การรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงก็เป็นหนึ่งในวิธีลดน้ำหนักที่ช่วยทำให้คุณลดความหิวลงได้ ทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบเผาผลาญให้ดีขึ้น และช่วยลดไขมันสะสมในร่างกายได้อีกด้วย (9-11) คุณสามารถทดลองหลักการนี้ง่าย ๆ โดยการค่อย ๆ เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารของคุณ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันอย่าง เมนูอกไก่, อาหารทะเล, พืชตระกูลถั่ว, เมนูจากไข่ หรือจะเป็นเครื่องดื่มโปรตีนสูงหรือนมไขมันต่ำเป็นต้น และเพื่อช่วยให้การลดน้ำหนักครั้งนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น คุณอาจจะแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ 4-5 มื้อในระหว่างวันร่วมด้วยก็จะช่วยให้คุณลดความหิวลงได้

แต่การเพิ่มโปรตีนในมื้ออาหารนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่คุณจะทานโปรตีนปริมาณมากมายได้หมดจานโดยไม่รู้สึกฝืนหรือพะอืดพะอม เพราะการลดน้ำหนักที่เน้นทานโปรตีนเป็นหลักนั่นหมายความว่าคุณจะต้องทานโปรตีนให้ได้มากกว่าเดิม 3-4 เท่า อีกทั้งการต้องมานั่งเตรียมอาหารบ่อย ๆ ขอบอกเลยว่าค่อนข้างเสียเวลามาก ๆ เลยค่ะ ดังนั้นสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักด้วยวิธีกินโปรตีนให้มากกว่าปกติ ก็จะต้องหาโปรตีนเสริมที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคนกลุ่มนี้ ซึ่ง “โปรตีนลดน้ำหนักสำหรับคนที่ไดเอท” ก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกทานโปรตีนในรูปแบบอาหาร เพราะ “โปรตีนไดเอท (Protein Diet)” จะมาในรูปแบบผงละลายน้ำที่มีกลิ่นและรสชาติที่ทานง่าย

วันนี้เราก็มีโปรตีนไดเอทที่อยากจะแนะนำให้คุณรู้จัก แต่ก่อนจะไปดูสินค้าในแบรนด์ต่าง ๆ เราอยากให้คุณเข้าใจเกี่ยวกับการทานโปรตีนกับการลดน้ำหนักให้มากกว่านี้ เพื่อที่คุณจะได้เลือกโปรตีนไดเอทที่เหมาะสมกับคุณที่สุดกันค่ะ
กินโปรตีนสามารถลดน้ำหนักได้ จริงหรือไม่ ?
โปรตีนเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย นอกจากนี้ยังอาจช่วยให้คุณลดน้ำหนักได้ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักมักจะตัดสินใจเลือกรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง เพราะการกินโปรตีนในปริมารที่สูงจะช่วยระงับความหิวและความอยากอาหารของคุณได้นานหลายชั่วโมง และมันจะทำให้เรากินอาหารหรือแคลอรี่ต่อวันน้อยลงด้วย (1-6)
|
คุณจะเห็นว่ามีวิธีลดน้ำหนักมากมายที่เน้นการทานโปรตีนเป็นหลักและเน้นลดคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำ
อย่างเช่น การลดน้ำหนักแบบแอตกินส์ (Atkins) ที่เน้นโปรตีน 80% , ไขมันดี 10% , คาร์โบไฮเดรตจากผักและผลไม้ 10% (1-6) การทำเช่นนี้ก็เพื่อให้ร่างกายของคุณเข้าสู่ภาวะคีโตซิส (Ketosis) ซึ่งเป็นการทำให้ร่างกายไม่มีทางเลือก มันจะต้องดึงไขมันที่มีอยู่มาใช้เป็นพลังงานแทน (1-6) นั่นหมายความว่า… “การลดน้ำหนักด้วยวิธีนี้จะทำให้คุณลดไขมันไปในตัว และเพิ่มกล้ามเนื้อได้โดยไม่ต้องอดอาหารให้ระบบเผาผลาญพังอีกต่อไป” (9-11) |
แต่การจะทานโปรตีนให้สูงกว่าปริมาณปกตินั้นคุณจะต้องทานเนื้อ/นม/ไข่ในปริมาณที่เยอะพอสมควร ซึ่งโปรตีนในอาหารทั่วไปก็ไม่ได้มีเยอะมากพอต่อความต้องการที่สูงเช่นนี้อยู่แล้ว
หากคุณดันทุรังจะทานอาหารเหล่านี้เพื่อให้ได้ปริมาณโปรตีนที่ตามต้องการ บางทีคุณอาจจะอิ่มจนท้องแตกไปก่อนก็ได้ค่ะ ดังนั้นโปรตีนไดเอทที่ทานง่ายกว่าจึงสามารถช่วยให้คุณรับปริมาณโปรตีนได้เท่าที่คุณต้องการ โดยที่มันจะช่วยทำให้อิ่มท้องนานขึ้น, ช่วยลดน้ำหนักและไขมัน, ช่วยเพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และทำให้ระบบเผาผลาญของร่างกายดีกว่าประมาณ 2 เท่า เมื่อเทียบกับการรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง (9-11) |
|
ปริมาณโปรตีนที่ควรกินในแต่ละวัน
ในแต่ละวันคนเราควรได้รับโปรตีนอย่างน้อย 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่สำหรับคนที่ทานโปรตีนเพื่อลดน้ำหนักหรือสร้างกล้ามเนื้อจะมีความต้องการโปรตีนมากกว่าคนทั่วไป หากคุณไม่ได้จัดอยู่ในสายออกกำลังกายแบบฮาร์ดคอปริมาณของโปรตีนเสริมที่แนะนำให้ทานจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 สกู๊ปหรือ 25-50 กรัมต่อวัน (8, 12-14, 23-29)
แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่น้ำหนักตัว กิจกรรมการออกกำลังกาย และเป้าหมายการทานของแต่ละคนด้วย ยิ่งคุณออกกำลังหนักเท่าไหร่ก็ยิ่งต้องการโปรตีนเข้าไปชดเชยมากขึ้นมากขึ้นเท่านั้น เพื่อคุณสามารถเข้าใจง่ายขึ้น เรามาดูความต้องการโปรตีนของคนแต่ละกลุ่มกันค่ะ
![]() ปริมาณโปรตีนที่ควรทานในแต่ละวัน
|
|
หมายเหตุ วิธีที่ดีที่สุดในการลดน้ำหนักคือการแบ่งกระจายจำนวนโปรตีนในแต่ละวันไปให้ครบทุกมื้อ ไม่ควรทานโปรตีนให้หมดภายในมื้อเดียวค่ะ
วิธีเลือกโปรตีนลดน้ำหนัก ที่เหมาะสำหรับคนไดเอท
โปรตีนเสริมก็มีหลายประเภทเช่นเดียวกับอาหารเสริมอื่น ๆ เพราะแหล่งโปรตีนนั้นสามารถมาทั้งจากเนื้อสัตว์หรือพืชอย่างถั่วเหลืองก็ถือว่าเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีและยังมีค่าโปรตีนในปริมาณที่สูง ดังนั้นคุณจะต้องรู้ว่าตัวเองเหมาะกับโปรตีนประเภทไหน เพราะบางคนก็แพ้โปรตีนจากนม บางคนก็แพ้ถั่ว ซึ่งเราจะบอกถึงแหล่งโปรตีนแต่ละแบบกันค่ะว่ามีอะไรที่น่าสนใจบ้าง
1. โปรตีนจากพืช (Plant-based protein) / โปรตีนถั่วเหลือง (Soy Protein)
โปรตีนจากถั่วเหลืองจะเหมาะสำหรับผู้ที่ทานมังสวิรัติหรือผู้ที่แพ้อาหารประเภทนม มันเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดี เพราะอุดมไปด้วยสารอาหารต่าง ๆ อย่าง ธาตุเหล็ก, ฟอสฟอรัส, ทองแดง, แมงกานีส รวมถึงโปรตีนในปริมาณที่สูง แต่โปรตีนจากถั่วเหลืองอาจไม่ใช่ทางเลือกของโปรตีนที่ดีที่สุดในการสร้างกล้ามเนื้อ หากคุณต้องการเน้นสร้างกล้ามเนื้อควบคู่กับลดน้ำหนักไปด้วย แนะนำให้ทานเป็นโปรตีนเวย์จากสัตว์จะดีกว่าค่ะ (15)
แต่ถ้าเน้นในเรื่องการลดน้ำหนักอย่างเดียว โปรตีนจากถั่วเหลืองก็สามารถลดน้ำหนัก รวมถึงสามารถการควบคุมความอยากอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับโปรตีนจากสัตว์เช่นกัน (16,17)
และสำหรับสาว ๆ ที่รักสวยรักงาม ชอบดูแลผิวพรรณอาจจะชอบโปรตีนจากถั่วเหลืองมากกว่าก็ได้ เนื่องจากในถั่วเหลืองมีสารประกอบจากพืชธรรมชาติที่เรียกว่าไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ซึ่งมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย และหนึ่งในนั้นคือมันช่วยลดริ้วรอยและเพิ่มความยืดหยุ่นของผิวได้ดีขึ้นหลังทานติดต่อกันเป็นเวลา 2-4 เดือน (18)
นอกจากนี้ก็ยังมีโปรตีนจากพืชและถั่วอีกหลายชนิดที่สามารถใช้เป็นโปรตีนลดน้ำหนักได้เช่นกัน อย่างเช่นโปรตีนจากถั่วลันเตาที่สามารถให้กรดอะมิโนจำเป็นครบทั้ง 9 ชนิดได้ไม่ต่างจากนมวัวหรือถั่วเหลืองเลยค่ะ
สรุป : โดยรวมแล้วโปรตีนจากพืช ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่แพ้นมวัว, น้ำตาลแลคโตส หรือคนที่ทานมังสวิรัติ เพราะสามารถให้โปรตีนที่สูงได้เช่นกัน อีกทั้งยังมีไฟเบอร์ที่ช่วยทำให้อิ่มท้องและช่วยเรื่องระบบขับถ่ายอีกด้วย
แต่ในแง่ของรสชาติและความอร่อยนั้น โปรตีนจากพืชอาจจะไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุด แนะนำให้คุณเลือกสูตรที่มีการปรับแต่งรสชาติ อย่างเช่นการใส่ผงโกโก้หรือสารให้ความหวานแทนน้ำตาล
หากคุณต้องการเน้น BCAAs ควรเลือกโปรตีนถั่วเหลืองหรือโปรตีนถั่วลันเตาเป็นหลัก เพราะถั่วทั้ง 2 ชนิดนี้ให้กรดอะมิโนจำเป็นได้ครบทุกตัว
2. เวย์โปรตีน (Whey Protein) โปรตีนจากนมวัว
นมวัวเป็นแหล่งวิตามินและแร่ธาตุชั้นยอดที่มีทั้งแคลเซียม, วิตามินดี, ไรโบฟลาวิน (B2), วิตามิน B12, โพแทสเซียม, ฟอสฟอรัส, ซีลีเนียม, ไขมัน ทั้งยังมีกรดอะมิโนทั้ง 9 ชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย ในส่วนของแคลเซียมนั้นจะช่วยสลายไขมันและยับยั้งการผลิตไขมันได้ด้วย (22) นอกจากนี้นมวัวยังเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี เพราะมีโปรตีน 2 ประเภทหลัก ๆ ที่พบในนมคือ เคซีน (80%) และ เวย์ (20%) ทั้งสองถือว่าเป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่จะช่วยให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น (19,21)

ซึ่งเราคงไม่ต้องบอกว่าในนมวัวนั้นมี BCAAs ที่มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสร้างกล้ามเนื้อ, ป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อ และเป็นเชื้อเพลิงในระหว่างการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี (20)
โดยเวย์โปรตีนจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทตามกระบวนการสกัด ซึ่งจะความแตกต่างกันอย่างไรบ้างเรามาดูกันค่ะ
2.1 Whey Protein Concentrate (เวย์คอนเซนเตรท)
WPC เป็นโปรตีนที่มีความเข้มข้นของโปรตีนอยู่ที่ประมาณ 70-80% มันเป็นโปรตีนที่มีกระบวนการสกัดน้อย จึงทำให้มีปริมาณแลคโตสหลงเหลืออยู่พอสมควร และแน่นอนว่าผู้ที่แพ้แลคโตสในนมวัวไม่เหมาะสำหรับโปรตีนชนิดนี้ค่ะ เพราะทานแล้วอาจจะท้องอืดหรือท้องเสียได้ อีกทั้งโปรตีนประเภทนี้จะไม่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก แต่จะเหมาะสำหรับผู้ที่อยู่ในช่วงแรก ๆ ของการออกกำลังกายสร้างกล้ามเนื้อมากกว่าค่ะ เนื่องจากยังคงมีทั้งคาร์บและไขมันอยู่ด้วย (สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มหนักจริง ๆ แนะนำเป็น เวย์เพิ่มน้ำหนัก (Mass Gainer) จะให้ผลลพธ์ที่ดีกว่าค่ะ)
2.2 Whey Protein Isolate (เวย์ไอโซเลท)
WPI เป็นการนำโปรตีนที่ได้จาก WPC มาสกัดให้เข้มข้นมากกว่าเดิม ดังนั้น WPI จึงมีความเข้มข้นของโปรตีนสูงประมาณ 90% เลยค่ะ ทั้งยังมีไขมัน น้ำตาล และแลคโตสเหลืออยู่น้อยมาก ๆ จนทำให้ผู้ที่แพ้แลคโตสในนมก็สามารถทานได้ค่ะ แต่จะมีราคาที่แพงกว่าเวย์คอนเซนเตรท เวย์ชนิดนี้จึงหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลีนหุ่นกระชับกล้ามเนื้อให้เฟิร์มขึ้นรวมถึงคนที่ต้องการทานเพื่อลดน้ำหนักด้วยค่ะ
2.3 Whey Protein Hydrolyzed (เวย์ไฮโดรไลซ์)
WPH เป็นเวย์โปรตีนแบบเดียวกับ WPC และ WPI ที่ผ่านกระบวนการไฮโดรไลซิสอีกครั้ง ที่เป็นการสลายพันธะโครงสร้างของโมเลกุลขนาดใหญ่ให้กลายเป็นขนาดเล็กกว่าเดิมเรียกว่าเปปไทด์ หากเวย์โปรตีนชนิดไหนมี WPH ระบุไว้ นั่นก็หมายความว่าร่างกายของคุณจะดูดซึมโปรตีนที่ทานเข้าไปได้ดีที่สุด ซึ่งกระบวนการสกัดจะยุ่งยากกว่าและมักมาพร้อมกับราคาที่แพงขึ้นเช่นกันค่ะ

สรุป : โดยรวมนั้นโปรตีนจากนมวัวค่อนข้างเป็นทางเลือกที่ดีกว่าสำหรับคนที่ต้องการลดน้ำหนักโดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายควบคู่ไปด้วย เพราะมันช่วยในเรื่องมวลกล้ามเนื้อได้ดีกว่า ทั้งยังทำให้อิ่มท้องและควบคุมความอยากอาหารได้เช่นกัน รวมถึงช่วยสลายไขมันและยับยั้งการผลิตไขมันได้อีกด้วย

3. ส่วนผสมภายในโปรตีนไดเอท
เมื่อเลือกแหล่งโปรตีนได้แล้ว สิ่งต่อมาก็คือการเลือกส่วนผสมของโปรตีนลดน้ำหนัก ซึ่งสิ่งสำคัญเลยก็คือการเลือกส่วนผสมที่มีโปรตีนมากกว่า 70-80% ขึ้นไป และพยายามเลือกแบบไขมันน้อยแคลอรีต่ำไว้ก่อน เพราะอย่าลืมว่าจุดประสงค์ของเราในการทานโปรตีนไดเอทคืออะไร? หากเลือกโปรตีนไดเอทที่มีรสชาติอร่อยถูกปากมากเกิน แสดงว่าคุณไม่ได้คำนึงถึงปริมาณนำ้ตาลที่สามารถแปลงเป็นแคลอรีในอนาคตได้ นอกจากนี้หากคุณอยากได้โปรตีนไดเอทที่หลากหลายทางโภชนาการ แนะนำให้ดูวิตามินและแร่ธาตุอื่น ๆ ที่อาจจะใส่เสริมเข้ามาเพื่อเป็นทางเลือกด้วยนะคะ
MS SOY ISOLATE โปรตีนถั่วเหลือง

ราคา 259 บาท*
ประเภทเวย์โปรตีน | โปรตีนถั่วเหลือง |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / ขนาดสกู๊ป | 27 กรัม / 31 กรัม |
พลังงาน | 110 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 907 กรัม |
MATELL Whey Isolate มาเทล เวย์ไอโซเลท ผสมคอลลาเจน

ราคา 699 บาท*
ประเภทเวย์โปรตีน | Whey Isolate |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / สกู๊ป | 27 กรัม / 33 กรัม |
พลังงาน | 116 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 908 กรัม |
California Gold Nutrition Whey Protein Isolate เวย์โปรตีน

ราคา 182 บาท*
ประเภทเวย์โปรตีน | Whey Isolate |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / สกู๊ป | 27 กรัม / 30 กรัม |
พลังงาน | 110 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 454 กรัม |
Plantae Drink Plant Protein โปรตีนจากพืช ผสมคอลลาเจน

ราคา 1,659 บาท*
โปรตีนจากพืชที่ผสมคอลลาเจนของแบรนด์ Plantae มีปริมาณโปรตีน 20 กรัม ทำให้อิ่มท้องได้ จุดสำคัญคือ มีทั้งไฟเบอร์, สารต้านอนุมูลอิสระ, วิตามิน, แร่ธาตุ สำหรับบำรุงร่างกาย รวมถึงมีกรดอะมิโนอย่าง Proline, Lysine และ Glycine ที่ช่วยให้ร่างกายการสร้างคอลลาเจนได้ดียิ่งขึ้น มีรสชาติอร่อย ทานง่าย
ประเภทโปรตีน | โปรตีนจากพืช |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / ขนาดสกู๊ป | 20 กรัม / ไม่ระบุ |
พลังงาน | 140 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 500 กรัม |
KAY KAY เคย์เคย์ โปรตีนจากพืชออร์แกนิค สูตรกรีนส์

ราคา 1,090 บาท*
ประเภทโปรตีน | โปรตีนจากพืช (ไม่มีถั่วเหลือง) |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / ขนาดสกู๊ป | 15 กรัม / 20 กรัม |
พลังงาน | 80 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 500 กรัม |
Vertech Nutrition เวอร์เทค นิวทริชั่น เวย์โปรตีนไอโซเลท 100%

ราคา 1,099 บาท*
ประเภทเวย์โปรตีน | Whey Isolate |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / สกู๊ป | 28 กรัม / 35 กรัม |
พลังงาน | 123 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 910 กรัม |
DAIATO Protein Diet ไดเอโตะ โปรตีนไดเอท

ราคา 849 บาท*
ประเภทโปรตีน | เวย์โปรตีนผสมโปรตีนจากพืช |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / ซอง | 25 กรัม / ซอง |
พลังงาน | 120 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 40 กรัม / ซอง (x 15 ซอง) |
VITAXTRONG ISO-PRO เวย์โปรตีนไอโซเลต โปรตีนสูง ไม่มีน้ำตาลและไขมัน

ราคา 2,999 บาท*
ประเภทเวย์โปรตีน | Whey Isolate |
---|---|
ปริมาณโปรตีน / ขนาดสกู๊ป | 27 กรัม / 34 กรัม |
พลังงาน | 120 แคลอรี |
น้ำหนักสุทธิ | 2267 กรัม |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากทานอาหารที่มีโปรตีนสูง
แม้ว่าอาหารโปรตีนสูงจะปลอดภัยและดีต่อสุขภาพสำหรับคนส่วนใหญ่ เพราะว่ามีการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่าอาหารที่มีโปรตีนสูงสามารถกระตุ้นให้น้ำหนักลดลงได้จริง แต่ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับไตก็ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรตีนที่มาจากสัตว์ (7) รวมถึงหากคุณรู้ตัวว่าตัวเองมีสุขภาพที่อ่อนแอหรือร่างกายแตกต่างจากบุคคลทั่วไป เราแนะนำให้คุณปรึกษาแพทย์ก่อนด้วยนะคะ

และสำหรับการลดน้ำหนักแบบ Atkins ที่เน้นทานโปรตีนเป็นหลักแต่ลดไขมันและคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำมาก ๆ อาจจะมีผลเสียต่อคนบางกลุ่ม ไม่ว่าจะเป็น ผลเสียต่อระบบขับถายเพราะร่างกายได้รับไฟเบอร์น้อยมาก รวมถึงอาจมีอาการอ่อนเพลีย, หงุดหงิด, คลื่นไส้ และเวียนศีรษะได้ เนื่องจากได้รับคาร์โบไฮเดรตในระดับต่ำเกินไป แต่มันก็เป็นวิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสำหรับคนต้องการลดน้ำหนักอย่างรวดเร็วและคนที่ชอบทานเนื้อแต่ไม่ชอบทานผัก ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเหมาะกับการลดน้ำหนักแบบไหน ? คุณสามารถเข้าไปศึกษาการเปรียบเทียบวิธีลดน้ำหนักแบบต่าง ๆ ดูก่อนได้ค่ะ ว่าแท้จริงแล้วคุณเหมาะกับแบบไหนที่สุดค่ะ
หมายเหตุ 1 สำหรับผู้ที่ไม่แน่ใจแต่อยากลองลดน้ำหนักด้วยการทานโปรตีนสูงดูโดยไม่ใช่วิธี Atkins แนะนำให้ปรับสมดุลการบริโภคของคุณด้วยไขมันและคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่เหมาะสม และควรออกกำลังกายควบคู่ไปด้วยเพื่อให้เห็นผลที่รวดเร็วยิ่งขึ้น
หมายเหตุ 2 การลดน้ำหนักแบบ Atkins จะคล้าย ๆ กับการทาน Keto ที่เน้นให้ร่างกายเข้าดึงไขมันมาใช้เป็นพลังงานจากการลดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำลง แต่จะต่างกันตรงที่ Keto จะเน้นทานไขมันมากกว่าโปรตีน
References :
- Top diets review – Healthy weight
- Healthy Lifestyle Weight loss
- The Atkin’s diet controversy
- Low-carbohydrate nutrition and metabolism
- The effects of a low-carbohydrate ketogenic diet and a low-fat diet on mood, hunger, and other self-reported symptoms
- Efficacy and Safety of a High Protein, Low Carbohydrate Diet for Weight Loss in Severely Obese Adolescents
- [Effect of Individualized Low-protein Diet Intervention on Renal Function of Patients with Chronic Kidney Disease]
- The role of protein in weight loss and maintenance
- The influence of thermic effect of food on satiety
- Postprandial thermogenesis is increased 100% on a high-protein, low-fat diet versus a high-carbohydrate, low-fat diet in healthy, young women
- Randomized trial on protein vs carbohydrate in ad libitum fat reduced diet for the treatment of obesity
- Gluconeogenesis and energy expenditure after a high-protein, carbohydrate-free diet
- Postprandial thermogenesis is increased 100% on a high-protein, low-fat diet versus a high-carbohydrate, low-fat diet in healthy, young women
- Presence or absence of carbohydrates and the proportion of fat in a high-protein diet affect appetite suppression but not energy expenditure in normal-weight human subjects fed in energy balance
- Ingestion of whey hydrolysate, casein, or soy protein isolate: effects on mixed muscle protein synthesis at rest and following resistance exercise in young men
- Appetite control and biomarkers of satiety with vegetarian (soy) and meat-based high-protein diets for weight loss in obese men: a randomized crossover trial
- Effect of protein source during weight loss on body composition, cardiometabolic risk and physical performance in abdominally obese, older adults: a pilot feeding study
- Oral intake of soy isoflavone aglycone improves the aged skin of adult women
- Protein – Which is Best?
- Branched-Chain Amino Acid Ingestion Stimulates Muscle Myofibrillar Protein Synthesis following Resistance Exercise in Humans
- Casein and whey exert different effects on plasma amino acid profiles, gastrointestinal hormone secretion and appetite
- Dietary calcium intake and obesity
- How much protein can the body use in a single meal for muscle-building? Implications for daily protein distribution
- Dietary protein for athletes: from requirements to optimum adaptation
- Increased protein intake reduces lean body mass loss during weight loss in athletes
- A high-protein diet for reducing body fat: mechanisms and possible caveats
- Diet induced thermogenesis
- Effects of high-protein vs. high- fat snacks on appetite control, satiety, and eating initiation in healthy women
- The role of protein and amino acid supplements in the athlete’s diet: does type or timing of ingestion matter?