การทำอาหารทานเองถือเป็นความสุขและความสบายใจอย่างหนึ่งเพราะไม่ใช่แค่เราจะได้อาหารที่สะอาดและปลอดภัยเท่านั้น แต่มันเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกซื้อวัตถุดิบและเครื่องปรุงอาหาร ไม่ว่าจะเป็น ซีอิ๊วขาว, ซอสหอยนางรม, น้ำปลา, น้ำตาล, เกลือ, ผงปรุงรส, น้ำมัน หรือผงชูรส ที่คุณสามารถเลือกใช้แบรนด์ที่คุณมั่นใจและชื่นชอบได้ ทำให้อาหารที่ออกมามีรสชาติถูกปากและดีต่อสุขภาพ นอกจากเครื่องปรุงรสแล้วอีกหนึ่งสิ่งที่ขาดไม่ได้เลยก็คือเครื่องครัวที่ใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ค่ะ สมัยนี้เครื่องครัวถือว่ามีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดเพราะนอกจากหม้อหุงข้าว, กระทะ หรือหม้อต้มที่เราใช้กันจนคุ้นชินแล้วยังมีหม้อทอดไร้น้ำมัน, หม้ออบลมร้อน, หม้อนึ่งไฟฟ้า, หม้อตุ๋นไฟฟ้า, หม้ออัดแรงดัน, เตาย่างไฟฟ้า, หม้อหุงข้าวดิจิตอล, หม้อทอดไฟฟ้าแบบใช้น้ำมัน และอื่น ๆ อีกมากมายที่ผลิตออกมาเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายให้กับคนเมืองที่อาจจะไม่มีเวลามากพอในการจัดเตรียมอาหาร
แม้แต่ “กระทะ” ที่ใช้ผัดทอดที่ดูเหมือนจะเป็นอุปกรณ์เบสิคธรรมดา ๆ เองก็มีการพัฒนาขึ้นแบบก้าวกระโดด เพราะหลากหลายแบรนด์ได้ผลิตกระทะขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น กระทะเคลือบสารกันติด (non-stick) ที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกและร่นระยะเวลาในการล้างทำความสะอาด หรือจะเป็นกระทะเคลือบเซรามิกที่นอกจากจะช่วยลดการใช้น้ำมันแล้วยังเพิ่มความสวยงามให้กับห้องครัว นอกจากนี้ยังมีกระทะไฟฟ้าที่เหมาะกับคนที่อาศัยอยู่ในหอพักเพราะแค่เพียงเสียบปลั๊กก็สามารถใช้งานได้แบบไม่ต้องง้อเตาแก๊ส
แต่ถ้าจะให้พูดถึงความหอมอร่อยแบบเบสิค เราคิดว่าสิ่งแรก ๆ ที่หลายคนนึกถึงคงจะหนีไม่พ้นการทำอาหารด้วย “กระทะเหล็ก” เพราะกระทะประเภทนี้มีความพิเศษตรงที่จะช่วยให้อาหารมีกลิ่นไหม้อ่อน ๆ และมีสีสันสวยงาม ถึงกับมีคนพูดว่า “อาหารจะอร่อยหรือไม่อร่อยห็ขึ้นอยู่กับกระทะนี่แหละ” บางครั้งแค่เห็นพ่อครัวปรุงอาหารด้วยกระทะเหล็กคู่ใจที่ดูเหมือนผ่านศึกมานานก็สามารถรับรู้ได้เลยว่าอาหารจานนี้จะต้องอร่อยแน่นอน
ข้อดี-ข้อเสีย ของกระทะแต่ละประเภท
1. กระทะเหล็ก
กระทะเหล็กเป็นกระทะที่กำลังได้รับความนิยมมาก ๆ ในตอนนี้เลยค่ะ ตัวกระทะจะผลิตขึ้นมาจากเหล็กแท้ มีความแข็งแรงทนทาน มีน้ำหนักมากแต่ก็สามารถจับได้ถนัดมือและสร้างความสมดุลในการจับได้ดี โดยจะใช้งานกับเตาได้ทุกประเภทรวมไปถึงเตาอบไฟฟ้าและเตาอบไมโครเวฟ (ในกรณที่เป็นกระทะเหล็กแบน ๆ ขนาดเล็ก) และสามารถใช้งานได้อย่างยาวนาน เหมาะกับอาหารทอดที่ต้องใช้น้ำมันในปริมาณมาก
โดยทั่วไปแล้วกระทะที่เราจะพบเห็นได้บ่อย ๆ มีอยู่ 2 แบบคือกระทะทรงครึ่งวงกลม/กระทะก้นลึกแบบที่พ่อครัวจีนใช้ กระทะประเภทนี้มักจะมีขนาดที่ค่อนข้างใหญ่และต้องใช้ไฟแรงสูงในการใช้งาน และอีกหนึ่งรูปแบบก็คือกระทะเหล็กหล่อแบบ cast iron ที่มีความหนา สีดำมัน และมีน้ำหนักมากเนื่องจากผลิตจากเหล็กหล่อ เหมาะกับเตาถ่านหรือเตาแก๊สที่ใช้ความร้อนสูงเพราะกระทะประเภทนี้มักจะนิยมนำมาย่างเนื้อสเต๊ก
เนื่องจากเหล็กสามารถกระจายความร้อนได้ดีและจะเก็บความร้อนเอาไว้ได้นานมาก แม้จะยกออกจากเตาแล้วก็ตาม นอกจากนี้หลังจากใช้เสร็จแล้วควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่าและเผาไฟให้แห้ง เพราะกระทะเหล็กจะสามารถเกิดสนิมได้ง่ายและหากไม่มีการเคลือบน้ำมันอาหารก็ติดกระทะได้ง่ายอีกด้วยค่ะ
2. กระทะอลูมิเนียม
กระทะอลูมิเนียมเป็นประเภทที่นิยมใช้กันในครัวเรือนมากที่สุด เนื่องจากตัวกระทะมีน้ำหนักเบา ขึ้นสนิมช้า และร้อนเร็ว แต่ข้อเสียคือตัวกระทะจะเป็นรอยขูดขีดได้ง่ายและเสียความร้อนเร็วมากเมื่อยกลงจากเตา กระทะอลูมิเนียมจะเหมาะสำหรับอาหารประเภทผัดที่มีรสชาติกลาง ๆ ไม่จัดมาก ไม่เหมาะกับการนำมาทอดเพราะนอกจากอาหารจะติดกระทะแล้วอุณหภูมิของน้ำมันยังไม่คงที่อีกด้วยค่ะ นอกจากนี้กระทะอลูมิเนียมจะใช้ได้แค่กับเตาแก๊ส ไม่สามารถใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้า, เตาอบ หรือไมโครเวฟได้อีกด้วย ในส่วนของการดูแลรักษาก็ถือว่าง่ายดายเพราะคุณสามารถล้างได้ด้วยน้ำยาล้างจานและเช็ดให้แห้งก่อนจัดเก็บ ไม่จะเป็นต้องเคลือบน้ำมันเหมือนกระทะเหล็กค่ะ
3. กระทะสแตนเลส
กระทะสแตนเลสจะมีทั้งลักษณะและคุณสมบัติที่แทบจะไม่แตกต่างจากกระทะอลูมิเนียมมากนัก เพราะกระทะประเภทนี้เหมาะกับอาหารประเภทผัดมากกว่าทอดเพราะอาหารจะติดกระทะ แต่สิ่งที่ทำให้กระทะสองประเภทนี้ต่างกันก็คือกระทะสแตนเลสสามารถนำมาผัดอาหารได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นอาหาารสจัดหรือรสอ่อน เพราะสแตนเลสสามารถทนการกัดกร่อนของกรดและรอยขูดขีดได้มากกว่า แต่ถ้าเทียบกับกระทะเหล็ก สแตนเลสยังถือว่าร้อนช้ากว่าแต่ในด้านของความทนทานเกือบจะพอ ๆ กันเลยค่ะ นอกจากนี้กระทะสแตนเลสสามารถใช้งานได้กับเตาทุกประเภทรวมไปถึงเตาแม่เหล็กไฟฟ้าด้วย แต่ควรหลีกเลี่ยงการนำเข้าเตาอบและไมโครเวฟนะคะ ในส่วนของการทำความสะอาดก็สามารถใช้น้ำยาล้างจานและเช็ดให้แห้งก็สามารถจัดเก็บได้แล้วค่ะ
4. กระทะทองเหลือง

หากใครชอบทานหรือชอบทำขนมไทยจะต้องคุ้นเคยกับกระทะทองเหลืองแน่นอนค่ะ เพราะกระทะชนิดนี้มักจะนำมาใช้ในการทำอาหารหรือทำขนมไทยซะเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากกระทะทองเหลืองสามารถกระจายความร้อนได้ดีและมักจะมีลักษณะเป็นก้นลึก นำมาประกอบอาหารได้หลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นหุง อุ่น ตุ๋น ต้ม นึ่ง หรือการกวนขนม นอกจากนี้ข้อดีอีกหนึ่งอย่างคืออาหารจะไม่ติดกระทะ ทำให้อาหารออกมามีทั้งหน้าและสีสันสวยงาม แต่ข้อเสียที่เห็นได้ชัดเลยก็คือกระทะทองเหลืองจะมีราคาที่ค่อนข้างสูงเนื่องจากมีความต้องการใช้งานน้อยและทำจากวัสดุเกรดดี อีกทั้งกระทะยังขึ้นรอยด่างหรือคราบเขียวได้ง่ายหากอาหารมีส่วนผสมของกรดหรือมีรสชาติเปรี้ยว สำหรับการแก้ไขแนะนำให้ล้างทำความสะอาดแล้วใช้น้ำมะขามเปียกขัดให้ทั่วคราบเขียวก็จะหายไปค่ะ จากนั้นเช็ดให้แห้งและจัดเก็บในสถานที่มีลมโกรก
5. กระทะแบบเคลือบสาร non-stick
กระทะเคลือบมีด้วยกันหลากหลายชนิด ทั้งเคลือบเทฟล่อน, เคลือบหินอ่อน, เคลือบเซรามิก หรือเคลือบไทเทเนียม ซึ่งวัตถุประสงค์หลัก ๆ ของกระทะประเภทนี้คือการป้องกันการติดกระทะเพื่อลดการใช้น้ำมันให้น้อยลง เหมาะกับกลุ่มรักสุขภาพหรืองดน้ำมันเพราะอาหารจะมีส่วนประกอบของน้ำมันน้อย กระทะมีความแข็งแรงและให้ความร้อนปานกลาง ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป อีกทั้งกระทะเคลือบยังมีราคาที่ไม่แพงมากจนเกินไป แต่ข้อเสียคือกระทะประเภทนี้ไม่เหมาะกับการใช้งานด้วยไฟแรง ๆ เพราะสารเคลือบกันติดจะหลุดออกมาปะปนกับอาหารและควรใช้ตะหลิวแบบซิลิโคนหรือไม้เพื่อป้องกันรอยถลอกอีกด้วยค่ะ ในส่วนของการทำความสะอาดถือว่าสะดวกมากเพราะแค่ใช้กระดาษซับน้ำมันเช็ดคราบออกกระทะก็สะอาดแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ฟองน้ำที่มีผิวหยาบ ๆ ขัด เพราะจะทำให้สารเคลือบหลุดออกได้ง่ายมาก ๆ
กระทะเหล็กสำหรับทอดไข่ดาว ขนาด 3 หลุม

ราคา 170 บาท*
วัสดุ | เหล็กหล่อ |
---|---|
รูปแบบ | กระทะหลุม |
ขนาด | 7.5 นิ้ว |
ความลึก | ไม่ระบุ |
น้ำหนัก | ไม่ระบุ |
ความหนา | ไม่ระบุ |
ด้ามจับ | ด้ามไม้ |
ข้อควรระวัง | ไม่ควรสัมผัสตัวกระทะโดยตรงขณะใช้งาน |
กระทะเหล็กหล่อก้นลึกขนาด 8 นิ้ว

ราคา 311 บาท*
วัสดุ | เหล็กหล่อ |
---|---|
รูปแบบ | กระทะก้นลึก |
ขนาด | 8 นิ้ว |
ความลึก | 6.5 เซนติเมตร |
น้ำหนัก | 1.5 กิโลกรัม |
ความหนา | ไม่ระบุ |
ด้ามจับ | หูจับ 2 ด้าน |
ข้อควรระวัง | ใช้ได้กับเตาทุกประเภท สำหรับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ควรใช้ไฟแรงสูงมาก |
กระทะเหล็กขนาด 36 เซนติเมตร ตราจรวด

ราคา 319 บาท*
วัสดุ | เหล็กขาว |
---|---|
รูปแบบ | กระทะก้นลึก |
ขนาด | 14 นิ้ว |
ความลึก | 8.6 เซนติเมตร |
น้ำหนัก | 1.14 กิโลกรัม |
ความหนา | 0.5 เซนติเมตร |
ด้ามจับ | ด้ามไม้ |
ข้อควรระวัง | ห้ามใช้งานกับเตาอบ, ไมโครเวฟ และเตาแม่เหล็กไฟฟ้า |
กระทะเหล็กหล่อ 28 หลุม สำหรับทำขนมครก ไข่นกกระทา

ราคา 340 บาท*
วัสดุ | เหล็กหล่อ |
---|---|
รูปแบบ | กระทะหลุม |
ขนาด | 13 นิ้ว |
ความลึก | 2 เซนติเมตร |
น้ำหนัก | 2.5 กิโลกรัม |
ความหนา | ไม่ระบุ |
ด้ามจับ | หูจับ 2 ด้าน |
ข้อควรระวัง | ใช้ได้กับเตาทุกประเภท สำหรับเตาแม่เหล็กไฟฟ้าไม่ควรใช้ไฟแรงสูงมาก |
กระทะเหล็กแท้คุณภาพดี 2 หู เบอร์ 16

ราคา 490 บาท*
วัสดุ | เหล็กขาว |
---|---|
รูปแบบ | กระทะก้นลึก |
ขนาด | 15 นิ้ว |
ความลึก | 10.5 เซนติเมตร |
น้ำหนัก | ไม่ระบุ |
ความหนา | 0.9 มิลลิเมตร |
ด้ามจับ | หูจับ 2 ด้าน |
ข้อควรระวัง | ไม่แนะนำให้ใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้า, เตาอบ และไมโครเวฟ |
กระทะเหล็กหล่อ ทรงสี่เหลี่ยม ใช้สำหรับเป็นกระทะย่างสเต็ก

ราคา 599 บาท*
วัสดุ | เหล็กหล่อ |
---|---|
รูปแบบ | กระทะย่าง |
ขนาด | 9.5 นิ้ว |
ความลึก | ไม่ระบุ |
น้ำหนัก | ไม่ระบุ |
ความหนา | ไม่ระบุ |
ด้ามจับ | ด้ามเหล็ก |
ข้อควรระวัง | ควรใช้ผ้ารองก่อนสัมผัสกระทะขณะใช้งาน |
กระทะเหล็กปิ้งย่าง ทรงเหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 17 x 9 นิ้ว

ราคา 692 บาท*
วัสดุ | เหล็กหล่อ |
---|---|
รูปแบบ | กระทะย่างก้นแบน |
ขนาด | 17 x 9 นิ้ว |
ความลึก | ไม่ระบุ |
น้ำหนัก | ไม่ระบุ |
ความหนา | ไม่ระบุ |
ด้ามจับ | หูจับ 2 ด้าน |
ข้อควรระวัง | ควรใช้กับเตาแก๊สหรือเตาถ่านเนื่องจากกระทะมีความร้อนสูง |
กะทะเหล็กแท้คุณภาพดี ด้ามไม้ก้นลึก เบอร์ 16

ราคา 969 บาท*
วัสดุ | เหล็กขาว |
---|---|
รูปแบบ | กระทะก้นลึก |
ขนาด | 14.5 นิ้ว |
ความลึก | ไม่ระบุ |
น้ำหนัก | 1.1 กิโลกรัม |
ความหนา | 0.9 มิลลิเมตร |
ด้ามจับ | ด้ามไม้พร้อมหูจับ 1 ด้าน |
ข้อควรระวัง | ไม่แนะนำให้ใช้กับเตาแม่เหล็กไฟฟ้า, เตาอบ และไมโครเวฟ |
MEYER (CAST-IRON) กระทะเหล็กหล่อ จากไมย์เออร์ ขนาด 24 ซม.

ราคา 1,300 บาท*
วัสดุ | เหล็กหล่อ |
---|---|
รูปแบบ | กระทะก้นแบน |
ขนาด | 9.5 นิ้ว |
ความลึก | ไม่ระบุ |
น้ำหนัก | 2 กิโลกรัม |
ความหนา | ไม่ระบุ |
ด้ามจับ | ด้ามเหล็ก |
ข้อควรระวัง | ควรใช้ผ้ารองก่อนสัมผัสกระทะขณะใช้งาน |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ทำไมต้องเผากระทะเหล็กก่อนใช้งานครั้งแรก?
อย่างที่ทราบกันดีว่ากระทะเหล็กจะสามารถเกิดสนิมได้ง่ายกว่ากระทะทั่วไป ดังนั้นจะต้องมีการเผากระทะก่อนการใช้งาน ซึ่งการเผากระทะถือว่าเป็นขั้นตอนสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดเลยค่ะ เพราะนอกจากจะช่วยให้กระทะไม่ขึ้นสนิมแล้วยังยืดอายุการใช้งานและป้องกันไม่ให้อาหารติดกระทะอีกด้วย และการเผากระทะนี่แหละที่เป็นเคล็ดลับในการทำให้อาหารมีกลิ่นหอมชวนรับประทาน แตกต่างจากการปรุงอาหารด้วยกระทะประเภทอื่น นอกจากการเผาเพื่อยืดอายุการใช้งานแล้ว ในกระบวนการผลิตกระทะจะมีการเคลือบสารกันสนิมเอาไว้ก่อนส่งขายเพื่อทำให้กระทะสีสีสวยและไม่เกิดสนิมก่อนถึงมือผู้ใช้ และน้ำยาล้างจานไม่ประสิทธิภาพเพียงพอที่จะล้างเอาสารเคลือบออกไปได้ ดังนั้นการนำกระทะมาเผาก่อนใช้งานจึงเป็นวิธีที่ดีและสามารถมั่นใจได้มากที่สุดค่ะ

โดยขั้นตอนแรกคุณจะต้องนำกระทะมาเผาในสถานที่เปิดโล่ง มีลมพัด จากนั้นเปิดเตาแก๊สหรือจุดเตาถ่านแล้วเร่งไฟให้อยู่ในระดับกลางค่อนแรง แล้วนำกระทะลงเผาโดยเริ่มจากขอบกระทะก่อน ขั้นตอนนี้จะค่อนข้างร้อนและมีกลิ่นเหม็นของสารเคลือบที่ถูกเผา แนะนำให้สวมผ้าปิดจมูกและห้ามสูดดมควันเข้าไปนะคะ เมื่อโดนความร้อนเหล็กจะเริ่มเปลี่ยนสีจากเหล็กขาวจะกลายเป็นสีดำและกลับมาเป็นสีเทาเงา ๆ ตามลำดับ คุณจะต้องคอยเอียงระทะไปเรื่อย ๆ จนกว่ากระทะจะมีสีเทาทั่วกันทั้งใบทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ขั้นตอนนี้จะต้องระวังไม่ให้เหล็กร้อนจนขึ้นสีแดงเพราะกระทะจะทะลุได้ค่ะ
หลังจากกระทะเป็นสีเทาสม่ำเสมอแล้วนำกระทะออกมาพักให้คลายความร้อนลงนิดหน่อย แล้วล้างทำความสะอาดด้วยน้ำยาล้างจานให้ทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฟองของน้ำยาล้างจานจะกลายเป็นสีเทาอ่อน ๆ เนื่องจากสารเคลือบหลุดออกมาค่ะ เราจะล้างจนกว่าฟองจะเป็นสีขาวเลยค่ะ ในการล้างรอบแรกกระทะจะยังเป็นรอยด่าง ๆ ของสารเคลือบอยู่ จากนั้นเราจะเช็ดกระทะให้แห้งแล้วนำไปเผาอีกครั้ง ทำซ้ำไปเรื่อย ๆ จนกว่ากระทะจะเป็นสีดำเสมอกันทั่วทั้งใบเลยค่ะ หลังจากล้างรอบสุดท้ายแล้วเราจะนำกระทะขึ้นตั้งไฟอ่อน ๆ จนกระทะแห้งสนิท จากนั้นเทน้ำมันพืชลงไปแล้วเอียงกระทะไปเรื่อย ๆ จนกว่าน้ำมันจะเคลือบผิวกระทะจนทั่วแล้วปิดเตาแล้วใช้ผ้าหรือกระดาษซับน้ำมันถูผิวกระทะให้ชุ่มน้ำมันจนทั่วทั้งด้านหน้าและด้านหลังแล้วแช่น้ำมันทิ้งไว้ข้ามคืนได้เลยค่ะ วันต่อมาเพียงแค่เช็ดน้ำมันออกก็สามารถนำมาประกอบอาหารได้เลย
การบำรุงรักษาจะต้องเผาและเช็ดน้ำมันทุกครั้งหลังการใช้งานเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดสนิมและช่วยให้อาหารไม่ติดกระทะค่ะ ส่วนหากกระทะเกิดสนิมสามารถใช้น้ำมะนาวแต้มคราบสนิมออกแล้วเผาและเช็ดน้ำมันเก็บไว้เหมือนเดิมค่ะ หากเพื่อน ๆ ใช้ไปเรื่อย ๆ แล้วกระทะเริ่มเป็นสีดำเข้มมากขึ้นเรื่อย ๆ ก็ไม่ต้องตกใจนะคะ เพราะนั่นแปลว่าสารเคลือบได้หลุดออกไปหมดแล้ว กระทะยิ่งดำจะยิ่งลื่นและทำอาหารอร่อยมากขึ้นค่ะ
วิธีขจัดคราบดําใต้ก้นกระทะ
เมื่อคุณใช้กระทะไปนาน ๆ เป็นเรื่องปกติที่บริเวณก้นกระทะจะเป็นคราบดำ ๆ โดยเฉพาะกระทะเหล็กที่จะต้องเจอความร้อนสูงเป็นเวลานาน ๆ จะเกิดคราบดำด่างได้ง่าย ทำให้หลายคนมักอาจะรู้สึกขัดใจเมื่อนำออกมาใช้ และแน่นอนว่าน้ำยาล้างจานและฟองน้ำธรรมดาอาจจะไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะขัดเอาคราบเหล่านั้นออกไปได้ ดังนั้นวันนี้เราเลยมีวิธีที่จะช่วยขจัดคราบดำออกไปได้ง่าย ๆ มาฝากค่ะ ไปดูกันเลย

1. น้ำมะนาว + เกลือ
สูตรเบสิคที่ใช้วัตถุดิบที่มีกันทุกครัวเรือน เราจะเริ่มจากนำกระทะขึ้นตั้งเตาแล้วเผาให้ร้อนก่อนค่ะ จากนั้นผ่าครึ่งมะนาวแล้วคลุกเกลือป่นหยาบให้ทั่ว นำมาขัดลงบนคราบ ออกแรงถูนิดหน่อย น้ำมะนาวมีฤทธิ์เป็นกรดจะทำให้ที่กัดกร่อนคราบดำ ๆ ให้อ่อนนุ่มลง ขณะเดียวกันเกลือจะทำใหน้าที่ขัดคราบเหล่านั้นให้หลุดออกจากผิวกระทะ เร็จแล้วล้างทำความสะอาดและเผากระทะพร้อมเคลือบน้ำมันใหม่อีกครั้งก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อย สำหรับวิธีนี้แนะนำให้ใช้กับกระทะที่เพิ่งเริ่มมีคราบและคราบเหล่านั้นไม่ได้ฝังลึกมากนักค่ะ
2. เบกกิ้งโซดา + น้ำส้มสายชู
คู่ซี้คู่เด็ดที่มีประโยชน์ครอบจักรวาลจริง ๆ ค่ะ สำหรับคราบดำก้นกระทะเราจะนำเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูมาผสมในอัตราส่วนที่เท่ากันจนได้เนื้อครีมเข้มข้น จากนั้นนำมาป้ายลงบนคราบดำให้ทั่วแล้วทิ้งไว้หนึ่งคืนเลยค่ะ ทั้งเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูจะช่วยทำให้คราบดำอ่อนนุ่มลง จากนั้นเราจะเพิ่มเบกกิ้งโซดาและน้ำส้มสายชูลงไปอีกเล็กน้อยก่อนขัดคราบออก จากนั้นล้างทำความสะอาดและเผาให้แห้งเก็บไว้เหมือนเดิมค่ะ
3. น้ำมันพืช + เกลือ
สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มใช้งานกระทะเหล็กหล่อ ช่วงแรก ๆ อาจจะยังมีอาหารติดกระทะอยู่บ้าง ดังนั้นเราจะใช้น้ำร้อนราดลงบนกระทะเพื่อล้างเอาคราบออกก่อนค่ะ จากนั้นนำขึ้นตั้งไฟกลางค่อนอ่อนให้กระทะร้อนแล้วรอให้พออุ่น เทน้ำมันและเกลือลงในกระทะแล้วใช้มือค่อย ๆขัดเอาคราบออกให้ทั่ว ห้ามใช้ฝอยขัดหม้อเด็ดขาดเลยนะคะ เพราะผิวกระทะจะเสียหายได้ค่ะ ขัดไปเรื่อย ๆ เพื่อน ๆ จะเห็นได้เลยว่ามีคราบหลุดออกมาและเกลือจะเปลี่ยนสี หลังจากขัดจนแน่ใจว่าสะอาดเอี่ยมอ่องดีแล้วใช้น้ำร้อนราดลงไปให้ทั่วกระทะอีกครั้งแล้วนำขึ้นตั้งไฟให้กระทะแห้ง จากนั้นทาน้ำมันเคลือบกระทะให้ทั่วทั้งใบแล้วนำขึ้นเผาอีกรอบเพื่อช่วยให้น้ำมันซึมเข้าเนื้อกระทะค่ะ แค่นี้คุณก็สามารถใช้งานกระทะเหล็กใบโปรดได้อย่างยาวนานแล้ว
ตารางเปรียบเทียบ รีวิว กระทะเหล็ก คุณภาพดี แข็งแรงทนทาน ร้อนเร็ว ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี 2023 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
หลังจากได้อ่านถึงขั้นตอนการเตรียมและรีวิวกระทะเหล็กไปแล้วเราคิดว่าหลายคนคงจะหายสงสัยกันแล้วว่าทำไมอาหารที่ปรุงจากกระทะเหล็กถึงมีทั้งความหอมและเอกลักษณ์ที่โดดเด่นกว่าการปรุงรูปแบบอื่น ๆ
ไหนรามีกระทะคู่ใจแล้วลองมาเปิดดูเมนูอาหารไปปรุงเอาฤกษ์เอาชัยกันสักหน่อยไหมคะ? ไม่ว่าจะเป็นหมูทอด, ไข่เจียว, เมนูเนื้อวัว, เมนูไก่, เมนูปลา, เมนูผัก, อาหารเหนือ, อาหารอีสาน หรืออาหารใต้ก็มีให้เพื่อน ๆ ได้เลือกตามความชอบเลยค่ะ นอกจากนี้หากเพื่อน ๆ กำลังมองหาชุดมีด ไม่ว่าจะเป็นมีดปอกผลไม้, มีดพับ, มีดปังตอ, มีดแกะหอยนางรม, มีดหั่นขนมปัง, มีดหั่นสเต๊ก หรือถังใส่ข้าวสาร, ชั้นวางเครื่องปรุง, เครื่องปั่น, ครก หรือแม้กระทั่งชุดครัวสำเร็จรูปเราก็มีนะคะ สำหรับวันนี้ต้องขอตัวก่กอน ไว้เจอกันบทความหน้า สวัสดีค่ะ