การมีพาวเวอร์แบงค์ (Power Bank) หรือ แบตเตอรี่สำรองเล็ก ๆ สักอันนึงพกติดกระเป๋าไว้ใช้คู่กับมือถือสมาร์ทโฟนจะก็ช่วยให้คุณอุ่นใจได้มากขึ้นครับ และทุกวันนี้ พาวเวอร์แบงค์ (Power Bank) ดี ๆ ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพงเสมอไป เนื่องจากในตลาดมีการแข่งขันกันสูงมาก ส่งผลให้มีการแข่งขันกันทั้งด้านประสิทธิภาพและราคา ซึ่งก็ถือเป็นเรื่องดีต่อผู้ใช้อย่างเรา ๆ มาก เพราะเราจะมีตัวเลือกเยอะขึ้น โดยพาวเวอร์แบงค์จะมีให้เลือกหลายแบบ หลายความจุ และหลายราคา หากคุณกำลังมองหา พาวเวอร์แบงค์ราคาถูก แต่ได้คุณภาพที่ดี คุณมาถูกที่แล้วครับ โดยในวันนี้เราได้คัด พาวเวอร์แบงค์ ราคาไม่เกิน 500 บาท ที่ตอบโจทย์การใช้งานในแบบต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีมาฝากกัน

แต่ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ ราคาไม่เกิน 500 บาท สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณต้องพิจารณาคือ ความต้องการของคุณเองว่าอยากจะใช้งานอย่างไร ? ต้องการความจุแบตเตอรี่มากน้อยแค่ไหน ? โดยพาวเวอร์แบงค์ราคาประหยัดส่วนใหญ่มักจะมีความจุไม่ได้สูงมากนักเนื่องจากถูกจำกัดด้วยราคา จึงทำให้มันจะเหมาะสำหรับการพกพาไว้ชาร์จในยามฉุกเฉินซะมากกว่า ซึ่งพาวเวอร์แบงค์ในระดับนี้ทุกรุ่นจะมีสเปกก็จะไม่ได้ต่างกันมากครับ ทั้ง ความจุแบตเตอรี่ และความเร็วในการชาร์จ (อ่านเพิ่มเติม Power Bank ราคาถูก ๆ เลือกอย่างไร ? ต้องดูอะไรบ้าง ?ครับ)
อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการการชาร์จที่มีความเร็วสูง ๆ สามารถชาร์จได้หลาย ๆ เครื่อง ยันแล็ปท๊อป คุณก็ต้องเลือก Power bank ที่มีราคาสูงกว่านี้ ครับ อย่าง ZMI QB826 แบตสำรอง 200W
พาวเวอร์แบงค์ถูกและดี ราคาไม่เกิน 500 บาท
- Orsen by Eloop E36 – พาวเวอร์แบงค์ชาร์จเร็ว 12000mAh ที่เหมาะกับการพกติดตัวที่สุด ในงบ 500 บาท
- Orsen by Eloop E33 Line – พาวเวอร์แบงค์ ในงบ 300 บาท ที่คุ้มค่าที่สุด มีทั้ง พอร์ต และสายชาร์จในตัว
- Xiaomi 10W Wireless Power Bank – พาวเวอร์แบงค์ ชาร์จไร้สาย 10000mAh ที่คุ้มค่าที่สุด ในงบ 500 บาท
- Moov PB02-C Mini Powerbank – มินิพาวเวอร์แบงค์ 5000mAh ที่เหมาะจะพกพาที่สุด ชาร์จได้เลยไม่ต้องมีสาย
- ACMIC A21PD PRO – พาวเวอร์แบงค์ขนาดใหญ่ ที่มีความจุมากที่สุด ในงบไม่เกิน 500 บาท
- Baseus 22.5W – พาวเวอร์แบงค์ 10000mAh ที่มีเทคโนโลยีชาร์จไวเยอะที่สุด ทั้ง PD, QC3.0, FCP ฯลฯ
- Kuulaa KL-YD42-L2 – มินิพาวเวอร์แบงค์ 5000mAh งบ 300 บาท ที่คุ้มค่าที่สุด ชาร์จเร็ว แถมชาร์จได้หลากหลาย
ความจุแบตฯ : 12000mAh (45Wh) ชาร์จพร้อมกัน : จ่ายไฟสูงสุด 15W พอร์ตชาร์จ : Charging Time : 3 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) ขนาด : 63 × 96 × 24 มม. น้ำหนัก : 220 กรัม ความจุแบตฯ : 10000mAh (37Wh) ชาร์จพร้อมกัน : จ่ายไฟสูงสุด 12W พอร์ตชาร์จ : Charging Time : 5 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 5V 2A) ขนาด: 67 × 149 × 16 มม. น้ำหนัก : 222 กรัม ความจุแบตฯ : 10000mAh (36Wh) ชาร์จพร้อมกัน : จ่ายไฟสูงสุด 15W พอร์ตชาร์จ : Charging Time : 4 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) ขนาด : 148 × 70.6 × 16.6 มม. น้ำหนัก : 230 กรัม ความจุแบตฯ : 5000mAh (18.5Wh) ชาร์จพร้อมกัน : จ่ายไฟสูงสุด 20W พอร์ตชาร์จ : Charging Time : 2.5 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) ขนาด : 78 × 37 × 27 มม. น้ำหนัก: 105 กรัม
Orsen by Eloop E36 Power Bank แบตสำรอง 12000mAh ชาร์จเร็ว 18W

ราคา 499 บาท*
ใครที่กำลังมองหาแบตสำรองที่มีความจุเพียงพอต่อการใช้งานในหนึ่งวัน แต่ยังคงพกพาสะดวก ขอแนะนำ Orsen by Eloop E36 พาวเวอร์แบงค์ ความจุ 12,000mAh ที่มาในบอดี้อลูมิเนี่ยมที่ทนทาน ขนาดเล็กกว่าฝ่ามือ และน้ำหนักเบาสุด ๆ ทำให้ใส่กระเป๋ากางเกงและพกติดตัวได้สบาย ๆ โดยจุดเด่นของรุ่นนี้จะอยู่ที่เทคโนโลยีชาร์จเร็ว PD และ QC3.0 อยู่ในพอร์ตชาร์จทั้ง 4 พอร์ต ซึ่งแบ่งเป็น micro USB พอร์ตอินพุต 1 พอร์ต รับกระแสไฟได้สูงสุด 18W, พอร์ต USB-C ที่เป็นพอร์ตอิน และเอาท์พุตอีก 1 พอร์ต ซึ่งรับและจ่ายไฟสูงสุดได้ถึง 20W ช่วยให้สามารถชาร์จตัวมันเองได้ ในเวลาเพียง 3 ชม. เท่านั้น นับว่าเร็วใช้ได้เลยครับ กับความจุขนาดนี้ และพอร์ตสุดท้ายเป็นพอร์ต USB-A ที่มีให้ 2 พอร์ต เป็นพอร์ตเอาท์พุต สำหรับชาร์จอุปกรณ์ต่าง ๆ โดยสามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 18W ครับ ซึ่งจะช่วยให้การชาร์จทำได้รวดเร็วกว่าเดิม ซึ่งด้วยราคารวมส่วนลดไม่ถึง 500 บาท นับว่าคุ้มค่าสุด ๆ ครับ
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 12000mAh (45Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 15W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 3 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) |
ขนาด | 63 × 96 × 24 มม. |
น้ำหนัก | 220 กรัม |
Orsen by Eloop E33 Line พาวเวอร์แบงค์ 10000mAh มีสาย Lightning และ Type-C ในตัว

ราคา 317 บาท*
ถัดมาเป็นพาวเวอร์แบงค์สุดคุ้มกันบ้างครับ Orsen by Eloop E33 Line แบตฯ สำรอง 10000mAh ของแบรนด์ดังอีกเช่นเคย ซึ่งเรื่องคุณภาพคงไม่ต้องพูดถึงกันแล้วครับ การีนตีด้วยยอดขายที่สูงเกือบทุกรุ่น ซึ่งก็ตามสไตล์ Eloop เลย ที่มาพร้อมดีไซน์ที่ดีมาก ๆ บางเบา พกพาสะดวกสุด ๆ แถมที่พิเศษคือ การใส่สายชาร์จมาในตัว 2 เส้น (หัว Type-C และหัว Lightning) ช่วยให้การพกติดตัวไปใช้งานทำได้สะดวกขึ้น เพราะคุณไม่ต้องพกสายชาร์จก็ได้
นอกจากนี้ยังให้พอร์ตมาให้อีก 4 พอร์ต แบ่งเป็น พอร์ต Input 2 ช่อง คือ Micro USB และ USB-C อย่างละ 1 ช่อง ซึ่งรับไฟเข้าได้สูงสุด 10W และให้พอร์ต Output เป็น USB-A อีก 2 ช่อง จ่ายไฟได้สูงสุด 12W ทั้งคู่ครับ ซึ่งถึงแม้อาจจะไม่ได้ชาร์จเร็วมากมายอะไร แต่ด้วยราคาเพียง 300 กว่าบาท กลับชาร์จได้หลากหลาย พกง่าย ไม่ต้องมีสาย บวกกับความบางเบา มันจึงตอบโจทย์ในการพกติดตัวไปชาร์จอุปกรณ์ระหว่างวันมาก ๆ ครับ
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 10000mAh (37Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 12W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 5 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 5V 2A) |
ขนาด | 67 × 149 × 16 มม. |
น้ำหนัก | 222 กรัม |
Xiaomi Wireless Power Bank พาวเวอร์แบงค์ชาร์จไร้สาย 10000mAh 22.5W

ราคา 463 บาท*
พาวเวอร์แบงค์ชาร์จไร้สายจากแบรนด์ระดับโลกอย่าง Xiaomi ที่มาพร้อมดีไซน์สุดเรียบหรู บางเบา แต่มีความจุถึง 10000 mAh (37Wh) สามารถชาร์จมือถือได้ประมาณ 2 รอบ ทำให้เหมาะมาก ๆ กับการพกติดตัวไปใช้งานระหว่างวัน โดยความพิเศษของรุ่นนี้ก็คือ แท่นชาร์จไร้สาย มาตรฐาน Qi ที่สามารถจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์ Android ได้สูงสุด 10W ชาร์จ และ iPhone รุ่นที่รองรับได้สูงสุด 7.5W ซึ่งก็เพิ่มความสะดวกสบายในการใช้งานได้เป็นอย่างดีครับ แต่หากคุณเร่งรีบรุ่นนี้ก็รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็ว QC3.0 ด้วย ซึ่งจะมีพอร์ตชาร์จมาให้ 2 ช่อง แบ่งเป็น พอร์ต USB-C 1 ช่อง ที่เป็นทั้งพอร์ต Input และ Output สามารถรับและจ่ายไฟได้สูงสุด 22.5W ช่วยให้การชาร์จตัวเองทำได้อย่างรวดเร็ว และมีพอร์ต USB-A อีก 1 ช่อง ที่เป็นพอร์ต Output จ่ายไฟได้สูงสุด 22.5W เช่นกันครับ ทำให้ชาร์จอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็วครับ ใครต้องการพาวเวอร์แบงค์ชาร์จไร้สายที่คุ้มค่า ขอแนะนำเลย
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 10000mAh (36Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 15W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 4 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) |
ขนาด | 148 × 70.6 × 16.6 มม. |
น้ำหนัก | 230 กรัม |
Moov PB02-C Mini Powerbank แบตสำรอง 5000mAh ชาร์จเร็ว 20W (PD/ QC 3.0)

ราคา 599 บาท*
ใครกำลังหาแบตสำรองอันเล็ก ๆ พกติดตัวได้ง่าย ๆ ไม่ต้องพกสายชาร์จให้วุ่นวาย เราขอแนะนำ Moov PB02-C พาวเวอร์แบงค์จิ๋ว จากแบรนด์น้องใหม่ แต่ในเครือแบรนด์ชั้นนำอย่าง Eloop ซึ่งมีความจุ 5000mAh โดดเด่นด้วยดีไซน์ที่เรียบง่าย เล็ก กะทัดรัด แถมน้ำหนักเบาสุด ๆ ออกแบบมาพร้อมหัวชาร์จในตัว 1 หัว โดยจะมีให้เลือกทั้ง รุ่น Type-C สำหรับอุปกรณ์ Android และรุ่น Type-L (Lightning) สำหรับอุปกรณ์ iOS ต่าง ๆ รุ่นนี้ออกแบบให้ใช้งานง่ายมาก ๆ ครับ ด้วยขนาดที่เล็ก และหนักเพียง 105 กรัม ทำให้มันเสียบติดไว้กับพอร์ตชาร์จมือถือได้เลย ไม่ต้องถือ และไม่ต้องใช้สายให้วุ่นวาย แถมด้านหลังยังมีการออกแบบขาตั้งแบบพับได้มาให้ด้วย
รุ่นนี้รองรับเทคโนโลยีชาร์จไวทั้ง PD และ QC 3.0 เลย โดยมีหัวชาร์จในตัวเป็น Output จ่ายไฟเพื่อชาร์จได้สูงสุด 20W เลยทีเดียว ช่วยให้คุณสามารถชาร์จอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว แต่ด้วยความจุที่น้อย มันจึงเหมาะใช้เพิ่มอายุการใช้งาน ระหว่างเดินทาง มากกว่าการจะชาร์จให้เต็ม ส่วนพอร์ต Input จะใช้พอร์ต USB-C ที่รับไฟได้สูงสุด 18W ครับ ช่วยให้การชาร์จพาวเวอร์แบงค์จะใช้เวลาประมาณ 2.5 ชั่วโมง เท่านั้น นอกจากนี้ยังมาพร้อมกับสวิตช์เปิด-ปิด พร้อมบอกปริมาณแบตคงเหลือ ด้วยตัวเลข LED ที่อ่านง่าย เห็นชัดเจน
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 5000mAh (18.5Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 20W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 2.5 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) |
ขนาด | 78 × 37 × 27 มม. |
น้ำหนัก | 105 กรัม |
ACMIC A21PD PRO Powerbank 20000mAh แบตสำรองชาร์จเร็ว พาวเวอร์แบงค์

ราคา 510 บาท*
ใครที่พกอุปกรณ์หลาย ๆ เครื่อง และต้องการการชาร์จหลาย ๆ ครั้ง ขอแนะนำ ACMIC A21PD PRO พาวเวอร์แบงค์ ขนาดใหญ่ ราคาสุดคุ้ม ที่มีความจุมากถึง 20000mAh หรือ 74Wh ทำให้สามารถชาร์จได้หลายครั้งมาก ๆ โดยรุ่นนี้มาในดีไซน์ที่ดูเรียบหรู พร้อมทำผิวสัมผัสให้ขรุขระเล็กน้อย ทำให้สามารถจับถือได้อย่างกระชับ ถึงแม้จะมีขนาดใหญ่ และหนักกว่า 400 ก. ด้านการชาร์จรุ่นนี้รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วทั้ง QC 3.0 และ PD มาพร้อมพอร์ตต่าง ๆ ถึง 4 ช่อง แบ่งเป็น Input 2 ช่อง คือ Micro USB ที่รับไฟได้สูงสุด 18W และ USB-C ที่เป็น input และ Output ในตัว โดยจะรับไฟได้สูงสุด 18W เท่ากัน แต่จะมีการจ่ายไฟได้สูงสุด 20W เลยทีเดียว และก็ยังมีพอร์ต Output เป็น USB-A ให้อีก 2 ช่อง จ่ายไฟได้สูงสุด 22.5W ช่วยให้การชาร์จอุปกรณ์ต่าง ๆ ทำได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ก็ยังให้หน้าจอ LED แสดงปริมาณแบตคงเหลือมาด้วย ถือเป็นอีกหนึ่งรุ่นที่ดูน่าสนใจมาก ๆ ครับ สำหรับคนที่ต้องการความอเนกประสงค์
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 20000mAh (74Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 15W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 6 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) |
ขนาด | 148 × 69 × 27 มม. |
น้ำหนัก | 412 กรัม |
Baseus 22.5W Power Bank 10000mAh PD Fast Charging พาวเวอร์แบงค์ แบบชาร์จเร็ว (PPADM10S)

ราคา 584 บาท*
ถัดมาเป็นพาวเวอร์แบงค์ ที่เหมาะกับคนที่ใช้อุปกรณ์หลาย ๆ ระบบ ทั้ง iPhone, HUAWEI, Samsung, Xiaomi ฯลฯ กับ Baseus 22.W Power Bank พาวเวอร์แบงค์ ที่มีความจุ 10000mAh (มีรุ่น 20000mAh ให้เลือกด้วย) ที่รองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็วได้แทบทุกระบบที่มี ไม่ว่าจะเป็น SCP, FCP, AFC, QC3.0, PD3.0 และ MTK ช่วยให้มันสามารถชาร์จเร็วได้กับทุก ๆ ระบบครับ ซึ่งตัวแบตถูกออกแบบมาเพื่อการพกพาโดยเฉพาะ เน้นดีไซน์ที่ดูเพรียวบาง กะทัดรัด ผลิตด้วยอะลูมิเนียมอย่างดี เพิ่มความทนทาน ทำให้เหมาะกับการพกพาเป็นที่สุด
โดยรุ่นนี้มาพร้อมกำลังชาร์จสูงสุดถึง 22.5W พร้อมพอร์ตชาร์จ 4 ช่อง ได้แก่ micro USB 1 ช่อง เป็นพอร์ตอินพุตที่รับไฟเข้าได้สูงสุด 18W / USB-C 1 ช่อง ที่เป็นอินพุตและเอาท์พุตในตัว รับไฟสูงสุด 18W เช่นกัน แต่จ่ายไฟได้สูงสุด 20W และยังมี USB-A อีก 2 ช่อง เป็นพอร์ตเอาท์พุต ซึ่งสามารถจ่ายไฟได้สูงสุดถึง 22.5W เลยทีเดียว ดังนั้นรุ่นนี้จึงสามารถใช้ชาร์จเร็วได้กับอุปกรณ์ทุกระบบปฏิบัติการ จุดเด่นอีกอย่างก็คือ จอแสดงผล LED อัจฉริยะ ที่สามารถบอกได้ทั้ง กระแสไฟ แรงดันไฟฟ้า และปริมาณแบตเตอรี่คงเหลือเป็นตัวเลข ซึ่งทำให้ดูง่ายสุด ๆ ครับ
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 10000mAh (37Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 15W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 3 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2.22A) |
ขนาด | 98 × 64 × 15 มม. |
น้ำหนัก | 300 กรัม |
Kuulaa KL-YD42-L2 Mini Power Bank พาวเวอร์แบงค์ชาร์จเร็ว 20W ขนาดเล็ก 5000mAh

ราคา 308 บาท*
หนึ่งในแบตสำรองจิ๋ว ที่มีประสิทธิภาพที่คุ้มค่า คุ้มราคา Kuulaa KL-YD42-L2 พาวเวอร์แบงค์ ขนาดเล็ก ความจุ 5,000mAh มาพร้อมหน้าตาที่สวยงาม ขนาดกะทัดรัด น้ำหนักเบา และตกแต่งด้วยสีสันที่ดูน่ารักสดใส มันจึงเหมาะกับการพกพาสุดๆ ครับ โดยรุ่นนี้จะมีหัวชาร์จในตัวอยู่แล้ว บวกกับน้ำหนักที่เบา ทำให้สามารถเสียบชาร์จ ติดไว้กับมือถือได้เลย โดยจะมีมาให้เลือก 2 หัว ได้แก่ หัว Type-C สำหรับอุปกรณ์ Android ทั่วไป และหัว Type-L (Lightning) สำหรับอุปกรณ์ iOS ครับ พร้อมกับรองรับเทคโนโลยีชาร์จเร็ว ทั้ง PD3.0 และ QC3.0 ช่วยให้ความเข้ากันได้ในวงกว้าง ชาร์จอุปกรณ์ได้หลากหลาย
โดยรุ่นนี้จะมีพอร์ตมาให้ 1 ช่อง คือ USB-C ที่เป็นทั้ง Input และ Output เลย โดยรับไฟเข้าได้สูงสุดถึง 18W ช่วยให้สามารถชาร์จพาวเวอร์แบงค์เต็มได้ในเวลาเพียง 1.5-2 ชม. เท่านั้น ถือว่าเร็วมาก ๆ ครับ และสามารถจ่ายไฟได้สูงสุด 20W สามารถใช้สายชาร์จอุปกรณ์ได้อย่างรวดเร็ว ส่วนหัวชาร์จ Lightning ในตัว จ่ายไฟได้สูงสุดถึง 18W ทำให้ใช้ชาร์จ iPhone ได้เร็วมาก ๆ ครับ แต่ถ้าใครใช้ Android ก็สามารถเลือกรุ่นที่เป็นหัว Type-C ได้ครับ ซึ่งจ่ายไฟได้สูงสุด 18W เท่ากัน จุดเด่นอีกอย่าง ก็คือ มีหน้าจอ LED คอยบอกปริมาณแบตเตอรี่คงเหลือเป็นตัวเลข ช่วยให้ดูได้ง่าย แม่นยำ
ข้อดี
|
ข้อควรพิจารณา
|
ความจุแบตฯ | 5000mAh (18.5Wh) |
---|---|
ชาร์จพร้อมกัน | จ่ายไฟสูงสุด 18W |
พอร์ตชาร์จ |
|
Charging Time | 1.5-2 ชั่วโมง (อแดปเตอร์ 9V 2A) |
ขนาด | 81 × 50 × 28 มม. |
น้ำหนัก | 122 กรัม |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
Power Bank ราคาถูก ๆ เลือกอย่างไร ? ต้องดูอะไรบ้าง ?
ในยุคนี้ Power Bank มีให้เลือกเยอะมาก ทั้ง ของถูก และของแพงเลย ซึ่งจริงอยู่ครับว่า มันใช้ชาร์จมือถือได้เหมือนกัน แต่สิ่งที่น่ากลัวก็คือ คุณภาพของสินค้า ครับ เพราะสามารถส่งผลต่ออุปกรณ์ที่คุณนำมาชาร์จโดยตรง ซึ่งพาวเวอร์แบงค์จากแบรนด์ที่เราไม่รู้จักส่วนใหญ่มักจะใส่สเปกมาสูงมาก สวนทางกับราคาที่ถูกจนน่าตกใจ เพราะฉะนั้นเราอยากให้คุณฉุกคิดดูสักนิดว่า ถ้าหักกำไร และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของร้านค้าออกไป ต้นทุนจริง ๆ จะเหลือเท่าไหร่ ? และต้นทุนแค่นี้พอกับการใช้วัสดุ และเทคโนโลยีที่มีคุณภาพได้มั๊ย ? เพราะฉะนั้นถ้าคุณไม่อยากเสียเงินไปฟรี ๆ เรามีวิธีเลือกซื้อ พาวเวอร์แบงค์ ง่าย ๆ มาฝากกันครับ
ความจุแบตเตอรี่ของพาวเวอร์แบงค์
แน่นอนครับ สิ่งสำคัญที่สุดในการเลือกซื้อคือ ความจุพาวเวอร์แบงค์ ซึ่งคุณต้องเลือกให้สอดคล้องกับการใช้งานของคุณ มันถึงจะคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไป โดยในปัจจุบันพาวเวอร์แบงค์มีหลายความจุมาก ๆ ครับ เริ่มตั้งแต่หลักพัน จนถึงหมื่นมิลลิแอมป์ ซึ่งก็อยู่ที่คุณว่า ต้องการชาร์จมากน้อยแค่ไหน
|
เช่น ถ้าคุณต้องการชาร์จมือถือแค่เครื่องเดียว Moov PB02-C ที่มีความจุ 5,000mAh ก็เพียงพอแล้ว แต่ถ้าคุณต้องการชาร์จหลาย ๆ เครื่อง Acmic A21PD Pro ที่มีความจุ 20,000mAh มันจะคุ้มค่ากว่าครับ โดยวิธีเลือกที่ง่ายที่สุดคือ ควรเลือกความจุพาวเวอร์แบงค์ ให้มากกว่าความจุแบตของอุปกรณ์ทั้งหมด ประมาณ 2 เท่า
สิ่งสำคัญอีกอย่างคือ คุณต้องรู้ด้วยว่า พาวเวอร์แบงค์ยิ่งมีความจุสูง ขนาด น้ำหนัก และราคา ก็จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย ดังนั้นคุณควรเลือกให้สอดคล้องกับการใช้งานของตัวเอง |
กำลังไฟสูงสุด และเทคโนโลยีการชาร์จเร็วที่รองรับ
ด้วยงบประมาณที่จำกัด พาวเวอร์แบงค์ราคาไม่เกิน 500 บาท แต่ละรุ่น จึงไม่ได้มีอะไรต่างกันมากนักครับ อย่างเทคโนโลยีการชาร์จก็จะให้มาเหมือน ๆ กัน สังเกตุง่าย ๆ ครับ หากมีความจุแบตเตอรี่สูง ๆ กำลังไฟสูงสุดที่จ่ายได้ก็จะน้อยลง กลับกัน ถ้ามีความจุต่ำ กำลังไฟสูงสุดที่จ่ายออกไปก็จะสูงขึ้น ทำให้ชาร์จได้รวดเร็วขึ้น
ในส่วนของเทคโนโลยีชาร์จเร็วคุณควรรู้ก่อนว่า มือถือ หรืออุปกรณ์ ที่คุณต้องการชาร์จรองรับเทคโนโลยีใด ? เช่น Android ก็จะใช้ QC3.0 ส่วน Apple จะใช้ PD3.0 หรือ Huawei ก็ใช้ FCP เป็นต้น และกำลังไฟสูงสุดรับได้เท่าไหร่ ? โดยก็จะมีการระบุในสเปกของอุปกรณ์อย่างชัดเจน ซึ่งมักจะเขียนในรูปแบบ 5V 2.0A / 9V 2.0A / 12V 1.5A ฯลฯ (คิดง่าย ๆ ให้นำตัวเลข มาคูณกัน จะได้เป็นค่า W (วัตต์)) เช่น ถ้าพอร์ตมือถือของคุณ เขียนว่า 5V 2.0A / 9V 2.0A หมายความว่า มันรองรับกำลังไฟชาร์จได้ตั้งแค่ 10W และ 18W คุณก็ต้องเลือกซื้อพาวเวอร์แบงค์ที่จ่ายไฟ 18W หรือมากกว่าครับ
พอร์ตที่คุณต้องการใช้งาน หรือแท่นชาร์จไร้สาย

ข้อนี้ก็ขึ้นอยู่กับคุณแล้วครับว่า ต้องการที่จะชาร์จอุปกรณ์อะไร ? ด้วยพอร์ตใดบ้าง ? โดยในปัจจุบันพาวเวอร์แบงค์หลาย ๆ รุ่นก็มีพอร์ตมาให้ครบทั้ง micro USB, USB-C และ USB-A เลย ทำให้สามารถรองรับการชาร์จได้ทุกอุปกรณ์เลย ดังนั้นข้อนี้ก็ง่าย ๆ เลยครับ ใครต้องการใช้พอร์ตอะไร ก็เลือกตามนั้นได้เลย แต่ที่เราอยากจะขอแนะนำคือ คุณไม่ควรชาร์จพร้อม ๆ กันหลายพอร์ต
โดยเฉพาะ พาวเวอร์แบงค์ ราคาไม่เกิน 500 บาท เนื่องจากพาวเวอร์แบงค์ราคาถูก ๆ ส่วนใหญ่ มักจะมีการจ่ายไฟรวมสูงสุดจำกัด เช่น จ่ายไฟรวมกันได้สูงสุด 20W ถ้าคุณชาร์จ 1 เครื่อง มันก็จะจ่ายไฟเต็ม 20W แต่เมื่อคุณชาร์จพร้อมกัน 2 เครื่อง จาก 20W มันจะหารสองทันที จ่ายไฟเครื่องละ 10W การชาร์จก็จะช้าลง เพราะฉะนั้นแนะนำให้ชาร์จที่ละเครื่องจะดีที่สุดครับ
แบรนด์ที่น่าเชื่อถือ
ไฟฟ้า เป็นสิ่งที่อัตรายมาก ๆ สามารถทำอันตรายต่อทั้ง ชีวิต และอุปกรณ์ของเราได้ ดังนั้นขอแนะนำให้คุณเลือกใช้สินค้าจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือจะดีที่สุดครับ เช่น แบรนด์ที่ดังที่สุดในบ้านเราอย่าง Eloop เพราะอย่างน้อยแบรนด์ใหญ่ ๆ ที่ทำสินค้าจำหน่ายทั่วโลก พวกเขาต้องผ่านการรับรองคุณภาพจากหลาย ๆ ประเทศมาแล้ว ทั้งยังผ่านการทดสอบ ระบบความปลอดภัยต่าง ๆ มาครบครันแล้วด้วย จึงจะสามารถนำมาวางจำหน่ายได้ แถมแบรนด์ใหญ่ ๆ ยังกล้าที่รับประกันยาวนานกว่าด้วย หากใช้แล้ว มีผลกระทบเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ เราก็สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากแบรนด์ที่เราซื้อมาได้เลย