Burnt Out ภาวะหมดไฟในการทำงาน อาการเป็นอย่างไร? และมีวิธีการป้องกันอย่างไร?

ความเครียดเกิดขึ้นได้สำหรับทุกคนในทุกสายงาน เพราะเราต้องเจอกับแรงกดดันและความคาดหวังในประสิทธิภาพของงานอยู่ตลอดเวลา แต่สิ่งที่น่ากลัวกว่าความเครียดคือภาวะ Burnout หรือในภาษาไทยที่เรียกว่า ‘ภาวะหมดไฟในการทำงาน’ ซึ่งในอดีตอาจไม่ค่อยมีคนเข้าใจคำนี้กันสักเท่าไหร่ เนื่องจากคนไทยยังไม่เข้าใจปัญหาสุขภาพจิตมากนัก แต่ในทุกวันนี้เราเริ่มมีความรู้เกี่ยวกับและให้ความสำคัญกับสุขภาพจิตมากขึ้นกว่าเดิม

โดยภาวะ Burnout เปรียบเทียบได้กับถังแก๊ซที่ไม่มีแก๊ซ รู้สึกไม่มีแรง แรงจูงใจในการทำงานลดลง ในบางรายก็อาจจะรู้สึกอ่อนไหว มีความรู้สึกโดดเดี่ยวแม้ว่าจะอยู่ท่ามกลางเพื่อนร่วมงานที่สามารถพูดคุยได้อยู่ตลอดเวลา แต่การ Burnout สามารถทำให้รู้สึกแบบนั้นได้ นอกจากนี้ยังอาจมีปัจจัยที่อาจทำให้เกิดภาวะนี้ด้วย ไม่ว่าจะเป็น เศรษฐกิจ, การเมือง หรือสิ่งที่ต้องเผชิญในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เครียด การทำงาน ผู้ชาย ทำงานออฟฟิต หมดไฟในการทำงาน ปวดหัว
ภาวะหมดไฟในการทำงาน ทำให้รู้สึกเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าสังคม ไม่อยากพบเจอใคร

ทั้งนี้ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีการเก็บสถิติผู้ที่อยู่ในภาวะหมดไฟในการทำงานอีกด้วย พบว่าผู้ใหญ่วัยทำงานกว่า 70% หรือประมาณ 3 ใน 5 เกิดความเครียดในระหว่างการทำงาน ซึ่งตรงนี้เป็นการพิสูจน์ได้ว่าคนในสังคมในยุคปัจจุบันมีโอกาสที่จะเกิดภาวะ Burntout ได้ แต่อย่างไรก็ดีภาวะเหล่านี้สามารถแก้ไขและปรับให้ดีขึ้นได้หากมีการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหรือจิตแพทย์เพื่อรักษาให้ตรงจุด แต่เพื่อให้ทุกคนได้เข้าใจภาวะหมดไฟในการทำงานมากขึ้น วันนี้เราเลยอยากที่จะแนะนำแชร์อาการและจุดที่น่าสงสัยว่าคุณกำลังเจอกับภาวะ Burntout อยู่ เพื่อให้ทุกคนได้รู้ทันอาการ และเข้าไปรับคำปรึกษาจากคุณหมอหรือนักจิตวิทยาต่อไป

สินค้าลดราคาในช้อปปี้ & ลาซาด้า - ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้สินค้าลดราคาในช้อปปี้ & ลาซาด้า - ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้สินค้าลดราคาในช้อปปี้ & ลาซาด้า - ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้

อาการของภาวะหมดไฟในการทำงาน มีอะไรบ้าง ? (1)

  • รู้สึกไม่อยากเข้าสังคมหรือพูดคุยกับเพื่อนร่วมงาน
  • ประสิทธิภาพของงานลดลงหรือแย่กว่าปกติ
  • รู้สึกอยากออกจากงานเร็ว ๆ หรือเข้างานสายทั้งที่ก่อนหน้านี้เข้าเป็นปกติตลอด
  • รู้สึกไม่เห็นคุณค่าของตัวเอง
  • ความสนใจหรือแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ลดลง
  • รู้สึกไม่ค่อยมีสมาธิ

ปวดหัว เวียนหัว รู้สึกเครียด เหนื่อยล้า

หากไม่ได้อยู่ในออฟฟิศหรือสถานที่ทำงานอาจเกิดอาการ ดังนี้

  • ปวดหัว
  • หงุดหงิดง่าย
  • ความอยากอาหารหรือนิสัยการรับประทานเปลี่ยนไป
  • เกิดความผิดปกติของทางเดินอาหาร
  • มีอาการหลับยากขึ้นกว่าเดิม
  • เกิดความเหนื่อยล้าทางร่างกายและจิตใจ
  • ไม่สามารถจัดการกับปัญหาเล็ก ๆ ได้

วิธีการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะหมดไฟในการทำงาน

ภาวะ Burnout สามารถป้องกันไม่ให้เกิดได้ครับ โดยคุณสามารถเปิดใจกับคนที่คุณไว้ใจ ไม่ว่าจะเป็น ครอบครัวหรือเพื่อนร่วมงาน เพราะการพูดคุยเกี่ยวกับภาวะหมดไฟในการทำงานจะช่วยทำให้คุณไม่รู้สึกโดดเดี่ยวหรือจมอยู่กับความรู้สึกเหล่านี้เพียงแค่ตามลำพัง อีกทั้งบางครั้งการได้กำลังใจจากเพื่อนหรือครอบครัวก็อาจจุดไฟให้กลับมาติดอีกครั้งก็ได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีอื่นอีกมากมาย อย่างเช่น

กางเกงเลกกิ้ง ออกกำลังกาย ยิม กางเกง ผู้หญิง
เข้าฟิตเนสออกกำลังกาย สามารถทำให้เรา relax ความเครียด จากการทำงานได้
  • การเข้าฟิตเนสออกกำลังกาย
  • การเล่นโยคะก็ช่วยทำให้เรามีสมาธิมากยิ่งขึ้น
  • ทำกิจกรรมที่ตัวเองชอบเพื่อลดความเครียด
  • พยายามโฟกัสไลฟ์สไตล์และการกินให้บาลานซ์ เช่น ดื่มน้ำให้เพียงพอ, พยายามเคลื่อนไหวร่างกาย และนอนหลับให้เพียงพอ
  • จัดตารางชีวิตประจำวันให้สนุกยิ่งขึ้นและไม่น่าเบื่อ
  • ปรึกษานักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์

ควรขอความช่วยเหลือหรือปรึกษาภาวะ Burnout เมื่อไหร่ ?

ปรึกษาจิตแพทย์ พบแพทย์ ปรึกษา แพทย์ หาหมอ ให้คำแนะนำ
ปรึกษาจิตแพทย์ หรือ นักจิตวิทยา เพราะทั้งสองสายนี้จะสามารถช่วยวินิจฉัยโรค และให้คำแนะนำ รักษาได้อย่างถูกต้อง

หากรู้สึกเริ่มเหนื่อยกับทุกสิ่งทุกอย่างที่ทำหรือรู้สึกว่าภาวะหมดไฟในการทำงานเริ่มส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทั้งในเรื่องของการทำงานหรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ถ้าใครก็แล้วแต่เริ่มรู้สึกว่าปัญหาเหล่านี้เริ่มหนักขึ้นทุกวัน ผมอยากแนะนำให้คุณเริ่มปรึกษากับทางนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ที่สามารถช่วยวินิจฉัยโรค ให้คำแนะนำ และรักษาอย่างถูกต้อง

หากใครรู้สึกกลัวในการเข้าไปพบกับนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ ก็ไม่ต้องเป็นกังวลไปนะครับเพราะการเข้าพบคุณหมอไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร สุขภาพจิตเป็นสิ่งที่สำคัญมากอย่าละเลยเด็ดขาด สุดท้ายเราขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนนะครับ


References :

  1. Burnout: A Review of Theory and Measurement
Lolipop

Lolipop

Create article about music and news with heart

Next Post

บทความอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง