นึกถึงตอนสมัยเรียน ก็จะมีเรื่องสนุก ๆ มากมายให้เรียนรู้ ยิ่งช่วงอาหารกลางวัน ที่เด็ก ๆ ทุกระดับชั้นจะมานั่งรับประทานอาหารด้วยกัน ยืนต่อคิวรับถาดอาหาร ก็แล้วแต่ว่าเมนูอาหารกลางวันที่โรงเรียนในวันนั้น ๆ จะมีอะไรให้เรารับประทาน แน่นอนล่ะค่ะว่าอาจจะมีเมนูที่ถูกปากและไม่ถูกปากบ้าง แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ยังสู้อาหารฝีมือแม่ไม่ได้หรอกจริงมั้ยคะ? แค่ข้าวสวยโปะไข่ดาว เหยาะซอสหน่อย ๆ หรือ ข้าวไข่เจียวนุ่ม ๆ ฟู ๆ ที่เป็นเมนูแสนง๊าย แสนง่าย ถ้าได้รู้ว่านี่คือฝีมืออาหารของแม่ จากมื้อธรรมดา ๆ ก็กลายเป็นมื้อพิเศษได้เช่นกัน
ลูก ๆ ของคุณแม่เองก็เช่นกันค่ะ ถ้าอยากจะกินอะไรเป็นพิเศษ ก็จะมาออดอ้อนออเซาะ ขอร้องให้แม่ช่วยทำอาหารให้ แม่ก็จัดอาหารใส่เป็นกล่องข้าวให้ไปรับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนอยู่บ่อยครั้ง แต่จะต้องบอกก่อนนะคะว่า ถึงแม้ว่าครอบครัวของแม่จะอาศัยอยู่ในต่างประเทศ แต่ทางโรงเรียนก็จะอนุญาตให้ผู้ปกครองสามารถแพคอาหารกลางวันไปรับประทานที่โรงเรียนได้ แต่ผู้ปกครองเองก็ต้องใส่ใจอาหารบางอย่างอาจจะส่งผลกระทบกับเด็กคนอื่น ๆ ที่แพ้อาหารชนิดนั้นด้วยนะคะ ซึ่งจากประสบการณ์ของคุณแม่แล้ว แม่แทบจะนับครั้งได้เลยค่ะว่า ลูก ๆ ได้รับประทานอาหารกลางวันที่โรงเรียนกี่ครั้งต่อเทอม เพราะส่วนใหญ่แล้ว เด็ก ๆ บ้านนี้จะนำกล่องอาหารกลางวันที่แม่แพคไปทานที่โรงเรียน รวมถึงอาหารว่างช่วงบ่ายด้วยเช่นกัน
จึงปฏิเสธไม่ได้เลยว่า การทำอาหารกลางวันแพคไปให้เด็ก ๆ ที่โรงเรียนนั้นถือเป็นเรื่องท้าทายมาก ๆ สำหรับแม่เลยล่ะค่ะ เพราะอาหารที่แม่ตื่นมาทำให้ตอนเช้าตรู่ แต่เด็ก ๆ กลับได้รับประทานอาหารในกล่องนั้นจนจวบจะเที่ยงวัน ซึ่งอาหารที่ทำตั้งแต่เช้า หรือจะสู้อาหารที่ทำเสร็จใหม่ ๆ จริงไหมคะ? ดังนั้นในบางครั้งก็ได้จะมีเสียงลือเสียงบ่นของลูกบ้าง ว่าแกงจืดแม่ในกล่องข้าวมันเย็นชืดอย่างกะเอาออกมาจากตู้เย็น หรือข้าวสวยก็ไม่ได้อุ่นน่ารับประทาน และนี่ล่ะค่ะถึงเป็นเหตุผลว่าการเก็บความร้อนหรือความเย็นของอาหารบางชนิดถึงเป็นสิ่งสำคัญมาก
สำหรับแม่ ๆ คนไหนที่อยากจะแพคอาหารกลางวันไปให้เด็ก ๆ จนแม่ได้ไปเจอเจ้ากล่องอาหารที่สามารถเก็บความร้อน ความเย็น และถนอมอาหารให้อยู่ได้นานขึ้น ซึ่งแม่มีเคล็ดลับดี ๆ ในการเลือกกล่องอาหารกลางวันให้ลูกน้อยมาฝากกันค่ะ
เคล็ดลับการทำให้ลูกน้อยรับประทานอาหารกลางวัน
1. รูปแบบกล่องอาหารกลางวัน
ลูกของคุณอาจมีปัญหากับกล่องอาหารกลางวัน พวกเขาอาจชอบถุงหรือกล่องอาหารกลางวันในสีที่พวกเขาโปรดปราน ลายการ์ตูนที่พวกเขากำลังหลงใหลอยู่ หรือบางครั้งก็แอบไปสะดุดตากล่องอาหารกลางวันจากเด็กคนอื่นๆ รูปแบบของกล่องอาหารอาจเป็นการช่วยดึงดูดตา ดึงดูดใจ ให้พวกเขาได้มีความเพลิดเพลินในการรับประทานอาหารได้ดียิ่งขึ้น และวิธีนี้ก็ใช้ได้ผลกับเด็ก ๆ บ้านนี้มาก ๆ เลยล่ะค่ะ
2. ความเบื่อหน่าย
คุณพ่อคุณแม่อาจต้องพยายามแพคอาหารกลางวันที่แตกต่างกันทุกวัน สำหรับเด็กเล็กวัยอนุบาลการหั่นแซนด์วิชด้วยวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มความสนใจ เช่น สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หรือ ดวงดาว ก็ช่วยให้อาหารในกล่องข้างดูน่ารับประทานมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ
3. อาหารที่แห้งเกินไป
หากพวกเขาบอกว่าแซนวิชเนยถั่วอาจจะแห้งเกินไป รับประทานแล้วติดคอหนูจังเลยจ๊ะแม่จ๋า ให้คุณแม่ลองหั่นแซนวิชให้ชิ้นเล็กลง หรือการใส่แยมผลไม้ทาลงต่อจากชั้นเนยถั่วก็จะช่วยให้การกลืนง่ายขึ้น สำหรับเทคนิคแม่นั้น แม่จะพยายามเลือกผลไม้ที่มีน้ำเช่น แตงโม ส้ม เป็นต้น แพคไปกับกล่องอาหารกลางวันประเภทเนยถั่ว เนยแอลมอนด์ หรือสเปรดทาขนมปังรสชาติต่าง ๆ เพื่อความฉ่ำของน้ำจากผลไม้จะช่วยให้พวกเขากลืนง่ายขึ้นค่ะ
4. อาหารเหนียวเกินไป
เคยมีครั้งหนึ่งที่แม่อยากให้ลูกได้รับประทานสเต็กเนื้ออร่อย ๆ แต่ลูกก็แอบบ่นว่าเนื้อสเต็กชิ้นนี้เหนียวไปนะแม่ คุณพ่อคุณแม่จึงอาจะตรวจสอบให้แน่ใจว่าอาหารกลางวันประเภทไหนสามารถรับประทานและเคี้ยวง่าย
5. ทานอาหารมื้ออื่น ๆ
ทดแทนอย่างมีคุณค่า หากลูกของคุณแทบไม่กินอะไรจากกล่องอาหารกลางวันทั้งๆ ที่คุณพยายามอย่างเต็มที่แล้ว พยายามอย่างน้อยให้มั่นใจว่าพวกเขาได้รับประทานอาหารเช้าและอาหารเย็นที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เชื่อว่าลูกของคุณจะรับประทานเองอย่างแน่นอนเมื่อหิวค่ะ
สิ่งที่ต้องคำนึงในการเลือกกล่องอาหารกลางวัน
- ปลอดภัยจากสาร BPA เพราะกล่องอาหารกลางวันควรเก็บอาหารไว้ภายในกล่องอย่างปลอดภัย
- กล่องอาหารกลางวันที่ดี จะต้องปิดได้สนิทและเก็บอาหารให้สดใหม่ได้ในระยะเวลานาน
- ทำความสะอาดง่าย ซึ่งนั่นก็รวมไปถึงการจัดเก็บที่ง่ายหลังล้างทำความสะอาดแล้ว โดยส่วนตัวแม่ชอบกล่องอาหารกลางวันที่มีฝาเปิดปิดชิ้นเดียว เพราะง่ายต่อการทำความสะอาดและจัดเก็บค่ะ
- ขนาดของกล่องอาหารกลางวันต้องไม่ใหญ่จนเกินไป เพราะอย่าลืมว่าคุณจะต้องใส่กล่องอาหารกลางวันลงไปในกระเป๋านักเรียนของพวกเขา หรือหากจะใช้กระเป๋าที่หุ้มฉนวนเพื่อใส่กล่องอาหารกลางวันแทนกระเป๋านักเรียนอย่างที่แม่ทำ ก็ให้ความสะดวกและเก็บอุณหภูมิของอาหารได้มากขึ้นด้วยค่ะ
- กล่องอาหารกลางวันควรมีการแยกสัดส่วนเพื่อวางอาหารต่าง ๆ ในปริมาณอาหารที่เพียงพอต่อลูกค่ะ
- สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งจะถูกอกถูกใจครอบครรัวที่อยากจะรักษาสิ่งแวดล้อม อีกทั้งยังประหยัดเงินในกระเป๋าของคุณ แทนการซื้อถุงหรือภาชนะโฟมที่ต้องใช้แล้วทิ้งอีกด้วย
- บางบ้านที่มีเครื่องล้างจาน อาจจะต้องคำนึงถึงกล่องอาหารที่ปลอดภัยสำหรับจะนำใส่ในเครื่องล้างจานเพื่อทำความสะอาด เพราะวันไหนแม่อาจจะมีงานบ้านยุ่งทั้งวัน การทำความสะอาดกล่องข้าวในเครื่องล้างจาน ก็ช่วยทุ่นแรงแม่ไปได้เยอะเลยค่ะ
- จัดเก็บง่าย ไม่เทอะทะเกินไปเมื่อไม่ใช้งาน
Moshi Moshi กล่องอาหาร Lock Sure ลาย Mickey Mouse

ราคา 39 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | 200 มล. |
สี | น้ำเงิน |
วัสดุ | พลาสติก |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 1 ช่อง |
Double Lock กล่องอาหารใหญ่ รุ่น 4606

ราคา 69 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | ไม่ระบุ |
สี | ขาว |
วัสดุ | พลาสติก |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 3 ช่อง |
HomeHuk กล่องอาหาร 5 ช่อง พร้อมกล่องใส่ซุปและช้อน

ราคา 88 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | 1,000 มล. |
สี | ฟ้า / ชมพู |
วัสดุ | พลาสติกเกรดอาหาร |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 5 ช่อง |
กล่องข้าวน่ารัก อุ่นไมโครเวฟได้

ราคา 99 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | 1,000 มล. |
สี | ฟ้า / ชมพู |
วัสดุ | โพลีโพรพิลีน |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 2 ช่อง |
SANRIO กล่องข้าว Hello Kitty Summer A รุ่น 2103043KTA

ราคา 179 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | ไม่ระบุ |
สี | แดง |
วัสดุ | พลาสติก |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 2 ช่อง |
Super Lock กล่องอาหาร 5 ช่อง ลายมูมิน สีเทา รุ่น 6165

ราคา 222 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | ไม่ระบุ |
สี | ขาวลายมูมิน |
วัสดุ | พลาสติก PP ไม่มี BPA |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 5 ช่อง |
กล่องข้าวสเตนเลส 4 ช่อง พร้อมถ้วยน้ำซุปและช้อนส้อม

ราคา 258 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น + ถ้วยน้ำซุป |
---|---|
ความจุ | 1,500 มล. |
สี | เขียว / ฟ้า / ชมพู |
วัสดุ | สเตนเลส |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 4 ช่อง |
SKIP HOP กล่องข้าวลายผึ้งน้อย รุ่น SH210252479000

ราคา 345 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | 700 มล. |
สี | สีเหลือง |
วัสดุ | พลาสติกเกรดอาหาร |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 2 ช่อง |
SANRIO กล่องข้าว CANDY LUNCH BOX CAND

ราคา 353 บาท*
จำนวน | 1 ชิ้น |
---|---|
ความจุ | 300 มล. |
สี | แดงลาย Hello Kitty |
วัสดุ | พลาสติก ABS |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 2 ช่อง |
LocknLock ชุดกล่องอาหารกลางวัน รุ่น HPL752CI

ราคา 365 บาท*
จำนวน | กล่องอาหาร 2 ชิ้น + กระเป๋า |
---|---|
ความจุ | ไม่ระบุ |
สี | เบจ |
วัสดุ | พอลิโพรพีลีน |
จำนวนช่องใส่อาหาร | 1 ช่อง และ 3 ช่อง |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ รีวิว กล่องอาหารกลางวัน สำหรับเด็ก ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี 2022 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
คุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการแพคอาหารกลางวันที่แสนอร่อยจากฝีมือของคุณให้กับลูกนั้น จะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของกล่องอาหารกลางวันด้วยนะคะ เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารเหล่านั้นจะปลอดภัยจริง ๆ เมื่อถึงเวลาอาหารกลางวัน อาหารอะไรก็ตามที่คุณจำเป็นต้องเก็บไว้ให้เย็น เช่น กล่องน้ำผลไม้ โยเกิร์ต ชีสแท่ง เป็นต้น ก็ควรมีแพคน้ำแข็งใส่ไปด้วย เพื่อรักษาความเย็นให้กับอาหารเหล่านั้น หรืออาหารร้อน เช่น ซุป แกงจืด ก็ต้องพิจารณากล่องอาหารที่สามารถเก็บรักษาความร้อนได้ ไม่แตกหัก และทำจากวัสดุที่ปลอดภัยเมื่อต้องใช้กับอาหารร้อน
แต่การเก็บรักษาอาหารในอุณหภูมิที่เหมาะสมไม่ใช่หลักการสำคัญเพียงอย่างเดียวเกี่ยวกับความปลอดภัยของกล่องอาหารที่ต้องปฏิบัติตาม แต่คุณพ่อคุณแม่ยังต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่ากล่องอาหารกลางวันจะไม่มีอันตรายจากอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนประกอบของตัวกล่องที่จะทำให้เกิดการสำลัก หรือติดคออีกด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ใส่ใจในเรื่องนี้แล้ว แน่นอนว่าลูกน้อยจะได้รับประทานอาหารได้อย่างเอร็ดอร่อยและปลอดภัยหายห่วงเลยล่ะค่ะ
วิธีดูแลอาหารกลางวันสำหรับเด็กให้ปลอดภัย
นั่นก็เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารกลางวันที่ลูกน้อยนำไปรับประทานทุกวันที่โรงเรียนจะมีความปลอดภัยอย่างสูงสุด คุณพ่อคุณแม่สามารถปฏิบัติตามข้อควรระวังต่อไปนี้ค่ะ
1. การรักษาอุณหภูมิสำหรับอาหารบางชนิด
การใช้กล่องอาหารกลางวันหรือกระเป๋าหุ้มฉนวนที่รักษาอุณหภูมิได้ การใช้กล่องอาหารกลางวันแบบหุ้มฉนวนหรือมีถึงและแพคเจลแช่แข็ง อาจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดวิธีหนึ่งเลยล่ะค่ะ เนื่องจากสามารถเก็บอาหารให้เย็นและร้อนได้อย่างปลอดภัยจนกระทั่งถึงเวลาอาหารกลางวัน หากวันไหนที่คุณพ่อคุณแม่อยากจะเพิ่มโยเกิร์ต นม หรือ ชีสแท่ง ไปในอาหารกลางวันของลูก การใช้กล่องอาหารที่มีฉนวนหุ้ม ก็จะช่วยให้กักเก็บความเย็นเพื่อรักษาอุณหภูมิของอาหารเหล่านี้ได้ยาวนานขึ้นค่ะ
2. อาหารที่ทำง่าย ไม่ต้องรักษาอุณหภูมิ
หากอาหารกลางวันที่สามารถรับประทานได้ดีในอุณหภูมิที่เย็นหน่อย เช่น แซนวิชแฮม สลัดพาสต้า สลัดผัก หรือ อาหารปรุงสำเร็จอื่น ๆ ให้คุณพ่อคุณแม่ลองทำอาหารเหล่านี้คืนก่อนหน้านั้น เพื่อให้อาหารเหล่านั้นเย็นเพียงพอก่อนที่คุณจะจัดเรียงและใส่ลงไปในกล่องอาหารกลางวันของลูก อีกทั้งวิธีนี้ยังช่วยประหยัดเวลาได้มากสำหรับช่วงเช้าที่แสนจะวุ่นวายด้วยค่ะ
3. อาหารที่ต้องอุ่นต้องใช้ภาชนะที่เก็บความร้อนได้
อาหารที่ต้องอุ่นอยู่เสมอ เช่น แกงจืด ซุป ข้าวสวย เป็นต้น มีความสำคัญมากในเรื่องของการเก็บอาหารร้อนเหล่านี้ไว้ในอุณหภูมิที่ปลอดภัย เพื่อให้อาหารร้อนอยู่เสมอ การใช้กระติกน้ำร้อนหรือภาชนะใส่อาหารที่มีฉนวนหุ้ม และรักษาความร้อนได้ ก็ช่วยถนอนมอาหารเหล่านี้ให้อุ่นจนถึงเวลาอาหารกลางวันได้ค่ะ
4. การใช้เจลเก็บความเย็นถนอมอาหาร
การใช้แพคเย็นแช่แข็ง อาจจะดูเหมือนยากนะคะที่จะเก็บรักษาอาหารเย็น ให้เย็นตลอดเวลา แต่ตัวช่วยที่แม่ใช้ก็คือ แพคเย็นแช่แข็งเลยค่ะ เพราะตามคำแนะนำของกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา หรือ USDA นั้นแนะนำให้ใช้แพคเย็นแช่แข็ง หรือถุงประคบเย็นอย่างน้อยสองชุด เพื่อให้แน่ใจว่าอาหารอยู่ในระดับความเย็นที่ปลอดภัยเพียงพอในกล่องอาหารกลางวัน เพราะอาหารบางอย่างอาจจะเน่าเสียได้ง่าย
การใช้แพคเย็นแช่แข็งนี้ จะช่วยให้ถนอมอาหารไม่ให้บูดเน่าก่อนถึงเวลารับประทาน ซึ่งตัวแพ็คเย็นแช่แข็ง เป็นสิ่งที่แม่ขาดไม่ได้เลยที่จะต้องใส่ลงไปในกล่องอาหารว่างของเด็ก ๆ เช่น ผัก ผลไม้ ขนมปังเนยถั่ว ซี่งจำเป็นต้องเก็บไว้ในที่เย็น การใช้แพ็คเย็นแช่แข็งนี้ก็ช่วยทำให้เก็บกักความเย็นไว้ข้าง ๆ อาหารเหล่านี้ให้เย็นนานที่สุดค่ะ
บางวันที่แม่อยากจะให้รางวัลเด็ก ๆ เป็นน้ำผลไม้สักกล่องที่พวกเขาชื่นชอบ แต่หากจะเป็นการประหยัดเวลาและพื้นที่ใช้สอยในกล่องอาหาร แม่ก็จะนำน้ำผลไม้กล่องไปแช่แข็ง แล้วนำออกมาใช้แทนแพคเย็นแช่แข็ง ซึ่งเมื่อถึงเวลาอาหารกลางวัน น้ำผลไม้กล่องก็ละลายพอดี แต่ก็ยังเย็นเจี๊ยบชื่นใจอยู่ค่ะ
5. หากลูกทานอาหารไม่หมด
อาจจะมีบ้างบางวัน ที่เด็ก ๆ อาจจะรับประทานอาหารกล่องในช่วงกลางวัน หรือ กล่องอาหารว่าง ไม่หมด หากลูกนำอาหารที่เหลือกลับมาบ้าน คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเสียดายเลยนะคะ ทิ้งของเหลือในกล่องอาหารกลางวันไปให้หมด เพื่อความปลอดภัยของตัวลูกเอง เพราะอาหารอุ่น ๆ ที่พอเย็นตัวลงจนถึงอุณหภูมิที่ไม่ปลอดภัย อาจส่งผลเสียต่อร่างกายลูกได้
จริง ๆ แล้ว เด็กในวัยเรียนมักกินอาหารเพียงเล็กน้อยเท่านั้นค่ะ ด้วยความรักความห่วงใยของแม่ ที่กลัวลูกจะรับประทานอาหารกลางวันไม่อิ่ม แม่เลยแพคข้าวกล่องลูกซะแน่นเอี๊ยด แต่สุดท้ายลูกก็รับประทานไม่หมด และหลายครั้งที่ก็ต้องทิ้งลงถังขยะอย่างน่าเสียดาย การแพคอาหารกลางวันให้ลูกเพียงสัดส่วนน้อย ๆ แต่หลากหลาย ก็จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องทิ้งอาหารจำนวนมากหลังเลิกเรียนค่ะ
6. เลือกกล่องอาหารแบบแบ่งสัดส่วน
การเลือกกล่องอาหารกลางวันที่แบ่งสัดส่วนชัดเจน ก็ช่วยให้อาหารไม่ปะปนกัน จนอิรุงตุงนังไปหมด ก็ดีมาก ๆ เลยล่ะค่ะ อีกทั้งยังช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สามารถแบ่งสรรได้ว่าลูกควรรับประทานอาหารหมู่ไหนมาก อาหารหมู่ไหนน้อย แบ่งให้ชัดเจนเพื่อคุณค่าทางโภชนการค่ะ
7. การใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง
อย่าใช้บรรจุภัณฑ์แบบใช้แล้วทิ้ง กลับมาใช้ซ้ำนะคะ เช่น ถุงซิปลอค เพราะอาจเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียและอาจทำให้เกิดการเจ็บป่วยได้ หากคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการใช้กล่องอาหารกลางวันที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลองเลือกใช้ภาชนะหรือบรรจุภัณฑ์อาหารกลางวันที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ แต่ยังคงความปลอดภัยอยู่ ซึ่งสามารถล้างทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ ซึ่งแม่แนะนำมาก ๆ เลยล่ะค่ะ สำหรับถุงซิปลอคที่สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ เพราะประหยัดทั้งเงิน แถมช่วยลดขยะอีกด้วยค่ะ
แต่ต้องบอกไว้ก่อนนะคะ เผื่อคุณพ่อคุณแม่จะรู้สึกน้อยอกน้อยใจว่าบางวัน ทำไมลูกถึงแทบไม่แตะอาหารกลางวันที่คุณทำไปให้เลย เพราะแม่เจอกับสถานการณ์เหล่านี้อยู่บ่อยครั้ง จนต้องกลับมานั่งทบทวนว่าเราทำอะไรพลาดไปหรือเปล่าน้า หรือจะมีวิธีใดบ้างที่จะช่วยให้อาหารกลางวันของเราถูกอกถูกใจลูก และเราก็ไม่หงุดหงิด น้อยอกน้อยใจลูกที่ไม่ยอมรับประทานอาหารที่เราบรรจงคัดสรรใส่ไปให้ในกล่องข้าวน้อย ๆ วันนี้แม่เลยมีเคล็ดลับ แต่ไม่ลับมาบอกกันจ๊ะ