โรคฝีดาษลิง(Monkeypox) มีอาการอย่างไร และวิธีเตรียมพร้อมป้องกัน

โรคฝีดาษลิง (โรคฝีดาษวานร) คืออะไร ?

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) เป็นโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนหรืออาจจะเป็นจากคนสู่คนก็ได้ มีอาการคล้ายกับผู้ป่วยไข้ทรพิษหรือโรคฝีดาษ (Smallpox) แต่จะมีระดับความรุนแรงน้อยกว่า

โรคฝีดาษวานรถูกค้นพบว่ามีการระบาดครั้งแรกในลิงเมื่อปี 1958 อาการโรคนี้จะคล้ายกับโรคฝีดาษของคน ด้วยเหตุนี้เองมันจึงมีชื่อว่า ‘Monkeypox’ ต่อมาในปี 1970 ก็มีการพบโรคฝีดาษวานรในมนุษย์รายแรกที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโกในแอฟริกากลาง จากนั้นเป็นต้นมาก็มีรายงานการระบาดของโรคฝีดาษวานรของคนในแอฟริกากลางและแอฟริกาตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ จนล่าสุดในเดือนพฤษภาคม 2022 พบว่ามีการระบาดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไปแล้วกว่า 12 ประเทศทั่วโลก

เช็กโปรโมชั่น Lazada  ลดราคาสินค้าสิ้นเดือนพฤษภาคมเช็กโปรโมชั่น Lazada  ลดราคาสินค้าสิ้นเดือนพฤษภาคมเช็กโปรโมชั่น Lazada  ลดราคาสินค้าสิ้นเดือนพฤษภาคม

เชื้อไวรัสโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) สามารถแยกได้ออก 2 สายพันธุ์คือ แอฟริกากลาง และแอฟริกาตะวันตก

  1. Central African clade Monkeypox อาการรุนแรงมากกว่า มีโอกาสเสียชีวิต 10%
  2. West African Clade Monkeypox อาการรุนแรงน้อยกว่า มีโอกาสเสียชีวิต 1%

อาการของโรคฝีดาษลิง

โดยปกติแล้วโรคฝีดาษวานรในคนจะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วยโรคฝีดาษ คือ เป็นไข้, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ และรู้สึกอ่อนเพลีย แต่ทั้งนี้ก็ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดระหว่างอาการของโรคฝีดาษและฝีดาษของลิงคือ โรคฝีดาษลิงจะมีอาการต่อมน้ำเหลืองบวม (lymphadenopathy) และมีระยะฟักตัวตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงแสดงอาการอยู่ที่ 7-14 วัน (แต่ทั้งนี้ก็สามารถขยายเวลาออกไปได้ 5-21 วัน ขึ้นอยู่ตัวบุคคล)

อาการของโรคฝีดาษลิง [ข้อมูลล่าสุดในปี 2022]

  • ไข้ / เริ่มมีไข้เฉียบพลัน (มากกว่า 38.5 องศา)
  • ปวดศีรษะ
  • อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
  • ปวดหลัง
  • ต่อมน้ำเหลืองบวม
  • หนาวสั่น
  • อาการอ่อนเปลี้ยเพลียแรง
  • มีผื่นขึ้นตามผิวหนัง โดยมีลักษณะหมือนอีสุกอีใสหรือซิฟิลิส ก่อนที่จะกลายเป็นสะเก็ดและหลุดออกมาในที่สุด

หมายเหตุ : ทั้งนี้ในบางกรณี อย่างเช่น เด็ก สตรีมีครรภ์ หรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องอาจมีอาการที่รุนแรงกว่าคนทั่วไป

monkeypox โรคฝีดาษลิง
ขอบคุณรูปภาพจาก www.gov.uk

ลักษณะผื่นของโรคฝีดาษลิง

ภายใน 1-3 วัน หรืออาจนานกว่านั้นหลังจากผู้ป่วยมีไข้แล้ว ก็จะเริ่มมีผื่นขึ้นตามตัว โดยเริ่มจากที่ใบหน้าก่อนแล้วลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่ฝ่ามือและฝ่าเท้า (ในบางครั้งอาจเกิดที่ปากก่อน ตามด้วยแขน ขา มือและเท้า ตลอดจนลำตัว รวมถึงอวัยวะเพศด้วย )

ผื่นตามตัวจะมีลักษณะเป็นจุดเล็ก ๆ จากนั้นก็มีเลือดคั่ง ขึ้นเป็นตุ่มหนอง และตกสะเก็ดตามลำดับ

[Update] อาการและสาเหตุที่ทำให้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิงในปี 2022

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ได้ติดตามสถานการณ์โรคฝีดาษวานรจากผู้ป่วยหลาย ๆ กรณี แม้ว่าตอนนี้ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจนว่ามีการติดเชื้อด้วยวิธีใดบ้าง แต่อย่างไรก็ตามก็มีข้อมูลจากผู้ป่วยในบางรายได้แจ้งว่าพวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มผู้ชายรักชายที่มีเพศสัมพันธ์ร่วมกัน ซึ่งพวกเขามีอาการผื่นที่บริเวณรอบทวารหนักหรือบริเวณอวัยวะเพศทั้งที่ไม่มีไข้ โดยผื่นเหล่านี้อาจทำให้คุณคิดว่าตัวเองแค่เป็น โรคซิฟิลิส (Syphilis), เริม หรืองูสวัด แต่ในความเป็นจริงเป็นผื่นจากโรคฝีดาษวานร แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่มาสนับสนุนได้มากพอว่าโรคฝีดาษลิงติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่จากข้อมูลของ CDC ก็พอจะทำให้คุณได้ระวังตัวได้มากขึ้น หากคุณได้มีการมีเพศสัมพันธ์ (โดยเฉพาะแบบชาย-ชาย) และมีอาการตามที่เราแจ้งไว้ ให้คุณตั้งข้อสงสัยไว้ก่อนว่าตัวเองมีโอกาสเป็นโรคฝีดาษวานร จากนั้นให้รีบตรวจโรคอย่างละเอียดโดยวิธี PCR ทันทีค่ะ

ความแตกต่างของลักษณะผื่นในโรคต่าง ๆ

 ผื่นจากโรคต่างๆ
ผื่นจากโรคต่างๆ

การแพร่เชื้อโรคฝีดาษลิง

สรุป การแพร่เชื้อโรคฝีดาษลิง ไวรัสสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านสารคัดหลั่ง ได้ทางผิวหนัง, ตา, จมูก หรือปาก

  • แพร่จากสัตว์ที่ติดเชื้อ : โดนกัดหรือข่วน, การกินเนื้อสัตว์ (ติดเชื้อ) ที่ไม่ปรุงให้สุก
  • แพร่จากคนที่ติดเชื้อ  : สัมผัสเลือด, ของเหลวในร่างกาย, แผล (รวมถึงแผลแห้งที่ตกสะเก็ดและการมีเพศสัมพันธ์), สัมผัสเสื้อผ้าของใช้ส่วนตัว และการรับเชื้อจากอาการไอหรือจามของผู้ที่เป็นโรคฝีดาษลิง

การติดต่อของโรคฝีดาษลิง (Monkeypox) จะคล้าย ๆ กับการแพร่กระจายของอีสุกอีใส ที่เกิดจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่งด้วยการสัมผัสใกล้ชิดกับแผล, ของเหลวในร่างกาย, ละอองทางเดินหายใจจากการไอหรือจามของบุคคลที่เป็นโรคฝีดาษ จริง ๆ แล้วไวรัส Monkeypox นั้นสามารถแพร่จะเชื้อได้เมื่อคุณสัมผัสกับไวรัสจากสัตว์ที่ติดเชื้อ, ผู้ติดเชื้อ, หรือวัสดุที่ปนเปื้อนไวรัส รวมถึงสามารถส่งต่อจากแม่ไปสู่ทารกในครรภ์ได้ด้วยนะคะ

แต่อย่างไรก็ตามโรคฝีดาษลิง ณ เวลานี้จะเน้นการแพร่ระบาดจากคนสู่คนเป็นหลักมากกว่า ดังนั้นการมีเพศสัมพันธ์, การจูบ, การกอด หรือการสัมผัสส่วนต่าง ๆ ตามร่างกายของผู้ป่วยก็จะมีโอกาสเสี่ยงสูงมากที่คุณจะได้รับเชื้อไวรัสโดยไม่รู้ตัว

หมายเหตุ : ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าโรคฝีดาษลิงสามารถแพร่กระจายผ่านทางน้ำอสุจิหรือของเหลวในช่องคลอดได้หรือไม่ แต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้คุณโปรดระมัดระวังในส่วนนี้ด้วยนะคะ

การป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโรคฝีดาษลิง

มีหลายมาตรการที่คุณสามารถทำได้ เพื่อป้องกันตัวเองการติดเชื้อไวรัส Monkeypox หรือโรคฝีดาษวานร อาทิเช่น

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสัตว์ที่อาจติดเชื้อไวรัส รวมถึงสัตว์ที่ไม่สบายและสัตว์ที่ตายแล้ว
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังหรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วยที่อาจเป็นโรคฝีดาษลิง
  • พยายามล้างมือให้สะอาดหลังจากสัมผัสกับสัตว์หรือผู้ป่วยที่อาจติดเชื้อโรคฝีดาษลิง ด้วยสบู่และน้ำสะอาด หรือใช้เจลทำความสะอาดมือที่มีแอลกอฮอล์ก็ได้เช่นกัน
  • รับประทานแต่เนื้อสัตว์ที่ปรุงสุกแล้วเท่านั้น

การรักษาและวิธีป้องกันเมื่อเป็นโรคฝีดาษลิงแล้ว

จริง ๆ แล้วผู้ป่วยโรคนี้จะมีวิธีการรักษาคล้ายกับโรคอีสุกอีใส นั่นหมายความว่า อาการป่วยจะไม่รุนแรงและผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่จะฟื้นตัวได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ โดยที่ไม่ต้องเข้ารับการรักษา

แต่ในกรณีที่อาการของคุณรุนแรงหรือคุณมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยหนัก เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ คุณอาจต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนกว่าจะหายดี ในกรณีที่อาการไม่หนัก สิ่งสำคัญคือคุณต้องแยกตัวเองออกจากผู้คน จนกว่าสะเก็ดจะหลุดออก งดการมีเพศสัมพันธ์ทั้งทางตรงทางอ้อม (ใช้ถุงยางอนามัยเป็นเวลา 8 สัปดาห์หลังการติดเชื้อเพื่อเป็นการป้องกันไว้ก่อน) นอกจากนี้ผู้ติดเชื้อควรสวมหน้ากาก ทำความสะอาดวัตถุ และพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ ด้วยนะคะ

วัคซีนโรคฝีดาษลิง

ปัจจุบันมีวัคซีนที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในการป้องกันโรคฝีดาษคือวัคซีน ACAM200 และ JYNNEOS TM ที่รู้จักในชื่อ Imvamune หรือ Imvanex สามารถใช้เพื่อควบคุมการระบาดของโรคฝีดาษได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงถึง 85%

ทำไมคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้น ไปในไทย ถึงมีความเสี่ยงเป็นโรคฝีดาษลิงน้อยกว่า ?

นั่นเป็นเพราะสมัยก่อนมีการระบาดของโรคฝีดาษ ทำให้คนกลุ่มนี้ได้รับวัคซีนป้องกันแต่ตั้ง พ.ศ. 2523 ซึ่งในเวลาต่อโรคฝีดาษก็ถูกกวาดล้างจนไม่สามารถแพร่เชื้อได้อีก ทำให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษแล้ว แต่ทั้งนี้เมื่อโรคฝีดาษลิงกลับมาระบาดอีกครั้ง และอย่างที่เราบอกไปแล้วมันมีอาการคล้ายกับโรคฝีดาษมาก ๆ ทำให้สามารถใช้วัคซีนป้องกันร่วมกันได้ แน่นอนว่าคนที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พวกเขาได้รับวัคซีนป้องกันโรคฝีดาษเรียบร้อยแล้วจึงมีความเสี่ยงต่ำกว่าคนรุ่นใหม่นั่นเองค่ะ


References

  1. Monkeypox – Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
  2. Treatment – Centers for Disease Control and Prevention (CDC)
  3. Monkeypox – GOV.UK
  4. Monkeypox – United Kingdom National Health Service (NHS)
  5. Multi-country monkeypox outbreak in non-endemic countries – World Health Organization (WHO)
  6. โรคฝีดาษลิง (MONKEYPOX) – กรมควบคุมโรคติดต่อ 
Mine Melody

Mine Melody

สวัสดีค่ะทุกคนนน ผู้เขียนขออนุญาตใช้นามแฝงว่า Mine Melody นะคะ แม้ว่าชื่อนี้จะไม่ใช่ชื่อจริง ๆ แต่ก็ยินดีที่ได้รู้จักคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน 😘

ส่วนตัวแล้วผู้เขียนสนใจด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ และจะพยายามอธิบายให้เป็นภาษาที่เข้าใจง่าย 😎 อีกทั้งยังสนใจเรื่องต่าง ๆ ที่อยู่ในเทรนด์อย่าง สกินแคร์, เครื่องสำอาง, แฟชั่น ตลอดจนข่าวบันเทิง แน่นอนว่าเนื้อหาในทุก ๆ บทความที่เขียนไป ขอให้เพื่อน ๆ มั่นใจได้เลยว่ามีแหล่งอ้างอิงจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้จ้า!!

หากเพื่อน ๆ มีข้อสงสัย หรืออยากแชร์ไอเดียใด ๆ ร่วมกับผู้เขียน สามารถติดต่อผ่าน E-mail เว็บไซต์ของเราได้เลยค่ะ 😇

Next Post