การวัดระดับน้ำตาลภายในเลือดเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากค่าน้ำตาลภายในเลือดที่สูงมากจนเกินไปอาจทำให้ร่างกายเกิดสภาวะอันตราย อีกทั้งการรับประทานอาหารบางอย่างอาจทำให้น้ำตาลภายในเลือดสูงขึ้นได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งการมีเครื่องวัดน้ำตาลจะทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานทราบว่าควรหลีกเลี่ยงอาหารแบบไหน หรือควรจะปรับพฤติกรรมการกินอย่างไรไม่ให้ค่าน้ำตาลสูงเกินกว่าเกณ์ที่แพทย์ผู้ดูแลได้แนะนำเอาไว้
อย่างไรก็ดีอุปกรณ์การวัดน้ำตาลไม่ได้มีเพียงแค่ตัวเครื่องเท่านั้นครับ เพราะยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาดนั่นคือ ‘แผ่นวัดน้ำตาล’ โดยเจ้าแผ่นวัดน้ำตาลจะมีเคมีที่สามารถทำปฎิกริยากับกลูโคสภายในเลือด จากนั้นมันจะแปลงหรือผลิตออกมาเป็นรูปแบบไฟฟ้า เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องวัดให้ทำการวัดค่าน้ำตาลออกมา ซึ่งถ้าหากไม่มีแผ่นวัดน้ำตาล แน่นอนว่าเครื่องเราก็ไม่สามารถรับข้อมูลใด ๆ จากเลือดได้
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการเลือกแผ่นวัดน้ำตาลก็จำเป็นจะต้องเลือกให้ถูกต้องและแมตช์เข้ากับเครื่องวัดน้ำตาลได้ เพราะถ้าหากเลือกซื้อผิดผลที่ตามมาคือเครื่องก็ไม่สามารถจะประมวลค่าอะไรออกมาได้เลย ดังนั้นวันนี้ผมจึงถือโอกาสมาแชร์ข้อมูลเกี่ยวกับแผ่นวัดน้ำตาลกันในบทความนี้อย่างละเอียด เพื่อให้หลายคนคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับแผ่นวัดน้ำตาลครับ
แผ่นวัดน้ำตาล คืออะไร ? (1)
แผ่นวัดน้ำตาลมีการใช้งานมาอย่างยาวนานตั้งแค่ปี ค.ศ. 1965 โดยแผ่นชนิดนี้มีหน้าที่ในการตรวจค่ากลูโคสหรือน้ำตาลจากเลือดของเรา เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 หรือคนที่ต้องการทราบว่าน้ำตาลภายในร่างกายอยู่ในระดับไหน เป็นการตรวจเช็กสุขภาพร่างกายและป้องกันโรคเบาหวานกำเริบ เมื่อตรวจเช็กแล้วสามารถให้แพทย์วินิจฉัยและรักษาระดับน้ำตาลได้อย่างถูกต้อง

แผ่นวัดน้ำตาล ทำงานอย่างไร ?
หลังจากที่ผู้ป่วยได้ใช้เข็มขนาดเล็กเจาะลงบนนิ้วและน้ำเลือดหยดลงไปบนแผ่นวัดน้ำตาล สารเคมีชนิดบนแผ่นวัดน้ำตาลก็จะทำปฎิกริยากับกลูโคสและเปลี่ยนถ่ายเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยไฟฟ้าตัวนี้จะส่งต่อไปยังเครื่องวัดน้ำตาล จากนั้นเครื่องก็จะประมวลผลและบอกค่าน้ำตาลภายในเลือดให้กับเราได้อย่างแม่นยำ ซึ่งเหตุผลนี้ทำให้แผ่นวัดน้ำตาลและเครื่องวัดน้ำตาลค่อนข้างขายดีในท้องตลอด เนื่องจากผู้ป่วยสามารถเช็คค่าน้ำตาลได้ภายในบ้านของตัวเอง โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางไปแล็บ, คลินิค หรือโรงพยาบาลเพื่อรอคิวและเจาะเลือดให้เสียเวลา
เราสามารถวัดน้ำตาลภายในเลือดได้ที่ไหนบ้าง ?
การวัดค่ากลูโคสภายในเลือดทำให้เราสามารถวางแผนในการรับประทาน และปรับพฤติกรรมการในชีวิตประจำวันของเราได้อย่างถูกต้อง เพื่อควบคุมไม่ให้ค่าน้ำตาลของเราสูงจนเกินไป ยิ่งโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน การวัดน้ำตาลถือว่าเป็นเรื่องที่จะต้องทำบ่อยครั้ง ทั้งนี้การวัดน้ำตาลภายในเลือดเองก็มีหลายช้อยส์หรือหลายสถานที่ให้เราได้เลือก ไม่ว่าจะเป็น
- โรงพยาบาล
- แล็บหรือคลินิกที่มีห้องปฎิบัติการ
- ซื้อเครื่องและแผ่นตรวจจากร้านขายยา
ระดับค่าน้ำตาลปกติควรจะอยู่ที่เท่าไหร่ ? (1)
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าค่าน้ำตาลระดับปกติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เพราะมันมีปัจจัยเกี่ยวกับร่างกายหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น อายุ, ระยะเวลาของการเป็นโรคเบาหวาน, ยาที่ใช้ในการรักษาโรคเบาหวาน และวิธีการรักษาของแพทย์ต่อผู้ป่วย แต่ค่าพูดถึงค่าเฉลี่ยตามมาตรฐานทางการแพทย์ ค่าน้ำตาลควรจะอยู่ในระดับต่อไปนี้
- ก่อนรับประทานอาหาร ค่าน้ำตาลควรจะอยู่ระหว่าง 80 – 130 mg/dL
- ค่าน้ำตาลหลังจากรับประทานอาหารอย่างน้อย 1 – 2 ชั่วโมง ไม่ควรเกิน 180 mg/dL
* ค่าระดับน้ำตาลในเบื้องต้นไม่นับรวมถึงผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์
ความเสี่ยงในการเกิดโรคหากค่าน้ำตาลสูง/ต่ำมากจนเกินไป (2)
ค่าน้ำตาลในเลือดสูง
การปล่อยให้ค่าน้ำตาลสูงโดยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง หรือปล่อยทิ้งเอาไว้นานจนเกินไป อาจทำให้เกิดโรคร้ายและเกิดภาวะที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนี้

- โรคหัวใจ
- โรคตับ
- การไหลเวียนของเลือดไม่ค่อยดี
- มีปัญหาเกี่ยวกับสายตา
- อาจเกิดอาการเกี่ยวกับปลายประสาท
ค่าน้ำตาลในเลือดต่ำ
หลายคนอาจมองว่าค่าน้ำตาลในเลือดสูงอาจเป็นเรื่องที่ดูน่ากลัวกว่าค่าน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งจริง ๆ แล้วค่าน้ำตาลในเลือดที่ต่ำมากจนเกินไป ก็เป็นอะไรที่น่ากลัวไม่แพ้กัน เพราะร่างกายของเราจะอ่อนแอ ทั้งยังทำให้เกิดภาวะต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็น
- กระหายน้ำ
- ร่างกายอ่อนแอ หรือ อ่อนเปลี้ย
- เกิดอาการสับสน
- เหงื่อไหลมากกว่าปกติ
โดยถ้าหากปล่อยไว้นานยิ่งขึ้นอาจโคม่า หรือชักจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยทีเดียว
การตรวจค่าน้ำตาลจะต้องเตรียมความพร้อมอะไรบ้าง ?
ทุกครั้งก่อนตรวจค่าน้ำตาลภายในเลือดคุณจะต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม ไม่ว่าจะเป็น
- เข็มสำหรับการเจาะเลือด (โดยปกติแล้วจะแถมมาพร้อมกับเครื่องวัด)
- แผ่นแอลกอฮอล์ เพื่อฆ่าเชื้อบนเข็มและนิ้วมือของเรา *ป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อให้กับผู้อื่น*
- เครื่องวัดน้ำตาล
- ผ้าพันแผลหรือพลาสเตอร์ยา ในกรณีที่เลือดไม่หยุดไหล
ส่วนในกรณีที่วัดค่าน้ำตาลในสถานพยาบาลหรือแล็บ แนะนำให้ปรึกษากับแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการปฎิบัติตัวก่อนการตรวจน้ำตาลภายในเลือด
References :