การขอคืนภาษีคืออะไร?
การขอคืนภาษีเป็นสิทธิที่ผู้เสียภาษีทุกคนสามารถขอเงินคืนได้ แต่จะต้องอยู่ในกรณีที่ภาษีที่ถูกหักไว้ “มากกว่า” ภาษีที่ต้องจ่าย ดังนั้นในกรณีที่บริษัทของคุณไม่ได้หักภาษีไว้ คุณก็จะไม่ได้คืนค่ะ
เราสามารถขอคืนภาษีย้อนหลังได้กี่ปี ?
จากมาตราที่ 27 คุณสามารถยื่นคำร้องขอคืนเงินภาษีได้ภายใน 3 ปีค่ะ โดยจะนับจากวันสุดท้ายที่กำหนดเวลายื่นภาษีตามกฎหมาย ซึ่งเราจะต้องดูปีที่เราจะยื่นภาษี ว่าเป็นวันที่เท่าไหร่ที่กฎหมายกำหนดให้ยื่นแบบ จากนั้นให้นับย้อนหลังไปอีก 3 ปีถ้ายังไม่เกิน 3 ปีที่ว่ามา เราก็ยังสามารถขอคืนภาษีได้ค่ะ
ตัวอย่าง
ทั้งนี้หลาย ๆ คนอาจจะไม่เข้าใจในจุดนี้ เราขออนุญาตยกตัวอย่างง่าย ๆ หากคุณต้องการขอคืนภาษีย้อนหลังซึ่งตอนนี้คุณอยู่ในช่วงเวลาของปี 2566 แสดงว่าภาษีที่คุณกำลังจะจ่ายตอนนี้เป็นของปี 2565 ถูกต้องใช่ไหมคะ ดังนั้นการขอคืนเงินภาษีย้อนหลัง 3 ปี จึงสามารถทำได้ตั้งแต่ปี 2562 ขึ้นไปค่ะ

หมายเหตุ เจ้าหน้าที่กรมสรรพากรสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้สูงสุด 10 ปีในกรณีที่เราไม่ยื่นภาษี แต่หากเรายื่นภาษีเจ้าหน้าที่จะมีอำนาจตรวจสอบย้อนหลังได้สูงสุด 5 ปี
ขอคืนภาษีเสร็จแล้ว รับเงินช่องทางไหน ?
1. กลุ่มที่ – ผูกพร้อมเพย์ด้วยเลขบัตรประชาชน
ทางกรมสรรพากรจะโอนเงินเข้าบัชญีพร้อมเพย์ที่คุณผูกเลขประจำตัวประชาตัว 13 หลักของเราให้อัตโนมัติค่ะ
2. กลุ่มที่ – ไม่ได้/ไม่เคย ลงทะเบียนพร้อมเพย์
ในกรณีที่ไม่ลงทะเบียนพร้อมเพย์ด้วยเลขประจำตัวประชาชน คุณสามารถขอรับเงินได้จากธนาคารกรุงไทยหรือธนาคาร ธ.ก.ส. ค่ะ แต่ในวิธีนี้คุณจะต้องได้รับหนังสือแจ้งคืนเงินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ค.21) เพื่อรับเงินคืนภาษีที่สาขาธนาคารค่ะ
3. กลุ่มที่ – ไม่สามารถลงทะเบียนได้
ในกลุ่มนี้จะเป็นกรณีของต่างชาติ, ต่างด้าว, ห้างหุ้นส่วนจํากัด, คณะบุคคล, วิสาหกิจชุมชน หรือกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง ซึ่งจะต้องได้รับ ค.21 พร้อมกับ เช็คคืนภาษีจากทางกรมสรรพากร

ตัวอย่าง การคำนวณภาษีคืนเงิน
ภาษีคืนเงิน = 9,372฿ – 5,830.56฿
ภาษีคืนเงิน = 3,541.44฿
ดังนั้นผู้เสียภาษีจะสามารถขอคืนเงินได้ 3,541.44฿
แต่ทั้งนี้หลาย ๆ คนก็คงสังสัยว่าตัวเลขภาษีที่ถูกบริษัทหักไว้และภาษีที่เราต้องจ่ายมาจากไหนกันใช่ไหมคะ ?
สำหรับภาษีที่ถูกบริษัทหักไว้จะสามารถดูได้จาก ทวิ 50 ที่ทางบริษัทออกให้เท่านั้นค่ะ
ส่วนภาษีที่เราต้องจ่ายในแต่ละคนก็จะมีวิธีคำนวณที่ต่างกันไป โดยเราได้ทำตัวอย่างการคำนวณไว้ในข้อหัวถัดไปแล้วค่ะ
ตัวอย่างการคำนวณ ภาษีที่เราต้องจ่าย
รายได้ต่อปี
รายได้ต่อปี = ได้เงินเดือนละ x 12 เดือน
รายได้ต่อปี = 50,000 ฿ x 12
รายได้ต่อปี = 600,000 ฿
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย = รายได้ต่อปี – ค่าใช้จ่ายที่รัฐกำหนดไว้ (สูงสุดไม่เกิน 100,000 ฿)
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 600,000 – 100,000 ฿
รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย = 500,000 ฿
เงินได้สุทธิ
เงินได้สุทธิ = รายได้หลังหักค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อนต่าง ๆ
เงินได้สุทธิ = 500,000 – 233,388.8 ฿
เงินได้สุทธิ = 266,611.2 ฿
มาถึงขั้นตอนนี้หลาย ๆ คนอาจสังสัยว่าตัวเลขค่าลดหย่อน 233,388.8 นั้นมาจากไหนใช่ไหมคะ ?
จริง ๆ แล้วค่าลดหย่อนของแต่ละคนจะไม่เหมือนกันค่ะ ซึ่งเราได้ทำการคำนวณตัวอย่างแบบคร่าว ๆ ไว้ให้คุณได้ศึกษาด้วยนะคะ
แต่อย่างไรก็ตาม อย่าลืมเข้าไปตรวจสอบสิทธิของคุณว่าตรงตามที่ทางกรมสรรพากรกำหนดไว้หรือไม่? เพราะการที่เราใส่ตัวเลขแบบโกหกขึ้นมา บอกเลยค่ะว่าทางสรรพากรสามารถเช็กได้ย้อนหลังได้
วิธีคำนวณค่าลดหย่อนรวมทั้งหมด
หัวข้อ | จำนวนเงิน | หมายเหตุ |
ค่าลดหย่อนของตัวเอง | 60,000 ฿ | ทางรัฐกำหนดค่าลดหย่อนไว้ที่ 60,000 ฿ |
ค่าลดหย่อนของพ่อ | 30,000 ฿ | ต้องมีอายุ 60ปีขึ้นไป / รายได้ไม่เกิน 30,000฿ ต่อปี / ลูกจะต้องมี ล.ย.03 หรือ หนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา |
ค่าลดหย่อนของแม่ | 30,000 ฿ | |
ค่าลดหย่อนของลูก 1 คน | 30,000 ฿ | หากมีคนที่ 2 ก็บวกเพิ่มไปอีก +30,000 ฿ |
ประกันสังคมของปี 2565 | 6,300 ฿ | ลงตามที่จ่ายจริง – มาตรา 33 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 6,300 ฿ – มาตรา 39 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 3,585 ฿ – มาตรา 40 ทางเลือกที่ 1 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 532 ฿ – มาตรา 40 ทางเลือกที่ 2 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 760 ฿ – มาตรา 40 ทางเลือกที่ 3 ได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2,280 ฿ |
ประกันสุขภาพ | 9,577.08 ฿ | ลดหย่อนได้ไม่เกิน 25,000 ฿ |
ประกันชีวิต | 5,617.85 ฿ | ลดหย่อนได้ไม่เกิน 10,000 ฿ |
ดอกเบี้ยกู้บ้าน | 61,893.87 ฿ | ลดหย่อนได้ไม่เกิน 100,000 ฿ |
รวมค่าลดหย่อนทั้งหมด | 233,388.8 ฿ |
ภาษีที่ต้องชำระ
เมื่อได้ “เงินได้สุทธิ” แล้วให้ไปเทียบในตารางเพื่อคำนวณ “ภาษีที่ต้องชำระ” กันต่อค่ะ
คิดภาษีแบบอัตราก้าวหน้า | เงินได้ที่ใช้คิดภาษี | อัตราภาษี | ค่าภาษี |
0 – 150,000 | 150,000฿ | ยกเว้น | 0 |
เกิน 150,000 – 300,000 | 266,611.2 – 150,000 = 116,611.2฿ | 5% | 116611.2 x 5% = 5,830.56฿ |
เกิน 300,000 – 500,000 | 10% | ||
เกิน 500,000 – 750,000 | 15% | ||
เกิน 750,000 – 1,000,000 | 20% | ||
เกิน 1,000,000 – 2,000,000 | 25% | ||
เกิน 2,000,000 – 5,000,000 | 30% | ||
เกิน 5,000,000 | 35% |
ทำไมได้รับเงินภาษีคืนช้า ?
หากใครที่ยื่นภาษีรายได้บุคคลธรรมดาผ่านไปแล้ว 7 วัน แต่ยังไม่ได้รับเงินภาษีคืนเสียที อย่ากังวลใจไปค่ะ เพราะปีนี้ทางสรรพากรมีการตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดมากกว่าปีก่อน ๆ เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมามีการทุจริตในส่วนนี้กันเยอะมาก ทำให้ปี 2023 ทางสรรพากรจึงต้องใช้ระยะเวลานานกว่าปกติหน่อยค่ะ (ปกติใช้เวลา 3 วัน)
เราจำเป็นต้องยื่นภาษีหรือไม่ ? มีรายได้เท่าไรต้องยื่นภาษี ?
ต้องบอกก่อนว่าการยื่นภาษีนั้นไม่ได้หมายความคุณจะต้องจ่ายเงินเสมอไป เพียงแต่หากเรามีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดก็ต้องแจกแจงรายละเอียดให้ทางเจ้าหน้าที่สรรพากรเข้ามาตรวจสอบต่อไปค่ะ
คนโสด | คนมีคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ | ||
เงินเดือนประจำ | รายได้ช่องทางอื่น | เงินเดือนประจำ | รายได้ช่องทางอื่น |
120,000 ฿ (รวมทั้งปี) |
60,000 ฿ (รวมทั้งปี) |
220,000 ฿ (รวมทั้งปี) |
120,000 ฿ (รวมทั้งปี) |
ขอบคุณข้อมูลจาก กรมสรรพากร (www.rd.go.th)