ช่วงนี้เมืองไทยเรามีมลพิษมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าฝุ่น PM 2.5 หรือที่หนักไปกว่านั้นก็คงจะเป็น เชื่อไวรัสโคโรน่า การพกเจลล้างมือติดตัวไปตลอดเป็นสิ่งที่เราควรทำ แต่ทว่า ณ ตอนนี้ ความต้องการแอลกอฮอล์เจลล้างมือในตลาดมีเยอะมาก จนทำให้เราหาซื้อมันยากขึ้น เรื่อยๆ จึงทำให้ทุกคนเครียดไปตามๆ กันว่าจะทำอย่างไรดี ไม่ต้องกังวัลเรามีวิธีทำมาให้คุณแล้ว ดูได้ที่ วิธีทำแอลกอฮอล์เจลล้างมือ โดยสารตั้งต้นหลักของแอลกอฮอล์เจลล้างมือก็เห็นจะเป็น แอลกอฮอล์ เจลว่านหางจระเข้ และกลิ่นแต่งเติมตามที่เราต้องการ อาจจะเป็น หัวเชื้อน้ำหอม หรือสารสกัดจากธรรมชาติ เช่น ผิวมะนาว อบเชย เป็นต้น หากใครอ่านมาถึงบรรทัดนี้แล้วไม่แน่ใจว่าเราจะมีเวลาทำเองไหม คุณสามารถหาซื้อแอลกอฮอล์เจลล้างมือ ที่มีมาตรฐานได้ เราได้ทำการรีวิวให้คุณแล้วว่าตัวไหนดีที่สุด ดูได้ที่ ป้องกันตัวเองจาก ไวรัสโคโรน่า ด้วยแอลกอฮอล์เจลล้างมือ
ในบทความนี้เราจะเน้นการกล่าวถึง วิธีการทำเจลว่านหางจระเข้ ซึ่งถือว่าเป็นส่วมผสมที่สำคัญของแอลกอฮอล์เจลล้างมือ เพราะนอกจากจะมีคุณสมบัติที่ช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้กับมือเราแล้ว เจลว่านหางจระเข้จะส่งผลให้เนื้อเจลล้างมือของเราเข้มข้นขึ้นอีกด้วย
เจลว่านหางจระเข้ถือได้ว่าเป็นยาขนานหนึ่งที่ดีที่สุดจากธรรมชาติ เพราะมันสามารถนำมาใช้รักษาผิวที่เกิดจากการไหม้แดดให้กลับมาชุ่มชื่นยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดการระคายเคืองได้เป็นอย่างดี เจลว่านหางจระเข้สามารถทำได้ด้วยตัวเองและไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด โดยสิ่งที่คุณต้องมีเป็นอันดับแรกนั่นก็คือว่านหางจระเข้ที่มีสภาพสมบูรณ์เพียงหนึ่งต้นเท่านั้น และผสมเข้ากับส่วนผสมอื่น ๆ อีกเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เจลว่านหางจระเข้ของคุณอยู่ได้นานยิ่งขึ้น
ส่วนผสม
- ใบว่านหางจระเข้
- วิตามิน C ชนิดผง 500 มิลลิกรัม หรือวิตามิน E 268 กรัม (สำหรับเจล ¼ ถ้วย) [** ถ้าไม่มี ไม่ต้องใส่ **]
ขั้นตอนการทำ

1. ล้างมือ สิ่งที่สำคัญมากที่สุดนั่นก็คือการล้างมือ และล้างอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะอาด เพื่อจะได้มั่นใจว่าเจลจะไม่มีการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรก

2. ตัดใบว่านหางจระเข้ส่วนนอกออกมา หาใบที่อยู่ส่วนนอกข้างต้นที่มีตัวลำต้นหรือฐานใกล้กับดิน โดยใช้มีดคม ๆ ตัดใกล้ ๆ ส่วนฐาน เพราะใบที่อยู่ด้านนอกสุดมักจะเป็นใบที่แก่เต็มที่และให้เจลได้ดีที่สุด
-
- เนื่องจากเจลว่านหางจระเข้สามารถเน่าเสียได้ง่าย ไม่ควรทำมากจนเกินไป ยกเว้นถ้าคุณคิดว่าจะทำให้คนอื่นด้วย หากว่านหางจระเข้มีใบใหญ่ ให้ตัดมาสักใบหรือสองใบก็พอสำหรับทำเจลครึ่งถ้วยหรือ 1 ถ้วย
- ถ้าหากว่าต้นว่านหางจระเข้ของคุณยังอ่อนอยู่ ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษและไม่ควรตัดใบมาเยอะเกินไปในครั้งเดียว เพราะการตัดใบส่วนนอกออกมาทั้งหมดสามารถทำให้ต้นเสียหายได้

3. ใช้เวลา 10 นาทีเพื่อปล่อยให้ยางไหลออกมาจากใบ ตั้งใบว่านหางจระเข้ไว้ในถ้วยให้ยางสีเหลืองเข้มไหลออกมาให้หมด หากยังมีน้ำยางอยู่จะทำให้ผิวระคายเคืองได้ ดังนั้นควรจะให้มันไหลออกมาให้หมด เพื่อป้องกันไม่ให้ยางไปอยู่ในเจลของคุณ

4.ปอกเปลือกด้านนอกของใบออก ใช้มีดที่ไว้สำหรับปอกผักและผลไม้ ปอกส่วนสีเขียวของใบออกอย่างระมัดระวัง โดยปอกจากชั้นสีขาวด้านในไปถึงเจลข้างใต้ และปอกเปลือกด้านหนึ่งของแต่ละใบออกให้หมด ปล่อยให้เหลือแค่ครึ่งที่เต็มใบด้วยเจล
-
- หากคุณมีใบว่านหางจระเข้ขนาดใหญ่ให้หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ก่อนปอกจะช่วยให้ทำให้ง่ายขึ้น
- ทิ้งเปลือกตลอดในระหว่างทำ เพราะเปลือกจะจะได้ไม่ปนกับเจล

5. ตักเจลด้วยช้อน เจลที่ได้นั้นจะใสและนุ่มสามารถตักได้ง่าย ๆ ตักออกมาใส่ถ้วยที่สะอาด และค่อย ๆ ตักจนหมด
6. ผสมเจลกับสารกันเสียธรรมชาติที่เตรียมไว้ ถ้าคุณทำเจลไว้เยอะมากและอยากจะเก็บไว้ซักเดือนสองเดือน ให้ผสมผงวิตามินซี 500 มิลลิกรัม หรือวิตามินอี 268 มิลลิกรัม ส่วนผสมนี้ใช้สำหรับเจล 1/4 ถ้วย หลังจากนี้ใส่ส่วนผสมรวมกันในเครื่องปั่นและปั่นให้ละเอียด
7.ใส่เจลในโถหรืออุปกรณ์ที่ฆ่าเชื้อสะอาดแล้ว ถ้าคุณใช้สารกันเสียที่ได้ทำเมื่อข้างต้น จะสามารถเก็บเจลได้หลายเดือนในตู้เย็น แต่ถ้าหากไม่ได้ใส่ในตู้เย็น จะเก็บได้ 1-2 สัปดาห์ เท่านั้น
การใช้เจลว่านหางจระเข้

เราสามารถใช้เจลว่านหางจระเข้กับผิวไหม้แดด หรือแผลไฟไหม้เล็กๆ น้อยๆ เพราะว่านหางจระเข้ มีสรรพคุณในการให้ความชุ่มชื้นกับผิว ไม่ควรใช้เจลว่านหางจระเข้กับแผลผ่าตัดหรือแผลพุพองเด็ดขาด เพราะมันอาจทำให้แผลเหล่านั้นหายได้ช้า
นอกจากนี้เรายังสามาถงผสมว่านหางจระเข้ครึ่งถ้วยกับน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น 1/4 ถ้วย เพื่อใช้เป็นโลชั่นนวดผ่อนคลายให้ความชุ่มชื้นได้
เจลว่านหางจระเข้ จะสามารถให้ความชุ่มชื้นต่อผิวหน้า และมือของเรา แถมยังเป็นเกาะป้องกันแบคทีเรียในกรณีที่คุณมีแผลไหม้เล็กน้อย
ซื้อเจลว่านหางจระเข้ ได้ที่ไหน
หากเพื่อนๆ คนไหนมีเวลาจำกัด หรือไม่สามารถหาต้นว่านหางจระเข้ คุณสามารถซื้อออนไลน์ได้ โดยผ่านร้านค้าที่เราได้ทำการคัดเลือกมาให้คุณ ดังต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบ เจลว่านหางจระเข้ | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
|
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่:
- The Review on Properties of Aloe Vera in Healing of Cutaneous Wounds.
- Evaluation of biological properties and clinical effectiveness of Aloe vera: A systematic review.