ปัจจุบันนี้ปัญหาโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกินไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะกับผู้ใหญ่หรือคนสูงอายุเท่านั้น แต่ปัญหานี้ก็เกิดขึ้นกับวัยเด็กได้เช่นกัน ผลสำรวจสาเหตุและผลกระทบของโรคอ้วนในวัยเด็กนั้น ชี้ชัดแล้วว่าเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตและอาหารการกินที่เน้นความสะดวกไว้ก่อน จนทำให้เด็ก ๆ มีนิสัยขี้เกียจและติดทานอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารฟาสต์ฟู้ดที่มีรสชาติน่าดึงดูดมากกว่าอาหารที่ทำเอง
ปัญหาโรคอ้วนในเด็กมีความรุนแรงเพียงใด?
มากกว่า 1 ใน 5 เป็นเด็กที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน เมื่อพวกเขาเริ่มเข้าโรงเรียนมัธยมก็จะเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 โดยปกติแล้วคนส่วนใหญ่มักคิดว่า วัยรุ่นจะมีการเผาผลาญพลังงานได้ดีกว่าผู้ใหญ่ แต่คุณรู้รึไม่ว่าสาเหตุที่เด็ก ๆ ยังคงประสบปัญหาโรคอ้วนนั้นคืออะไร นั่นก็เพราะอาหารที่ขายตามระแวกโรงเรียนยังไงล่ะ มีทั้งช็อกโกแลตแท่ง ขนมถุงกรุบกรอบ ของทอด อาหารสำเร็จรูป หรือแม้แต่อาหารฟาสต์ฟู้ด ที่ไม่ว่าจะเดินไปทางไหนก็เจอ มีรายงานวิจัยระบุว่าเด็กที่มีน้ำหนักเกิน อายุ 4 ขวบ กินแคลอรี่เกินมา 140-500 แคล ต่อวัน
โรคอ้วนส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจของเด็ก มีความเสี่ยงจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง และหายใจลำบาก หายใจติดขัด นักโภชนาการเด็กกล่าวว่า เมื่อเด็กอายุประมาณ 5 ขวบแต่มีปัญหาด้านน้ำหนักเกิน ก็ค่อยข้างยากที่จะเปลี่ยนแปลงให้เด็ก ๆ กลับมามีร่างกายที่สมบูรร์แข็งแรง
เด็กประเภทไหนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วนมากที่สุด
เด็กที่มีชอบทานอาหารจำพวกอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทของทอดที่อมน้ำมัน ขนมกรุบกรอบ ของหวาน ลูกกวาด ลูกอม ช็อกโกแลต น้ำอัดลม ชานม ชาไข่มุก อาหารเหล่านี้เป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ทางสารอาหารใด ๆ เลยทั้งยังให้โทษมากกว่าอีกด้วย แต่เนื่องจากว่าเป็นอาหารที่มีรสชาติดีจากการใส่ผงชูรสจึงทำให้เด็ก ๆ ชอบรับประทานกันมาก
วิธีการส่งเสริมให้เด็กกินอาหารเพื่อสุขภาพ
1. ให้พวกเขาเล่นกับอาหารตอนที่ยังเด็ก
การให้พวกเขาลองสัมผัสผักและผลไม้ตั้งแต่ยังเด็ก ๆ นั้นเป็นการส่งเสริมให้พวกเขาได้คุ้นเคยและเคยชินกับผักผลไม้ต่าง ๆ เพราะพัฒนาการของเด็ก ๆ นั้น ส่วนมากจะชอบหยิบจับสิ่งต่าง ๆ เข้าปาก ดังนั้นการให้พวกเขาได้ลองชิมผักและผลไม้ จะช่วยทำให้พวกเขาไม่รู้สึกว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัวอีกต่อไป
2. ลองสูตรอาหารใหม่ ๆ
ลองใช้สูตรอาหารใหม่ที่คิดว่าลูกของคุณจะชอบ โดยใส่วัตถุดิบเป็นผักลงไปผสมด้วยเล็กน้อยและค่อย ๆ เพิ่มอัตราส่วนเรื่อย ๆ แทนที่จะหยิบยื่นจานผักทั้งจานให้ลูกของคุณ เพราะพวกผักผลไม้ที่พวกเขาไม่เคยได้ลิ้มรสชาติมาก่อน เด็ก ๆ จะคายมันออกมาทันที
3. ตรวจสอบฉลาก
สำหรับอาหารที่ซื้อตามร้านสะดวกซื้อ ให้คุณตรวจสอบฉลากให้ละเอียด อาทิเช่นอาหารจานนี้ให้พลังานกี่แคลอรี่ มีไขมันทั้งหมดเท่าไหร่ โซเดียมเยอะเกินไปสำหรับเด็กหรือไม่ และที่สำคัญตรวจสอบว่าเป็นอาหารที่ใส่ผงชูรสรึเปล่า เพราะหากเป็นเช่นนั้นก็จะทำให้เด็ก ๆ ติดอาหารรสชาติที่ทำจากผงชูรส แล้วจะทำให้พวกเขาทานอาหารที่คุณทำยากขึ้น
4. พยายามทำอาหารเอง
หากลูกของคุณชื่นชอบอาหารทอด หรืออาหารจำพวกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ให้คุณลองเปลี่ยนสูตรอาหารเป็นอะไรที่มีประโยชน์ดูโดยไม่ได้เปลี่ยนวัตถุดิบหลัก อาทิเช่น ลูกคุณชอบของทอดมาก แต่คุณจะลดน้ำมันในอาหารอย่างไร ? คุณอาจจะใช้หม้อทอดไร้มันดี ๆ สักเครื่องที่ยังคงให้สัมผัสความกรุบกรอบและรสชาติไม่ต่างกันโดยคุณสามารถหาเมนูของทอดแบบไร้น้ำได้จากบทความนี้ “เคล็ดลับการทำอาหารสำหรับหม้อทอดไร้น้ำมัน (Air fryer)” หรือหากลูกคุณชอบทานบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป คุณอาจจะปรุงรสชาติด้วยตัวเองโดยไม่ใส่ซองผงชูรสสำเร็จรูปลงไปในจานอาหาร จากนั้นก็ใส่ผักและโปรตีนต่าง ๆ ลงไป เพื่อให้เป็นจานอาหารที่ครบ 5 หมู่
5. ให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำอาหาร
วิธีนี้จะทำให้เด็ก ๆ สนใจมีความกระตือรือร้น และรู้สึกอยากทานอาหารมากยิ่งขึ้น เนื่องจากพวกเขาทำมันด้วยตัวเองด้วยความตั้งใจ นอกจากนี้ยังเป็นส่งเสริมพัฒนาการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ ให้พวกเขาอีกด้วย
6. ออกจากบ้านด้วยอาหารที่ท้องเต็ม
แน่นอนว่าหากลูกคุณจะออกไปข้างนอก ไม่ว่าจะเป็นการไปโรงเรียน ออกไปเดินเล่นระแวกบ้านหรือย่านชุมชมต่าง ๆ ควรจะให้พวกเขาทานอาหารที่คุณทำเองก่อนจะออกไปข้างบ้านให้อิ่ม เพื่อเป็นป้องกันเด็ก ๆ ไม่ให้ทานอาหารไม่มีประโยชน์
7. ทุกคนในบ้านต้องปฏิบัติเหมือนกัน
แน่นอนอยู่แล้วว่าทุกคนในบ้านต้องกินอาหารที่เหมือนกันทั้งหมด ไม่ใช่ให้เด็ก ๆ ควบคุมอาหารอยู่คนเดียว แต่ทุกคนต้องช่วยกันทำให้เด็ก ๆ รู้สึกว่าไม่ได้โดนบังคับให้กินอาหารเหล่านี้