ไม่มีใครสามารถป้องกันเราจากภัยร้ายได้เท่าตัวเราเอง อย่างที่ทุกๆคนทราบกันแล้วว่าตอนนี้กำลังมีโรคระบาดที่ชื่อว่า “ไวรัสโคโรน่า หรือ COVID 19” ที่สามารถติดต่อแพร่กระจายกันได้ง่ายแสนง่าย เพียงแค่เราสัมผัสน้ำมูก, น้ำลาย และเสมหะของผู้ติดเชื้อ เราก็ติดมาได้ง่ายๆแล้ว นี่ยังไม่รวมรวมถึงการแพร่กระจายทางอากาศที่เราจะต้องสวมหน้ากากป้องกันตลอดเมื่ออยู่ข้างนอกที่พักอาศัย แล้วการติดเชื้อผ่านการสัมผัสอย่างนี้ เราสามารถป้องกันตัวเองได้อย่างไร?
คำตอบคือ หมั่นล้างมือบ่อยๆ เมื่อคุณต้องสัมผัสกับสิ่งของต่างๆที่คิดว่าไม่ปลอดภัยเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค คุณสามารถเดินไปล้างมือที่ห้องน้ำโดยใช้สบู่เหลวล้างมือดีๆสักขวด หรือหากคุณไม่มีเวลาว่างขนาดนั้น และคุณก็อยู่ในสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยแล้วละก็ เราแนะนำให้คุณใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือแบบพกพาก็ยังได้ เพราะมีประสิทธิภาพสามารถฆ่าเชื้อได้เหมือนกัน
แต่หากคุณยังรู้สึกไม่ปลอดภัยอยู่ดี สิ่งสุดท้ายที่สามารถทำได้นั่นคือ “สวมถุงมือยาง” ฟังดูอาจจะเป็นเรื่องตลกและน่าอายที่คุณจะใส่ถุงมือยางในชีวิตประจำวัน แต่ชีวิตและความปลอดภัยนั้นเป็นของคุณ ไม่มีใครสามารถช่วยคุณได้หากคุณไม่ช่วยเหลือตัวเอง เพราะฉะนั้นอะไรที่เราสามารถป้องกันได้ก็ควรจะทำ เพื่อความสบายใจและความปลอดภัยของตัวเราเองนะคะ
ประเภทของถุงมือยาง
จริงๆแล้วถุงมือยางนั้นมีหลายแบบ แต่ที่เราจะคุ้นเคยกันคงเป็นถุงมือยางที่ใช้ในทางการแพทย์ที่เห็นกันบ่อยๆ วันนี้เราจะบอกถึงถุงมือยางแต่ละประเภทกันสักเล็กน้อยเพื่อให้สามารถแยกการใช้งานกันได้ชัดเจน
1. Medical glove หรือที่เรียกกันว่า ถุงมือยางทางการแพทย์
ตัวถุงมือจะ กระชับ ยืดหยุ่นเมื่อใส่แล้วจะแนบติดกับมือ แต่ก็ไม่ได้ทำให้อึดอัด โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย คือ
- ถุงมือยางสำหรับการผ่าตัด: ตัวถุงมือจะเบาบางมากๆ และมีความยืดหยุ่นสูง มีความทนทานไม่ขาดง่ายๆ ความยาวของถุงมือนั้นยาวไปถึงข้อศอก และมีกระบวนการผ่านการฆ่าเชื้อ 100% เป็นแบบใช้แล้วทิ้ง
- ถุงมือยางสำหรับการตรวจโรค: ตัวถุงมือจะเบาบาง กระชับ มีความยืดหยุ่น ยาวไปถึงแค่ข้อมือเท่านั้น เป็นแบบใช้แล้วทิ้งเช่นกัน
2. Industrial glove หรือที่เรียกกันว่า ถุงมือยางสำหรับโรงงาน
ตัวถึงมือจะมีขนาดใหญ่ๆ และมีความแข็งแรงมาก โดยความบางหรือหนานั้นจะขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ทำด้วย
3. Household glove หรือที่เรียกกันว่า ถุงมือยางสำหรับครัวเรือน
ถ้าใครนึกไม่ออกก็ถุงมือที่ใช้ล้างจานเลยค่ะ ขนาดพอดี ยาวถึงข้อศอก ไม่บางไม่หนา มีความแข็งแรงทนทาน
ความแตกต่างของถุงมือแบบมีแป้งและแบบไม่มีแป้ง
- แบบมีแป้งจะสวมใส่ได้ง่ายกว่า แบบไม่มีแป้ง
- สำหรับผู้ที่แพ้แป้งหรือโปรตีนควรใช้ถุงมือแบบไม่มีแป้ง เพื่อไม่ให้เกิดการระคายเคือง
- ถุงมือแบบมีแป้งจะมีความหนาในระดับที่สามารถใช้งานกับสารเคมีได้อย่างปลอดภัย
- ถุงมือแบบมีแป้งส่วนใหญ่จะใช้แป้งข้าวโพด
- ถุงมือแบบไม่มีแป้ง จะมีความหนา มีความเหนียว และความแข็งแรงทนทานกว่าแบบมีแป้ง
และวันนี้เราจะมารีวิวถุงมือยางแบบที่แพทย์ใช้กันนะคะ เพราะเป็นถึงมือยางหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง เนื่องจากมีกระบวนการผลิตที่ไม่ซับซ้อน สามารถทำไปใช้ได้กับงานหลากหลายรูปแบบ และนี่ก็คือตัวเลือกที่ดีที่สุดของเรา ที่จะให้คุณได้มั่นใจไปกับการเลือกใช้ถุงมืออย่างที่ได้มาตรฐาน ปลอดภัยจากไวรัสโคโรน่าชัวร์ๆ ค่ะ
ถุงมืออนามัย (มีแป้ง) 50 คู่

ราคา 130 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
ถุงมือยางธรรมชาติแบบ(มีแป้ง) ยี่ห้อ โปรแซม

ราคา 191 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
โพลี-ไบรท์ ถุงมือยาง Extra Thin Lite มีเเป้ง

ราคา 209 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
ถุงมือยาง โปรโกลฟ (ProGlove) ผิวเรียบ มีแป้ง

ราคา 210 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
ซาโตรี่ ถุงมือยาง มีแป้ง

ราคา 229 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | XS S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
ศรีตรังโกลฟส์ (กล่องม่วง) ถุงมือยาง ธรรมชาติ มีแป้ง

ราคา 230 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | XS S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
ถุงมืออนามัย ถุงมือยาง Glove PFS ชนิดมีแป้ง ผิวเรียบ

ราคา 250 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | XS S M L |
จำนวน | 50 คู่ |
Secure ถุงมืออนามัย

ราคา 420 บาท*
แบบมีแป้ง | มีแป้ง |
---|---|
ขนาด | S M L |
จำนวน | 100 คู่ |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ ถุงมือยางอนามัย กันเชื้อไวรัสโควิด 19 เข้าสู่ร่างกาย ปี 2021 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
การถอดถุงมือที่ถูกต้องเพื่อป้องกันไม่ให้สัมผัสเชื้อ
ขั้นตอนที่ 1 : ดึงถุงมือส่วนบนบริเวณหน้ามือให้สูงขึ้น (ห้ามดึงจะสายปลายของถุงมือ เพราะสิ่งสกปรกอาจโดนผิวหนัง)
ขั้นตอนที่ 2 : ค่อย ๆ ดึงถุงมือให้ออกจากมืออย่างช้า ๆ (อย่าลืมให้ถุงมือกลับด้านทั้งหมด)
ขั้นตอนที่ 3 : นำมือข้างที่ถอดถุงมือเสร็จแล้ว สอดเข้าไปด้านในข้างที่ยังไม่ถอดถุงมือ
ขั้นตอนที่ 4 : ดันจนถุงมือออกมาให้กลับด้าน
ขั้นตอนที่ 5 : นำถุงมือไปทิ้วไว้ในถังขยะที่ปิดอย่างแน่นหนา
ขั้นตอนที่ 6 : ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่เหลว, เจลแอลกอฮอล์ หรือ สเปรย์แอลกอฮอล์ เพียงแค่นี้ก็ถือว่าเป็นอันเสร็จ