ในปัจจุบันโลกของเราเต็มไปด้วยอาหารนับหมื่นชนิด รูปร่างมากหน้าหลายตา นอกจาก ‘รสชาติ’ ที่อร่อย และ ‘กลิ่น’ ที่หอมหวนชวนรับประทานแล้ว ‘สี’ ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ทำให้อาหารดูน่าทานมากขึ้นเป็นเท่าตัว ทุกคนเคยได้ยินคำว่า “สีมีผลต่อความอยากอาหาร” ไหมคะ? นั่นก็เพราะเวลาเรามองสี จะทำให้เรารู้สึกบางอย่างในใจเพราะสีจะไปกระตุ้นการทำงานของสมองที่เกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ และความรู้สึกในเชิงจิตวิทยานั่นเองค่ะ
สีที่กระตุ้นความอยากอาหารจะเป็นโทนสีแดง-สีส้ม เพราะจะนึกถึงความร้อน มีพลัง กระตุ้นให้เกิดความหิว อีกสีหนึ่งก็คือสีเขียว เพราะเป็นสีที่พบได้ง่ายตามธรรมชาติ สมองจะคิดว่าเป็นสีที่เฮลตี้ ดีต่อสุขภาพ เพราะผักส่วนใหญ่สีเขียวนั่นเองค่ะ หรือจะเป็นสีขาวที่สื่อถึงความบริสุทธิ์ รู้สึกว่าถ้าทานแล้วจะรู้สึกปลอดภัย ไม่เป็นโทษแก่ร่างกาย เป็นต้น
แต่หากพูดถึงสีที่ดับฝันสายกินอย่างชาวเรา ก็ต้องยกให้โทนสีม่วง สีฟ้า และสีดำ เพราะเป็นสีที่เราจะรู้สึกว่าไม่ปลอดภัย เช่นสีม่วง เราจะรู้สึกว่ามันปลอม เพราะในธรรมชาติจะมีสีนี้น้อยมาก และยังให้ความรู้สึกถึงพิษ อย่างเห็ดพิษหรือกบพิษ ก็มักจะเป็นสีม่วงนั่นเองค่ะ ส่วนสีฟ้าจะให้ความรู้สึกปลอดโปร่ง โล่ง สบาย ทำให้ความอยากอาหารก็จะลดลงเช่นกัน
ในเมื่อสีมันมีผลต่อความรู้สึกมากมาย จึงไม่แปลกที่คุณควรที่จะต้องรู้จักกับ “สีผสมอาหาร” เพราะอาหารส่วนใหญ่ที่เราทานมักจะใส่สีลงไปเพื่อให้ดูน่าทานมากขึ้น เช่น ลูกอม, หมากฝรั่ง, วิปปิ้งครีม, นม, ขนมไทย หรือเบเกอรี่ต่าง ๆ ซึ่งก็จะมีทั้งสีจากธรรมชาติ และสีที่สังเคราะห์ขึ้นเองค่ะ

สีผสมอาหารจากธรรมชาติ VS สีผสมอาหารสังเคราะห์ (1-3)
สีผสมอาหารจากธรรมชาติ
|
สีผสมอาหารสังเคราะห์
|
วิธีการเลือกซื้อสีผสมอาหารอย่างไรให้ปลอดภัย
1. เลือกจากประเภทของสีผสมอาหาร
สีผสมอาหารมีด้วยกันอยู่ 2 ประเภท คือสีจากธรรมชาติ และสีสังเคราะห์ สีแต่ละตัวก็จะมีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป ใครที่ทำอาหารทานเองที่บ้าน ไม่ซีเรียสเรื่องความเข้มของสี สีจากธรรมชาติถือเป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ
2. เลือกจากรูปแบบของสีผสมอาหาร
- สีผสมอาหารชนิดผง จะมีลักษณะเป็นผงละเอียด สีที่ได้จะชัดเจน สีเข้ม นิยมใช้กับอาหารที่ไม่ต้องการให้มีความชื้น เช่น มาการอง, ข้าวเกรียบ, ข้าวพอง แต่มีข้อเสียคือหากละลายไม่ดี สีอาจมีการตกตะกอน ทำให้เกิดจุดสีบนอาหารได้ค่ะ
สีผสมอาหารชนิดผง - สีผสมอาหารชนิดน้ำ จะมีลักษณะเป็นเหลวเป็นน้ำ สามารถละลายในน้ำได้เป็นอย่างดี เหมาะกับการใส่ในเครื่องดื่ม, แป้งเครป, เครปเค้ก สีที่ได้จะมีความละมุน และไม่เข้มเท่ากับแบบผง
- สีผสมอาหารชนิดเจล จะมีลักษณะเป็นเนื้อครีม คล้ายเจล มักใช้ผสมใส่ขนมต่าง ๆ และมักใช้กับ Fondant (แป้งน้ำตาลตกแต่งหน้าเค้ก) โดยสีชนิดนี้จะให้สีที่เข้ม เม็ดสีขึ้นไว้ ใช้ในปริมาณที่น้อยเท่าปลายไม้จิ้มฟัน แต่ข้อเสียคือจะมีราคาที่ค่อนข้างแพง
3. เลือกสีผสมอาหารที่มีการรับรองจาก อย.
เนื่องจากสีผสมอาหารจัดเป็นวัตถุเจือปนในอาหาร การมองหาสีผสมอาหารที่มี อย. ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะเป็นสิ่งที่เราบริโภคเข้าสู่ร่างกาย ดังนั้นการเลือกสีที่มีการรับรองก็จะทำให้มั่นใจว่าร่างกายของเราจะไม่ได้รับอันตรายนั่นเองค่ะ
4. ดูวันหมดอายุ
ถึงสีผสมอาหารจะมีการเก็บรักษาที่ยาวนาน แต่ก็ควรที่จะใส่ใจในเรื่องของวันหมดอายุกันด้วยนะคะ โดยปกติแล้วสีสังเคราะห์จะมีอายุการเก็บรักษาที่นานกว่าสีจากธรรมชาติ แต่เพื่อความปลอดภัยควรดูวันหมดอายุทุกครั้งก่อนใช้งาน
สีผสมอาหาร ตราสามดี แบบซอง เม็ดสีเข้มข้น ชนิดผงละลายน้ำ

ราคา 3 บาท*
สีผสมอาหาร ตราสามดี มาในรูปแบบซอง เป็นสีผสมอาหารชนิดผง เหมาะสำหรับทำขนมใส่ เบเกอรี่ หรือจะใช้ผสมในแป้งโดสำหรับเด็กก็ได้เช่นกันค่ะ ตัวสีมีความละเอียด สีที่ได้จะเข้ม ชัดเจน มีให้เลือก 13 สี โดยเฉพาะสีเหลืองมะนาว และสีชมพู เป็นสีที่ควรมีติดบ้านไว้เลยค่ะ เพราะสีสวยมาก
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบผง |
ปริมาณ | 1 - 2 กรัม |
มาตรฐานการรับรอง | อย. |
สีผสมอาหาร ตราหยดน้ำ แบบซอง ชนิดผงละลายน้ำ

ราคา 3 บาท*
สีผสมอาหาร ตราหยดน้ำ ชนิดผง บรรจุในรูปแบบซอง ใช้งานสะดวก ละลายน้ำได้ดี มีสีให้เลือกถึง 8 สี รวมถึงสีเหลืองเข้ม และสีเหลืองอ่อนที่หายากด้วยค่ะ เม็ดสีเข้ม นำไปผสมกับอาหารแล้วสีไม่เพี้ยน ทำให้ได้สีตามที่ต้องการ หากละลายจนเข้ากันเป็นอย่างดี สีที่ได้ก็จะสม่ำเสมอ และจะไม่จุดด่างของสีเลยค่ะ
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบผง |
ปริมาณ | 1 กรัม |
มาตรฐานการรับรอง | อย. |
สีผสมอาหาร ตราดาว แบบซอง ชนิดผงละลายน้ำ

ราคา 6 บาท*
สีผสมอาหาร ตราดาว เป็นสีผสมอาหารแบบผง ละลายน้ำได้ดี สีเข้มข้นแม้ใช้ในปริมาณน้อย มีให้เลือกกว่า 12 เฉดสี ไม่ว่าจะเป็นสีแดง, สีน้ำตาล, สีม่วง, สีฟ้า หรือสีเขียว บอกเลยว่ามีให้เลือกครบ จบ ในยี่ห้อนี้เลยค่ะ สีตัวนี้จะมาในรูปแบบซอง ฉีกใช้งานง่าย วิธีใช้ให้นำสีมาผสมน้ำเพียงเล็กน้อยก่อน แล้วคนให้เข้ากัน จากนั้นค่อยเติมน้ำลงไปเพิ่ม โดยใช้อัตราส่วน สี 1 กรัมต่อน้ำ 100 มิลลิลิตรค่ะ
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบผง |
ปริมาณ | 10 กรัม |
มาตรฐานการรับรอง | อย. และฮาลาล |
Phurin&Phurich สีผสมอาหาร ตราภูรินและภูริชญ์ แบบขวด ชนิดน้ำ

ราคา 14 บาท*
สีผสมอาหาร ยี่ห้อภูรินและภูริชญ์ เป็นสีผสมอาหารชนิดน้ำ หยดลงบนอาหารได้ง่าย ละลายในน้ำได้ดี สีสวย ปลอดภัย เหมาะกับการผสมในเครื่องดื่มและขนมต่าง ๆ มีให้เลือกถึง 18 สี โดยมีสีที่น่าสนใจคือสีเหลืองไข่, สีแดงบานเย็น และสีโอรส บอกเลยว่าสีสันสวยงามทุกเฉดสีเลยค่ะ หลังจากการใช้งานควรปิดฝาให้แน่น และสามารถเก็บได้โดยไม่ต้องแช่ตู้เย็น
ประเภท | ประเภท |
---|---|
รูปแบบ | แบบน้ำ |
ปริมาณ | 28 มิลลิลิตร |
มาตรฐานการรับรอง | อย. และฮาลาล |
สีผสมอาหาร ตราวินเนอร์ แบบขวด ชนิดน้ำ

ราคา 15 บาท*
มาถึงยี่ห้อสุดฮิต ที่เรามักเห็นเป็นประจำตามร้านเบเกอรี่ นั่นก็คือสีผสมอาหาร ชนิดน้ำ ยี่ห้อวินเนอร์ ที่มีสีให้เลือกถึง 19 สี สีผสมอาหารคุณภาพดี สีเข้มข้น ชัดเจน สีหายากอย่างสีม่วงออร์คิดและสีเขียวขี้ม้าก็มีค่ะ สีผสมอาหารตัวนี้เหมาะสำหรับแต่งสีแป้งเครป, เครปเค้ก, ครีมเค้ก เป็นต้น ใครที่ชื่นชอบเบเกอรี่ไม่ควรพลาดค่ะ
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบน้ำ |
ปริมาณ | 1 ออนซ์ |
มาตรฐานการรับรอง | อย. |
Best Odour สีผสมอาหาร ตราเบส โอเดอร์ แบบขวด ชนิดน้ำ

ราคา 17 บาท*
สีผสมอาหาร ยี่ห้อเบส โอเดอร์ สีผสมอาหารชนิดน้ำ บรรจุมาในขวดแก้วอย่างดี ใช้งานง่าย มีให้เลือก 13 สี โดยมีสีที่น่าสนใจคือสีเหลืองเลมอน, สีเขียวแอปเปิ้ล, สีเขียวมะกอก และสีน้ำตาลช็อกโกแลต ซึ่งสีเหล่านี้หายากกว่าสีทั่ว ๆ ไป บอกเลยว่าใครที่ต้องการอาหารที่ต้องใช้สีที่ว่ามานี้ ยี่ห้อนี้เป็นทางเลือกที่ดีค่ะ ส่วนปริมาณการใช้ ควรใช้อยู่ที่ 0.2 - 0.6 มิลลิลิตร ต่ออาหาร 1,000 กรัมนะคะ สามารถใส่ได้ทั้งในขนมหวาน ไอศครีม ลูกกวาด หรือเครื่องดื่มทุกชนิดเลยค่ะ
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบน้ำ |
ปริมาณ | 30 มิลลิลิตร |
มาตรฐานการรับรอง | อย. และฮาลาล |
สีผสมอาหาร ตราปลาทอง ชนิดผงละลายน้ำ 50 ซอง

ราคา 79 บาท*
สีผสมอาหาร ตราปลาทอง บรรจุมาในซองพลาสติกอย่างดี มีเขียนส่วนประกอบสำคัญไว้ชัดเจน เหมาะกับการนำมาผสมในขนมต่าง ๆ ที่ไม่ต้องการให้เกินความชื้น มีให้เลือก 5 สี คือสีแดง, สีเหลืองไข่, สีเขียว, สีเหลือง และสีแสดหน้ากุ้ง ให้สีที่ชัดเจน ไม่ทำให้อาหารเสียรสชาติ ไร้กลิ่น ไร้รส ได้สีตามที่ต้องการแน่นอนค่ะ
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบผง |
ปริมาณ | 1 - 2 กรัม (ขึ้นอยู่กับสี) บรรจุ 50 ซอง / 1 กล่อง |
มาตรฐานการรับรอง | อย. |
สีผสมอาหารจากธรรมชาติ ตราพอปัน สกัดจากพืชหลากชนิด ชนิดผง

ราคา 80 บาท*
สีผสมอาหารพอปัน ผงผักสุขภาพ ที่สามารถนำมาประกอบอาหาร หรือ ใส่ในขนมได้แบบปลอดภัย 100% เพราะทำจากผักทุกสี เช่นใบเตย, เผือก, มันม่วง ทำให้สีที่ได้เป็นสีแบบธรรมชาติ และยังเพิ่มโภชนาการให้อาหารอีกด้วยค่ะ เพราะในสีมีกากใยของผักชนิดนั้น ๆ อยู่ด้วย ทำให้ได้รับสารอาหารไปเต็ม ๆ เป็นผลพลอยได้ที่ดีจากการปรุงแต่งสีในอาหารของเราค่ะ แถมยังมีให้เลือกถึง 8 สีเลยทีเดียว
ประเภท | สีจากธรรมชาติ |
---|---|
รูปแบบ | แบบผง |
ปริมาณ | 40 กรัม |
มาตรฐานการรับรอง | ไม่ระบุ |
PROMASTER สีผสมอาหารชนิดเจล ตราโปรมาสเตอร์

ราคา 89 บาท*
สีเจลผสมอาหาร promaster ให้เม็ดสีที่เข้ม เนื้อครีมละเอียด บีบใช้งานง่าย ไม่หกเลอะเทอะ มีให้เลือกถึง 13 สี มีสีที่น่าสนใจอย่าง Navy Blue และ Bright White ด้วยค่ะ สามารถใช้ได้ในปริมาณที่น้อยแต่มีประสิทธิภาพสูง เหมาะสำหรับผสมในอาหาร ขนม รวมไปถึงเบเกอรี่ต่าง ๆ โดยเฉพาะผสมใส่ในแป้งน้ำตาลฟองดองท์ท์สำหรับแต่งหน้าเค้ก บอกเลยว่าให้สีที่เนียน ละเอียด ถูกใจสายทำขนมแน่นอนค่ะ
ประเภท | สีสังเคราะห์ |
---|---|
รูปแบบ | แบบเจล |
ปริมาณ | 30 มิลลิลิตร (ยกเว้นสี Bright White 60 มิลลิลิตร) |
มาตรฐานการรับรอง | อย. และฮาลาล |
สีผสมอาหาร ตราวิลตัน แบบขวด ชนิดเจล

ราคา 125 บาท*
สีผสมอาหาร ชนิดเจล ยี่ห้อวิลตัน จาก USA มาในรูปแบบขวดทรงกระบอก เปิดใช้งานง่าย มีให้เลือกถึง 25 เฉดสี ไม่ว่าจะเป็นสีหายากอย่างสีพาสเทล, สีเขียวขี้ม้า, หรือสีพีช ก็มีให้เลือกค่ะ มั่นใจได้ในคุณภาพ เพราะสีแบบเจลจะให้สีที่ชัด เม็ดสีละเอียด คุณภาพสีไม่เพี้ยน เหมาะกับการผสมในครีมแต่งหน้าเค้ก หรือผสมในแป้งฟองดองท์สำหรับการปั้นตกแต่งเค้ก วิธีใช้เพียงแค่จุ่มสีด้วยไม้จิ้มฟันแล้วนำมาป้ายลงบนครีมหรือแป้งเค้กก็จะได้สีที่ชัดเจน และสวยงามแล้วค่ะ
ประเภท | ประเภท |
---|---|
ประเภท | แบบเจล |
ปริมาณ | 28 กรัม |
มาตรฐานการรับรอง | FDA |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ แนะนำ สีผสมอาหาร ที่ปลอดภัย ยี่ห้อไหนดีที่สุด ปี 2023 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
สีผสมอาหาร อันตรายต่อร่างกายจริงหรือ ? (1-3)

เป็นเรื่องที่ถกเถียงกันมานานมากว่าสีผสมอาหารเป็นอันตรายต่อร่ายกายจริงหรือไม่? วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจกันค่ะ ต้องบอกก่อนว่าสีผสมอาหารที่นิยมใช้กันแพร่หลายในอุตสาหกรรมอาหาร มี 2 ประเภทด้วยกัน คือ “สีจากธรรมชาติ” และ “สีจากการสังเคราะห์”
โดยสีผสมอาหารที่คนส่วนใหญ่กังวลคือสีจากการสังเคราะห์เพราะได้จากการทำปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งตามกฎหมายแล้วสีทั้งสองประเภทจัดเป็นวัตถุเจือปนอาหาร ต้องผ่านการประเมินทั้งคุณภาพ มาตรฐาน และความปลอดภัยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ทั้งสิ้น โดยการใช้สีผสมอาหารต้องมีข้อกำหนด, เงื่อนไขในการใช้ และต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่สามารถใช้ได้ ดังนั้นถ้าทุกคนรับประทานอาหารที่มีสีผสมอาหาร ที่ผ่านการรับรองจาก อย. สามารถมั่นใจได้ว่าจะไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกายแน่นอนค่ะ
ลักษณะของสีผสมอาหารที่ได้มาตรฐาน(1-3)
- ไม่มีสารพิษและสารสีไม่เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค
- พบโลหะหนักของโครเมียม แคดเมียม ปรอท และซาเซเนียม อย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่เกิน 1 ppm
- พบสารหนู ไม่เกิน 5 ppm
- พบตะกั่ว ไม่เกิน 20 ppm
- พบโลหะหนักชนิดอื่นๆ รวมกันไม่เกิน 20 ppm
ปริมาณการใช้สีผสมอาหารที่ปลอดภัย (1-3)
อาหารประเภทเครื่องดื่ม ไอศครีม ลูกกวาดและขนมหวาน ใช้ได้ไม่เกิน 70 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม ยกเว้นสี Ponceau 4R และสี Brilliant Blue FCF ที่อนุโลมไม่เกิน 50 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
ส่วนอาหารชนิดอื่น ๆ สามารถใช้ในปริมาณดังต่อไปนี้เลยค่ะ
- สี Ponceau 4R ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Azorubine ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Erythrosine ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Tartrazine ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Sunset Yellow F C F ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Fast Green FCF ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 100 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Indico Carmine ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม / อาหาร 1 กิโลกรัม
- สี Brilliant Blue FCF ใส่ในอาหารได้ ไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม
สีผสมอาหารจากธรรมชาติที่พบได้ในประเทศไทย
- สีเหลือง สามารถสกัดได้จากขมิ้น, อ้อย, ฟักทอง, ดอกคำฝอย และดอกโสน
- สีเขียว สามารถสกัดได้จากใบเตย และใบย่านาง
- สีแดง สามารถสกัดได้จากครั่ง บีทรูท และกระเจี๊ยบแดง
- สีม่วง สามารถสกัดได้จากเผือก, ดอกอัญชัญ, ข้าวเหนียวดำ และมันม่วง
- สีส้ม สามารถสกัดได้จากแครอท และคำแสด
- สีดำ สามารถสกัดได้จากถั่วดำ
- สีฟ้า สามารถสกัดได้จากดอกอัญชัญ
References :
- สีผสมอาหารรับประทานมาก ๆ อันตรายจริงหรือ ? กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค
- การผลิตผงสีจากวัสดุธรรมชาติ เพื่อผลิตภัณฑ์อาหาร สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชมงคลกรุงเทพ
- การพัฒนาการผลิตผงสีจากแครอตและการนำไปใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)