วัคซีนสำหรับนักเรียน – ปลอดภัยไหม มีประโยชน์หรือความเสี่ยงอย่างไร? มาดูข้อมูลจากอเมริกา (CDC)

สารบัญ

ถึงแม้ว่าจำนวนเด็กที่ติดเชื้อโควิด 19 จะมีจำนวนค่อนข้างน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ติดเชื้อในวัยผู้ใหญ่ แต่อย่างไรก็ตามเด็กยังคงมีโอกาสในการติดเชื้อ ทั้งยังเกิดอาการป่วยจากการติดเชื้อโควิด 19 และแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ทุกเมื่อ ดังนั้น CDC หรือ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคสหรัฐฯ จึงได้มีการแนะนำให้เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป ควรจะได้รับการฉีดวัคซีน เพื่อที่จะป้องกันและต่อสู้กับเชื้อไวรัสโควิด 19

เมื่อประชากรได้รับการฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึง ผลที่ตามมาคือมันจะหยุดการแพร่กระจายของเชื้อ และทุกคนสามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้นวันนี้เราจะมาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันว่าเมื่อคุณและคนในครอบครัวได้รับวัคซีนโควิด 19 ครบโดสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ครอบครัวของคุณจะใช้ชีวิตกันต่อไปอย่างไร รวมไปถึงเด็กอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป สามารถที่จะรับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์ได้หรือไม่ ?

การปกป้องบุตรหลานและสมาชิกในครอบครัว ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19

การรับวัคซีนโควิด 19 สามารถที่จะช่วยบุตรหลานของคุณให้ห่างไกลจากการติดเชื้อโควิด 19 ได้ (แต่ยังคงมีโอกาสในการติดเชื้ออยู่) เนื่องจากข้อมูลสถิติและการวิจัยในเบื้องต้นพบว่า วัคซีนอาจช่วยลดการแพร่ระบาดของเชื้อไปยังผู้อื่นได้ นอกจากนี้ยังช่วยไม่ให้เด็กเกิดอาการป่วยขั้นรุนแรงเมื่อเกิดการติดเชื้อโควิด 19

โดยมีการคาดการณ์ว่าเด็กที่ติดเชื้อในประเทศไทยช่วงตั้งแต่ เมษายน ไปจนถึงกันยายน พ.ศ. 2564 ประมาณ 1 แสนคน (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์จะอยู่ที่ 10 – 12 %) ฉะนั้นวิธีที่จะปกป้องบุตรหลานและคนในครอบครัวที่ดีที่สุดคือการเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 นั่นเอง




สินค้าลดราคาในช้อปปี้ & ลาซาด้า - ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้สินค้าลดราคาในช้อปปี้ & ลาซาด้า - ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้สินค้าลดราคาในช้อปปี้ & ลาซาด้า - ดีลดี เบสท์รีวิวเลือกให้

ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการฉีดวัคซีน mRNA ในเด็กและวัยรุ่น

มีการรายงานว่าเคสที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื้อหุ้มหัวใจอักเสบในวัยเด็กและวัยรุ่น ส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นในโดสที่ 2 ในกรณีการฉีดวัคซีน mRNA (ไฟเซอร์ หรือ โมเดอร์นา) แต่เคสเหล่านี้เกิดขึ้นได้ยากมาก และอาการเหล่านี้ไม่ได้รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต

เด็กและวัยรุ่นควรจะได้รับวัคซีนโควิด 19 

  • วัคซีนโควิด 19 มีการตรวจสอบความปลอดภัยอย่างเข้มข้นในประเทศสหรัฐอเมริกา(ไฟเซอร์) และผ่าน อย. ของไทยแล้วเรียบร้อย
  • บุตรหลานของคุณจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์เข็มที่ 2 หลังจากผ่านการฉีดเข็มที่ 1 ไปแล้ว 3 สัปดาห์
  • เด็กและวัยรุ่นจะได้รับปริมาณวัคซีน (โดส) ในปริมาณที่เท่ากับผู้ใหญ่ และจะไม่มีข้อกำหนดในเรื่องของน้ำหนักเข้ามาเกี่ยวข้องกับปริมาณของวัคซีน
  • ป้องกันการติดเชื้อโควิด 19

การเตรียมตัวก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับนักเรียน

  • ควรศึกษาและรับคำแนะนำจากแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนการฉีด ระหว่างการฉีด และหลังจากฉีด
  • พูดคุยกับเด็กให้เข้าใจก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19
  • แจ้งแพทย์หรือพยาบาลเกี่ยวกับประวัติการแพ้ก่อนเข้ารับวัคซีน
  • พยายามให้กำลังใจและปลอบเด็กเมื่อถึงวันนัดหมาย
  • เพื่อป้องกันอาการเป็นลมและอุบัติเหตุจากการล้ม แนะนำให้บุตรหลานของคุณนอนในแนวราบประมาณ 15 นาทีหลังจากฉีดวัคซีน
  • พยายามถามและเช็กอาการอย่างต่อเนื่องในช่วง 15 – 30 นาที เพื่อสังเกตอาการ เพราะหากเกิดอาการแพ้จะได้รักษาได้ทันท่วงที

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 สำหรับนักเรียน

บุตรหลานของคุณอาจเกิดผลข้างเคียงเล็กน้อยได้หลังจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติ เพราะมันเกิดขึ้นจากการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทั้งนี้อาการมักจะเกิดขึ้น 3 – 4 วันแรก และไม่เกิน 7 วัน (บางคนอาจไม่มีอาการใด ๆ) หลังจากการได้รับวัคซีนโควิด 19 เข้าร่างกาย

ผลข้างเคียงบริเวณแขนที่ฉีดวัคซีน

  1. อาการปวดแขน
  2. รอยแดง
  3. อาการบวม

ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นกับร่างกาย

  1. อาการปวดหัว
  2. ปวดกล้ามเนื้อ
  3. อาการไข้
  4. อาการหนาวสั่น
  5. อาการคลื่นไส้
  6. อาการเหนื่อย

คุณสามารถขอคำแนะนำและยาจากแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญในการบรรเทาอาการเหล่านี้ได้ โดยการรับยาพาราเซตามอลหรือยาแก้ปวดที่ไม่ใช่แอสไพริน ทั้งนี้แนะนำว่าไม่ควรทานยาแก้ปวดใด ๆ ก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีน

ปกป้องสมาชิกในครอบครัวที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด 19 อย่างไร ?

วิธีการปกป้องคนในครอบครัวและบุตรหลานที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่ดีที่สุด มีดังนี้

  1. เริ่มจากที่ตัวของคุณเองเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ก่อน เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อ (แต่ยังมีโอกาสติดเชื้อได้อยู่ เพราะยังไม่มีวัคซีนยี่ห้อใดสามารถป้องกันได้ 100%) และลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อให้คนในครอบครัวได้อีกด้วย
  2. ควรพาทุกคนในครอบครัวที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไป เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19
  3. สวมหน้ากากอนามัย
    • การสวมหน้ากากอนามัยสามารถป้องกันเชื้อโควิดสายพันธุ์เดลต้าที่กำลังระบาดอย่างหนัก ทั้งยังลดการแพร่เชื้อให้คนอื่นและคนในครอบครัวได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ดีถึงแม้ว่าจะได้รับวัคซีนแล้ว การสวมหน้ากากอนามัยก็ยังคงเป็นสิ่งสำคัญในทุกครั้งที่ออกจากบ้านหรืออยู่ในสถานที่สาธารณะ ซึ่งมีโอกาสการติดเชื้อสูง
    • ควรแนะนำให้คนในครอบครัวใส่หน้ากากทุกครั้งเมื่อต้องออกจากบ้าน แม้ว่าจะไม่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง
    • สมาชิกในครอบครัวที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน รวมไปถึงเด็กที่อายุ 2 ขวบขึ้นไป ควรจะต้องใส่หน้ากาก เมื่ออยู่ภายในอาคารสาธารณะ
      • คุณควจะสวมด้วยเพื่อเป็นตัวอย่างให้กับทุกคน
      • ไม่ควรสวมหน้ากากให้กับเด็กอายุต่ำกว่า 2 ขวบ

ปกป้องสมาชิกในครอบครัวที่มีโรคประจำตัวหรือต้องรับประทานยาที่กดภูมิคุ้มกันของร่างกายอย่างไร ?

  • ให้คุณเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพื่อลดโอกาสการแพร่เชื้อให้คนในครอบครัวที่มีโรคประจำตัวหรือมีภูมิคุ้มกันที่ไม่ดี
  • ถึงแม้ว่าผู้มีโรคประจำตัว (บางโรค) และผู้ที่รับประทานยากดภูมิคุ้มกันจะได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว แต่ก็ยังคงมีความเสี่ยงที่สูงในการติดเชื้อมากกว่าคนปกติทั่วไป ดังนั้นคนในกลุ่มนี้ควรจะใส่หน้ากากอนามัยป้องกันและถ้าให้ดีควรจะแปะแทบกาวหรือใส่หน้ากากอนามัย 2 ชั้น (หน้ากากอนามัยตามด้วยหน้ากากผ้า)เพื่อให้หน้ากากไม่มีช่องโหว่ที่เชื้อจะหลุดเข้าไปได้
  • หากคุณพักอาศัยร่วมกับคนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป คุณจะต้องใส่หน้ากากป้องกันทุกครั้งเมื่ออยู่ในที่สาธารณะ ไม่ว่าจะเป็นในอาคารหรือนอกอาคาร




ไทม์ไลน์และตารางการฉีดวัคซีนให้แก่เด็กนักเรียน 

วันที่ 10 – 17 กันยายน 64 โรงเรียนและสถานศึกษาจะต้องมีการส่งรายชื่อและจำนวนนักเรียน
วันที่ 17 – 22 กันยายน 64 โรงเรียนและสถานศึกษาต้องจัดการประชุม เพื่อให้ผู้ปกครองได้รับรายละเอียดและทำความเขาใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน ที่มีอายุตตั้งแต่ 12 – 18 ปี
วันที่ 21 – 24 กันยายน 64 โรงเรียนและสถานศึกษา ต้องมีการเชิญผู้ปกครองเพื่อแจ้งความประสงค์และอนุญาตให้นักเรียนฉีดวัคซีน
วันที่ 25 กันยายน 64 ให้โรงเรียนและสถานศึกษาส่งรายชื่อของนักเรียน ที่มีความประสงค์จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ให้กับทาง ผอ.สพม. และ อศจ. จากนั้นจึงนำส่งต่อให้ทาง ศธจ.
วันที่ 26 กันยายน 64 ให้ทาง ผอ.สพม. / อศจ. / ผู้แทนหน่วยงานในจังหวัด เข้าร่วมการประชุมเและสรุปจำนวนรายชื่อของนักเรียนที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ส่งให้กับทาง สธจ.
วันที่ 28 – 30 กันยายน 64 ทาง สธจ. จะมีการวางแผนและกำหนดการฉีดให้กับโรงเรียนและสถานศึกษาทุกที่
วันที่ 1 ตุลาคม 64 ทางโรงเรียนและสถานศึกษาจะทราบถึงตารางหรือกำหนดการในการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียน เพื่อจัดเตรียมสถานที่ให้เรียบร้อย
วันที่ 4 ตุลาคม 64 เริ่มการฉีดวัคซีนให้กับนักเรียนตามแผนที่กำหนดเอาไว้

ไทม์ไลน์และตารางการฉีดวัคซีนให้แก่นักเรียน

References :

  1. COVID-19 Vaccines for Children and Teens
  2. Families with Vaccinated and Unvaccinated Members
  3. Timeline การฉีดวัคซีนไฟเซอร์ให้แก่นักเรียน กระทรวงศึกษาธิการ
Lolipop

Lolipop

Create article about music and news with heart

Next Post