ไวรัส RSV มีอาการอย่างไร ภัยร้ายของเด็ก 0-5 ขวบ

สภาพแวดล้อมและอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาลมีผลต่อสุขภาพของเราโดยตรง เนื่องจากร่างกายไม่สามารถปรับตัวไปได้ตามสภาพอากาศ ดังนั้นจึงอาจส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายแย่ลง ซึ่งตรงนี้ละครับที่เปิดโอกาสให้เชื้อโรคและไวรัสเข้ามาเล่นงานกับร่างกายของเราได้ ทั้งนี้ถ้าหากเป็นอาการป่วยหรืออาการแพ้ทั่วไป การรับประทานยาลดไข้และบรรเทาปวด ก็เพียงพอที่จะบรรเทาอาการป่วยแล้ว

แต่อาการป่วยในบางโรคอย่างเช่น ‘โรค RSV’ อาจไม่ใช่โรคไข้หวัดทั่ว ๆ ไปสำหรับทุกคน เพราะถึงแม้ว่าอาการของมันจะใกล้เคียงกับโรคไข้หวัดทั่วไป แต่ในกลุ่มของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบและกลุ่มผู้สูงอายุอาจร้ายแรงจนถึงขั้นกลายเป็นโรคปอดรุนแรง จนทำให้เสียชีวิตได้เลยทีเดียว อีกทั้งโรค RSV ยังพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กอายุน้อย ดังนั้นเพื่อทำความเข้าใจโรคและวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดกับลูกหลานของตัวเอง วันนี้จึงอยากจะมาแชร์ข้อมูลความรู้ให้ทุกคนได้อ่านกันครับ




โรค RSV คืออะไร ? (1)

RSV หรือโรคที่มีชื่อเต็มว่า ‘Respiratory syncytial (sin-SISH-uhl) virus’ เป็นโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โดยอาการของมันจะมีความใกล้เคียงกับโรคหวัด ฉะนั้นอาการจึงไม่ค่อยรุนแรงหรือน่าเป็นห่วงสักเท่าไหร่นักในกลุ่มวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ที่มีร่างกายแข็งแรง

แต่ในทางกลับกันโรค RSV อาจเป็นโรคร้ายแรงและน่ากลัวสำหรับเด็กทารกและผู้สูงอายุ ทั้งนี้เกิดการติดเชื้อ RSV นั้นอาจส่งผลให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุหลอดลมหรือโรคปอดบวม นอกจากนี้การแพร่กระจายหรือระบาดของเชื้อตัวนี้ค่อนข้างจะพีคในช่วงฤดูหนาว

อาการของโรค RSV มีไข้, น้ำมูกไหล, ไอจาม
อาการของโรค RSV มีไข้, น้ำมูกไหล, ไอจาม

กลุ่มไหนบ้างที่เสี่ยงหรือเกิดอาการรุนแรงเมื่อเกิดโรค RSV

เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีและผู้สูงอายุค่อนข้างน่ากลัว เนื่องจากคนในสองกลุ่มนี้มีภูมิคุ้มกันที่ไม่แข็งแรง โดยโรค RSV อาจพัฒนาให้เกิดอาการร้ายแรงขึ้นได้อย่างปอดบวมหรือโรคหลอดลมอักเสบ ซึ่งในบางเคสที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่นโรคปอดหรือเด็กที่คลอดก่อนกำหนด อาจมีอาการร้ายแรงจำเป็นต้องเข้าแอดมิทโรงพยาบาลได้

อาการของโรค RSV และ วิธีการรักษา (2)

อาการของโรค RSV

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อ RSV จะเริ่มแสดงอาการเมื่อผ่านไปในเวลาประมาณ 4 – 6 วัน โดยอาการทั่วไปจะมี ดังนี้

  • ลดความอยากอาหาร
  • มีไข้
  • น้ำมูกไหล
  • ไอ
  • จาม
  • หายใจเสียงหวีด

อย่างไรก็ดีอาการของโรคจะไม่เกิดขึ้นพร้อมกันในคราวเดียวแต่เกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ ส่วนอาการในเด็กทารกอาจหายใจลำบาก, เกิดอาการหงุดหงิด หรือไม่ค่อยเคลื่อนไหวร่างกาย

วิธีการรักษาโรค RSV

ปกติเชื้อ RSV นั้นหายไปเองภายในเวลา 1 – 2 สัปดาห์ โดยการรักษาทางการแพทย์นั้นยังไม่มียาหรือวัคซีนเฉพาะสำหรับโรคนี้ แต่ในปัจจุบันนักวิจัยกำลังพัฒนาคิดค้นวัคซีนและยาสำหรับต้านไวรัสกันอยู่ครับ

ขั้นตอนการบรรเทาอาการโรค RSV

  • จัดการไข้และอาการปวด สามารถลดไข้และอาการปวดด้วย ‘ยาลดไข้และบรรเทาปวด’ ที่ขายตามร้านยาทั่วไป เช่น ไอบูโพรเฟน หรือ พาราเซตามอล (**ห้ามให้เด็กรับประทาน แอสไพริน โดยเด็ดขาด**)
  • พยายามดื่มน้ำให้เยอะ การติดเชื้ออาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้เราจะต้องพยายามดื่มน้ำให้เพียงพอหรือทนแทนส่วนที่เสียไป
  • ปรึกษาแพทย์ ยาในบางตัวอาจเป็นอันตรายสำหรับเด็ก ดังนั้นทางที่ดีผมแนะนำให้ปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้งเมื่อจะให้เด็กรับประทาน
ห้ามให้เด็กรับประทาน แอสไพริน โดยเด็ดขาด
ทานยาลดไข้ พาราเซตามอล เมื่อเด็กมีอาการไข้ตัวร้อน




ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้

โรค RSV แพร่เชื้ออย่างไร ? (3)

โรค RSV สามารถแพร่เชื้อได้เมื่อ

  • ผู้ติดเชื้อไอหรือจาม
  • ได้รับไวรัสจากในละอองอากาศ
  • มีการสัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสเกาะอยู่
  • ติดต่อโดยตรงจากการหอมแก้มหรือกอดเด็กที่ติดเชื้อ RSV

การแพร่เชื้อไวรัสตัวนี้จะเริ่มส่งต่อเมื่อผ่านไปแล้วประมาณ 3 – 8 วัน อย่างไรก็ดีในเด็กวัยทารกที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแออาจสามารถแพร่เชื้อได้นานกว่า 4 สัปดาห์ แม้ว่าอาการจะหายแบบปลิดทิ้งไปแล้วก็ตาม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องระวังและลดความเสี่ยงในการรับเชื้อ

สอนให้เด็ก ๆ ล้างมือด้วยการ้องเพลง Happy Birthday
สอนให้เด็ก ๆ ล้างมือด้วยการร้องเพลง Happy Birthday หรืออย่างน้อย 20 วินาที

วิธีการป้องกันโรค RSV

สำหรับใครที่ติดไวรัส RSV ขึ้นมาแล้วไม่อยากคนอื่นติดเชื้อไปด้วย ผมแนะนำให้ทำตามขั้นตอน ดังนี้

  • ใช้แขนเสื้อหรือทิชชู่ปิดปากเมื่อมีการไอหรือจาม ไม่ควรใช้มือ
  • ล้างมือให้บ่อยด้วยสบู่และน้ำสะอาดอย่างน้อย 20 วินาที
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสแบบใกล้ชิด เช่น การจับมือ, หอมแก้ม หรือใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารอันเดียวกัน
  • ทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสบ่อย ๆ เช่น ลูกบิด หรือ มือถือ

References :

  1. Respiratory Syncytial Virus Infection
  2. Respiratory syncytial virus: diagnosis, prevention and management
  3. Respiratory Syncytial Virus: Diagnosis, Treatment and Prevention
Lolipop

Lolipop

Create article about music and news with heart

Next Post
ดีลดีเบสท์รีวิวเลือกให้ดีลดีเบสท์รีวิวเลือกให้ดีลดีเบสท์รีวิวเลือกให้