“ผู้ป่วย” คำนี้เป็นคำที่ไม่มีใครอยากโดนเรียกหรือใช้เรียกผู้อื่นสักเท่าไหร่เพราะเมื่อนึกถึงผู้ป่วยแล้วสิ่งที่ต้องมาคู่กันก็คือความเจ็บป่วยหรือความไม่สบายไม่ด้านในก็ด้านหนึ่ง แต่ความเจ็บป่วยเองก็เป็นหนึ่งในวัฏจักรชีวิตที่ใครก็หลีกหนีไม่พ้น ไม่ว่าจะพยายายามระมัดระวังตัวมากแค่ไหน เรื่องไม่คาดคิดก็สามารถเกิดขึ้นได้เสมอ บางครั้งอาจจจะเกิดกับตัวเอง, คนรอบข้าง หรือคนในครอบครัว ลำพังแค่วัยหนุ่มสาวอย่างพวกเราอาจจะไม่น่ากังวลสักเท่าไหร่ เพราะใช้เวลาไม่นาน ร่างกายก็ฟื้นฟูตัวเองให้ก็กลับมาเดินปร๋อได้เหมือนเดิมแล้ว
แต่การเจ็บป่วยกับผู้สูงอายุถือว่าเป็นของที่ไม่ถูกกันอย่างแรง เพราะพวกเขาเหล่านี้มีร่างกายที่อ่อนแอและฟื้นฟูตัวเองได้ช้ากว่าปกติ ยิ่งเป็นการเจ็บป่วยถึงขั้นต้องล้มหมอนนอนเสื่อต่้องนอนติดเตียงผู้ป่วยก็ยิ่งต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยหรือสูงอายุที่เริ่มนอนติดเตียงก็มักจะขาดแรงจูงใจและรู้สึกเสียพลังงานตลอด นอนหลับพักผ่อนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ทำให้พลอยทานอาหารได้น้อยลงด้วย ดังนั้นอาหารผู้ป่วยหรืออาหารทางการแพทย์จึงเป็นตัวช่วยและเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารเพียงพอในแต่ละวันค่ะ
อาหารผู้ป่วยคืออะไร?
อาหารผู้ป่วยมีอยู่ด้วยกันหลายประเภทขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของอาการค่ะ โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเราจะสามารถแยกอาหารผู้ป่วยเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คืออาหารผู้ป่วยธรรมดาเช่น ข้าวสวย, ข้าวต้ม หรือโจ๊ก อาหารเหล่านี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีอาการป่วยรุนแรงมากนัก สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ หรือทานอาหารด้วยตัวเองได้สะดวก
อีกหนึ่งชนิดคือ “อาหารเหลว” ค่ะ อาหารชนิดนี้ก็จะเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาหารป่วยรุนแรงขึ้นมาอีกขั้นหรือทานเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งอาหารเหลวเองก็สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ “แบบใส” และ “แบบข้น” อาจจะมาในรูปแบบผงหรือเนื้อครีมเหลว ๆ ที่จะอ่อนนุ่มและสามารถทานได้ในอุณหภูมิห้อง ส่วนใหญ่และสกัดมาจากสารอาหาร, วิตามิน และแร่ธาตุเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่เพียงพอค่ะ
ประเภทอาหารเหลว สำหรับผู้ป่วยและผู้สูงอายุ
1. อาหารเหลวแบบใส
ลักษณะก็ตรงตามชื่อเลยค่ะ อาหารเหลวชนิดนี้จะมีความใส เนื้อสัมผัสเบา ๆ และไม่มีกากใย ไม่ค่อยจะมีสารอาหารเยอะมากนัก ส่วนใหญ่มักจะให้ทานเป็นเมนูเริ่มต้นสำหรับการพักฟื้นหรือเป็นทานก่อนการผ่าตัด สำหรับอาหารเหลวแบบใสมักจะให้ทานไม่เกินไม่เกิน 3 – 5 วันเ พื่อลดอาการขาดสารอาหารเนื่องจากอาหารเหลวชนิดนี้มีคุณค่าทางโภชนาการค่อนข้างน้อยค่ะ
2. อาหารเหลวแบบข้น
หลังผ่านช่วงทานอาหารเหลวแบบใสแล้ว หากผู้ป่วยมีปัญหาในเรื่องของการเคี้ยวอาหารก็มักจะต้องมาต่อที่อาหารเหลวแบบข้น สำหรับอาหารเหลวแบบนี้ก็จะทานง่ายมากขึ้น มีความเข้มข้น และได้เนื้อสัมผัสมากกว่าชนิดแรก รวมไปถึงปริมาณของสารอาหารก็เยอะกว่ามาก สำหรับอาหารเหลวแบบข้นก็จะมีทั้งกลิ่น, รูปแบบ และรสชาติให้เลือกหลากหลายกว่า อีกทั้งยังมีรูปแบบให้เลือกทั้งแบบผงชงและเนื้อครีมข้น ๆ ซึ่งส่วนผสมหลักของอาหารประเภทนี้ก็คือโปรคีน, คารโบไฮเดรต และไขมันที่เป็นสารอาหารหลักของร่างกาย แต่สารอาหารเหล่านี้เนี่ยจะถูกนำไปย่อยในระดับหนึ่งก่อนค่ะ เมื่อเราทานเข้าไปแล้วสารอาาหรเหล่านั้นก็ย่อยและถูกดูดซึมเร็วมากขึ้น ผู้ป่วยก็จะไม่รูสึกแน่นท้องและร่างกายได้รับสารอาหารเพียงพอตามความต้องการในแต่ละวัน
ใครสามารถทานอาหารผู้ป่วยได้บ้าง?
สำหรับอาหารเหลวทั้งชนิดข้นและใสจะเหมาะกับผู้ป่วยที่ไม่สามารถทานอาหารทั่วไปหรือมีปัญหาในการเคี้ยวอาหารต่าง ๆ เช่นระยะแรกของการจัดฟัน, การเตรียมตัวสำหรับผ่าตัด, ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยที่ไม่สามารถขยับร่างกายได้, ผู้ป่วยระยะพักฟื้น หรือผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังในระยะรุนแรงอย่างเบาหวาน, ตับ, ไต หรือมะเร็ง เป็นต้น
ซึ่งการทานอาหารก็ต้องเป็นไปตามคำแนะนำของคุณหมอค่ะ นอกจากนี้คนทั่วไปที่ไม่ค่อยมีเวลาดูแลตัวเองมากนักก็สามารถทานอาหารผู้ป่วยได้เช่นกัน เนื่องจากอาหารผู้ช่วยมักจะเป็นเครื่องดื่มชงที่เน้นเสริมสร้างภูมิคุ้มกันด้านต่าง ๆ และไม่ได้ส่งผลเสียต่อร่างกายค่ะ
และอย่างที่ทราบดีว่า อาหารผู้ป่วยทำเองนั้นค่อนข้างใช้เวลาเยอะ ทั้งยังต้องอาศัยความรู้ด้านโภชนาการประกอบด้วย หลาย ๆ คนที่ไม่ถนัดในเรื่องนี้จึงเลือกมาทานอาหารผู้ป่วยหรืออาหารทางการแพทย์เพื่อเพิ่มสารอาหารให้กับผู้ป่วยและเพื่อความสะดวกสบายค่ะ เพราะอาหารเหล่านี้ก็มีการคิดคำนวณมาแล้วว่าแต่ละวันต้องทานในปริมาณเท่าไหร่ถึงจะพอและส่งผลดีต่อร่างกายมากที่สุด ซึ่งวันนี้เราก็ได้รวบรวมอาหารผู้ป่วยหรืออาหารทางการแพทย์รูปแบบต่าง ๆ มาแนะนำเพื่อน ๆ อีกด้วยค่ะ เพื่อน ๆ สามารถเลื่อนดูรายละเอียดแล้วนำข้อมูลเหล่านี้ไปปรึกษากับหมอได้เลยค่ะ
รีวิว สมาร์ท ซุป ซุปไก่ผสมฟักทองและไข่

ราคา 60 บาท*
ลักษณะ | ชนิดผง |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 300 กรัม |
พลังงาน | 330 กิโลแคลอรี่ |
โปรตีน | 14 กรัม |
น้ำตาล | 16 กรัม |
ไขมัน | 13 กรัม |
โซเดียม | 0.28 กรัม |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วยทั่วไปยกเว้นโรคไต เบาหวาน, หัวใจ, มะเร็ง |
ส่วนผสมหลัก | น้ำ, เนื้อไก่, ฟักทอง, ไข่ไก่ และน้ำมันรำข้าว |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีส่วนผสมของไข่และถั่วเหลือง |
รีวิว Nutripack อาหารเหลวสำเร็จรูป รสทูน่าผสมฟักทอง

ราคา 60 บาท*
ลักษณะ | ชนิดน้ำ |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 300 กรัม |
พลังงาน | 300 กิโลแคลอรี่ |
โปรตีน | 5 กรัม (ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค) |
น้ำตาล | 15 กรัม (ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค) |
ไขมัน | 5 กรัม (ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค) |
โซเดียม | 0.09 กรัม (ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค) |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วยทั่วไปยกเว้นโรคไตและเบาหวาน |
ส่วนผสมหลัก | น้ำ, ไข่ไก่, ปลาทูน่า, ฟักทอง, กล้วย, น้ำมันถั่วเหลือง และน้ำตาล |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีส่วนผสมของไข่, ปลาทะเล และถั่วเหลือง |
รีวิว NEPRO HP เนบโปร กลิ่นวนิลา อาหารผู้ป่วย

ราคา 120 บาท*
ลักษณะ | ชนิดเหลว |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | ปริมาณสุทธิ |
พลังงาน | 425 กิโลแคลอรี่ |
โปรตีน | 19.1 กรัม |
น้ำตาล | ไม่ระบุ |
ไขมัน | 22.7 กรัม |
โซเดียม | 0.25 กรัม |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วยล้างไต |
ส่วนผสมหลัก | คอร์นมอลโตเด็กซ์ตริน, น้ำมันดอกคำฝอย, เคซีน, น้ำมันคาโนลา, ซูโครส, โปรตีนสกัดจากนม และวิตามินและแร่ธาตุ |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีโปรตีนจากนมและเลซิตินจากถั่วเหลือง |
รีวิว เบลนดี ควิก ซุปไก่ผสมฟักทองปั่นเข้มข้นสำเร็จรูป สูตรน้ำตาลต่ำ แพ็ค 4 ซอง

ราคา 300 บาท*
ลักษณะ | ชนิดเหลว |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 175 กรัม x 4 ซอง |
พลังงาน | 370 กิโลแคลอรี่ |
โปรตีน | 20 กรัม |
น้ำตาล | 3 กรัม |
ไขมัน | 11 กรัม |
โซเดียม | 0.24 กรัม |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วย, ผู้สูงอายุ, เด็ก 6 เดือนขึ้นไป และบุคคลทั่วไป |
ส่วนผสมหลัก | เนื้อไก่, ฟักทอง, ไข่ไก่ และน้ำมันรำข้าว |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | ไม่ระบุ |
รีวิว เบลนดี ควิก ซุปปลาแซลมอนปั่นเข้มข้น แพ็ค 4 ซอง

ราคา 340 บาท*
ลักษณะ | ชนิดเหลว |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 175 กรัม x 4 ซอง |
พลังงาน | 340 กิโลแคลอรี่ |
โปรตีน | 15 กรัม |
น้ำตาล | 11 กรัม |
ไขมัน | 16 กรัม |
โซเดียม | 0.3 กรัม |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วย, ผู้สูงอายุ, เด็ก 6 เดือนขึ้นไป และบุคคลทั่วไป |
ส่วนผสมหลัก | เนื้อปลาแซลมอน, กล้วยน้ำว้า, ไข่ขาว, ฟักทอง, งาขาว และน้ำมันรำข้าว |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีส่วนประกอบจากปลาทะเล |
รีวิว Nestle Nutren Balance อาหารทางการแพทย์สำหรับควบคุมน้ำตาล กลิ่นวานิลลา

ราคา 459 บาท*
ลักษณะ | ชนิดผง |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 400 กรัม |
พลังงาน | 447 กิโลแคลอรี่ (ต่อ 100 กรัม) |
โปรตีน | 17.1 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
น้ำตาล | ไม่ระบุ |
ไขมัน | 19.8 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
โซเดียม | 0.39 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วยก่อนและหลังผ่าตัดที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงและผู้ที่ต้องการควบคุมปริมาณน้ำตาล |
ส่วนผสมหลัก | แป้งมันสำปะหลัง, น้ำมันดอกทานตะวัน, โปรตีนนม, น้ำมันคาโนลา, แป้งมันฝรั่ง, วิตามิน และแร่ธาตุ |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง |
รีวิว Ensure อาหารทางการแพทย์กลิ่นวนิลา

ราคา 719 บาท*
ลักษณะ | ชนิดผง |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 850 กรัม |
พลังงาน | 428 กิโลแคลอรี่ (ต่อ 100 กรัม) |
โปรตีน | 15.9 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
น้ำตาล | ไม่ระบุ |
ไขมัน | 14 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
โซเดียม | 0.36 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร |
ส่วนผสมหลัก | มอลโตเด็กซ์ตริน, น้ำตาลทราย, โปรตีนจากถั่วเหลือง, น้ำมันรำข้าว, วิตามิน และเกลือแร่ |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง |
รีวิว Blendera - MF อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ต้องการเสริมโภชนาการ

ราคา 783 บาท*
ลักษณะ | ชนิดผง |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 2,500 กรัม |
พลังงาน | 224 กิโลแคลอรี่ (ต่อ 50 กรัม) |
โปรตีน | 8.35 กรัม (ต่อ 50 กรัม) |
น้ำตาล | ไม่ระบุ |
ไขมัน | 7.52 กรัม (ต่อ 50 กรัม) |
โซเดียม | 0.17796 กรัม (ต่อ 50 กรัม) |
เหมาะสำหรับ | บุคคลทั่วไป, ผู้สูงอายุ และผู้ป่วย |
ส่วนผสมหลัก | ข้าวโพดผ่านการย่อย, คอร์นไซรัปโซลิด, น้ำมันจากพืช, โปรตีนนม, ซูโครส และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง |
รีวิว Isocal อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยและดูดซึม

ราคา 990 บาท*
ลักษณะ | ชนิดผง |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 850 กรัม x 2 กระป๋อง |
พลังงาน | 470 กิโลแคลอรี่ (ต่อ 100 กรัม) |
โปรตีน | 15.3 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
น้ำตาล | ไม่ระบุ |
ไขมัน | 19.7 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
โซเดียม | 0.235 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
เหมาะสำหรับ | ผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยและดูดซึม |
ส่วนผสมหลัก | มอลโตเด็กซ์ตริน, น้ำมันพืช, โปรตีนนม, โซเดียมเคซีเนท, กลูโคสไซรัป, ซูโครส และโปรตีนจากถั่วเหลือง |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง |
รีวิว Glucerna SR Triple Care อาหารทดแทนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา

ราคา 1,120 บาท*
ลักษณะ | ชนิดผง |
---|---|
ปริมาณสุทธิ | 850 กรัม |
พลังงาน | 433 กิโลแคลอรี่ (ต่อ 100 กรัม) |
โปรตีน | 19.51 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
น้ำตาล | ไม่ระบุ |
ไขมัน | 15.90 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
โซเดียม | 0.405 กรัม (ต่อ 100 กรัม) |
เหมาะสำหรับ | ผู้ป่วยโรคเบาหวาน |
ส่วนผสมหลัก | มอลโตเด็กซ์ตริน, แคลเซียมเคชิเนท, น้ำมันถั่วเหลือง, น้ำตาลฟรุคโตส, วิตามิน, แร่ธาตุ และโปรตีนสกัดจากถั่วเหลือง |
ข้อมูลสำหรับผู้แพ้อาหาร | มีผลิตภัณฑ์จากนมและถั่วเหลือง |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ รีวิว อาหารผู้ป่วย อาหารเหลวทานง่าย ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี 2022 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
เบลนดี ควิก ซุปไก่ผสมฟักทองปั่นเข้มข้นสำเร็จรูป สูตรน้ำตาลต่ำ แพ็ค 4 ซอง |
| |||
| ||||
Nestle Nutren Balance อาหารทางการแพทย์สำหรับควบคุมน้ำตาล กลิ่นวานิลลา |
| |||
| ||||
| ||||
Isocal อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยและดูดซึม |
| |||
Glucerna SR Triple Care อาหารทดแทนสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน กลิ่นวานิลลา |
|
สามารถทำอาหารผู้ป่วยเองได้หรือไม่?
แน่นอนค่ะว่าคุณเองก็สามารถทำอาหารผู้ป่วยทานเองได้ที่บ้าน อาหารผู้ป่วยทั้งแบบใสและแบบข้นล้วนแล้วก็มาจากเมนูผักผลไม้เหมือนที่เราทานกันเป็นปกติ เพียงแต่เราจะต้องนำวัตถุดิบเหล่านั้นมาบดให้กลายเป็นเนื้อเนียนละเอียดแล้วปรุงรสชาติชอบ (ซึ่งควรจะเป็นรสชาติอ่อน ๆ ) สำหรับอาหารเหลวใส ๆ อย่างง่ายก็จะมีเมนูซุปต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นซุปไก่, ปลา หรือผัก หรือจะเป็นน้ำผักผลไม้แบบแยกกากแล้วนำมากรองอีกทีจนได้น้ำล้วน ๆ , น้ำเต้าหู้ ส่วนนมก็แนะนำให้เลือกใช้นม lactos free หรือนมขาดมันเนยก็จะดีที่สุดค่ะ
ส่วนอาหารผู้ป่วยแบบข้นก็จะมีซุปฟักทอง, ซุปข้าวโพด, ซุปครีมต่าง ๆ , โจ๊กข้าวโอ๊ต, น้ำผลไม้คั้นสด, หรือคัสตาร์ดก็สามารถทานได้ค่ะ แต่ก่อนทานเมนูเหล่านี้แนะนำให้ลองปรึกษาแพทย์ก่อนค่ะว่าเมนูไหนทานได้ เมนูไหนห้ามทานเพราะแต่ละคนก็มีอาการรวมถึงเมนูต้องห้ามที่แตกต่างกันออกไป แต่ก็อย่างที่ทราบกันดีอยู่แล้วค่ะว่าผู้ป่วยเนี่ยไม่ได้มีร่างกายที่แข็งแรงเหมือนเรา ๆ ดังนั้นการทำอาหารเหล่านี้ด้วยตัวเองจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างจะวุ่นวาย เพราะเราเองก็อาจจะไม่ใช่นักโภชนาการ บางครั้งก็กะไม่ถูกว่าควรใส่อะไรเท่าไหร่ ต้องทานอะไรคู่กับอะไรบ้างพลังงานที่ได้รับถึงจะเพียงพอในแต่ละวัน ดังนั้นหากคุณไม่มั่นใจเรื่องนี้ก็สามารถถามแพทย์ก่อนได้ หรืออาจจะพึ่งพาอาหารทางการแพทย์สำเร็จรูปก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ตอบโจทย์ทุกปัญหาได้ดีเลยค่ะ
บทสรุป
และนี้ก็คือความรู้และอาหารผู้ป่วยที่เรานำมาแนะนำเพื่อน ๆ ในบทความนี้ค่ะ หวังว่าสิ่งที่เราได้นำเสนอไปจะเป็นประโยชน์และเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยในการตัดสินใจของเพื่อน ๆ ได้ไม่มากก็น้อยนะคะ นอกจากอาหารทางการแพทย์แล้วการให้ผู้ป่วยได้ทานอาหารหลากหลาย ทานผักบ้าง ผลไม้บ้าง ขนมเล็ก ๆ น้อย ๆ บ้าง หรือการได้พาผู้ป่วยออกไปเดินเล่นด้วยการนั่งวีลแชร์หรือใช้ไม้เท้าพยุงก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยสร้างความผ่อนคลายทั้งทางกายและทางใจให้กับผู้ป่วยได้มากเลยค่ะ เดินไปคุยไปเล่ามุกตลกบ้าง ถามสารทุกข์สุขดิบบ้าง วิธีเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้ผ่อนคลายและลดความกังวลต่าง ๆ นา ๆ ลงได้ค่ะ เมื่อสุขภาพใจดีแล้วสุขภาพกายก็จะค่อย ๆ ดีตามมากเป็นลำดับ ลองดูนะคะ สุดท้ายนี้เราก็ขอให้คนมีแต่ความสุขความแข็งแรง ไว้เจอกันใหม่บทความหน้า สวัสดีค่ะ