กรดซาลิไซลิกป็นที่รู้จักกันดีในการลดสิวและรักษารูขุมขนให้สะอาด ผิวหน้าดูกระจ่างใส มันจะทำงานได้ดีที่สุดสำหรับสิวที่ไม่รุนแรง จำพวกสิวหัวดำและสิวหัวขาว สำหรับใครที่ชอบแต่งหน้าก้มักจะเจอเครื่องสำอาง อาทิเช่น รองพื้น, โฟมล้างหน้า, ครีมกันแดด ที่ระบุถึงส่วนผสมกรดซาลิไซลิก แต่ก็ไม่รู้ว่ามันช่วยรักษาสิวอย่างไร วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะ
การทำงานของกรดซาลิไซลิก
เมื่อรูขุมขนของคุณถูกแทนที่ด้วยเซลล์ผิวที่ตายแล้วและน้ำมันที่ผลิตมาเรื่อยๆ มันจะกลายเป็นสิว กรดซาลิไซลิกสามารถแทรกซึมเข้าสู่ผิวของคุณและทำงานเพื่อละลายเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ที่อุดตันในรูขุมขน แต่อาจใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าคุณจะเห็นผล

ปริมาณของกรดซาลิไซลิก
ปริมาณของกรดซาลิไซลิกที่แนะนำสำหรับคนเป็นสิว โดยแพทย์ผิวหนังทั่วไป อาจแนะนำให้ใช้เป็นเวลา 2 หรือ 3 วัน ในปริมาณที่จำกัด
ลักษณะ | เปอร์เซ็นของกรดซาลิไซลิก | ใช้บ่อยแค่ไหน |
เจล | 0.5–5% | วันละครั้ง |
โลชั่น | 1–2% | 1 ถึง 3 ครั้งต่อวัน |
ครีม | 3–6% | ตามความจำเป็น |
แผ่น | 0.5–5% | 1 ถึง 3 ครั้งต่อวัน |
สบู่ | 0.5–5% | ตามความจำเป็น |
สารละลาย | 0.5–2% | 1 ถึง 3 ครั้งต่อวัน |
ผลข้างเคียงจากกรดซาลิไซลิก
แม้ว่ากรดซาลิไซลิกจะถือว่าเป็นสารที่ปลอดภัยแล้วก็ตาม แต่ก็อาจทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ใช้โดยเฉพาะผู้ที่มีผิวแห้ง นอกจากนี้ยังอาจกำจัดน้ำมันมากเกินไปทำให้ผิวแห้งและระคายเคืองได้ โดยผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นอื่น ๆ ได้แก่ รู้สึกเสียวซ่าผิวหรือแสบ, ทำให้คัน, ลอกผิว, อาการโรคลมพิษ และรู้สึกแสบร้อน
ข้อควรระวังที่ควรระวังก่อนใช้กรดซาลิไซลิก
จริงอยู่ที่ว่ากรดซาลิไซลิกนั้นมีความปลอดภัย แต่คุณควรปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือเภสัชกรที่ร้านขายยาก่อนใช้ โดยข้อควรพิจารณาที่ควรระวังได้แก่
- แจ้งให้แพทย์ของคุณทราบว่าคุณเคยมีอาการแพ้กรดซาลิไซลิกหรือยาทาอื่น ๆ มาก่อนหรือไม่
- เด็กอาจมีความเสี่ยงต่อการระคายเคืองผิวหนังได้มากกว่า เนื่องจากผิวหนังจะดูดซับกรดซาลิไซลิกในอัตราที่สูงกว่าผู้ใหญ่ ดังนั้นจึงไม่ควรใช้กรดซาลิไซลิกสำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี
- ยาบางชนิดไม่ทำงานได้ดีกับกรดซาลิไซลิก แจ้งให้แพทย์ของคุณทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่
- คุณควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการป่วยดังต่อไปนี้ เนื่องจากอาจส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อกรดซาลิไซลิกมาใช้ โรคตับ, โรคไต, โรคหลอดเลือด, โรคเบาหวาน, อีสุกอีใส และไข้หวัดใหญ่
อัตรายของกรดซาลิไซลิก
ความเป็นพิษหรืออัตรายของกรดซาลิไซลิกนั้นหาได้ยาก แต่สามารถเกิดขึ้นได้จากการใช้กรดซาลิไซลิกสำหรับคนบ้างกลุ่ม เพื่อลดความเสี่ยงโปรดทำตามคำแนะนำเหล่านี้
- อย่าใช้ผลิตภัณฑ์กรดซาลิไซลิกกับพื้นที่ส่วนใหญ่ของร่างกาย
- ห้ามใช้เป็นระยะเวลานาน
- หยุดใช้กรดซาลิไซลิทันทีและพบแพทย์หากคุณมีอาการหรืออาการเหล่านี้ ง่วง, อาการปวดหัว, ความสับสน, หูอื้อ, สูญเสียการได้ยิน, อาเจียน และท้องร่วง
ขอบคุณที่มาข้อมูล: www.healthline.com