เมื่อร่างกายของเราเกิดติดเชื้อไวรัสหรือเรียกกันคุ้นหูว่า ‘ไข้หวัด’ สิ่งที่จะเกิดขึ้นกับร่างกายของเราคือ น้ำมูกไหล, คัดจมูก, เจ็บคอ, เสียงแหบ, มีไข้, เหนื่อย และอีกในหลายเคสจะมี ‘อาการไอ’ ร่วมด้วย ซึ่งจริง ๆ แล้วอาการเหล่านี้จะไม่ได้รุนแรงอะไรมากมาย แต่อาการต่าง ๆ ในเบื้องต้นจะทำให้เราเกิดความรำคาญหรือรู้สึกอยู่ไม่เป็นสุข
สาเหตุของอาการไอ ?

1. ไวรัสและแบคทีเรีย (1)
ไวรัสและแบคทีเรียติดเชื้อบริเวณทางเดินหายใจ อย่างเช่น ไข้หวัดทั่วไปและไข้หวัดใหญ่ โดยการไอจากไวรัสส่วนใหญ่แล้วจะกินเวลาประมาณ 2 – 3 วัน หรือในบางรายอาจถึง 1 สัปดาห์ครับ แต่สำหรับคนที่ติดเชื้อไขหวัดใหญ่อาจนานขึ้นเล็กน้อย และบางครั้งจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะร่วมด้วย
2. ร่างกายพยายามกำจัดสิ่งแปลกปลอม (2)
เมื่อคุณอยู่ในบริเวณที่มีฝุ่นหรือควัน ร่างกายจะผลิตเมือกหรือเสมหะออกมาเพื่อป้องกันไม่ให้สิ่งสกปรกเหล่านั้นเข้าสู่ร่างกาย จนในที่สุดทางเดินหายใจก็จะเกิดการอุดตัน เป็นผลให้เกิดปฎิกริยาตอบสนองนั่นคือการไอ เพื่อที่จะเคลียร์ทางเดินหายใจให้ปลอดโปร่งนั่นเองครับ

3. สูบบุหรี่ (3)
หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วครับว่าควันจากบุหรี่เป็นอันตรายต่อทางเดินหายใจและปอดของเรามาก ๆ ยิ่งถ้าสูบบ่อยมากแค่ไหน อาการไอก็ยิ่งมากขึ้นจนเกิดอาการเรื้อรัง ทั้งนี้เสียงไอที่เป็นผลมาจากการสูบบุหรี่จะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่ฟังแล้วรู้ได้ทันทีเลยว่าเป็นการไอจากบุหรี่
4. หอบหืด (4)
ไอจากหอบหืดพบบ่อยได้ในเด็ก ซึ่งเราสามารถเช็กอาการไอจากโรคนี้ได้ง่าย ๆ เพราะมันจะมาพร้อมกับเสียง “วี๊ด…” ในทุกครั้ง ซึ่งการรักษาก็จะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ทั้งนี้ในหลาย ๆ เคสจะหายจากโรคหอบหืดเมื่อเด็กเริ่มโตขึ้นครับ

5. ยา (5-6)
มีตัวยาในบางตัวที่ส่งผลข้างเคียงทำให้เราเกิดการไอได้ โดยเฉพาะยาในกลุ่ม ACE ซึ่งมักจะใช้ในการรักษาความดันโลหิตสูงและภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ อย่างเช่น
- ลิซิโนพริล
- อีนาลาพริล
* อาการไอจะหายไปเองเมื่อมีการหยุดใช้ยา
อาการไอมี กี่ประเภท? และอาการไอที่เป็นอยู่คืออะไร ?
![]() |
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปขัดขวางบริเวณทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเป็น
ระบบประสาทจะทำการส่งสัญญาณไปยังสมอง จากนั้นสมองจะสั่งการให้กล้ามเนื้อบริเวณหน้าอกและหน้าท้องเกิดการหดตัว จนร่างกายเกิดการขับลมออกมาหรือที่เรารู้จักกันว่า ‘อาการไอ’ ครับ |
1. ไอมีเสมหะ
ไข้หวัดมักจะทำให้เราเกิด ‘ไอมีเสมหะ’ และมาพร้อมกับอาการอื่น ๆ อย่าง
- คัดจมูก
- น้ำมูกไหลลงคอ
- ความเหนื่อยล้า
เมื่อเกิดอาการไอมีเสมหะคุณจะรู้สึกเหมือนกับมีบางสิ่งบางอย่างติดอยู่บริเวณช่องคอ รวมไปถึงอาจจะมีเสมหะไหลขึ้นมาบริเวณช่องปากของเราอีกด้วย ซึ่งอาการนี้จะอยู่กับเราประมาณ 3 – 8 สัปดาห์ ส่วนระยะเวลาการไอก็ขึ้นอยู่กับว่าสาเหตุการเกิดนั้นมาจากอะไร อย่างเช่น
- ไข้หวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่
- ปอดบวม
- หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน
- โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
- โรคหืด
2. ไอแห้ง
ไอแห้งจะไม่มีเสมหะร่วมด้วยครับ แต่มันจะมีอาการคันหรือจั๊กจี๊บริเวณคอ ซึ่งกระตุ้นให้เราเกิดการไอ ทั้งนี้อาการไอแห้งมักจะเกิดจากการอักเสบหรือระคายเคืองบริเวณทางเดินหายใจ รวมไปถึงการรักษาก็จะยากและมีกินระยะเวลานานกว่าการ ‘ไอมีเสมหะ’ อาการไอแห้งในเด็กและผู้ใหญ่ จะอยู่กับร่างกายไปหลายสัปดาห์หลังจากที่ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่หายไป นอกจากนี้มันอาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ อย่างเช่น
- กล่องเสียงอักเสบ
- ทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน
- เจ็บคอ
- ไซนัส
- โรคหอบหืด
- ครู้ป (การอักเสบบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจ)
- สัมผัสกับมลพิษทางอากาศ เช่น ฝุ่นละอองหรือควัน
วิธีรักษาอาการไอให้หายได้เร็วยิ่งขึ้น
อาการไอมีวิธีในการรักษาหลายอย่างครับ โดยหากอาการไม่ได้รุนแรงอะไรมากมาย คุณสามารถที่จะรักษาได้ด้วยตนเองภายในบ้าน แต่ถ้ารู้สึกว่าอาการไอไม่ดีขึ้นเลยแม้แต่น้อย หรืออาการหนักขึ้น จึงค่อยไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อทำการรักษาอย่างถูกต้อง
วิธีการรักษาอาการไอด้วยตัวเอง
|
|
รักษาอาการไอกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
คุณหมอจะทำการวินิจฉัยอาการไอด้วยการฟังเสียงไอและสอบถามอาการเพิ่มเติมจากคุณ หากอาการไอของคุณมาจากสาเหตุของแบคทีเรียหรือไวรัส คุณหมอจะจ่ายยาปฏิชีวนะให้รับประทานเป็นเวลาต่อเนื่องประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อรักษาอาการไอให้หายขาด แต่ถ้าหากแพทย์ยังไม่สามารถระบุอาการไอได้ อาจจำเป็นจะต้องตรวจเพิ่มเติม ดังนี้

- เอกซเรย์ปอดว่ามีปัญหาหรือไม่ ?
- ตรวจเลือดและผิวหนัง หากมีข้อบ่งชี้ว่าอาจเกิดการแพ้
- เช็กและวิเคราะห์จากเสมหะ ว่ามาจากแบคทีเรียหรือวัณโรคหรือเปล่า ?
ดังนั้นถ้าอาการไอของใครกินระยะเวลานานกว่าปกติ หรือรักษาด้วยตัวเองที่บ้านแล้วไม่ดีขึ้น ผมแนะนำให้คุณไปพบคุณหมอ เพื่อที่จะรักษาให้อาการไออย่างถูกต้องและทราบถึงสาเหตุการไออย่างแท้จริง
References :
- Cough and viruses in airways disease: Mechanisms
- Respiratory symptoms and intensity of occupational dust exposure
- Effect of smoking on cough reflex sensitivity in humans
- Cough and Asthma
- ACE inhibitor-induced cough and bronchospasm. Incidence, mechanisms and management
- Enalapril-induced cough
- Dextromethorphan
- Pseudoephedrine—Benefits and Risks