อาการปวดข้อมืออาจเป็นรูปแบบหนึ่งของความเจ็บปวดที่น่ารำคาญที่สุดพอ ๆ กับอาการปวดหลัง เรามักจะทำทุกอย่างในชีวิตประจำวันด้วยมือของเรา ดังนั้นกระดูกตรงข้อมือจึงเป็นส่วนที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ยิ่งในปัจจุบันการใช้งานข้อมือหรือนิ้วมืออย่างหนักก็มีให้เห็นอย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็น การเล่นโทรศัพท์มือถือหรือการนั่งพิมพ์งานนาน ๆ ดังนั้นจึงไม่ต้องแปลกใจที่คุณจะมีอาการปวดข้อมือขึ้นมาเล็กน้อยหรืออาจจะปวดแบบเรื้อรัง แต่ที่แน่ ๆ อาการปวดข้อมือจะส่งผลต่อความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันของคุณอย่างแน่นอนค่ะ แม้แต่กิจกรรมที่ง่าย ๆ อย่างการหยิบกาต้มน้ำ การใช้เมาส์คอมพิวเตอร์ หรือใช้ไขควง ก็อาจทำให้รู้คุณสึกไม่สบายตัวและไม่สะดวกได้ และนั่นคือเหตุผลที่เราตัดสินใจนำเสนอ “อุปกรณ์พยุงข้อมือ” และ “อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ” ที่ครอบคลุมทุกเงื่อนไขและความเจ็บปวดต่าง ๆ ที่คุณต้องพบเจอ สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้คุณทำสิ่งต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องเจ็บปวดทุกครั้งที่ขยับข้อมืออีกต่อไป หากคุณกำลังมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในการรองรับข้อมือสำหรับการพิมพ์ ไม่ต้องมองหาที่ไหนไกล คุณสามารถหาอ่านได้จากรีวิวของเรา แต่ตอนนี้เรามาเจาะลึกรายละเอียดและดูสาเหตุที่เป็นไปได้ของอาการปวดข้อมือกันก่อนนะคะ
อาการปวดข้อมือทำให้เกิดอะไรได้บ้าง?
1. โรคข้อมืออักเสบ (Wrist Arthritis) (4,5,6)
เป็นสัญญาณและอาการทั่วไปของอาการปวดข้อมือ ตึงข้อมือ และการเคลื่อนไหวของข้อมือที่ไม่สะดวก เนื่องจากเราใช้ข้อมือเคลื่อนไหวในการทำงานมากเกินไป จึงส่งผลให้มีอาการปวดข้อมือและทำให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันอย่างลำบาก โรคข้อมืออักเสบมักเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้ที่มีอายุมากกว่า 45 ปี แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ในผู้ที่ข้อมือหักหรือข้อมือเคล็ดซึ่งทำให้ข้อมือไม่มั่นคงได้เช่นกัน
เพราะข้อมือประกอบด้วยข้อต่อที่ซับซ้อน ซึ่งมีหน้าที่ในการหมุนไปข้างหน้า ข้างหลัง และการเคลื่อนไหวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง โรคข้อมืออักเสบส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นจากข้อมือกระดูกในส่วน Scaphoid หรือกระดูก Radius โดยปกติแล้ว Scaphoid จะไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากเลือดไปเลี้ยงไม่พอจึงมีภาวะที่เรียกว่า ‘Avascular Necrosis’ ที่เป็นการสลายของกระดูก จากการขาดเลือดไปเลี้ยง ดังนั้นการพังทลายของ Scaphoid นี้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกลไกของข้อมือ ซึ่งสามารถเปรียบเทียบได้กับการเอาอิฐชิ้นสำคัญออกจากกำแพง จึงนำไปสู่ ‘Scaphoid Non-Union Advanced Collapse’ (SNAC) ซึ่งเป็น Styloid Tip ของรอยต่อระหว่าง Radius และ Scaphoid จะสัมผัสผิดปกติและกลายเป็นโรคข้ออักเสบในที่สุด
2. มือชา/ผังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome) (3,7)
Carpal Tunnel Syndrome เป็นสาเหตุของอาการปวดข้อมือ Carpal Tunnel Syndrome อาจมีลักษณะอาการชารู้สึกเจ็บปวดแบบเหมือนหมุดหรือเข็มในมือทิ่มแทง ซึ่ง Carpal Tunnel หมายถึงช่องว่างในกระดูก Carpal (ข้อมือ) ซึ่งกล้ามเนื้อเส้นเลือดและเส้นประสาทที่ส่งผ่านไปยังมือจากปลายแขน โดยปัญหาของ Carpal Tunnel Syndrome เกิดขึ้นเมื่อมีอาการบวมภายในพื้นที่ขนาดเล็กนี้ ในสถานการณ์ปกติความดันภายใน Carpal Tunnel จะน้อยกว่า 10mmHg แต่ในผู้ป่วย Carpal Tunnel Syndrome ความดันนี้จะสูงกว่า 30mmHg เนื่องจากอาการบวม ในระหว่างการเคลื่อนไหวข้อมือในผู้ที่เป็นโรค Carpal Tunnel Syndrome ความดันอาจสูงกว่า 90mmHg
สำหรับสาเหตุที่แท้จริงของอาการบวมภายใน Carpal Tunnel นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคลค่ะ เนื่องจากพื้นที่ภายใน Carpal Tunnel ลดลงจากการบวม จึงทำให้ส่งผลกระทบไปที่เส้นประสาท Median ได้ ดังนั้นการใช้กิจกรรมซ้ำ ๆ ในระหว่างการทำงาน, การเล่นกีฬา, การใช้เครื่องมือ และเครื่องจักรที่สั่นสะเทือน ก็มีส่วนทำให้เกิด Carpal Tunnel Syndrome ได้ค่ะ
3. เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s tenosynovitis) (1,8)
เอ็นข้อมืออักเสบ หรือ “โรคปลอกหุ้มเส้นเอ็นข้อมืออักเสบ” เป็นอาการเจ็บปวดที่มีผลต่อเส้นเอ็นที่ด้านนิ้วหัวแม่มือของข้อมือ คุณจะมีอาการปวดบริเวณโคนนิ้วโป้ง, มีอาการบวมใกล้โคนนิ้วโป้ง, ขยับนิ้วหัวแม่มือและข้อมือลำบากเมื่อคุณทำอะไรบางอย่างที่ต้องจับหรือบีบ, ความรู้สึก “ติด” ที่นิ้วหัวแม่มือเมื่อมีการขยับ หากอาการนานเกินไปโดยไม่ได้รับการรักษา ความเจ็บปวดอาจลุกลามจากที่นิ้วหัวแม่มือของคุณกลับไปที่ปลายแขนได้ การบีบ การจับ และการเคลื่อนไหวอื่น ๆ ของนิ้วหัวแม่มือและข้อมือจะทำให้อาการปวดรุนแรงขึ้น

สาเหตุนั้นเกิดจากการใช้ข้อมือมากเกินไปจนเกิดอาการเจ็บปวดเรื้อรัง รวมถึงอาจมาจากโรคข้ออักเสบเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เป็นต้น เนื่องจากเส้นเอ็นเป็นโครงสร้างคล้ายเชือกที่ยึดกล้ามเนื้อกับกระดูก เมื่อคุณจับ, กำ, หรือบีบสิ่งใด ๆ ในมือของคุณ การเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ วันแล้ววันเล่า อาจทำให้ปลอกรอบเอ็นทั้งสองข้างเกิดการระคายเคืองทำให้เกิดการบวม ซึ่งทำให้การเคลื่อนไหวเป็นไปได้อย่างยากลำบาก ดังนั้นกลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นเอ็นข้อมืออักเสบ คือคนที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์นาน ๆ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคข้ออักเสบหรือโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ และผู้หญิงตั้งครรภ์ เป็นต้นค่ะ
วิธีเลือก ที่พยุงข้อมือ และ ที่พยุงนิ้วหัวแม่มือ

วิธีเลือกที่พยุงข้อมือสำหรับคุณสิ่งแรกที่ต้องพิจารณาคือสิ่งที่คุณกำลังพยายามรักษา ตัวอย่างเช่นใช้ในการบรรเทาอาการปวดตามข้อที่อักเสบไม่ว่าจะเป็นข้อมือหรือโคนนิ้วหัวแม่มือ ซึ่งคุณจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการบีบอัดคล้ายใส่เฝือกขณะที่ใช้งาน ดังนั้นการปรับระดับความตรึงของอุปกรณ์เหล่านี้เป็นกุญแจสำคัญ
เพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ง่ายขึ้นสำหรับคุณ เราได้เลือกอุปกรณ์พยุงข้อมือและนิ้วหัวแม่มือที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพมากที่สุดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายที่เหมาะสำหรับสภาวะที่พบบ่อย เช่นโรค มือชา/ผังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome), โรคข้อมืออักเสบ (Wrist Arthritis), เอ็นข้อมืออักเสบ (De Quervain’s tenosynovitis) หรือเคล็ดขัดยอกที่ข้อมือ เป็นต้น จะมีอะไรน่าสนใจบ้างมาดูกันค่ะ
ผ้ารัดข้อมือ บรรเทาอาการเจ็บปวดที่ข้อมือ

ราคา 30 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | Free size |
AOLIKES สายรัดข้อมือ ตัวช่วยพยุง รุ่นเสริมเหล็ก

ราคา 89 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | Free size |
Welcare Adjustable Wrist Support ที่พยุงข้อมือ

ราคา 149 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | Free size |
AOLIKES สายรัดข้อมือ และ ที่พยุงนิ้วหัวแม่มือ รุ่นเสริมแผ่นเหล็ก

ราคา 157 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ความยาวรอบข้อนิ้ว | 6.3-7.6 เซนติเมตร |
ความยาวรอบข้อมือ | 17.7-27 เซนติเมตร |
Futuro™ Compression Basics Wrist อุปกรณ์พยุงข้อมือ รุ่นเบสิค แบบปรับกระชับได้

ราคา 175 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | 11.4 - 24.1 เซนติเมตร |
Futuro™ Wrist Support Strap อุปกรณ์พยุงข้อมือ รุ่นปรับกระชับได้

ราคา 275 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | Free size |
Futuro™ Comfort Stabilizing Wrist Brace ที่พยุงข้อมือแบบเสริมเหล็ก

ราคา 650 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | 14-21.5 เซนติเมตร |
Futuro Deluxe Thumb Stabilizer ฟูทูโร่ อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ

ราคา 727 บาท*
พยุงนิ้วหัวแม่มือ | |
---|---|
มีเหล็กเสริม | |
ใส่ได้ทั้งซ้าย-ขวา | |
ปรับความกระชับ | |
ขนาด | S/M |
ความยาวรอบข้อมือ | 12.7-16.5 เซนติเมตร |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ แนะนำ อุปกรณ์พยุงข้อมือ พยุงนิ้วหัวแม่มือ ยี่ห้อไหนดีที่สุด 2023 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
AOLIKES สายรัดข้อมือ และ ที่พยุงนิ้วหัวแม่มือ รุ่นเสริมแผ่นเหล็ก |
| |||
Futuro™ Compression Basics Wrist อุปกรณ์พยุงข้อมือ รุ่นเบสิค แบบปรับกระชับได้ |
| |||
Futuro™ Wrist Support Strap อุปกรณ์พยุงข้อมือ รุ่นปรับกระชับได้ |
| |||
Futuro™ Comfort Stabilizing Wrist Brace ที่พยุงข้อมือแบบเสริมเหล็ก |
| |||
Futuro Deluxe Thumb Stabilizer ฟูทูโร่ อุปกรณ์พยุงนิ้วหัวแม่มือ |
|
การรักษาและการบรรเทาอาการปวดข้อมือ
1. หยุดใช้งานข้อมือ (1)
คุณควรหยุดใช้งานข้อมือที่ได้รับความเจ็บปวดไปก่อนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง อันที่จริงแล้วการรักษาที่ดีที่สุดที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ของคุณได้ คือการงดกิจกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือ หากคุณมีความจำเป็นจำที่ต้องใช้ข้อมือในการทำงานทุกวัน โดยที่ไม่สามารถหยุดได้ เราแนะนำให้ใช้เฝือกมาช่วยค่ะ ซึ่งเฝือกที่ว่านี้คือการใช้ที่พยุงข้อมือและที่พยุงนิ้วหัวแม่มือที่ออกแบบมาใช้งานแก้ปัญหาด้านนี้โดยเฉพาะ สิ่งเหล่านี้ช่วยให้คุณสามารถกระดิกนิ้วได้โดยไม่สร้างความเจ็บปวด นอกจากนี้หากหยุดใช้งานที่ข้อมือแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น โดยยังมีความเจ็บปวดและบวมอยู่อาจจะต้องใช้การประคบร้อนหรือประเย็นเข้ามาช่วย
2. ยาต้านการอักเสบ (1,3)
การใช้ยาต้านการอักเสบ nonsteroidal เช่น ไอบูโพรเฟน แอสไพริน และ นาโปรเซน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อาจจะช่วยลดการอักเสบในข้อมือได้ นอกจากนี้ยังมีเจลต้านการอักเสบซึ่งอาจไม่มีผลข้างเคียงจากยารับประทาน หากคุณมีอาการรุนแรงเฉียบพลันอาจมีการกำหนดใบสั่งยาสเตียรอยด์ที่เรียกว่า methylprednisolone เป็นการรักษาเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดของคุณ
3. การฉีดยา (1)
หากอาการของคุณอยู่ในระดับปานกลางหรือรุนแรง แพทย์อาจเสนอการฉีดยาสเตียรอยด์หรือคอร์ติโซนให้คุณ การฉีดยาเหล่านี้ให้ผลต้านการอักเสบได้ดี สามารถบรรเทาอาการเจ็บปวดได้ แต่ผลลัพธ์อาจเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว หากคุณได้ลองใช้วิธีเหล่านี้ทั้งหมดแล้วไม่หาย แพทย์ของคุณอาจแนะนำให้คุณผ่าตัด ซึ่งเป็นทางเลือกสุดท้ายในการรักษา
4. การรักษาอื่น ๆ (1,2)
-
- การออกกำลังกาย : คุณสามารถออกกำลังกายข้อต่อที่บ้าน เพื่อกระตุ้นให้ข้อมือเคลื่อนไหวได้เต็มที่ ควรทำกายภาพที่ข้อมือเบา ๆ ทุกวัน เพื่อผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
- การบำบัดด้วยการประคบร้อนและเย็น : การใช้ความร้อนหรือน้ำแข็งในบริเวณที่ได้รับผลกระทบจะช่วยลดอาการปวดและบวมได้ดี แนะนำถุงน้ำร้อนไฟฟ้าที่ใช้งานสะดวก
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และสมุนไพร : อาหารเสริมบางชนิดสามารถช่วยแก้ปวดและบวมได้ อาหารเสริมเหล่านี้ ได้แก่ แคปไซซิน, ขมิ้น, น้ำมันปลา และอื่น ๆ
- การนวด : การนวดอาจช่วยจัดการอาการปวดข้อและความรู้สึกไม่สบายทั้งหมดได้ แม้ว่าปัจจุบัน ACR / AF จะบอกว่าการนวดไม่สามารถรักษาได้ เนื่องจากพวกเขากล่าวว่าไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันว่าได้ผลจริง แต่อย่างไรก็ ACR / AF เสริมว่าการนวดไม่น่าจะก่อให้เกิดความเสี่ยงและอาจให้ประโยชน์ทางอ้อม เช่นการลดความเครียดได้
บทสรุป
อาการข้อมือกลายเป็นเรื่องปกติมากขึ้นในโลกสมัยใหม่ เนื่องจากเวลาที่ใช้กับคอมพิวเตอร์อาจทำให้เกิดความเครียดในระดับที่เป็นอันตรายต่อข้อมือของเราได้ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นผลมาจากการทำงานที่แป้นพิมพ์ การสึกหรอทั่วไป หรือการหกล้ม ล้วนแต่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดข้อมือทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อชีวิตประจำวันของเรา เนื่องจากข้อมือมีความสำคัญเกินกว่าที่จะปล่อยให้เจ็บปวดอย่างต่อเนื่องได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องสำคัญที่คุณต้องหาที่รองรับข้อมือ เพื่อช่วยรักษาอาการของคุณและใช้ชีวิตต่อไปในแต่ละวัน
References