สิ่งหนึ่งที่คุณหลีกเลี่ยงไม่ได้นั่นก็คือ “ริ้วรอยบนใบหน้า” ที่มักจะเกิดขึ้นเมื่อคุณมีอายุที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรอยตีนกา รอยร่องน้ำหมากหรือที่เรียกว่าเส้ยรอยยิ้ม รอยระหว่างคิ้วที่เผลอจากการขมวดคิ้วโดยไม่รู้ตัว ริ้วรอยพวกนี้จะบ่งบอกถึงความชราของคุณ บางคนมีอายุยังไม่มากแต่ด้วยความที่ชอบขยับสีหน้าหรือชอบแสดงออกทางสีหน้าบ่อย ๆ ก็มักจะเกิดริ้วรอยก่อนวัยอันควรได้เช่นกัน
สำหรับหลาย ๆ คนที่ต้องทำงานพบเจอลูกค้า หรืองานที่ต้องใช้บุคลิกภาพและความมั่นใจเป็นสิ่งสำคัญ และบางครั้งการใช้เพียงแค่เครื่องสำอางสำหรับการปกปิดริ้วรอยก็อาจจะไม่ได้ช่วยมากเท่าที่ควร ดังนั้นการใส่ใจกับเรื่องความสวยความงามจึงเป็นเรื่องที่มองข้ามไปไม่ได้ เพราะหากคุณมีความั่นใจมันจะส่งผลให้คุณทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการที่จะลดเลือนริ้วรอยที่ไวที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น “Botox หรือ โบท็อกซ์” นั่นเองค่ะ โบท็อกซ์เป็นหนึ่งในตัวช่วยที่จะทำให้คุณเห็นผลลัพธ์ได้อย่างทันทีโดยไม่ต้องรอนานเหมือนการทาครีมอีกต่อไป
โบท็อกซ์ คืออะไร
โบท็อกซ์ คือการฉีดผ่อนคลายกล้ามเนื้อบนใบหน้า เพื่อให้ริ้วรอย รอยเหี่ยวย่น เช่นตีนกาและเส้นขมวดคิ้วลดลงในเวลาชั่วคราว มันไม่ใช่การแก้ปัญหาถาวร โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน Botox หรือ โบท็อกซ์ มีชื่อเต็มว่า “Botulinum Toxin (โบทูลินั่ม ทอกซิน)” ผลิตจากแบคทีเรียที่ชื่อ Clostridium Botulinum C ซึ่งเจ้าตัวโบทูลินั่มชนิดนี้สามารถพบได้ในพืช, ดิน, น้ำ และในลำไส้สัตว์ มันมีหน้าที่เข้าไปปิดกั้นการปล่อย “Acetylcholine (อะซีทิลคอลีน)” ซึ่งเป็นระบบประสาทตัวสำคัญในการทำให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเคลื่อนไหว เมื่อเราฉีดโบท็อกซ์ ไปยังส่วนใบหน้าตรงไหนอะซีทิลคอลีนก็จะถูกทำลายส่งผลให้กล้ามเนื้อตรงนั้น เป็นอัมพาตเป็นเวลานานหลายเดือน
ดังนั้นโบท็อกซ์จึงเป็นสารพิษที่มีผลต่อระบบประสาท แต่อย่ากลัวเลยไปนะคะ! เพราะหากเราใช้เพื่อลดเลือนริ้วรอย มันใช้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ และอันที่จริงแล้วแม้ว่าเราจะเรียกว่าโบท็อกซ์ว่าสารพิษแต่มันก็เป็นยาที่ยังใช้รักษาโรคบางอย่างได้ในวงการแพทย์ แต่เมื่อค้นพบว่ามีเอฟเฟกต์เกี่ยวกับทำให้กล้ามเนื้อเป็นอัมพาตได้นั้น จึงทำให้เกิดวิธีใช้โบท๊อกซ์สำหรับลดการเกิดรอยย่นหรือริ้วลอยที่เกิดขึ้นตามธรรมชาตินั่นเองค่ะ
โบท็อกซ์ปลอดภัยหรือไม่?
มันอาจจะฟังดูแปลก ๆ นะคะ เพราะจากที่อ่านมาในหัวข้อข้างต้น เรากำลังพูดถึงการฉีดยาที่มีคุณสมบัติเป็นสารพิษ แต่กลับนำมามันมาฉีดที่ใบหน้า? อย่างที่บอกไปแล้วว่านักวิจัยเห็นว่า Botox ค่อนข้างปลอดภัย เมื่อในปริมาณที่เล็กน้อยและอยู่ในการดูแลของแพทย์เฉพาะทาง
ก่อนฉีดโบท็อกซ์ควรทำอะไรบ้าง
1. วิธีการเลือกคลินิกที่เหมาะสม
โบท็อกซ์ในปัจจุบันเป็นขั้นตอนการศัลยกรรมด้านความงามที่นิยมมากที่สุด และแทบจะมีทุกคลินิกเสริมความงาม นั่นหมายความว่ามีคลินิกจำนวนมากให้คุณเลือก ซึ่งคุณจะต้องเลือกคลินิกที่ดูมีมาตรฐานและมีความน่าเชื่อถือ โดยคุณสามารถตรวจสอบสื่อสังคมออนไลน์ตามเพจต่าง ๆ และเว็บไซต์ของแพทย์สภา เพื่อดูว่าผลงานของพวกเขาว่าตรงกับที่อวดอ้างไว้มากน้อยเพียงใด เมื่อคุณเลือกคลินิกที่คิดว่าใช่ได้แล้ว ให้คุณนัดเวลาเพื่อเข้าไปปรึกษากับแพทย์ก่อนว่ารับการฉีดจริง ๆ ขั้นตอนนี้ส่วนมากจะเป็นแบบไม่เสียค่าใช้จ่ายค่ะ เพื่อที่คุณจะได้ประเมิณความสามารถและความน่าเชื่อถือของแพทย์และตัวตัวยาด้วยตัวเอง การเข้าไปพูดคุยกับแพทย์โดยตรงนั้นจะเป็นการได้ปรึกษาถึงเรื่องงบประมาณ, การปรึกษาว่าควรฉีดตรงไหนบ้าง, คุณจะเกิดอาการแพ้หรือไม่, การเลือกยี่ห้อของโบท็อกซ์ที่เหมาะสมกับคุณ และระยะเวลาที่เห็นผลจริงจากการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งคุณจะได้ข้อมูลตรงนี้อย่างครบถ้วน จากนั้นคุณอาจจะไปค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมก่อน เพื่อลดความกังวลและเพิ่มความมั่นใจก่อนฉีดก็ได้ค่ะ
สรุปขั้นตอนการเลือกคลินิก
-
- หาความรู้เกี่ยวกับโบท็อกซ์ขั้นพื้นฐาน เพื่อที่เวลาไปปรึกษากับแพทย์คุณจะได้เข้าใจง่ายขึ้น
- พิจารณาข้อมูลต่าง ๆ จากคลินิกที่เลือก โดยตรวจสอบความคิดเห็นของลูกค้าคนอื่นทางออนไลน์ และเข้าไปตรวจสอบรายชื่อแพทย์จากฐานข้อมูลแพทย์สภา เพื่อความมั่นใจ
- พบแพทย์ตัวต่อตัวเพื่อขอคำปรึกษา และประเมิณดูว่าคุณพอใจกับแพทย์และคลินิกที่เลือกหรือไม่

2. วางแผนการฉีดโบท็อกซ์กับแพทย์ที่คุณเลือก
เมื่อคุณเลือกแพทย์หรือคลินิกได้แล้วขั้นตอนต่อมาก็คือการวางแผนตกลงก่อนที่จะฉีดโบท็อกซ์ เพราะใบหน้าของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน การจะฉีดสารใด ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนให้ต่างจากเดิมจึงต้องมีการวางแผนก่อนเสมอ ซึ่งหมายความว่าการฉีดโบท็อกซ์ของคุณอาจจะต้องกำหนดจุดฉีดหรือเลือกชนิดของโบท็อกซ์ที่แตกต่างจากคนอื่นนั่นเองค่ะ เพราะบางคนก็อาจต้องการฉีดโบท็อกซ์ทุก 6 เดือน เพื่อการรักษาที่ต่อเนื่อง หรือบางคนก็อาจจะอยากฉีดโบท็อกซ์ทุก 8-12 เดือน เพื่อรับการรักษาที่แตกต่างกันไป ก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของคุณและการวินิจฉัยของแพทย์ควบคู่ไปด้วย
เมื่อคุณมีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว แพทย์จะเริ่มวิเคราะห์อายุของคุณ และมองลึกลงไปถึงรอยย่นบนใบหน้าของคุณ โดยแพทย์จะดูจากการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อแบบไดนามิกทั้งหมด เพื่อหาตำแหน่งและประเภทของ Botox ที่เหมาะสมที่สุดในการกำจัดร้ิวรอยต่าง ๆ และเพื่อต้องการทราบว่าจะฉีดมากน้อยเพียงใด เพราะบางครั้งคุณอาจจะไม่ต้องฉีดหมดทั้งขวด หรือหากคุณมีริ้วรอยมากเกินไปก็อาจจะต้องอัดมากกว่า 1 ขวด

ยกตัวอย่างเช่นการประเมินริ้วรอยจากเส้นตรงหน้าผาก แพทย์ก็จะให้คุณเลิกคิ้วขึ้นเพื่อดูว่าร่องลึกมากน้อยเพียงใด จำเป็นต้องฉีดหรือไม่ หรือการดูริ้วรอยตีนกา แพทย์ก็จะบอกให้คุณยิ้มหรือหลับตาเป็นต้นค่ะ สำหรับคนที่ต้องการลดกรามเพื่อให้หน้าดูเรียวขึ้น อพยท์ก็จะให้คุณกัดฟันเพื่อดูความแตกต่างกับตอนไม่กัดฟันค่ะ
สรุปขั้นตอนการวางแผนการฉีดโบท็อกซ์
-
- กำหนดเป้าหมายของคุณคืออะไร และสามารถแก้ไขได้ด้วย Botox หรือไม่
- แพทย์ทำการประเมินจุดบกพร่อง พิจารณาอายุของคุณ และอภิปรายการรักษาเสริมหากจำเป็น หารือเกี่ยวกับปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์ หรือเอฟเฟกต์
- พิจารณางบประมาณของคุณก่อนรับการฉีด
3. อายุที่เหมาะสมในการฉีดโบท็อกซ์
ในช่วงอายุ 30 ปี การหมุนเวียนของเซลล์ผิวและการผลิตคอลลาเจนของเราเริ่มชะลอตัวลง ซึ่งเป็นเวลาที่พวกเราหลายคนเริ่มเห็นสัญญาณของริ้วรอย แต่สำหรับบางคนก็อาจจะฉีดโบท็อกซ์ก่อนอายุขึ้นเลข 3 ค่ะ เพราะอย่างที่บอกว่า ริ้วรอยที่เกิดขึ้นมีหลายปัจจัยที่ไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลข บางคนอาจจะทานอาหารเสริมคอลลาเจนและดูแลผิวหน้าตัวเองด้วยครีมบำรุงผิวหน้าหรือเซรั่มให้ความชุ่มชื่น ซึ่งเป็นการเตรียมตัวมาก่อนเนิ่น ๆ ตั้งแต่อายุ 25 ปี ดังนั้นพวกเขาเหล่าอาจจะไม่มีความเป็นในการฉีดโบท็อกซ์เพื่อกำจัดริ้วรอย การประเมินตัวเองก่อนและเข้ามาปรึกษาแทพย์จึงเป็นทางเลือกที่ช่วยให้คุณรู้ได้ว่า คุณควรได้รับการฉีดโบท็อกซ์แล้วหรือไม่
หลังการฉีดโบท็อกซ์
คุณจะไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงในทันทีที่ฉีดนะคะ แต่จะใช้เวลาประมาณ 2 หรือ 3 วันในการเริ่มทำงานของโบท็อกซ์ และ 2 ถึง 3 สัปดาห์ เพื่อเห็นผลแบบเต็มรูปแบบ
ละเว้นจากการรักษาด้วยเลเซอร์ / IPL ดูแลผิวหน้าและการนวดหน้าเป็นเวลา 1-2 สัปดาห์หลังจากการฉีด นอกจากนี้หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนักอาบแดด รวมถึงการใช้ตู้อบซาวน่า และควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ให้ความร้อนเกินไปหลังการฉีดโบท็อกซ์ เพราะจะทำให้ตัวโบท็อกซ์ละลายและเสื่อมประสิทธิภาพเร็วขึ้นได้
อันที่จริงแล้วคลินิกที่คุณเลือกไปใช้บริการจะให้คำแนะนำเพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่คุณควรและไม่ควรทำ หรือคุณสามารถสอบถามได้ตามที่คุณต้องการ
ผลจากการฉีดมักจะมีอายุประมาณ 4-6 เดือน หากคุณต้องการฉีดโบท็อกซ์อีกครั้ง คุณควรเว้นไว้อย่างน้อย 3 เดือน เพราะมันดื้อยาได้หากคุณฉีดบ่อยเกินไป
โบท็อกซ์มีความเสี่ยงอะไรบ้าง?
ความเสี่ยงของการฉีดโบท็อกซ์นั้นมีน้อยมาก หากทำอย่างถูกต้องโดยผู้ปฏิบัติที่มีคุณสมบัติเหมาะสม(แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ) และควรพูดคุยกับแพทย์ของคุณเกี่ยวกับความเสี่ยง สำหรับการรักษาที่เน้นเรื่องริ้วรอยนั้น โบท็อกซ์ก็เปรียบเสมือนม้ายูนิคอร์นที่ไม่มีพิษมีภัยใด ๆ ค่ะ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA) ให้การรับรองโบท็อกซ์สำหรับการใช้เครื่องสำอางในปี 2545 ว่าเป็นสารที่ปลอดภัยในการใช้ครั้งละปริมารน้อย ๆ เพราะโบท็อกซ์เป็นเพียงการหยุดริ้วรอยชั่วคราวไม่ได้สร้างความเสียหายใด ๆ ริ้วรอยเหล่านี้จะเสื่อมสภาพและกลับมาแสดงบนใบหน้าคุณในที่สุด
หลังการรักษาคุณอาจมีอาการดังนี้
- อาการปวดหัวและอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ใน 24 ชั่วโมงแรก
- ช้ำบวมและแดงบริเวณที่มีเข็มติดผิวหนัง
- คุณอาจไม่สามารถขยับกล้ามเนื้อบริเวฯณที่ฉีดได้ หากคุณฉีดโบท็อกซ์มากเกินไป
- อาจเกิดความอ่อนแอและความหย่อนยานชั่วคราวในใบหน้าของคุณ ตัวอย่างเช่นเปลือกตาหรือคิ้วของคุณ อาจจะเคลื่อนไหวผิดปกติ ถ้าโบท็อกซ์เคลื่อนเข้าสู่บริเวณเหล่านี้
- แต่หากคุณมีอาการเหล่านี้ โปรดติดต่อแพทย์ของคุณทันที ตาบวมหรือตาค้าง, อาการปวดหัว, เจ็บคอ, การมองเห็นวิสัยทัศน์ต่าง ๆ เปลี่ยนไป, ตาแห้ง, มีอาการแพ้หรือหายใจลำบาก เป็นต้น
จะรู้ได้อย่างไรว่าโบท็อกซ์เหมาะสมกับคุณ
หากคุณกำลังพิจารณา Botox ด้วยเหตุผลด้านเครื่องสำอางจงซื่อสัตย์กับตัวเองว่าทำไมคุณถึงต้องการ คุณใช้โบท็อกซ์ เพื่อสร้างความมั่นใจให้ตัวเองหรือไม่? เพราะไม่มีผิดหรอกค่ะในการทำบางสิ่งเพื่อตัวคุณเอง หากมันทำให้คุณรู้สึกมั่นใจในตัวเองมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะตัดสินใจอะไรก็ตาม โปรดตัดสินใจเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อตัวคุณเองไม่ใช่เพื่อใคร
โปรดจำไว้ว่าการแก่ชราเป็นสิ่งธรรมชาติและสวยงาม ริ้วรอยเหล่านั้นถือเป็นเรื่องราวที่ทำให้คุณได้นึกถึงความทรงจำต่าง ๆ ทั้งการยิ้ม หัวเราะ หรือการขมวดคิ้ว มันก็เป็นเหมือนแผนที่ในประวัติศาสตร์ของคุณ และนั่นคือสิ่งที่ควรค่าแก่การเป็นเจ้าของ หากคุณไม่ได้รู้สึกอึดอัดกับริ้วรอยบนใบหน้าก็ไม่ต้องทำอะไรกับมันก็ได้ค่ะ 🙂
ขอบคุณที่มาจาก: ncbi.nlm.nih.gov และเว็บไซต์แพทย์สภา