ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นมีหลายชนิดมากไม่ว่าจะเป็น วิตามินบี, วิตามินซี, อาหารเสริมโอเมก้า, อาหารเสริมธาตุเหล็ก, วิตามินรวม หรือ อาหารเสริมกรดโฟลิก ซึ่งแน่นอนว่าอาหารเสริมเหล่านี้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานที่แตกต่างกัน ซึ่งอาหารเสริมแต่ละชนิดก็เป็นประโยชน์ต่อร่างกายของเราด้วย แต่นอกจากวิตามินเหล่านี้แล้ว “วิตามินดี (Vitamin D)” ก็เป็นวิตามินอีกหนึ่งชนิดที่ร่างกายของเราขาดไม่ได้ หากร่างกายของเราขาดวิตามินชนิดนี้จะนำไปสู่ปัญหาโรคกระดูกในระยะยาวได้ (1-4)
วิตามินดีเป็นวิตามินที่จะช่วยดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัส อีกทั้งยังสามารถช่วยสุขภาพของกระดูก ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตและการพัฒนาของกล้ามเนื้อ แม้ว่าคุณจะสามารถรับวิตามินได้จากแสงแดดและตามธรรมชาติในแหล่งอาหารที่รับประทานแต่ละมื้อ แต่อาจจะมีน้อยมากและไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายได้ (1-4) ดังนั้น “อาหารเสริมวิตามินดี” จึงเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะเราหาทานได้ง่ายมากและช่วยลดอาการขาดวิตามินดีได้ หากวันนี้คุณกำลังมองหาอาหารเสริมวิตามินดีอยู่ เราก็มีสินค้าและคำแนะนำในการเลือกซื้อมาฝากกันค่ะ
อาหารเสริมวิตามินดี คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ?
วิตามินดีเป็นสารอาหารที่ละลายในไขมันซึ่งส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อช่วยดูแลสุขภาพกระดูก ฟันและกล้ามเนื้อ ถึงแม้ว่าเมื่อผิวของคุณสัมผัสกับแสงแดดก็จะเริ่มการผลิตวิตามินดี แต่บางครั้งปริมาณที่เราได้รับก็อาจจะไม่เพียงพอ ดังนั้นนอกจากการได้รับวิตามินดีจากแสงแดดแล้ว คุณยังสามารถรับวิตามินดีได้จากการทานอาหารประจำวันหรือทานอาหารเสริมวิตามินดีที่มีคุณภาพ (1-4)
หลาย ๆ คนไม่ได้สนใจในเรื่องนี้มากนักเพราะคิดว่าวิตามินดีไม่จำเป็น แต่ความจริงแล้ววิตามินจำเป็นมากและเป็นวิตามินที่เรามักจะมองข้ามมากที่สุด ถึงแม้เราจะรับวิตามินดีมาได้โดยง่ายจากการสัมผัสกับแสงแดดเท่านั้น แต่วิธีนี้มักไม่ค่อยให้วิตามินดีเพียงพอ และอาจจะเกิดผลข้างเคียงมากมายจากการเปิดรับแสงยูวีที่มากเกินไป
ด้วยเหตุผลนี้การทานอาหารเสริมจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการได้รับวิตามินดีในปริมาณที่เพียงพอสำหรับความต้องการในแต่ละวันของคุณ เมื่อเราบริโภควิตามินดีเข้าไปแล้วมันจะถูกถ่ายโอนไปยังตับ โดยจะถูกแปลงเป็น Calcidiol ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดเก็บวิตามินดี จากนั้น Calcidiol จะถูกแปลงเป็น Calcitriol (รูปแบบฮอร์โมนสเตียรอยด์ของวิตามินดีที่ใช้สำหรับกระบวนการต่าง ๆ มากมายในร่างกาย) ในไตอีกครั้งเพื่อให้เราได้รับประโยชน์สูงสุด (4)
เปรียบเทียบ วิตามิน D ยี่ห้อไหนดี
![]() 21st Century Vitamin D3 วิตามินดี | ![]() อาหารเสริมวิตามินดี DHC Vitamin D 60 Days | ![]() อาหารเสริมวิตามินดี Nature Made Super Vitamin D | ![]() Now Foods Vitamin D-3 High Potency 5,000 IU วิตามินดี 3 | ![]() SWISSE Ultiboost Vitamin D วิตามินดี | ![]() Puritan's pride vitamin D3 วิตามินดีเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน | ![]() California Gold Nutrition อาหารเสริมวิตามินดี 3 | ![]() อาหารเสริมวิตามินดี Kirkland D3 50 mcg 600 Softgels | ![]() NatureWise Vitamin D3 อาหารเสริมวิตามินดี | ![]() Blackmores Vitamin D3 อาหารเสริมวิตามิน D3 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
อาการขาดวิตามินดี มีลักษณะอย่างไร ?

วิตามินดีมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างมากเพราะช่วยในการดูดซึมแคลเซียม บำรุงกระดูกให้แข็งแรง ควบคุมยีนและการเติบโตของเซลล์ ป้องกันโรคกระดูกอ่อนและโรคกระดูกพรุน รวมไปถึงช่วยในการปรับระบบภูมิคุ้มกัน ถึงแม้ว่าวิตามินดีสามารถรับได้ง่ายผ่านอาหารและแสงแดด แต่จากการศึกษาพบว่า 50% ของประชากรทั่วโลกมีระดับวิตามินดีที่ไม่เพียงพอ มีภาวะขาดวิตามินดีสูง (4-5) ต่อไปนี้เราไปดูกันค่ะว่าหากเราขาดวิตามินจะมีความเสี่ยงให้เกิดอาการหรือภาวะใดบ้าง
ติดเชื้อหรือเจ็บป่วยบ่อย
วิตามินดีเป็นวิตามินที่จะช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน มีบทบาทในการควบคุมการทำงานของภูมิคุ้มกันและช่วยยับยั้งการอักเสบ อีกทั้งยังช่วยลดภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบนด้วย ดังนั้นหากเราได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ ภูมิคุ้มกันอาจจะบกพร่องและทำให้เจ็บป่วยได้ง่าย (6,7)
ความเหนื่อยล้าและกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เนื่องจากวิตามินดีเป็นกุญแจสำคัญในการดูแลสุขภาพของกระดูก การได้รับวิตามินดีในปริมาณที่ไม่เพียงพออาจทำให้กระดูกและกล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเหนื่อยล้าฉับพลันได้ จากการศึกษาในปี 2014 นักวิจัยได้วิจัยผู้เข้าร่วม 174 คนที่มีอาการเหนื่อยล้าและพบว่าการรับประทานวิตามินดีเป็นอาหารเสริมติดต่อกันเป็นเวลา 5 สัปดาห์จะช่วยให้อาการเมื่อยล้าดีขึ้น (8)
ปวดกระดูกและข้อ
วิตามินดีจะช่วยเพิ่มมวลกระดูกและป้องกันปัญหากระดูกเปราะบาง หากใครมีอาการปวดกระดูกและข้ออาจบ่งชี้ได้ว่ามีอาการขาดวิตามินดี (9,10)
กระดูกพรุน
การรับประทานวิตามินดีที่เพียงพอในร่างกายจะช่วยรักษาความแข็งแรงของกระดูก โดยจะช่วยสนับสนุนการดูดซึมแคลเซียม โดยเฉพาะสตรีหลังวัยหมดประจำเดือนอาจจะมีความหนาแน่นของกระดูกลดลงและมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุน ดังนั้นการทานวิตามินดีสามารถช่วยลดปัญหานี้ได้ (4)
ภาวะซึมเศร้า
ในบทความการวิจัยช่วงปี 2019 ได้พบว่าหากเรามีวิตามินดีในระดับต่ำ อาจเพิ่มความเสี่ยงของภาวะซึมเศร้า เพราะในสมองของเรามีตัวรับวิตามินดีอยู่ อีกทั้งการวิจัยยังระบุว่าวิตามินดีมีฤทธิ์ต้านการอักเสบ ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงสรุปได้ว่าบุคคลที่มีระดับวิตามินดีต่ำมากอาจจะทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า (11)
แผลหายช้า
หากบาดแผลใช้เวลาในการรักษานานกว่าปกติ อาจเป็นสัญญาณของการมีวิตามินดีในระดับต่ำ จากการศึกษาพบว่าวิตามินดีมีบทบาทสำคัญในการรักษาบาดแผล เพราะจะช่วยควบคุมปัจจัยในการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อและช่วยสร้างเนื้อเยื่อใหม่ นอกจากนี้ในการศึกษาอื่น ๆ ยังพบว่าผู้ที่เป็นแผลที่ขามีแนวโน้มที่จะขาดวิตามินดี นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่าผู้ที่รับประทานวิตามินดี 50,000 IU ทุกสัปดาห์เป็นเวลา 2 เดือนจะพบว่าบาดแผลจะดีขึ้นและหายเร็วขึ้น (12,13)
วิธีเลือกซื้อวิตามินดี (Vitamin D) ที่ดีที่สุดสำหรับคุณ
1. รูปแบบของวิตามินดี (เม็ดยา / แคปซูล / กัมมี่)
อาหารเสริมแต่ละชนิดมักมีหลากหลายรูปแบบ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะพบในรูปแบบเม็ดยาและแบบแคปซูล เนื่องจากเป็นอาหารเสริมที่ง่ายต่อการรับประทานและการจัดเก็บ สำหรับอาหารเสริมรูปแบบเม็ดยาบางชนิดก็จะผ่านการเคลือบด้วยฟิล์มทำให้คุณกลืนได้ง่ายขึ้นด้วย ในส่วนที่อาหารเสริมที่เป็นแคปซูลนิ่มหรือที่เรียกว่าซอฟต์เจลนั้น จะเป็นอาหารเสริมในรูปแบบของเหลวแต่ผ่านการหุ้มด้วยเจลาตินไว้ ซึ่งจะช่วยให้คุณกลืนได้ง่ายขึ้นมาก แต่ซอฟต์เจลอาจมีการรั่วไหลได้หากคุณไม่ระมัดระวัง และอาจจะเกาะติดกันได้ในกระปุกเนื่องจากอากาศที่ชื้นเกินไปค่ะ นอกจากรูปแบบเม็ดยาและแบบแคปซูลแล้วก็ยังมีรูปแบบกัมมี่ที่เราสามารถเคี้ยวได้ อาหารเสริมรูปแบบนี้มักจะมาในรสชาติที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้การบริโภคง่ายและสนุกสนานมากขึ้น อย่างไรก็ตามอาหารเสริมแบบกัมมี่บางยี่ห้ออาจจะมีน้ำตาลเพิ่มเข้ามาเพื่อปกปิดรสชาติของยา ซึ่งอาจจะไม่ดีต่อสุขภาพมากนัก
2. ชนิดของวิตามินดี (14,15)
วิตามินดีนั้นมีหลายประเภท แต่ประเภทที่พบบ่อยที่สุดคือวิตามินดี 2 และวิตามินดี 3 ค่ะ วิตามินดีทั้งสองจะช่วยเพิ่มระดับวิตามินดีในร่างกายของเราได้เป็นอย่างดี ซึ่งอาจจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์และความต้องการทางอาหารที่ต่างกันไป ดังนั้นเราจึงทำสรุปข้อมมูลของวิตามินดีทั้งสองว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้างมาให้อ่านกันค่ะ
วิตามินดี 2
เป็นวิตามินดีที่ราคาประหยัดที่สุดเพราะเป็นวิตามินดีที่มาจากพืชเช่น ข้าวโอ๊ต ถั่วเหลืองและอัลมอนด์ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะพบในเห็ดและยีสต์ในปริมาณที่สูง แน่นอนว่าวิตามินดี 2 นั้นเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังควบคุมอาหารหรือผู้ที่ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ แต่วิตามินดี 2 นั้นอาจจะไม่ได้ผลในการเพิ่มระดับวิตามินดีในร่างกายของคุณมากเท่าไหร่ ยิ่งไปกว่านั้นวิตามินดี 2 ยังถูกออกแบบมาให้เหมาะสำหรับภาวะพาราไทรอยด์ทำงานต่ำและโรคกระดูกอ่อนมากกว่าการใช้ทานในชีวิตประจำวันค่ะ
วิตามินดี 3
เป็นวิตามินดีที่พบได้ในสัตว์และผิวหนังของเรา ปกติแล้ววิตามินดี 3 มักจะพบในปลาที่มีไขมัน เช่น ปลาแซลมอนหรือปลาทูน่า อีกทั้งยังพบได้ในไข่ ชีสและตับ หากคุณไม่สามารถทานอาหารประเภทนี้ได้ อาหารเสริมวิตามินดีก็เป็นทางเลือกที่ดีในการเสริมวิตามินดี นอกจากนี้ผิวของเรายังสร้างวิตามินดี 3 ได้เองเมื่อโดนแสงแดดและเมื่อถูกกระตุ้นโดยรังสี UVB หากเราได้รับแสงแดดเพียงพอ เราจะไม่ขาดวิตามินดี 3 อย่างแน่นอน ซึ่งคุณสมบัติของวิตามินดี 3 คือจะช่วยเพิ่มระดับวิตามินดีในเลือดของเราอย่างมีประสิทธิภาพและได้ผลมากกว่าวิตามินดี 2 ทั้งยังให้ประสิทธิภาพที่ยาวนานอีกด้วย
3. สารอาหารเพิ่มเติม
แม้ว่าคุณจะสามารถทานอาหารเสริมทีละตัวได้หากคุณต้องการ แต่คุณต้องจำไว้ว่าอาหารเสริมบางชนิดทำงานได้ดีที่สุดเมื่อนำมาทานรวมกัน เพราะอาหารเสริมจะได้พึ่งพาอาศัยกัน ปกติแล้วแร่ธาตุแมกนีเซียมเป็นหนึ่งในแร่ธาตุที่มีมากที่สุดในร่างกายรองจากแคลเซียม โซเดียมและโพแทสเซียม ซึ่งแร่ธาตุเหล่านี้มีบทบาทสำคัญในการก่อให้เกิดปฏิกิริยาทางชีวภาพของเรา ดังนั้นหากซื้ออาหารเสริมวิตามินดีให้ดูสารอาหารอื่น ๆ เพิ่มเติมด้วย เช่น แคลเซียม แมกนีเซียมหรือโพเทสเซียมร่วมด้วยนะคะ การทานอาหารเสริมเหล่านี้พร้อม ๆ กันในเม็ดเดียวจะทำให้คุณได้รับประโยชน์ต่อร่างกายอย่างแน่นอน
4. ปริมาณและความเข้มข้นของวิตามินดี (1-4)
การขาดวิตามินดีเป็นภาวะการขาดสารอาหารที่พบบ่อยที่สุดและปัญหานี้ก็มักจะเกิดขึ้นอย่างแพร่หลายในทารก ผู้สูงอายุและผู้ที่มีผิวคล้ำ ซึ่งปริมาณของวิตามินดีที่เราควรกินทุกวันขึ้นอยู่กับอายุของเราค่ะ ปกติแล้วทารกต้องได้รับวิตามินดี 400 IU ต่อวัน ผู้ใหญ่ต้องได้รับวิตามินดี 600 IU ต่อวันและผู้สูงอายุต้องได้รับวิตามินดีอยู่ที่ 800 IU
นอกจากนี้การรับประทานอาหารเสริมวิตามินดียังต้องคำนึงถึงการสัมผัสกับแสงแดดได้ เพราะหากคุณไม่ได้รับแสงแดดอย่างเพียงพอ คุณจะต้องรับประทานวิตามินดีในปริมาณที่สูงขึ้น ปกติแล้วขีดจำกัดสูงสุดของทารกอยู่ 1,000 IU ต่อวันและ 4000 IU คือขีดจำกัดสำหรับผู้ใหญ่ แต่โปรดจำไว้ว่าคุณไม่ควรทานวิตามินดีมากเกินไปเพราะการทานวิตามินดีมากเกินไปอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ กล้ามเนื้ออ่อนแรงและเบื่ออาหารได้ อีกทั้งอาจจะทำให้ตับถูกทำลายได้หากทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานค่ะ
** ในการเลือกซื้อวิตามินดี โปรดระมัดระวังอย่าให้มีสารก่อภูมิแพ้ เพราะสารก่อภูมิแพ้ เช่น ไข่ นม ถั่วเหลือง ยีสต์และกลูเตนอาจจะทำให้ผู้รับประทานเกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ได้
วิตามินดีช่วยยับยั้งและลดอาการของโคโรน่าไวรัส (โควิด 19) ได้จริงไหม ? (5, 7, 16-23)
วิตามินดีเป็นวิตามินที่ละลายในไขมันซึ่งมีบทบาทสำคัญในร่างกายของเรา สารอาหารนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพและเป็นประโยชน์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้หลายคนสงสัยว่าการทานอาหารเสริมวิตามินดีอาจช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้หรือไม่
แม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีวิธีรักษาที่ดีที่สุดเกี่ยวกับโรคนี้ แต่มาตรการป้องกัน เช่น การเว้นระยะห่างทางสังคมและการรักษาสุขอนามัยที่เหมาะสมสามารถปกป้องตัวเราเองจากการติดเชื้อไวรัสได้ นอกจากนี้งานวิจัยบางชิ้นยังแสดงให้เห็นว่าการมีระดับวิตามินดีที่เหมาะสมสามารถช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงและอาจป้องกันโรคระบบทางเดินหายใจได้ โดยผลการศึกษาล่าสุดระบุว่าผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยโรคโควิด-19 แต่มีระดับวิตามินดีที่เพียงพอจะช่วยลดอาการที่ไม่พึงประสงค์ระหว่างการรักษาตัวและทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลง

สรุปแล้ววิตามินดีมีบทบาทสำคัญในร่างกายของคุณ รวมทั้งช่วยส่งเสริมสุขภาพของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ชี้ให้เห็นว่าการทานวิตามินดีอาจป้องกันการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ อีกทั้งการวิจัยล่าสุดยังระบุว่าระดับวิตามินดีที่เพียงพออาจช่วยให้ผู้ป่วยโควิด-19 ไม่มีอาการที่ร้ายแรง แต่หลักฐานการวิจัยยังไม่น้อยเกินไป ดังนั้นก็ไม่อาจฟันธงได้ว่าอาหารเสริมวิตามินดีจะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโควิด-19 อันเป็นผลมาจากการติดเชื้อโคโรน่าไวรัสได้ เราขอแนะนำให้คุณพบแพทย์และพูดคุยเกี่ยวกับการทานวิตามินดีเพื่อเพิ่มการตอบสนองภูมิคุ้มกันโดยรวมของคุณค่ะ
การรับประทานวิตามินดีที่มากเกินไปส่งผลเสียหรือไม่? (24)
การรับประทานวิตามินดีที่มากเกินไปส่งผลเสียอย่างแน่นอน เพราะหากเรารับประทานวิตามินดีมากเกินไปเป็นประจำ จะทำให้เกิดภาวะ Hypervitaminosis D แม้ว่าภาวะนี้อาจจะเป็นภาวะที่หายากแต่ก็ใช่ว่าจะพบเจอไม่ได้ ซึ่ง Hypervitaminosis D จะไม่ได้เกิดจากการที่เรารับประทานอาหารหรือการสัมผัสกับแสงแดดอย่างแน่นอนค่ะ เพราะว่าร่างกายของเราสามารถควบคุมปริมาณวิตามินดีที่เกิดจากแสงแดดและอาหารได้ แต่ Hypervitaminosis D จะเกิดขึ้นเมื่อไม่ควบคุมปริมาณอาหารเสริมวิตามินดีที่ควรได้รับต่อวัน ซึ่งผลที่ตามมาของการทานอาหารเสริมวิตามินดีที่มากเกินไปคือวิตามินดีจะไปสะสมแคลเซียมในเลือดของเรา (แคลเซียมในเลือดสูง) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน อ่อนแรงและปัสสาวะบ่อย ความเป็นพิษของวิตามินดีอาจลุกลามไปสู่อาการปวดกระดูกและปัญหาเกี่ยวกับไต เช่น การก่อตัวของนิ่วในไต
นอกจากนี้การรับประทานวิตามินดี 60,000 IU ต่อวันเป็นเวลาต่อเนื่อง ๆ หลายเดือน สามารถก่อให้เกิดความเป็นพิษได้ เพราะการรับประทานวิตามินดีในระดับนี้ ถือว่าเป็นระดับที่สูงกว่าค่าอาหารที่ได้แนะนำต่อวัน (RDA) หลายเท่า จึงเกิดภาวะเป็นพิษได้นั่นเองค่ะ สำหรับผู้ใหญ่จะต้องทานวิตามินดี 600 IU ต่อวันก็เพียงพอแล้ว การรับประทานวิตามินดีในปริมาณที่สูงกว่ามีไว้เพื่อใช้ในการรักษาปัญหาทางการแพทย์เท่านั้น แต่ปกติแล้วการทานวิตามินดีที่มากขึ้นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ในกรอบเวลาที่กำหนดไว้ โดยจะมีการตรวจสอบระดับเลือดทุกครั้งในขณะที่รับประทานวิตามินดีในปริมาณที่สูงค่ะ
References :
- The Nutrition Source : Vitamin D
- Vitamins and minerals : Vitamin D
- Drugs Supplements Vitamin D
- Vitamin D – Health Professional
- Vitamin D Deficiency
- Vitamin D and Chronic Diseases
- Self-Care for Common Colds: The Pivotal Role of Vitamin D, Vitamin C, Zinc, and Echinacea in Three Main Immune Interactive Clusters (Physical Barriers, Innate and Adaptive Immunity) Involved during an Episode of Common Colds—Practical Advice on Dosages and on the Time to Take These Nutrients/Botanicals in order to Prevent or Treat Common Colds
- Correction of Low Vitamin D Improves Fatigue: Effect of Correction of Low Vitamin D in Fatigue Study (EViDiF Study)
- Vitamin D in the Prevention and Treatment of Osteoarthritis: From Clinical Interventions to Cellular Evidence
- Vitamin D and rheumatoid arthritis
- Vitamin D and depression: mechanisms, determination and application
- Synergistic effect of vitamin D and low concentration of transforming growth factor beta 1, a potential role in dermal wound healing
- Vitamin D and skin repair: a prospective, double-blind and placebo controlled study in the healing of leg ulcers
- Comparison of vitamin D2 and vitamin D3 supplementation in raising serum 25-hydroxyvitamin D status: a systematic review and meta-analysis1,2,3
- Differential effects of vitamin D2 and D3 supplements on 25-hydroxyvitamin D level are dose, sex, and time dependent: a randomized controlled trial
- Vitamin D supplementation for prevention of mortality in adults
- Cytokines, Chemokines and Their Receptors
- Does vitamin D status impact mortality from SARS-CoV-2 infection?
- Cytokines: Names and Numbers You Should Care About
- The pathogenesis and treatment of the `Cytokine Storm’ in COVID-19
- Vitamin D: A simpler alternative to tocilizumab for trial in COVID-19?
- Vitamin D deficiency and co-morbidities in COVID-19 patients – A fatal relationship?
- Vitamin D deficiency in elderly: Risk factors and drugs impact on vitamin D status
- What is vitamin D toxicity? Should I be worried about taking supplements?