ตลอดเวลาที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 หรือเชื้อโควิด 19 นั้น หลาย ๆ คนที่เฝ้าติดตามข่าวสารกันอย่างใกล้ชิด ก็คงจะเคยได้ยินข่าวเรื่องการกลายพันธ์ุของไวรัสกันมามากพอสมควร ไม่ว่าจะเป็นสายพันธุอู่ฮั่นหรือสายพันธ์ุ S, สายพันธ์ุ GH, สายพันธ์ุเอลฟา หรือสายพันธ์ุเดลต้า
แต่สำหรับตอนนี้ที่หลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเราเองก็กำลังเผชิญหน้าอยู่กับไวรัสสายพันธ์ุใหม่ที่มีชื่อว่า ‘โอมิครอน (Omicron)’ ซึ่งก็เป็นสายพันธ์ุที่สายพันธุ์ที่ค่อนข้างจะน่ากังวลไม่น้อย ก็เพราะว่าเชื้อตัวนี้มีแพร่ระบาดได้ง่ายและเร็วกว่าสายพันธ์ุก่อนหน้านี้ และที่หนักไปกว่านั้นคือเชื้อโอมิครอนได้เริ่มมีการแพร่ระบาดในช่วงเวลาสิ้นปี 2021 และก็คาบเกี่ยวมายังช่วงปีใหม่พอดิบพอดี

ซึ่งนี่ก็คงเป็นอีกหนึ่งสาเหตุค่ะที่ทำให้ตัวเลขของผู้ติดเชื้อสายพันธ์ุโอมิครอนนั้นพุ่งสูงอย่างน่าตกใจและก็มีแนวโน้มว่าหลังจากปีใหม่มานี้ ก็จะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อย ๆ และถ้าหากคุณกำลังกังวลเกี่ยวกับเชื้อกลายพันธ์ุโอมิครอน เชื่อว่าบทความของเราในวันนี้จะช่วยให้ไขข้อสงสัยของคุณได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นอาการของเชื้อโอมิครอนเมื่อเข้าสู่ร่างกายและสิ่งที่คุณควรรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัสที่ทั่วโลกกำลังจับตามองอย่างใกล้ชิดตัวนี้ด้วยค่ะ
โควิดสายพันธุ์โอมิครอน คืออะไร ? (1-4)
สายพันธ์ุ B.1.1.529 หรือที่มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า ‘โอมิครอน (Omicron)’ เป็นเชื้อไวรัสที่ WHO ยกระดับให้เป็นเชื้อไวรัสกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (VOC) เพราะเป็นสายพันธุ์ที่ส่งผลกระทบต่อระบบสาธารณสุขทั่วโลก เนื่องจากการแพร่ระบาดของเจ้าเชื้อตัวนี้ถือว่ารวดเร็วมากกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ที่เคยมีมาและดูเหมือนว่าตัวเลขของผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นในเวลาอันรวดเร็ว โดยมีแนวโน้มว่าในอนาคตจะมีการระบาดเพิ่มจนมาแทนที่สายพันธุ์เดลต้าได้ค่ะ
ประเทศแอฟริกาใต้คือประเทศแรกที่มีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนและหลังจากนั้นไม่นานก็พบว่ามีผู้ติดเชื้อด้วยสายพันธุ์โอมิครอนพุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ และก็เริ่มมีการกระจายไปยังอีกหลาย ๆ ประเทศอย่างรวดเร็วจนน่าตกใจ สำหรับประเทศไทยเรานั้นผู้ติดเชื้อรายแรกได้รับการรายงานว่าได้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ แต่ในพักหลัง ๆ มานี้ผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนในประเทศไทยคือผู้ติดเชื้อภายในประเทศ ไม่มีประวัติการเดินทางมาจากต่างประเทศเลยด้วยซ้ำ

สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็สืบเนื่องมาจากการกลายพันธุ์ในส่วนของโครงสร้างของโอมิครอนนั่นเองค่ะ เมื่อลองเทียบกับสายพันธุ์เดลต้าก็พบว่าสายพันธุ์โอมิครอนนั้นมีความแตกต่างกันมากพอสมควรเลยทีเดียว โดยในสายพันธุ์โอมิครอนมีกลายพันธุ์มากกว่า 30 ตำแหน่งใน spike protein หรือโปรตีนหนาม ซึ่งเป็นส่วนที่ยึดติดกับเซลล์ของมนุษย์ และจำนวนโปรตีนหนามที่มากขนาดนี้ก็ยังไม่เคยพบในเชื้อไวรัสโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ อีกด้วย
การกลายพันธุ์ในครั้งนี้ส่งผลทำให้การแพร่กระจายเข้าสู่ร่างกายรวดเร็วและง่ายดายมากขึ้น อีกทั้งยังมีความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันบางอย่างได้ นั่นหมายความว่า ถึงแม้คุณจะได้รับวัคซีนครบตามกำหนดแต่ก็ยังมีโอกาสติดเชื้อโอมิครอนตัวนี้ได้ค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็แล้วแต่จากการรายงานก็พบว่าผู้ที่ติดเชื้อโอมิครอนจะมีอาการที่ไม่รุนแรงเท่ากับสายพันธุ์เดลต้า
ติดเชื้อโอมิครอนมีอาการอย่างไร ? (7,10)
อาการผู้ป่วยติดเชื้อโอมิครอนจะเกิดขึ้นเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งจากการศึกษาจากหลาย ๆ ที่พบว่าระยะฟักตัวหลังจากสัมผัสเชื้อกับเชื้อ คือประมาณสามวันเท่านั้น ในทางตรงกันข้ามเชื้อสายพันธุ์เดลต้าใช้เวลาในการฟักตัวประมาณสี่วัน และสายพันธุ์ก่อนหน้านี้ก็ใช้เวลานานกว่าคือประมาณห้าวันเลยทีเดียว ซึ่งอาการของผู้ป่วยที่รับเชื้อโอมิครอนก็จะแตกต่างกันออกไป โดยคนที่ได้รับวัคซีนแล้วก็มีทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ และจากการวิเคราะห์เบื้องต้นระบุว่าอาการของผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ที่พบบ่อยที่สุด ได้แก่
|
|
นอกจากอาการเหล่านี้แล้วผู้ป่วยอาจมีอาการไอหรือไข้ โดยถ้าหากพบว่ามีอุณหภูมิร่างกาย 37.8 องศาหรือสูงกว่านี้ นั่นอาจจะเป็นสัญญาณบอกว่าร่างกายของคุณกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อ ทางที่ดีควรใช้เทอร์โมมิเตอร์หรือปรอทวัดไข้ตรวจเช็กความผิดปกติ แต่ถ้าคุณไม่มีก็ไม่เป็นไรค่ะ แนะนำให้ตรวจดูว่าตัวคุณเองหรือคนที่คุณห่วงใยรู้สึกร้อนเมื่อสัมผัสที่บริเวณหน้าอกหรือหลังหรือไม่ซึ่งถ้าหากรู้สึกร้อนยังบริเวณดังกล่าวนั่นอาจแปลว่าคุณมีไข้สูง
ส่วนอาการสูญเสียการรับรสและกลิ่นถือเป็นอาการที่ไม่ได้พบบ่อยในผู้ติดเชื้อโอมิครอนค่ะ หากดูจากอาการต่าง ๆ เหล่านี้แล้วจะพบว่าอาการของโอมิครอนนั้นไม่ได้แตกต่างไปจากอาการของโควิดสายพันธุ์อื่น ๆ มากนัก แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หากใครที่มีสงสัยว่าตัวเองมีอาการที่เข้าข่ายหรือได้ไปสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยให้รีบกักตัวเองเพื่อไม่ให้มีการแพร่เชื้อไปยังคนอื่นและทำการคัดกรองด้วยการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK เพื่อเป็นการคัดกรองเบื้องต้นและเร่งหาวิธีการรักษาต่อไปค่ะ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่ ติดโควิด ต้องทํายังไง – ติดต่อหน่วยงานไหนได้บ้าง)
เชื้อสายพันธุ์โอมิครอนตรวจด้วยชุดตรวจ ATK เจอไหม ? (5)
สิ่งที่หลาย ๆ คนกำลังตั้งคำถามรวมถึงกำลังเป็นกังวลกันอยู่ในขณะนี้คือชุดตรวจ ATK ที่เราสามารถตรวจหาเชื้อได้ด้วยตัวเองนั้นสามารถตรวจหาเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนได้หรือไม่?

ชุดตรวจ ATK นั้นมีการตรวจจับโปรตีน N เสียส่วนใหญ่ ซึ่งในส่วนนี้จะมีการกลายพันธุ์น้อยแต่ก็ยังสามารถตรวจจับได้ ดังนั้นแล้วชุดตรวจ ATK จึงยังสามารถใช้ตรวจหาเชื้อโอมิครอนได้ เพียงแต่ชุดตรวจที่ใช้ตรวจหาเชื้อจะต้องเป็นชุดตรวจที่ได้มาตรฐาน ผ่านการรับนรองจากหน่วยงานที่เชื่อถือ
เราขอแนะนำให้ศึกษาถึงประสิทธิภาพของการชุดตรวจแต่ละยี่ห้อก่อนทำการซื้อเพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อทางการตลาดของแต่ละแบรนด์ที่มักจะใช้คำโฆษณาที่เกินจริง ฉะนั้นควรตรวจสอบในเรื่องนี้ให้ดีเสียก่อนเพื่อประสิทธิภาพในการใช้งานและจะได้ไม่สูญเงินเปล่า
วัคซีนสามารถป้องกันโอมิครอนได้หรือไม่? (7,8,11)
จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่มีวัคซีนหรือยาตัวไหนที่สามารถรักษาโควิด 19 ให้หายขาดได้ เนื่องจากการกลายพันธุ์ก็ทำให้วัคซีนที่เราได้รับไปก่อนหน้านั้นอาจจะไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรค่ะ แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็แล้วแต่วัคซีนก็ยังถือว่าช่วยลดระดับความรุนแรงของเชื้อไวรัสได้ค่ะ
วัคซีนตัวที่ถูกใช้กันอยู่ในปัจจุบันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อโอมิครอนโดยเฉพาะ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญไม่ว่าจะทั้งในประเทศหรือต่างประเทศต่างก็ลงความเห็นตรงกันว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้วจำเป็นที่จะต้องรับวัคซีนเข็มที่ 3 เพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิหรือที่เราเรียกว่า Booster Dose นั่นเอง
การรับวัคซีนเข็ม 3 ถือว่ามีส่วนสำคัญในการป้องกันความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น โดยประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์โอมิครอนอยู่ที่ประมาณ 80 ถึง 85.9% ซึ่งวัคซีนเข้มที่ 3 จะเป็นการเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อรับมือกับเชื้อโควิดสายพันธุ์ใหม่ รวมถึงวัคซีนโควิด-19 ยังทำงานได้ดีในการป้องกันการเจ็บป่วยที่รุนแรงที่อาจขึ้นในภายหลังจากที่ได้รับเชื้อ การเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล และช่วยลดอัตราการเสียชีวิตได้ค่ะ
ในบ้านเรานั้นทาง ศบค. ได้เริ่มประกาศให้มีการเข้ารับการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็ม 3 จากเดิม 6 เดือน ให้เร็วขึ้นเป็น 3 – 6 เดือนและวัคซีนที่ใช้ในการฉีดกระตุ้นนั้นจะเป็นไวรัลแว็กเตอร์และ mRNA เท่านั้น เนื่องจากจะเป็นการกระตุ้นภูมิได้ดีกว่าการฉีดเชื้อตายเช่นเดิมค่ะ
สำหรับผู้ใหญ่และเด็กที่กำลังจะได้รับวัคซีนเข็ม 3 อาจมีผลข้างเคียงจากวัคซีนโควิด-19 เล็กน้อย เช่น มีอาการปวด มีรอยแดงหรือบวมที่บริเวณที่ฉีด อาจมีอาการอ่อนเพลีย, ปวดศีรษะ, ปวดกล้ามเนื้อ, หนาวสั่น มีไข้ และคลื่นไส้ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยผลข้างเคียงเหล่านี้อาจเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลค่ะ แต่สิ่งที่เราอยากแนะนำให้ทุกคนได้ปฏิบัติตามนั่นก็คือการเตรียมตัวให้พร้อมก่อนการเข้ารับวัคซีนค่ะ โดยคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่…เตรียมตัวฉีดวัคซีนโควิด 19 – สิ่งที่ควรทำ
ใครที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหากได้รับเชื้อโอมิครอน ? (4,10)
การติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอนส่วนใหญ่เกิดขึ้นในคนที่มีอายุยังไม่มากและเป็นคนที่มีสุขภาพที่ค่อนข้างแรง ซึ่งจากการศึกษาทางผู้เชี่ยวชาญเองก็ยังไม่สามารถระบุได้ถึงความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง แต่สำหรับทั้งสองกลุ่มนั้นก็ยังถือว่ายังมีความเสี่ยงสูงที่จะมีโอกาสได้รับเชื้อโอมิครอนได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น


ผู้สูงอายุ, ผู้ป่วยเรื้อรัง, สตรีที่ตั้งครรภ์ ต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 3 โดยเร็วที่สุด
ดังนั้นแล้วผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่ม 608 หรือกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มของผู้ป่วย 7 เรื้อรังรวมไปถึงสตรีที่ตั้งครรภ์โดยมีอายุครรภ์ 12 สัปดาห์ขึ้นไปมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนเข็ม 3 โดยเร็วที่สุด แต่ขอแน่ย้ำอีกครั้งค่ะว่าในระหว่างที่คุณยังไม่ได้รับวัคซีนเข็ม 3 นั้น คุณจำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามวิธีการป้องกันตัวเองจากโควิดเช่นเดิมและควรที่จะทำตามข้อปฏิบัติอย่างเข้มงวดค่ะ
เด็กสามารถติดเชื้อโอมิครอนได้หรือไม่? (4)
ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กต่างก็มีโอกาสรับเชื้อตัวนี้ได้ค่ะ แต่สำหรับเด็กแล้วนั้นความรุนแรงของเชื้ออาจไม่ได้รุนแรงจนเกิดถึงขั้นวิกฤต โดยส่วนใหญ่แล้วเด็ก ๆ จะมีอาการค่อนข้างน้อยหรือบางรายอาจไม่ได้มีอาการเลยด้วยซ้ำ แต่เด็ก ๆ นั้นสามารถเป็นผู้ที่กระจายเชื้อได้เป็นอย่างดี
ดังนั้นแล้วผู้เชียวชาญจึงแนะนำว่าเด็ก ๆ ควรที่จะต้องได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ถ้าหากว่าเด็ก ๆ มีอายุที่ถึงเกณฑ์ (อ่านเพิ่มเติม วัคซีนสำหรับนักเรียน – ปลอดภัยไหม มีประโยชน์หรือความเสี่ยงอย่างไร? มาดูข้อมูลจากอเมริกา CDC) แต่ไม่ว่าเด็ก ๆ จะได้รับหรือยังไม่ได้รับวัคซีนเองก็ตาม เด็ก ๆ ก็ควรมีการสวมหน้ากากอนามัย มีการเว้นระยะห่างทางสังคม และควรที่จะต้องมีปฎิบัติตามวิธีการดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโควิดเช่นเดียวกันกับผู้ใหญ่ค่ะ
สำหรับวิธีการพูดคุยกับเด็ก ๆ โดยเฉพาะเด็กเล็กนั้นผู้ปกครองจำเป็นที่จะต้องมีวิธีในการพูดหรือสื่อสารให้เด็ก ๆ เข้าใจถึงปัญหาและรับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้โดยสามารถศึกษาได้จากบทความ โควิด 19 อธิบายให้เด็กๆ เข้าใจอย่างไรดี
วิธีป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์โอมิครอน(2,10,11)
สำหรับวิธีการป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อสายพันธุ์โอมีครอนก็ไม่ได้แตกต่างอะไรจากวิธีการปฏิบัติป้องกันโควิดที่เราทำกันเป็นประจำอยู่แล้วซึ่งก็ได้แก่
1. สวมหน้ากากอนามัย
อย่างที่ทุกคนคงจะทราบกันดีอยู่แล้วค่ะว่าหน้ากากอนามัยสามารถช่วยลดโอกาสในการรับเชื้อไวรัสได้ และยิ่งมีการแพร่ระบาดที่น่าเป็นห่วงเช่นนี้ก็แน่นอนค่ะว่าการสวมใส่หน้ากากอนามัยถือว่าเป็นเรื่องสำคัญที่คุณไม่ควรละเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อคุณต้องออกไปในที่สาธารณะ, สถานที่ที่มีผู้คนพลุกพล่าน หรือสถานที่ที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อโควิด 19 แนะนำว่าควรสวมใส่หน้ากากอนามัย, หน้ากากผ้า, หน้ากาก KF94 หรือ หน้ากาก N95 ตลอดเวลา

แต่สำหรับหน้ากากผ้านั้นอาจไม่ได้มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรเมื่อเทียบกับหน้ากากที่ใช้ทางการแพทย์หรือ N95 หากเป็นเช่นนี้แนะนำให้สวมใส่หน้ากาก 2 ชั้นค่ะ โดยชั้นแรกนั้นควรใส่เป็นหน้ากากทางการแพทย์และชั้นที่สองก็คลุมด้วยหน้ากากผ้า ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อโควิดได้ดียิ่งขึ้นค่ะ
นอกจากผู้ใหญ่แล้วเด็ก ๆ ก็ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยเช่นเดียวกัน โดยผู้ปกครองควรเลือกหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กโดยเฉพาะเพราะจะมีขนาดที่พอดีกับใบหน้าของเด็ก ๆ มากกว่า อีกทั้งการใช้งานก็ไม่พอดีไม่ได้ตึงจนทำให้เด็ก ๆ รู้สึกเจ็บ และที่สำคัญคือหน้ากากอนามัยสำหรับเด็กมักจะมาพร้อมกับลวดลายที่น่ารักช่วยทำให้เด็ก ๆ ชอบที่จะสวมใส่หน้ากากอนามัยมากขึ้นค่ะ
2. งดการรวมกลุ่มหรือไปยังสถานที่ที่มีผู้คนแออัด
แน่นอนค่ะว่าข้อนี้ก็ถือเป็นข้อปฏิบัติที่สำคัญเพราะอย่างที่ทุกคนทราบดีว่าสายพันธุ์โอมิครอนนั้นสามารถส่งผ่านเชื้อไวรัสจากคนสู่คนได้อย่างรวดเร็วกว่าหลาย ๆ สายพันธุ์ทั้งหมดที่ผ่านมา ดังนั้นแล้วการที่งดหรือเลี่ยงการรวมกลุ่มหรือการออกไปยังสถานที่ที่มีผู้คนอยู่เป็นจำนวนมากถือเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดค่ะ

แต่อย่างไรก็ดีเชื่อว่าในบางครั้งคุณก็จำเป็นต้องออกไปข้างนอกเพราะด้วยความจำเป็นบางอย่าง ซึ่งในส่วนนี้ก็แนะนำให้เว้นระยะห่างทางสังคมและควรสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา รวมถึงคุณจะต้องทำความสะอาดอุปกรณ์เครื่องใช้โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์ที่จะต้องมีการใช้งานร่วมกับผู้อื่น และควรหมั่นล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่ล้างมือหรือเจลล้างมือแอลกอฮอล์ด้วยค่ะ
3. เข้ารับการฉีดวัคซีน
วัคซีนยังคงเป็นมาตรการด้านสาธารณสุขที่ดีที่สุดในการปกป้องตัวคุณเองจากการรับโควิด-19 อีกทั้งยังช่วยลดความรุนแรงหากได้รับเชื้ออีกด้วยค่ะ
สรุปแล้วโอมิครอนรุนแรงกว่าเดลต้าจริงหรือไม่ ? (2,11)
จากการสัมภาษณ์ Dr. Van Kerkhove หัวหน้าฝ่ายเทคนิคของ WHO ได้กล่าวว่าความรุนแรงของโอมิครอนนั้นไม่ได้มีความรุนแรงเท่ากับสายพันธุ์เดลต้า แต่อย่างที่เราได้นำเสนอไปค่ะส่วนที่น่าเป็นห่วงที่สุดนั้นก็คือในแง่ของการระบาดที่ติดเชื้อได้ง่ายและมีการแพร่กระจายที่รวดเร็ว และโอมิครอนสามารถหลบภูมิคุ้มกันค่อนข้างดี
แต่อย่างไรก็ตามวิธีที่รับมือกับเชื้อโอมิครอนนั่นก็คือการรับวัคซีนซึ่งวัคซีนไม่ใช่แค่จะป้องกันโอมิครอนได้อย่างเดียวแต่ยังช่วยป้องกันเชื้อเดลต้าที่ถือว่ารุนแรงกว่าได้ด้วยค่ะ และนอกจากการรับวัคซีนแล้วทุก ๆ ก็ยังต้องยึดวิธีปฎิบัติเพื่อป้องกันตัวเองเช่นเดิมและต้องเคร่งครัดกว่าเดิม อย่าให้หละหลวมเด็ดขาด ทั้งนี้ก็เพื่อเป็นการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแรงให้กับตัวคุณเองรวมถึงคนที่คุณรักด้วยค่ะ
สุดท้ายนี้เราก็ขอฝากให้ทุกคนดูแลตัวเองกันให้ดี ๆ นอกจากด้านสุขภาพกายแล้ว สุขภาพจิตเองก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรละเลย และก็ขอฝากให้ทุกคนก็อย่าลืมเรื่องของการดื่มน้ำและการพักผ่อนนอนหลับที่เพียงพอด้วยนะคะ
References :
- Classification of Omicron (B.1.1.529): SARS-CoV-2 Variant of Concern
- Dr Van Kerkhove explains why Omicron is transmitting so efficiently & how to contain the spread
- No Omicron immunity without booster, study finds
- เพจ Yong Poovorawan
- เพจ Anan Jongkaewwattana
- Omicron symptoms: Is a runny nose a cold or Covid?
- Omicron: Why do boosters work if two doses struggle?
- Booster at least 80% effective against severe Omicron
- Covid: Deadly Omicron should not be called mild, warns WHO
- Omicron: 10 things to know about the very contagious COVID-19 variant
- Omicron Variant: What You Need to Know