เหล่าเจ้าแม่ขนมหวานเบเกอรี่ทั้งหลายคนคงจะคุ้นเคยกับวัตถุดิบเบสิกอย่าง “เนย” กันเป็นอย่างดีอยู่แล้วใช่มั้ยคะ? เนื่องจากเนยนั้นถือได้ว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญที่ขาดไม่ได้ในการทำขนมเลยค่ะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคุ้กกี้เนย, สโคน, บราวนี่, ครีมเค้ก หรือครัวซองต์เอง ต่างก็มีส่วนผสมมาจากเนยด้วยกันทั้งนั้น โดยเนยที่มักจะมีบทบาทในด้านการใช้ทำอาหารหรืออบขนมมากที่สุดก็คงจะเป็นเนยชนิดไหนไปไม่ได้นอกจาก “เนยจืด” นั่นเองค่ะ ซึ่งในวันนี้เราก็จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับเนยจืดกันมากให้ยิ่งขึ้น นอกจากนี้เราก็จะมาแนะนำวิธีการเลือกเนยไปจนถึงขึ้นตอนการเก็บรักษาเนยจืดกันเลยค่ะ และเพื่อไม่ให้เสียเวลาไปมากกว่านี้ เอาเป็นว่าตามมาดูกันเลยดีกว่าค่ะ
เนยจืด คืออะไร? ใช้ทำอะไรได้บ้าง?
เนยจืด หรือ unsalted butter คือผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการปั่น (churning) ครีมหรือน้ำนมไขมันเต็ม (whole milk) ด้วยความเร็วสูงเพื่อให้ไขมันเนย (เนย) แยกตัวออกจากบัตเตอร์มิลค์ที่เป็นของเหลว ซึ่งเนยจืดก็ถือว่าว่าเป็นเนยชนิดหนึ่งที่มีขั้นตอนการทำเหมือนเนยทั่วไปแต่มันจะไม่มีการเติมเกลือลงไปทำให้รสชาติมันจะไม่เค็มและได้รสที่เป็นธรรมชาติมากกว่าเนยเค็ม ทั้งยังมีความหอมมันอร่อยที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยส่วนใหญ่แล้วเนยจืดมักจะเป็นที่นิยมในการทำอาหารหรือการทำขนม เนื่องจากเนยจืดมันไม่มีรสชาตินั่นเองค่ะ ดังนั้นมันจึงทำให้คุณสามารถควบคุมรสชาติของอาหารได้ง่าย อีกทั้งเนยจืดนั้นเป็นเนยที่ดูเหมือนว่าจะสดใหม่มากกว่าเนยเค็มอีกด้วยนะคะ ซึ่งเกลือที่ถูกใส่เข้าไปในเนยเค็มนั้นจะเป็นตัวที่ทำให้เนยเค็มเก็บไว้ใช้งานได้นานก็จริง แต่ลองนึกดูว่าหากคุณไปช้อปปิ้งเลือกซื้อเนยสักก้อน เนยเค็มที่วางขายอยู่นั้นอาจจะเป็นเนยที่ถูกผลิตมานานแล้วก็ได้ค่ะ แต่ถ้าหากเป็นเนยจืดก็มีโอกาสที่คุณจะได้เนยที่สดและใหม่มากกว่า

ถ้าหากลองเปรียบเทียบกันแบบจริง ๆ จัง ๆ แมตช์ต่อแมตช์ก็จะเห็นได้ชัดเจนเลยว่าทั้งคู่นั้นค่อนข้างมีปริมาณโซเดียมที่ต่างกันมากเลยทีเดียวค่ะ จากข้อมูลจากกระทรวงเกษตรของสหรัฐที่ได้ให้ข้อมูลอ้างอิงถึงเนยทั้งสองแบบนี้ไว้ว่า ในปริมาณ 1 ช้อนโต๊ะที่เท่ากันนั้น เนยจืดจะมีโซเดียมอยู่แค่ 1.56 มิลลิกรัมเท่านั้น (1) แต่สำหรับเนยเค็มมีปริมาณโซเดียมถึง 91.3 มิลลิกรัมเลยทีเดียว (2) ดังนั้นจึงไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมสูตรขนมหรือแม้แต่เหล่าเบเกอร์เองจึงนิยมใช้เนยจืดเป็นส่วนผสมในการทำขนมมากกว่าเนยเค็มนั่นเองค่ะ
‘เนย’ VS ‘มาการีน’ แตกต่างกันอย่างไร?
เราเชื่อว่าหลายคนคงจะเกิดความสับสนไม่น้อยกับสองตัวนี้ เพราะไม่ว่าจะ ‘เนย vs มาการีน’ นั้นชั่งคล้ายกันเหลือเกิน ซึ่งแท้จริงแล้วเนยนั้นจะได้มาจากไขมันสัตว์และส่วนใหญ่ก็จะประกอบไปด้วยไขมันอิ่มตัวสูง ส่วนมาการีนหรือเนยเทียมนั้นเป็นการผลิตมาจากไขมันพืชโดยมีการแต่งกลิ่นและสีเพื่อเลียนแบบเนยจริง ๆ มาการีนนั้นจะประกอบไปด้วยไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (Polyunsaturated fats) ที่แม้ว่ามันจะสามารถบริโภคได้แต่ถึงอย่างไรก็ตามมาการีนบางตัวก็ประกอบไปด้วยไขมันทรานส์เช่นกัน ดังนั้นเราขอไม่แนะนำให้บริโภคบ่อย ๆ นะคะคุณควรบริโภคมาการีนเป็นครั้งคราวเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ

ดังนั้นถ้าหากคุณต้องการวัตถุดิบทั้งสองตัวนี้ เราขอแนะนำว่าสำหรับเนย คุณควรเลือกเนยที่ทำจากนมกราสเฟด (pasteurized grass fed milk) หรือนมที่ได้จากโคที่เลี้ยงด้วยหญ้าเป็นหลักก็จะดีและมีประโยชน์ แต่ถ้าหากคุณอยากได้เป็นมาการีนเราก็แนะนำว่าควรเลือกเป็นแบบไร้ไขมันทรานส์ และที่สำคัญเลยก็ต้องอย่าลืมว่าคุณควรรับประทานในปริมาณที่พอดีด้วยนะคะ (3)
คำแนะนำในการเลือกซื้อเนยจืด
1. เลือกเนยที่มีไขมันเนยขั้นต่ำ 80% ขึ้นไป
เนยแท้และมีคุณภาพที่ผลิตมาจากนมหรือครีมนั้นควรมีไขมันเนยที่ไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าหากต่ำกว่านี้มันอาจจะเป็นเนยที่มีการผสมไขมันจากพืชหรือผสมส่วนผสมอื่น ๆ เข้ามา ถ้าหากว่าใช้ในการทำขนมหรืออาหารนั้นก็จะได้คุณภาพที่แตกต่างออกไปจากที่ควรจะเป็นก็ได้ค่ะ ซึ่งจะสังเกตได้ง่าย ๆ ว่าถ้าหากเป็นเนยแท้ราคาก็จะสูงขึ้น แต่ถ้าเป็นเนยที่ผสมและมีปริมาณไขมันเนยน้อยราคาก็จะเบาลงมาค่ะ ซึ่งทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การใช้งานนะคะ แต่เนยแท้จจะมีรสชาติและกลิ่นดีกว่าอยู่แล้วค่ะ
2. สีเนยต้องสดและดูเป็นธรรมชาติ

เนยที่มีคุณภาพจะต้องมีสีเหลืองอ่อนไล่ไปจนถึงเหลืองอร่ามที่ดูสดและดูเป็นธรรมชาติ อาจจะเข้มหรืออ่อนมาก ๆ ก็ขึ้นอยู่กับส่วนประกอบหรือประเภทนั้น ๆ สีจะต้องไปดูผิดเพี้ยนหรือดูต่างไปจากสีธรรมชาติมากจนเกินไป ถ้าหากว่าสีเนยดูแปลกไปก็อาจจะมีสาเหตุมาจากการใส่สีในปริมาณที่มากนั่นเองค่ะ
3. บรรจุภัณฑ์มีมาตรฐาน

บรรจุภัณฑ์จะต้องมีมาตรฐาน มีฝาหรือที่ผิดที่ปิดได้มิดชิด เพราะการเก็บรักษามันจะไปมีผลต่อการคุณภาพของเนยซึ่งอาจจะส่งผลให้รสชาติอาหารหรือขนมของคุณผิดเพี้ยนไปจากเดิม และการเลือกบรรจุภัณฑ์ที่สะอาดและปลอดภัยสามารถจะทำให้คุณเก็บเนยไว้ใช้งานได้นานมากยิ่งขึ้น
4. ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์ต้องชัดเจน
ข้อมูลบนบรรจุภัณฑ์อย่างวันเดือนปีที่ผลิต, วันเดือนปีที่หมดอายุ, ส่วนประกอบในเนยจืด , สถานที่ผลิต รวมถึงข้อมูลอย่างคำบ่งชี้ในเรื่องของสารกันบูด, ไขมันทรานส์ หรือแม้แต่การแต่งกลิ่นหรือสี ก็จะต้องมีบอกอย่างชัดเจน และทั้งหมดจะต้องเป็นข้อมูลที่ดูน่าเชื่อถือ
5. เลือกการขนส่งสินค้าที่ช่วยควบคุมอุณหภูมิ
สำหรับข้อนี้อาจจะเฉพาะเจาะจงมาก ๆ โดยเฉพาะใครที่กำลังจะสั่งเนยผ่านทางช่องทางออนไลน์ก็อย่าลืมอ่านรายละเอียดและทำความเข้าใจเรื่องการขนส่งสินค้าด้วยนะคะ เพราะมันจะมีทั้งส่งแบบธรรมดาและแบบควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งแน่นอนว่าราคาก็อาจจะต่างกันเล็กน้อยด้วยเช่นกัน แต่ถ้าหากเป็นไปได้เราก็อยากจะแนะนำให้ส่งแบบที่มีการรักษาอุณหภูมิก็จะดีกว่าค่ะ เพราะถ้าหากเป็นเนยที่มีคุณภาพและมีราคาที่สูงแล้วอยู่ในอุณหภูมิที่สูงมาก ๆ มันอาจจะละลายและเสียรสชาติเอาได้ค่ะ
เนยแท้ชนิดจืด Allowrie Pure Creamery Unsalted Butter

ราคา 129 บาท*
ขนาด | 227 กรัม |
---|---|
จำนวน | 1 ก้อน |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | 82 เปอร์เซ็นต์ |
เนยจืด Heritage Unsalted Butter

ราคา 139 บาท*
ขนาด | 250 กรัม |
---|---|
จำนวน | 1 ก้อน |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | ไม่ระบุ |
ออร์คิด เนยชนิดจืด ขนาด 227 กรัม

ราคา 226 บาท*
ขนาด | 227 กรัม |
---|---|
จำนวน | 1 ก้อน |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | 82 เปอร์เซ็นต์ |
เนยจืดก้อนเนื้อครีมนุ่ม Anchor Pure New Zealand Butter

ราคา 259 บาท*
ขนาด | 227 กรัม |
---|---|
จำนวน | 1 ก้อน |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | 100 เปอร์เซ็นต์ |
เนยชนิดจืด Home Fresh Gold ขนาด 1 กก.

ราคา 369 บาท*
ขนาด | 1 กิโลกรัม |
---|---|
จำนวน | 1 กล่อง |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | 82 เปอร์เซ็นต์ |
เนยจืด Allowrie Compound Butter ขนาด 1 กก.

ราคา 375 บาท*
ขนาด | 1 กิโลกรัม |
---|---|
จำนวน | 1 กล่อง |
ประเภท | เนยผสม |
ไขมันเนย | 37 เปอร์เซ็นต์ |
เนยชนิดจืด Mealmate Original Pure Butter

ราคา 449 บาท*
ขนาด | 1 กิโลกรัม |
---|---|
จำนวน | 1 ก้อน |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | 82 เปอร์เซ็นต์ |
เนยจืด Elle&Vire Gourmet Butter ขนาด 500 กรัม

ราคา 450 บาท*
ขนาด | 500 กรัม |
---|---|
จำนวน | 1 ก้อน |
ประเภท | เนยแท้ |
ไขมันเนย | 82 เปอร์เซ็นต์ |
* หมายเหตุ: ราคาสินค้าอาจมีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข และโปรโมชั่นของแต่ละร้านค้า
ตารางเปรียบเทียบ รีวิว เนยจืด ยี่ห้อไหนดี หอม มัน อร่อย สำหรับทำขนม/อาหาร ปี 2023 | ||||
---|---|---|---|---|
ยี่ห้อ/รุ่นสินค้า | คุณสมบัติ | ดูเพิ่มเติม | ||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
| ||||
|
การเก็บรักษาเนยจืด
อย่างที่เราได้บอกไปตั้งแต่ต้นแล้วว่าเนยจืดนั้นมีอายุการเก็บรักษาที่สั้นกว่าเนยเค็มอยู่แล้ว ดังนั้นหากคุณเลือกซื้อเนยจืดมาใช้งานก็อย่าลืมเก็บรักษาเนยจืดให้ถูกวิธีเพื่อการใช้งานที่นานขึ้นด้วยนะคะ และสำหรับวิธีการเก็บรักษานั้นไม่ยากเลยค่ะ ง่ายดายมาก ๆ เอาเป็นว่าเรามาดูกันเลยดีกว่าว่ามีวิธีไหนกันบ้าง

- หลังจากที่คุณซื้อเนยมาแล้วไม่ว่าจะเป็นการซื้อมาจากห้างสรรพสินค้าหรือว่าช้อปปิ้งออนไลน์ก็ตาม คุณควรแช่ตู้เย็นโดยทันที เพราะระหว่างขั้นตอนการขนส่งนั้นอาจจะทำให้เนยละลายได้ ทางที่ดีที่สุดคือควรใส่ตู้เย็นให้สภาพเนยนั้นคงตัว
- ควรเก็บเนยไว้ในบรรจุภัณฑ์ของตัวมันเองจะดีที่สุด โดยเฉพาะฟอยล์ที่ห่อมานั้นจะช่วยป้องกันการเน่าเสียที่อาจเกิดจากการสัมผัสกับแสงแดดและอากาศได้ อีกทั้งมันยังช่วยป้องกันกลิ่นที่มาจากอาหารอื่น ๆ ในขณะที่คุณแช่รวมกันไว้ในตู้เย็นได้อีกด้วยค่ะ
- หลังจากที่เปิดใช้แล้วคุณควรใช้เนยก้อนนั้นให้หมดภายใน 3 อาทิตย์จะดีที่สุด แต่ถ้าหากยังไม่มีการเปิดใช้ก็สามารถเก็บได้อย่างน้อย 8 สัปดาห์
- ถ้าอยู่นอกตู้เย็นโดยที่ไม่ห่อจะสามารถอยู่ได้ 1 – 2 วันเท่านั้น ข้อนี้เราแนะนำว่าคุณควรตักเนยมาในปริมาณที่พอดี และถ้าเป็นไปได้ก็พยายามใส่ไว้ในตู้เย็นจะดีกว่าค่ะ เพราะหากว่าคุณทิ้งเนยไว้ในอุณหภูมิห้องที่นานเกินไปอาจจะทำให้เกิดกลิ่นเหม็นหืนได้
- เนยสามารถแช่แข็งได้แต่…คุณจะต้องห่อด้วยฟอยล์หรือใส่ในถุงแช่แข็ง และถ้าหากคุณห่อเป็นอย่างดีจะทำให้สามารถเก็บเนยไว้ได้ประมาณ 6 เดือนหรืออาจจะน้อยกว่านั้น แต่ไม่ควรนานเกินไปค่ะเพราะมันจะทำให้เนยเสียรสชาติ
- เพื่อการเก็บเนยให้สามารถใช้งานได้นานมากขึ้น ก่อนที่คุณจะตัดแบ่งส่วนของเนยนั้น คุณควรนำมีดไปลวกน้ำร้อนเสียก่อน แล้วจึงค่อยนำมาตัดเนยนะคะ เพราะว่าถ้าหากไม่ทำเช่นนี้เนยอาจจะเสียหรือขึ้นราเอาได้
References :