เครดิตบูโร หรือ ข้อมูลเครดิต คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร
ข้อมูลเครดิตเป็นข้อมูลที่แสดงให้เห็นเกี่ยวกับประวัติการชำระหนี้เครดิต ซึ่งสถาบันทางการเงินจะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมของบุคคลนั้น ๆ ได้ว่ามีวินัยในการบริหารเงินมากน้อยเพียงใด รวมถึงเป็นการแสดงให้เห็นถึงความน่าเชื่อถือของบุคคลนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดีว่าพวกเขามีความพฤติกรรมชำระหนี้ได้ดีหรือไม่
ซึ่งเวลาที่คุณต้องการทำสินเชื่อใด ๆ ทางธนาคารจะใช้ข้อมูลเครดิตตรงนี้เป็นตัวประกอบในการพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ ในการอนุมัติสินเชื่อ ดังนั้นหากคุณมีประวัติในการชำระหนี้ที่ดี ก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้คุณได้รับสินเชื่อที่เหมาะสมนั่นเองค่ะ หรื่อหากทางธนาคารดูแล้ว เห็นว่าคุณมีประวัติที่ผ่อนชำระหนี้ที่ดี กฌจะมีโอกาสลดดอกเบี้ยให้แก่ผู้กู้ได้
โดยข้อมูลเครดิตจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่ปลอดภัยโดยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ National Credit Bureau (เครดิตบูโร) จะประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วน
- ข้อมูลที่บ่งชี้ถึงตัวตนลูกค้า
- ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อ
นั่นหมายความว่าไม่เพียงแต่เก็บประวัติชำระหนี้ของคุณเท่านั้น แต่ยังรวมถึงประวัติส่วนอื่น ๆ ที่บ่งชี้ถึงตัวตนของคุณ และยังมีประวัติเกี่ยวกับทางการเงินอย่างสินเชื่อที่คุณขอ, สินเชื่อที่คุณได้รับอนุมัติ, ประวัติการชำระสินเชื่อ, ประวัติการใช้บัตรเครดิตของคุณ และรวมถึงข้อมูลสถานะทางบัญชี*
สถานะทางบัญชี * คือ ข้อมูลเกี่ยวกับสถานะของสินเชื่อ อย่างเช่น สินเชื่อปกติ, สินเชื่อที่ปิดบัญชี, สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน และ สินเชื่อที่อยู่ในกระบวนการทางกฎหมาย เป็นต้น
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเก็บไปจนกว่าสินเชื่อนั้น ๆ จะได้รับการชำระเสร็จสิ้น หากคุณค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน ทางสถาบันทางการเงินจะส่งข้อมูลตรงส่วนนี้ไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ ต่อเนื่องเป็นเวลา 5 ปี นับตั้งแต่ที่คุณค้างชำระ และทางบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะเก็บข้อมูลของคุณในฐานข้อมูลต่อไปอีกไม่เกิน 3 ปี นับจากวันที่ได้รับข้อมูลจากทางสถาบันทางการเงิน
หมายเหตุ : ในกรณีที่ผิดนัดชำระหนี้ ข้อมูลนี้จะอยู่ในระบบข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิต แต่จะไม่มีการรายงานว่าลูกหนี้คนไหนติด Blacklist (บัญชีดำ)
ตัวเลขสถานะในเครดิตบูโร หรือ ข้อมูลครดิต บอกอะไร ได้บ้าง
สถานะบัญชี (ตัวเลข) | ความหมาย |
เลข 10 | สถานะ บัญชีปกติ (ชำระสินเชื่อตามปกติ) |
เลข 11 | สถานะ ปิดบัญชี (ไม่มีหนี้ค้างแล้ว) |
เลข 12 | สถานะพักชำระหนี้ (ตามนโยบายของรัฐ) |
เลข 20 | สถานะมีหนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน |
เลข 30 | อยู่ในกระบวนการทางกฏหมาย |
เลข 31 | อยู่ในระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม |
เลข 32 | ศาลพิพากษายกฟ้อง เพราะคดีขาดอายุความ |
เลข 33 | สถานะปิดบัญชี (กรณีตัดหนี้เป็นสูญ) |
เลข 40 | อยู่ระหว่างชำระสินเชื่อ เพื่อปิดบัญชี |
เลข 41 | เจ้าของบัญชี ขอตรวจสอบรายการ |
เลข 42 | โอนหรือขายหนี้ |
เลข 43 | ปิดบัญชีขณะโอนหรือขายหนี้ |
ประวัติข้อมูลเครดิตไม่ดี ทำอย่างไร
หากข้อมูลเครดิตของคุณเคยมีการค้างชำระหรือผิดนัดการชำระหนี้ ให้คุณทำตามคำแนะนำต่อไปนี้
- ติดต่อไปยังธนาคารหรือสถาบันทางการเงินที่คุณค้างชำระหนี้ และจัดการชำระหนี้ให้เรียบร้อย หรือหากคุณมีจำนวนหนี้ที่สูง ให้คุณทำการเจรจาต่อรอง เพื่อขอลดหนี้จากเจ้าหน้าที่ หรืออาจจะขอข้อเสนอให้เจ้าหน้าที่ปรับโครงสร้างหนี้ก็ได้ค่ะ
- สร้างประวัติสินเชื่อใหม่ให้มีประวัติที่ดี โดยการชำระหนี้ตามเวลาที่กำหนด
ทำไมถึงขอสินเชื่อไม่ผ่าน
- ประวัติการชำระหนีของคุณ ที่ผ่านมาไม่ค่อยดีนัก
- คุณมีความเสี่ยงหรือโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้สูง
- ความสามารถในการชำระหนี้ของคุณ อาจจะไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาทิเช่นรายได้นน้อย หรือมีสินเชื่ออื่นที่ต้องชำระอยู่แล้ว
- หลักประกันความเสี่ยงของคุณยังไม่พอให้อนุมัติสินเชื่อ ไม่ว่าจะเป็น หลักทรัพย์สำหรับค้ำประกัน หรือ ผู้ค้ำประกัน
- เงื่อนไขและนโยบายของแต่ละธนาคารที่ต่างกัน
เหตุผลที่ควรตรวจเครดิตบูโร
- เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมและตรวจสอบถึงความเป็นไปได้ หากคุณต้องการจะขอสินเชื่อ กู้ซื้อบ้าน กู้ซื้อรถ
- เพื่อเป็นการตรวจสอบว่าเรามีหนี้ ที่ไม่ใช่ของเราหรือไม่
- เพื่อตรวจสอบประวัติการชำระของเรา ว่ามีการค้างชำระหรือไม่ หากมีการค้างชำระก็ให้ชำระหนี้ในส่วนนั้น หรือหากข้อมูลผิดพลาดให้รีบทำเรื่องแก้ไข (ใช้เวลาแก้ไขภายใน 30 วัน)
- เพื่อตรวจสอบว่าหากคุณชำระหนี้หมดแล้ว สถานะบัญชีของคุณควรจะเป็น สถานะปิดบัญชี หรือ มียอดหนี้เป็นศูนย์
- เพื่อตรวจเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของคุณ ว่าถูกต้องหรือไม่
หากพบว่าข้อมูล เครดิตบูโรไม่ถูกต้อง ต้องทำอย่างไร
ทำเรื่องยื่น “คำขอใช้สิทธิตรวจสอบ / แก้ไขข้อมูลเครดิต” พร้อมกับแนบเอกสารที่เป็นหลักฐาน และส่งมาที่ บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ National Credit Bureau (เครดิตบูโร) เพื่อแจ้งไปยังสถานบันทางการเงินที่เป็นสมาชิกตรวจสอบข้อเท็จจริง
ตรวจเช็ค เครดิตบูโร ได้ที่ไหนบ้าง
1. กรุงเทพฯ และปริมณฑล
ใช้บัตรประชาชนของตนเอง , แบบรอรับได้เลย ภายใน 15 นาที , ค่าบริการ 100 บาท
- วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00 – 16.30 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์
- ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่) อาคาร 2 ชั้น 2
- เครดิตบูโรคาเฟ่ อาคารเพิร์ล แบงก์ค็อก ชั้น 3 (โซนธนาคาร) หรือ BTS สถานีอารีย์ ทางออก 1
- วันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.00-18.00 น. หยุดวันนักขัตฤกษ์
- ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS ศาลาแดง ภายในสถานี
- วันจันทร์-อาทิตย์ เวลา 9.00 – 18.00 น. เปิดทุกวันไม่มีวันหยุด
- ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ภายในสถานี
- ศูนย์ตรวจเครดิตบูโร ห้างเจ-เวนิว (นวนคร) ชั้น 3 ติดประกันสังคม
- วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-18.00 น.
- CITI เดอะมอลล์ บางกะปิ
- UOB ห้างเซ็นทรัลพลาซา เวสต์เกต บางใหญ่
2. ต่างจังหวัด
ใช้บัตรประชาชนของตนเอง, ค่าบริการ 150 บาท, ใช้เวลาภายใน 7 วัน ทำการ โดยไปรษณีย์
- เคาน์เตอร์ธนาคาร (ทุกสาขา) กรุงศรี, กรุงไทย, ธนชาต, ธอส., แลนด์แอนด์เฮ้าส์
- ใช้บัตร ATM กรุงไทย, ไทยพาณิชย์ : ทำรายการผ่านหน้าจอ กดเลือกที่ เมนู ตรวจเครดิตบูโร
- ใช้บริการธนาคารออนไลน์ธนาคารของกรุงศรี และ กรุงไทย
- ขอตรวจเครดิตบูโร ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทย 291 สาขา ทั่วประเทศ (ตรวจสอบสาขา) หรือ สอบถามเพิ่มเติมโทร.1545
- ใช้แอปพลิเคชัน ของธนาคาร กรุงไทย (Krungthai Next), ธนชาต (Thanachart Connect) และ ทีเอ็มบี (TMB TOUCH)
แอปพลิเคชัน | โหลดแอป ระบบ IOS | โหลดแอป ระบบ Android |
![]() |
Krungthai NEXT | Krungthai NEXT |
![]() |
Thanachart Connect | Thanachart Connect |
![]() |
TMB Touch | TMB Touch |
ขอบคุณข้อมูลจาก บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ National Credit Bureau (เครดิตบูโร)