อาหารมื้อหลักที่จะต้องมีอยู่ในจานของคนไทยคงจะหนีไม่พ้นข้าวหอม ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้าวหอมมะลิ, ข้าวไรซ์เบอร์รี่ หรือถ้าอยากได้ความหนึบบางคนก็อาจจะเลือกรับประทานข้าวญี่ปุ่น ยิ่งถ้าได้ทานข้าวคู่กับเมนูไทยสุดอร่อย อย่างเช่น เมนูยำรสแซ่บ, เมนูผักบุ้ง, เมนูผัดกะเพรา, เมนูจากไก่ หรือเมนูผักเพื่อเน้นสุขภาพที่ดีก็จะทำให้อาหารมื้อนั่นของคุณอร่อยมากยิ่งขึ้น และด้วยการที่คนไทยส่วนใหญ่รับประทานข้าวเป็นอาหารมื้อหลัก ทำให้หลายคนเลือกจะซื้อข้าวและหม้อหุงข้าวขนาดต่าง ๆ ทั้งหม้อหุงข้าวขนาดเล็กและใหญ่ อีกทั้งยังมีหม้อหุงข้าวดิจิตอลที่ทันสมัยหุงข้าวได้อย่างรวดเร็ว
อย่างไรก็ดีการที่จะเก็บข้าวสารไว้ในถุงที่เราซื้อมา ก็อาจจะลำบากในการเทลงหม้อหุงข้าว และมันอาจทำให้แมลงรวมไปถึงความชื้นสามารถเข้าไปในข้าวได้ ผลที่ตามมาคือข้าวของเราจะไม่สดใหม่เหมือนเดิม ทั้งยังอาจทำให้เกิดการเจือปนสิ่งสกปรก เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วอาจเกิดอาการอาหารเป็นพิษได้ ดังนั้นกระบวนการเก็บรักษาข้าวถือว่าสำคัญมาก
โดยผลิตภัณฑ์ที่จะช่วยเราแก้ไขปัญหาตรงจุดนี้ได้ดีคือการซื้อ “ถังใส่ข้าวสาร” มาใช้งาน ทั้งนี้ภาพจำของใครหลายคนเกี่ยวกับถังข้าวสาร คงนึกถังใบใหญ่ที่ทั้งสูงและกว้าง ดูเกะกะพื้นที่ภายในครัว แต่ปัจจุบันนี้ถังใส่ข้าวสารไม่ได้เป็นแบบนั้นอีกต่อไปแล้วครับ เพราะผู้ผลิตจากหลากหลายแบรนด์ ผลิตถังข้าวสารออกมาให้มีขนาดเล็กลง ทั้งยังมีความสวยเหมาะสำหรับบ้านและคอนโดในปัจจุบัน ที่สำคัญมันยังมีฟังก์ชันในการตวงที่ดี ช่วยกะข้าวสารได้ในปริมาณที่พอดีเป๊ะโดยไม่ต้องไปเสียเวลาในการไปวัดปริมาณเหมือนเมื่อก่อน
ถังใส่ข้าวสาร แบบไหนเหมาะสำหรับคุณมากที่สุด
- ถังขนาดใหญ่ บรรจุข้าวสารได้มากกว่า 15 กิโลกรัม : ถังข้าวสาร Rice bucket กล่องเก็บข้าวสาร
- ดีไซน์สวยงามตามสไตล์ญี่ปุ่น มีปุ่มกดปล่อยข้าวที่กดได้ง่าย ปล่อยออกในปริมาณสม่ำเสมอ : ถังใส่ข้าวสาร พร้อมที่ตวง สไตล์ญี่ปุ่น
- เปิดฝาถังได้ง่ายเพียงกดปุ่มด้านบน โดยไม่ต้องออกแรงได้การดึง : Ecoco ถังเก็บเม็ดข้าวสาร กล่องเก็บข้าวสาร
- มีปุ่มกดปล่อยข้าว ไม่จำเป็นต้องเปิดฝา ทั้งยังมาพร้อมกับถ้วยตวง 2 in 1 : กล่องใส่ข้าวสาร ถังใส่ข้าวสาร ความจุ 12 กิโลกรัม
ข้อดีของถังใส่ข้าวสาร
- เก็บข้าวสารให้สดใหม่ เมื่อคุณใส่ข้าวสารไว้ในถัง คุณจะไม่ต้องกังวลว่าจะมีแมลงหรือความชื้นเข้าไปในข้าวสาร เพราะมันจะเก็บรักษาไว้ด้านในอย่างดี ทำให้ข้าวสารเกิดความสดใหม่อยู่เสมอ ทั้งยังทำให้ข้าวเก็บได้ในระยะเวลาที่ยาวนานขึ้น
- เก็บข้าวได้เป็นที่เป็นทาง หลายคนที่ซื้อข้าวมาเป็นถุงใหญ่ คงจะต้องลำบากในการวางไว้ในที่ต่าง ๆ ซึ่งมันจะทำให้ครัวของคุณดูรกมาก แต่หากเลือกที่จะใส่ในถังข้าวสาร มันจะทำให้ครัวของคุณดูมีระเบียบ วางของเป็นที่เป็นทาง
- ประหยัดเงินในการซื้อ การซื้อถังข้าวสารมาใช้จะเป็นเหมือนกับไฟท์บังคับที่ทำให้คุณซื้อข้าวจำนวนมากใส่ ซึ่งผลจากการซื้อข้าวเยอะ ๆ จะทำให้คุณประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น เพราะเมื่อลองเฉลี่ยให้ดีการซื้อข้าวถุงใหญ่จะมีราคาที่ถูกกว่าข้าวถุงเล็กเยอะมากครับ
- ไม่จำเป็นต้องตวงข้าวสารให้ยุ่งยาก ถังข้าวสารจะปล่อยข้าวในแต่ละครั้งสม่ำเสมอกันมาก ดังนั้นเราไม่จำเป็นที่จะต้องมากะปริมาณให้ยุ่งยาก ในขณะเดียวกันถังข้าวสารบางรุ่นที่ไม่มีระบบการปล่อยข้าว แต่ส่วนใหญ่ก็มักจะแถมที่ตวงข้าวมาให้ ซึ่งที่ตวงก็จะช่วยทำให้เราสามารถกะปริมาณของข้าวได้ง่ายขึ้น
วิธีการเลือกถังใส่ข้าวสาร
1. วัสดุที่ใช้ในการผลิต
สิ่งที่จะต้องพิจารณาก่อนจะซื้อถังใส่ข้าวสารคือวัสดุที่ใช้การผลิต โดยคุณสมบัติของวัสดุควรจะต้องมีความแข็งแรงและกระบวนการผลิตจะต้องมีคุณภาพ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วถังใส่ข้าวสารจะทำมาจากพลาสติก อย่างไรก็ดีพลาสติกเหล่านั้นควรจะไม่มีสารเคมีเจือปน ทั้งยังต้องเป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงด้วยครับ
2. ความจุของถังข้าวสาร
ข้อนี้คือคีย์หลักของการเลือกถังข้าวสารเลยครับ โดยก่อนที่จะซื้อถังข้าวสาร คุณต้องเช็กก่อนว่าปกติแล้วคุณซื้อข้าวในแต่ละครั้งประมาณกี่กิโลกรัม เช่น ถ้าหากคุณซื้อข้าวประมาณ 10 กิโลกรัม คุณก็ควรจะต้องซื้อถังที่รองรับข้าวได้แบบพอดี แต่สำหรับใครที่ไม่ได้หุงข้าวบ่อย ผมแนะนำให้เลือกถังข้าวสารขนาดเล็กไปครับ เพราะอย่างน้อยมันจะได้ไม่เปลืองพื้นที่บนเค้าท์เตอร์หรือครัวของเรา
4. ดีไซน์
ปกติแล้วถังข้าวสารจะไม่ได้มีการออกแบบที่เป็นแฟชั่นหรือหรูหราอะไรมากมาย เพราะส่วนใหญ่มันจะมาในสีขาวหรือสีครีม ซึ่งการดีไซน์ในสีพื้น ๆ แบบนี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่ได้ต้องการให้มันเป็นจุดเด่น ต้องการเพียงแค่ใช้ในการเก็บข้าว แต่สำหรับคนที่ค่อนข้างให้ความสำคัญในเรื่องของความสวยภายในห้องครัว ผมก็อยากแนะนำให้คุณลองเช็กสินค้าที่มีรูปทรงหรือดีไซน์ได้แมตช์กับครัวของเราครับ
5. ขนาด
ขนาดถังข้าวสารจะขึ้นอยู่กับความจุของถัง ยิ่งขนาดถังมากเท่าไหร่ ขนาดของมันก็จะใหญ่มากขึ้นเท่านั้น โดยก่อนที่จะซื้อลองเช็กพื้นที่บนเค้าท์เตอร์หรือพื้นที่ภายในครัวก่อนว่ามันกว้างมากแค่ไหน จากนั้นก็ให้มาเช็กขนาดสินค้าว่ามันสินค้าสามารถนำมาตั้งได้พอดีหรือไม่
6. การทำความสะอาด
ผมแนะนำให้เลือกซื้อถังข้าวสารที่สามารถถอดหรือแยกชิ้นออกมาทำความสะอาดได้สะดวก เพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด เพราะคงไม่มีใครอยากใส่ข้าวในถังที่สกปรกใช่ไหมครับ ดังนั้นอย่าลืมเช็กสเปคส่วนนี้ครับ
7. เช็กการทำงานของถัง
โดยปกติแล้วถังใส่ข้าวสารจะมีระบบการปล่อยข้าวออกจากถังที่แตกต่างกันออกไป บางรุ่นก็จะมีตัวดึงปล่อยให้ข้าวสารลงมาในลิ้นชัก ในขณะที่บางรุ่นจะมีตัวหมุนปล่อยข้าว ซึ่งก่อนที่คุณจะซื้อก็ลองเช็กการทำงานของถังก่อนว่ามันสะดวกและตรงกับความต้องการของคุณหรือไม่
ถังข้าวสาร Rice bucket กล่องเก็บข้าวสาร

ราคา 165 บาท*
ขนาด | 37 x 18.5 x 24.5 เซนติเมตร / 37 x 18.5 x 20 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 15 กิโลกรัม |
สี | น้ำตาล / ฟ้า / เทา |
วัสดุ | พลาสติก |
กล่องใส่ข้าวสาร ถังใส่ข้าวสาร ความจุ 12 กิโลกรัม

ราคา 257 บาท*
ขนาด | 17 x 34 x 41 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 12 กิโลกรัม |
สี | ฟ้า |
วัสดุ | พลาสติก |
กล่องเก็บข้าวสาร ถังใส่ข้าวสาร

ราคา 339 บาท*
ขนาด | 26 x 26 x 22 เซนติเมตร / 26 x 26 x 29 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 5 กิโลกรัม / 10 กิโลกรัม |
สี | เทา / ฟ้า |
วัสดุ | พลาสติก PP |
ถังเก็บเม็ดข้าวสาร ถังใส่ข้าวสารแบบลิ้นชัก สามารถตวงได้

ราคา 345 บาท*
ขนาด | 19.5 x 39.5 x 37 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 10 กิโลกรัม |
สี | ขาว |
วัสดุ | พลาสติก PP |
ถังใส่ข้าวสาร พลาสติกความจุ 12 กิโลกรัม

ราคา 348 บาท*
ขนาด | 19.5 x 39.5 x 37 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 12 กิโลกรัม |
สี | ขาว |
วัสดุ | พลาสติก PP |
Ecoco ถังเก็บเม็ดข้าวสาร กล่องเก็บข้าวสาร

ราคา 349 บาท*
ขนาด | 26.5 x 29.3 x 23.5 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 10 กิโลกรัม |
สี | ขาว |
วัสดุ | พลาสติก PP, ABS และ PS |
ถังเก็บข้าวสารสไตล์ญี่ปุ่น มีล้อเลื่อน

ราคา 449 บาท*
ขนาด | 28 x 46 x 24.5 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 15 กิโลกรัม |
สี | ขาว |
วัสดุ | พลาสติก |
ถังใส่ข้าวสาร พร้อมที่ตวง สไตล์ญี่ปุ่น

ราคา 730 บาท*
ขนาด | 15 x 34 x 35 เซนติเมตร / 18 x 41.5 x 41 เซนติเมตร |
---|---|
ความจุ | 6 กิโลกรัม / 12 กิโลกรัม |
สี | ขาว |
วัสดุ | พลาสติก PP |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ รีวิว ถังใส่ข้าวสาร คุณภาพดี เก็บข้าวให้สดใหม่อยู่เสมอ ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี 2022 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
วิธีการทำความสะอาดถังข้าวสาร
- ขั้นตอนที่ 1 : ให้คุณเช็กข้าวในถังข้าวสารให้เรียบร้อยก่อนว่ามันยังมีข้าวที่หลงเหลืออยู่ด้านในหรือไม่ หากยังคงหลงเหลืออยู่ก็ให้นำออกมาจนหมด เพื่อที่จะเตรียมการทำความสะอาด
- ขั้นตอนที่ 2 : ถอดส่วนประกอบของถังข้าวสาร ไม่ว่าจะเป็น ตัวลิ้นชัก หรือ ส่วนต่าง ๆ ที่สามารถแยกออกเป็นชิ้นได้
- ขั้นตอนที่ 3 : หากถังข้าวสารเป็นระบบ Manual หรือระบบมือ ให้คุณนำเอาส่วนประกอบที่เป็นพลาสติกไปล้างกับน้ำและน้ำยาล้างจานได้ทันที แต่หากถังข้าวสารเป็นออโต้หรือมีระบบที่มีไฟฟ้าเกี่ยวข้อง ผมแนะนำให้คุณอ่านคู่มือว่าทางผู้ผลิตมีคำแนะนำสำหรับการทำความสะอาดอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้ถังของเราได้รับความเสียหาย
- ขั้นตอนที่ 4 : หลังจากล้างเสร็จแล้วเรียบร้อย ให้คุณนำผ้าสะอาดมาเช็ดให้ทั่วถัง จนมั่นใจแล้วว่าไม่เหลือหยดน้ำด้านในถัง
- ขั้นตอนที่ 5 : เพื่อความมั่นใจ ผมแนะนำให้นำถังไปตากไว้บริเวณที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อไล่ความชื้นภายในถัง เพราะถ้าหากมันแห้งไม่สนิทจริง ๆ มันจะทำให้เมื่อใส่ข้าวลงไปแล้ว ข้าวจะได้รับความชื้น จนอาจทำให้รสชาติเปลี่ยนและมีกลิ่นครับ
- ขั้นตอนที่ 6 : เมื่อตากไว้เสร็จเรียบร้อยแล้ว คุณสามารถนำไปใส่ข้าวสารได้ทันที แต่ถ้ายังไม่ได้ใช้งาน ให้คุณนำไปเก็บภายในตู้ให้เรียบร้อย