ในปัจจุบันเรามีวิธีการหนึ่งที่เรียกว่าการถนอมอาหารเข้ามาช่วยรักษาคุณภาพของอาหารให้สามารถเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยการถนอมอาหารมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ไม่ว่าจะเป็น การตากแห้ง เช่น อาหารทะเลตากแห้ง, หมูแดดเดียว, กล้วยตาก หรือจะเป็นการดอง เช่น ผักกาดดอง, กิมจิดอง, ไข่เค็ม หรือการอบกรอบ อย่าง ผลไม้อบกรอบ, ผักอบกรอบ, โยเกิร์ตอบกรอบ นอกจากนี้ยังมีอาหารสำเร็จรูปหรือกึ่งสำเร็จรูปผลิตขึ้นมามากมาย ซึ่งอาหารเหล่านี้ก็ช่วยยืดอายุการเก็บรักษาให้นานขึ้นเช่นกัน ซึ่งเราจะพบเจอได้บ่อย ๆ จากบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป, ปลากกระป๋อง, ก๋วยเตี๋ยวกึ่งสำเร็จรูป, ผัดไทยกึ่งสำเร็จรูป, กุนเชียง หรือแม้แต่ ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น
สำหรับประเทศไทยนั้นก็ถือว่าเป็นประเทศที่สามารถหาผลไม้รับประทานได้ตลอดทั้งปี โดยเฉพาะผลไม้เมืองร้อนอย่าง มะม่วง, เงาะ, กล้วย, ทุเรียน, มังคุด, ขนุน หรือมะละกอ แต่ถึงอย่างนั้น ผลไม้บางชนิดก็ต้องรอให้ถึงฤดูกาลเท่านั้นจึงจะสามารถหากินได้ หรือผลไม้บางชนิดก็มีเยอะจนล้นตลาดเน่าเสียไปจนเกษตรกรขาดทุนก็มี นอกจากวิธีการถนอมอาหารข้างต้นแล้ว ในปัจจุบันเรายังมีการถนอมผลไม้สำหรับไว้ทานในทุกฤดู แถมยังช่วยยืดอายุผลไม้ต่าง ๆ ไม่ให้เน่าเสียไว นั่นก็คือ “การอบแห้งผลไม้” นั่นเองค่ะ
ความแตกต่างระหว่าง ผลไม้อบแห้ง VS ผลไม้อบกรอบ
ผลไม้อบแห้ง
|
ผลไม้อบกรอบ
|
การอบแห้งผลไม้มีกี่วิธี แบบไหนดีที่สุด ?
1. การอบแห้งโดยการตากแดด
การอบแห้งโดยการตากแดดถือเป็นวิธีโบราณที่ยังคงนิยมใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน วิธีนี้จะนำผลไม้ไปตากแห้งโดยพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นวิธีที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากที่สุด แต่อาจต้องใช้ระยะเวลานานประมาณ 3 – 4 วัน เพื่อให้ตากแดดได้ทั่วถึง และต้องคอยพลิกด้านเป็นระยะ ๆ มีข้อเสียคือเราจะควบคุมอุณหภูมิได้ยาก หากมีการแปรปรวนของสภาพอากาศ ทั้งยังยากต่อการควบคุมความสะอาด เช่น แมลงหรือฝุ่นละออกต่าง ๆ เพราะการอบแห้งโดยวิธีนี้เป็นการทำให้แห้งแบบช้า ๆ ดังนั้นจึงไม่สามารถทำให้ความชื้นลดลงเกินกว่า 15 – 20% จึงมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นกว่าแบบอื่น ผลไม้ที่นิยมใช้วิธีนี้ เช่น กล้วย, องุ่น, มะเขือเทศ เป็นต้น
2. การอบแห้งโดยการใช้ลมร้อน
การอบแห้งโดยการใช้ลมร้อนจะนิยมใช้ในอุตสาหกรรมมากกว่าใช้ตามบ้านเรือน วิธีนี้จะสามารถอบแห้งผลไม้ได้ครั้งละปริมาณมาก สามารถควบคุมอุณภูมิความร้อนของเครื่องได้ ทำให้คุณภาพของสินค้าออกมาเหมือนกัน สามารถอบแห้งได้รวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ข้อเสียคืออาจมีราคาที่แพงกว่าแบบตากแห้ง เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่า แต่มีข้อดีคือสะอาด ปลอดภัย ได้รับการฆ่าเชื้อ และดูแลรักษาตัวเครื่องได้ง่าย โดยเครื่องอบแห้งที่นิยมใช้กันในอุตสาหกรรมการทำผลไม้อบแห้ง มีดังนี้
- Tray Dryer เป็นการอบแห้งโดยการนำผลไม้มาวางใส่ถาดเรียงกันเป็นชั้น ๆ ในตู้อบ ที่มีการเป่าลมร้อนผ่านฮีทเตอร์เข้าไปในตัวผลไม้เพื่อให้น้ำระเหยออกมา เหมาะสำหรับการใช้ในโรงงานขนาดเล็ก และจะใช้ระยะเวลาในการอบประมาณ 10 – 12 ชั่วโมง
- Tunnel Dryer เป็นเครื่องอบแห้งแบบกึ่งอัตโนมัติ สามารถอบผลไม้ได้ไม่จำกัดขนาดและรูปร่าง วิธีการใช้งานคือนำผลไม้ใส่ถาดที่อยู่ในเครื่อง ซึ่งจะเคลื่อนที่ผ่านอุโมงค์ลมร้อนตามความยาวจากด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง มีข้อดีคือเครื่องชนิดนี้สามารถลดความชื้นได้ในปริมาณมากจนเหลือเพียง 2 – 3% เท่านั้น และสามารถลดการเกิดความเสียหายจากความร้อนได้
- Belt Dryer ใช้หลักการเดียวกับ เครื่อง Tunnel Dryer แต่เปลี่ยนจากใส่ผลไม้ในถาดเป็นวางบนสายพานที่เคลื่อนที่อย่างต่อเนื่อง จึงช่วยลดแรงงานในขั้นตอนการนำผลไม้เข้าและการนำออก ซึ่งการใช้เครื่องนี้จะใช้อุณภูมิที่ต่ำกว่าเครื่อง Tunnel Dryer เนื่องจากลมร้อนที่ผ่านผลไม้ในสายพานจะผ่านได้ทั่วถึงกว่านั่นเองค่ะ
แต่หากบ้านไหนที่อยากจะลองทำผลไม้อบแห้งไว้ทานเอง แต่เครื่องอบเหล่านี้มีราคาสูง ส่วนการตากแดดนั้นก็อาจจะมีเชื้อโรคปะปน คุณสามารถใช้ เตาไมโครเวฟ หรือ เตาอบไฟฟ้า แทนได้ หรือถ้าอยากจะให้ได้ผลไม้อบแห้งคุณภาพดี เดี๋ยวนี้เขาได้มีการพัฒนาเครื่องอบผลไม้แห้งสำหรับใช้ในครัวเรือนด้วยนะคะ
ลูกเกดดำอบแห้ง เกรด AAA ตรา Victory Food

ราคา 85 บาท*
การเติมน้ำตาล | ไม่ระบุ |
---|---|
ปริมาณ | 1 กิโลกรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงพลาสติกซีล |
มาตรฐานที่รองรับ | ไม่ระบุ |
FruitMania ลูกพรุนแห้งไร้เมล็ด ตราฟรุ๊ตมาเนีย

ราคา 85 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✔ |
---|---|
ปริมาณ | 110 กรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงซีลฟอยล์อย่างดี |
มาตรฐานที่รองรับ | อย. / ฮาลาล |
Sukjai Friuts มะเขือเทศราชินีอบแห้ง ตราสุขใจ ฟรุ๊ต

ราคา 169 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✘ |
---|---|
ปริมาณ | 1 กิโลกรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงซิปล็อค |
มาตรฐานที่รองรับ | ไม่ระบุ |
ผลไม้อบแห้ง สตรอว์เบอร์รีอบแห้งทรงเครื่อง ตราดอยคำ

ราคา 27 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✔ |
---|---|
ปริมาณ | 140 กรัม (3 ซอง) |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงซีลฟอยล์อย่างดี |
มาตรฐานที่รองรับ | อย. / ฮาลาล |
ToongTong มะม่วงอบแห้ง แผ่นใหญ่ ตราถุงทอง

ราคา 129 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✔ |
---|---|
ปริมาณ | 200 กรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงซีลอย่างดี |
มาตรฐานที่รองรับ | อย. / มผช. (มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน) |
Nadia อินทผลัมอบแห้ง ตรานาเดีย

ราคา 122 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✘ |
---|---|
ปริมาณ | 500 กรัม |
บรรจุภัณฑ์ | กล่องกระดาษ |
มาตรฐานที่รองรับ | ไม่ระบุ |
สตรอว์เบอร์รี่อบแห้ง สูตรไม่มีน้ำตาล

ราคา 378 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✔ (สารให้ความหวานแทนน้ำตาล) |
---|---|
ปริมาณ | 1 กิโลกรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงสุญญากาศ เกรดอาหาร |
มาตรฐานที่รองรับ | อย. |
Sukjai Friuts ลูกชิดอบแห้ง ตราสุขใจ ฟรุ๊ต

ราคา 23 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✘ |
---|---|
ปริมาณ | 80 กรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงซิปล็อค |
มาตรฐานที่รองรับ | ไม่ระบุ |
แครนเบอร์รี่อบแห้ง ตรามนต์ ผลไม้อบแห้ง

ราคา 308 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✘ |
---|---|
ปริมาณ | 1 กิโลกรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงซิปล็อค |
มาตรฐานที่รองรับ | ไม่ระบุ |
ผลไม้รวมอบแห้ง ผลไม้ 5 ชนิด ตราแอลกะเอิร์น

ราคา 300 บาท*
การเติมน้ำตาล | ✘ |
---|---|
ปริมาณ | 1 กิโลกรัม |
บรรจุภัณฑ์ | ถุงพลาสติกซีล |
มาตรฐานที่รองรับ | ไม่ระบุ |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
วิธีการเลือกซื้อผลไม้อบแห้ง
1. เลือกจากชนิดของผลไม้ที่ชอบ

ในปัจจุบันได้มีการทำผลไม้อบแห้งหลากชนิดกันมากกว่าเมื่อก่อน ไม่ว่าจะเป็นกีวี่, ส้ม, ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่, หรือผลไม้หาทานยากอย่างลูกชิด ก็มีให้เลือกกันค่ะ ดังนั้นใครที่ชอบผลไม้ชนิดไหนก็สามารถเลือกได้ตามชอบ หรือหากใครที่ไม่ซีเรียสผลไม้อบแห้งแบบผลไม้รวมก็เป็นตัวเลือกที่ดีค่ะ
2. เลือกจะปริมาณน้ำตาล
ผลไม้อบแห้งมักมีปริมาณน้ำตาลที่สูง เนื่องจากโดนรีดน้ำออกไปในปริมาณมาก ซึ่งกระบวนการอบผลไม้นั้น บางร้านก็ได้มีการนำมาแช่ในน้ำเชื่อมก่อน เพื่อให้ผลไม่มีรสชาติที่หวานมากขึ้น หากใครที่กำลังควบคุมน้ำหนัก หรือต้องการลดปริมาณน้ำตาล ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ระบุว่าไม่มีการเติมน้ำตาลจะดีที่สุดค่ะ
3. ไม่ควรใส่สีผสมอาหารหรือวัตถุกันเสีย
ถึงแม้การใส่ สีผสมอาหาร จะทำให้ผลไม้ดูน่าทาน และไม่ได้เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่การทานแบบใช้กลิ่น สี และรสธรรมชาติ ย่อมดีต่อสุขภาพมากกว่าอาหารที่เติมวัตถุเจือปนแน่นอน ส่วนวัตถุกันเสียควรเลี่ยงจะดีที่สุดค่ะ เนื่องจากตัวผลไม้อบแห้งมีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนานอยู่แล้ว ดังนั้นหากเลือกผลิตภันฑ์ที่มีการผลิตที่ได้มาตรฐาน การใส่วัตถุกันเสียไม่ใช่เรื่องจำเป็นเลยค่ะ
4. เลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีมาตรฐาน

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ใส่ผลไม้อบแห้ง ควรเลือกที่ได้มาตรฐาน ป้องกันความชื้นจากภายนอกได้ดีอย่างถุงซีล, ถุงซิปล็อค, ภาชนะเก็บอาหารแห้ง ที่มีฝาปิดมิดชิด หรือหากเป็นไปได้ถุงสุญญากาศถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดค่ะ เพราะผลไม้อบแห้งมีตัวแปรที่สำคัณคือความชื้น หากเราใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน ให้มีอากาศเข้าออกได้ อาจทำให้ผลไม้ของเราขึ้นรา หรือเน่าเสียได้ง่ายมากค่ะ
ข้อดีของการอบแห้งผลไม้

- ไม่ทำให้สูญเสียวิตามิน มากกว่าวิธีการแปรรูปผลไม้แบบอื่น และยังสามาถเสริมวิตามินเข้าไปในร่างกายได้ง่าย
- มีอายุการเก็บรักษาที่ยาวนาน หากเก็บไว้ในสภาวะที่เหมาะสม เพราะผลไม้อบแห้งมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของแบคทีเรีย และเชื้อราในระดับสูง
- ช่วยลดต้นทุนในการขนส่งและการเก็บรักษา เนื่องจากไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องของการขนส่งที่ต้องควบคุมอุณภูมิ
- ช่วยลดต้นทุนค่าขนส่ง เนื่องจากผลไม้อบแห้งมีน้ำหนักเบา ซึ่งมีน้ำหนักเฉลี่ยเพียง 1/7 ของผลไม้สดเท่านั้น
- การอบแห้งผลไม้ทำให้มีผลไม้ทานตลอดทั้งปี ไม่ต้องรอฤดูกาล
- กระบวนการผลิตมีความสะดวก ยืดหยุ่น และคุ้มทุน เนื่องจากสามารถกำหนดขนาดและรูปร่างของผลไม้ได้ตามต้องการ
- เป็นผลิตภัณฑ์ที่บริโภคได้ง่าย เช่นเดียวกับขนมขบเคี้ยว ผู้ที่ไม้ของทานผลไม้ไม้สด หรือทานผลไม้ ก็สามารถทานได้ค่ะ