คัดจมูกถือเป็นอาการยอดฮิตที่ทุกคนเคยเป็นกันทั่วบ้านทั่วเมือง โดยความรุนแรงของมันอาจไม่ได้ทำให้เราทรมานถึงขั้นทนไม่ได้ แต่แน่นอนว่ามันสร้างความรำคาญและรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรามาก ทั้งนี้หลายคนคงมีความเชื่อกันว่าอาการคัดจมูกเกิดจากในโพรงจมูกของเรามีน้ำมูกเยอะ
แต่จริง ๆ แล้วสาเหตุส่วนใหญ่คือการอักเสบของหลอดเลือดในไซนัส ซึ่งเป็นผลมาจากการเป็นไข้, อาการแพ้ หรือไซนัสอักเสบ แต่ไม่ว่าคุณจะคัดจมูกจากสาเหตุอะไรก็แล้วแต่ก็ไม่ต้องเป็นห่วงอีกต่อไป เพราะวันนี้เรามีวิธีง่าย ๆ มาฝากให้ทุกคนได้ไปใช้กัน อีกทั้งวิธีที่แนะนำไปยังมีความปลอดภัย ไม่ส่งเสียต่อสุขภาพของทุกคนแน่นอน
1. เพิ่มความชื้นในอากาศ (1)

การเพิ่มความชื้นในอากาศเป็นช้อยส์ที่ดีและง่ายมาก เพราะในทุกวันนี้มีเครื่องผลิตความชื้นออกมาวางขายในท้องตลาดเยอะมาก โดยการสูดความชื้นสามารถช่วยให้หลอดเลือดภายในจมูกเกิดการขยายตัว ทั้งยังช่วยให้เนื้อเยื่อที่เกิดการระคายเคืองดีขึ้น อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่างานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังไม่มีหลักฐานชัดเจน แต่จากประสบการณ์ของผู้ใช้เครื่องผลิตความชื้นหลายคนพบว่าความชื้นสามารถช่วยลดอาการคัดจมูกได้จริง ๆ
![]() | เครื่องพ่นไอน้ำเพิ่มความชื้นในอากาศ Mini Home | |
![]() | Homgeek เครื่องเพิ่มความชื้นแบบมินิ | |
![]() | Xiaomi Deerma F325 Air Humidifier เครื่องฟอกอากาศอัลตราโซนิค |
2. อาบน้ำ (2)
คงมีหลายเคยรู้สึกว่าในช่วงที่มีอาการคัดจมูกแล้วได้ไปอาบน้ำ จากนั้นไม่นานก็รู้สึกว่าการหายใจโฟลว์ขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากไอน้ำภายในห้องน้ำช่วยสามารถช่วยทำให้น้ำมูกเบาบางลง และลดการอักเสบอักเสบด้วย นอกจากนี้การบรรเทาอาการคัดจมูกสามารถทำได้ด้วยการเทน้ำร้อนลงไปในซิงก์ ซึ่งขั้นตอนการทำมี ดังนี้
- เทน้ำร้อนลงไปในซิงก์
- ใช้ผ้าเช็ดตัวคลุมหัวและซิงก์
- สูดไปความร้อนเข้าไปลึก ๆ
- ต้องสูดไอน้ำที่ไม่ร้อนหรือเย็นจนเกินไป เพื่อป้องกันการเบิร์นหน้าและบรรเทาให้ได้ผลที่สุด
3. ดื่มน้ำให้เยอะ (3)

การทำให้ร่างกายมีความชุ่มชื้นหรือดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย สามารถช่วยขับให้น้ำมูกโพรงจมูกออกมาได้ ส่วนในกรณีคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคไซนัส การรักษาความชุ่มชื้นให้กับร่างกายก็ช่วยได้ครับ ทั้งนี้หากมีอาการเจ็บคอ แนะนำให้ลองดื่มชาอุ่น ๆ สักแก้ว รับรองว่ามันจะช่วยให้อาการเจ็บคอดีขึ้นไม่มากก็น้อย
4. ใช้ยาพ่นจมูก (4)
ยาพ่นจมูกชนิดน้ำเกลือเมื่อพ่นเข้าไปแล้วน้ำเกลือจะเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับจมูก ในขณะเดียวกันยาพ่นจมูกบางตัวก็มีส่วนผสมของ decongestant หรือเรียกว่า ‘ยาหดหลอดเลือด’ ซึ่งออกฤทธิ์ช่วยลดอาการคัดจมูกได้ อย่างไรก็ดีการใช้ยาชนิดนี้ก็อาจจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเพื่อความปลอดภัย
![]() | สเปรย์พ่นลดคัดจมูก Himalaya Bresol-NS สเปรย์พ่นจมูกลดภูมิแพ้อากาศ | |
![]() | OTRIVIN NASAL SPRAY 0.1% โอตริวิน พ่นจมูก ผู้ใหญ่ | |
![]() | Betadin Nasal Spray พ่นจมูก |
5. กำจัดน้ำมูกออกจากจมูก (5)
อาการคัดจมูกเกิดขึ้นจากการมีสารคัดหลั่งอยู่ในโพรงจมูกทำให้การหายใจติดขัดหรือรู้สึกไม่สบายตัว ซึ่งน้ำมูกในโพรงจมูกสามารถกำจัดได้ด้วยตัวเองด้วยกาเนติ โดยวิธีการใช้กาเนติจะมีดังนี้
- ยืนบริเวณหน้าอ่าง
- สอดกาเนติไว้ในโพรงจมูกหนึ่งข้าง
- จากนั้นก็เอียงหัวให้น้ำเข้าไปในจมูก
- ให้น้ำไหลออกจากจมูกอีกข้างหนึ่งลงอ่างไป
- เวลาในการทำข้างละ 1 นาที ทำให้ครบ 2 ข้าง
6. ประคบร้อน
การประคบร้อนช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกได้ดีมาก เพราะมันจะทำให้โพรงจมูกภายนอกขยายตัวขึ้น โดยวิธีการคือให้คุณนำผ้าขนไปแช่ไว้ในน้ำอุ่นจากนั้นบิดน้ำให้แห้งสนิท แล้ววางลงไปบริเวณหน้าผากและจมูก ซึ่งความอุ่นตรงนี้จะเข้าไปช่วยบรรเทาอาการอักเสบด้านใน เพิ่มความสบายและลดอาการคัดจมูกได้ดีมาก
7. ยาทาแก้คัดจมูก หรือ แผ่นแปะจมูก (6,7)

ภายในยาทาแก้คัดจมูกและแผ่นแปะจมูกมีส่วนผสมของการบูร, เมนทอล หรือยูคาลิปตัส ซึ่งเป็นไอระเหยสร้างความเย็นให้กับโพรงจมูก ดังนั้นการหายใจของเราจะโฟลว์หรือคล่องขึ้นกว่าเดิม ที่สำคัญคือมันจะไม่มีส่วนผสมของยา หากใครกังวลหรือมีอาการแพ้ง่าย ยาทาหรือแผ่นแปะเป็นอีกหนึ่งช้อยส์ที่ใช้ง่ายและแทบไม่มีผลข้างเคียงเลยครับ
![]() | HIMALAYA COLD BALM บาล์มเย็น กลิ่นยูคาลิปตัส | |
![]() | Vicks VapoRub วิคส์ วาโปรับ | |
![]() | Vicks Baby Balsam ยาทาแก้หวัด คัดจมูก สูตรอ่อนโยนสำหรับเด็ก |
8. ใช้ยาลดอาการคัดจมูก (8,9)
การใช้ยาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ง่าย แต่เพื่อความปลอดภัยผมแนะนำให้คุณเข้าไปซื้อในร้านยาเพื่อปรึกษากับเภสัชกร หรือใครที่มีปัญหาสุขภาพคุณอาจจะต้องพบแพทย์ก่อนใช้ยาในรักษา

ยาหดหลอดเลือด
ยาตัวนี้นิยมใช้ในการรักษาอาการคัดจมูก โดยยาจะออกฤทธิ์ในการลดบวมและบรรเทาให้อาการระคายเคืองจมูกดีขึ้น ทั้งนี้รูปแบบของยาจะมีให้เลือกอยู่ 2 อย่างนั่นคือ สเปรย์ และ ยาเม็ด แต่การใช้ก็ยังคงมีข้อระวังอยู่ครับ เพราะถ้าหากใช้อย่างต่อเนื่องเกิน 3 วัน อาจทำให้อาการคัดจมูกแย่ลงมากกว่าที่จะดีขึ้น ดังนั้นการใช้ยาก็ยังคงต้องระวังและใช้ในปริมาณที่เหมาะสม
ยาแก้แพ้หรือยารักษาโรคภูมิแพ้
ในบางครั้งอาการคัดจมูกอาจมีสาเหตุมาจากการแพ้จนทำให้โพรงจมูกเกิดอาการบวมขึ้น ซึ่งตรงนี้สามารถรักษาด้วยการใช้ยาแก้แพ้ครับ โดยยาบางชนิดจะมีส่วนผสมของทั้ง antihistamine (ยาแก้แพ้) และ decongestant (ยารักษาโรคภูมิแพ้) ที่สามารถช่วยลดอาการคัดจมูกและช่วยรักษาอาการแพ้ไปด้วยในตัว
อย่างไรก็ดียาแก้แพ้เป็นยาอีกชนิดหนึ่งที่ต้องใช้อย่างระมัดระวัง เพราะยาแก้แพ้ทำให้รู้สึกง่วงนอน ซึ่งส่งผลต่อชีวิตประจำวันและการขับขี่ของคุณได้ ดังนั้นหากมีกิจกรรมอะไรสำคัญ แนะนำให้หลีกเลี่ยงยาแก้แพ้ไปเลยหากไม่จำเป็น
ใครบ้างที่สามารถใช้ยาลดอาการคัดจมูกได้ ?
ยาลดอาการคัดจมูกปกติแล้วมีความปลอดภัย แต่ในกรณีที่คนไข้มีโรคประจำตัวก็อาจจะต้องระมัดระวังในการใช้ยา ควรมีการปรึกษาเภสัชกรและแพทย์ประจำตัวก่อนใช้ยาเสมอ โดยกลุ่มคนที่ต้องระมัดระวังจะมี ดังนี้
- กลุ่มคนที่มีการรับประทานยาอยู่เป็นประจำ
- กลุ่มคนที่เป็นโรคเบาหวาน
- กลุ่มคนที่เป็นโรคความดันสูง
- กลุ่มคนที่เป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน
- กลุ่มผู้ชายที่เป็นโรคต่อมลูกหมาก
- กลุ่มคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับ ไต, หัวใจ และระบบไหลเวียน
- กลุ่มคนที่เป็นโรคต้อหิน
- กลุ่มคนที่กำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
- เด็กที่มีอายุต่ำกว่า 6 ขวบ *ห้ามรับประทาน*
วิธีการใช้ยาอย่างถูกต้อง
ยาลดอาการคัดจมูกควรใช้แค่เพียง 1 – 4 ครั้ง / วันเท่านั้น โดยการรับประทานแนะนำให้อ่านฉลากข้างยาหรือตามคำแนะนำของเภสัชกร ส่วนในกรณีที่ใช้แบบสเปรย์ ไม่ควรใช้ต่อเนื่องนานเกินกว่า 1 สัปดาห์
References :
- Heated, humidified air for the common cold
- Saline Nasal Irrigation for Upper Respiratory Conditions
- Effects of drinking hot water, cold water, and chicken soup on nasal mucus velocity and nasal airflow resistance
- Effectiveness of Over-The-Counter Intranasal Preparations: A Randomized Trial
- Nasal Irrigation: An Imprecisely Defined Medical Procedure
- Treatment of congestion in upper respiratory diseases
- Sleep Quality and Congestion with Breathe Right Nasal Strips: Two Randomized Controlled Trials
- Nasal decongestants in monotherapy for the common cold
- Oral antihistamines for the symptom of nasal obstruction in persistent allergic rhinitis–a systematic review of randomized controlled trials