจจะมีความตันเล็กน้อย ไม่ได้ใสสว่างเท่ากับทาง ‘April Yang’ ดังนั้นจะต้องชั่งน้ำหนักครับว่าอยากได้ฟังก์ชันที่ครบถ้วนกว่า หรืออยากได้เสียงที่หวานใสกว่า
จุดเด่น
- เสียงเหมาะสำหรับการเล่นคนเดียวหรืออยู่ภายในพื้นที่ที่ต้องการความเงียบ เพราะเสียงมันจะไม่ดังมากและเชื่อมต่อกับหูฟังได้ทันที
- ไม้ที่ใช้ในการผลิตมีความแข็งแรง และให้เสียงที่ไพเราะ
จำนวนคีย์ | 17 คีย์ |
---|---|
ประเภท | คาลิมบาตัวตัน (คาลิมบาเพลท) |
วัสดุ | ไม้สเปเร่ |
น้ำหนัก | 0.80 กิโลกรัม |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
วีดีโอ ตัวอย่างเพลง My Heart Will Go On (Titanic) ที่ใช้คาลิมบาบรรเลง
วิธีการจูนเสียง คาลิมบา
1. ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน สำหรับการเช็กคีย์คาลิมบา
ก่อนที่จะเล่นคาลิมบาคุณจะต้องมั่นใจก่อนว่า เสียงที่ปล่อยออกมาจะต้องตรงคีย์หรือพูดง่าย ๆ ว่า ไม่เพี้ยน นั่นเองครับ ซึ่งหากฟังด้วยหู มันอาจจะเช็กได้ลำบาก ยิ่งมือใหม่ยิ่งไม่รู้เลย ดังนั้นเพื่อความมั่นใจ ผมขอแนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน เพื่อมาเช็กถึงจะดีที่สุดครับ โดยแอฟพิลเคชันที่นิยมกันก็จะมี iStrobosoft, VITALtuner, Cleartune และแอปเช็กเสียงกีตาร์อื่น ๆ หรือไม่ก็ซื้อจูนเนอร์ก็ได้เช่นกันครับ
2. ทดสอบและเช็กเสียงบนสมาร์ทโฟน
หลังจากดาวน์โหลดเสร็จแล้วเรียบร้อยก็ให้คุณทำการเปิดแอปพลิเคชันขึ้นมา จากนั้นก็กดลิ่มเสียงเพื่อเช็กว่าคีย์ที่เรากดลงไปตรงกับคีย์ที่โชว์อยู่บนหน้าจอหรือไม่ ? หากคีย์ที่กดลงไปตรงกับที่แอปพลิเคชันโชว์ไว้ ก็ไม่ต้องไปปรับแก้อะไรครับ แต่ถ้าหากยังไม่ตรงก็ให้ทำต่อในขั้นตอนที่ 3
3. ใช้ค้อนตอกลงไปที่ลิ่มเสียงคาลิมบา เพื่อปรับความสูง-ต่ำของคีย์
ปกติแล้วคาลิมบาจะแถมมากับ ‘ค้อน’ ขนาดเล็ก ไว้สำหรับการจูนเสียง ถ้าหากคีย์นั้น ๆ มีเสียงต่ำกว่าคีย์ปกติ ก็ให้คุณตอกลิ่มเสียงนั้น ‘สวนขึ้น’ แต่ถ้าหากคีย์นั้นสูงจนเกินไปก็ให้ตอกลิ่มเสียงนั้น ‘สวนลง’
4. เช็กเสียงอีกครั้งในแอปพลิเคชัน
เมื่อจูนเสร็จแล้วให้คุณลองกดลิ่มเสียงอีกครั้ง เพื่อเช็กดูว่าเสียงของมันตรงกับคีย์ที่แอปพลิเคชันโชว์หรือไม่ ถ้าหากตรงแล้วนั่นหมายความว่า เสียงที่จูนนั้นถูกต้อง พร้อมเล่นได้ในทันทีครับ
เทคนิคการเล่นคาลิมบาที่ถูกต้อง
- ถือและจับคาลิมบาด้วย 2 มือ : ให้คุณถือคาลิมบาด้วยสองมือ และให้ลิ่มเสียงหันหน้าเข้าหาตัวเรา นำนิ้วโป้งทั้งสองนิ้วกดไว้บนบริเวณส่วนหน้าของคาลิมบา จากนั้นให้นิ้วส่วนที่เหลือจับไว้บริเวณส่วนหลัง
* ห้ามนำนิ้วมือไปปิดบริเวณรูด้านหลังของคาลิบาในขณะที่ถือ เพราะเสียงจะผิดเพี้ยนไปจากเสียงจริง ๆ
- ให้กดลิ่มเสียงโดยนิ้วโป้ง : เพื่อให้เสียงของคาลิมบาออกมาดี และไพเราะ การกดลิ่มเสียงควรกดด้วย นิ้วโป้ง ทั้งนี้เมื่อกดไปแล้วลิ่มเสียงจะต้องสั่น และมีเสียงออกมาตรงตามคีย์นั้น ๆ โดยในการเล่นครั้งแรก อาจรู้สึกเจ็บนิ้วครับ ซึ่งเป็นปกติ แต่เมื่อเล่นไปนานเข้าจะค่อย ๆ ชิน จนไม่รู้สึกเจ็บเลยแม้แต่น้อยครับ หากใครไม่อยากเจ็บนิ้ว ก็สามารถไปหาซื้อซิลิโคนป้องกันนิ้วมือมาใช้ได้ครับ
- สลับการกดลิ่มเสียงระหว่างนิ้วโป้งทั้ง 2 นิ้ว : การเล่นคาลิมบาให้ไหลลื่น และไม่สะดุด ควรจะต้องใช้นิ้วโป้งทั้ง 2 นิ้วในการสลับกันกด โดยจะต้องแบ่งฝั่งทางซ้าย และทางขวาเอาไว้ ซึ่งหากมีคีย์ที่เราต้องกดในทางซ้ายก็ให้ใช้นิ้วโป้งทางซ้ายในการกด ส่วนถ้าต้องกดคีย์ทางด้านขวาก็ให้ใช้นิ้วโป้งทางด้านขวาครับ เพื่อให้การเล่นของเราโฟลว์และไหลลื่นไปจนจบเพลง
- ใช้นิ้วโป้งกดลิ่มเสียงพร้อมกันเพื่อเล่นคอร์ด : ถือว่าเป็นเรื่องปกติครับถ้าหากในเพลงนั้นจะต้องมีโน้ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งในศัพท์ทางดนตรีจะเรียกว่า ‘คอร์ด’ นั่นหมายความว่ามันต้องกดคีย์หรือลิ่มเสียงพร้อมกับ 2 ตัว โดยการกดนั้นควรจะต้องใช้นิ้วโป้งนิ้วเดียวในการกด เพื่อให้นิ้วโป้งอีกนิ้วเตรียมเล่นโน้ตในตัวถัดไปนั่นเองครับ