หากคุณเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ที่จ่ายเงิมมาโดยตลอดภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน โดยคุณว่างงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ไม่ว่าจะโดยเหตุผลลาออกเองหรืถูกเลิกจ้างรวมถึงสิ้นสุดสัญญาจ้างตามระยะเวลาที่กำหนด โดยที่คุณไม่มีความผิดตามกฎหมาย คุณสามารถขอรับ “สิทธิผู้ประกันตน กรณีว่างงาน” ซึ่งจะมีสิทธิสามารถของรับเงินชดเชยได้ โดยวันนี้เรามีวิธีการลงทะเบียนขอรับเงินชดเชยมาฝาก 3 วิธีค่ะ ได้แก่ การขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน แบบลงทะเบียนออนไลน์, แบบเดินทางไปยื่นเอกสารที่สำนักงาน และ กรณีสถานการณ์โควิด 19
เงื่อนไขการรับเงินชดเชย กรณีว่างงานของผู้ประกันตนมาตรา 33
- คุณจะต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน ณ สำนักงานจัดหางานของรัฐ ภายใน 30 วัน ตั้งแต่ที่คุณเริ่มว่างงานทันที โดยคุณไม่ต้องรอหนังสือรับรองการออกจากงานใด ๆ
- คุณจะต้องเป็นบุคคลที่มีความสามารถในการทำงาน และมีความพร้อมที่จะทำงานตามที่จัดหาได้อย่างเหมาะสม
- คุณต้องไม่ปฏิเสธการฝึกงาน
- คุณต้องไปรายงานต่อเจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางาน ไม่น้อยกว่าเดือนละ 1 ครั้ง
- หากคุณว่างงาน จะต้องไม่ใช่การเลิกจากจากกรณี:
- ทุจริต,
- ทำผิดอาญาโดยเจตนาต่อนายจ้าง,
- จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย,
- ฝ่าฝืนข้อบังคับหรือกฎระเบียนของการทำงานอันชอบด้วยกฎหมาย,
- ละทิ้งหน้าติดต่อกันเป็นเวลา 7 วันโดยไม่มีเหตุอันควร,
- มีความประมาททำให้นายจ้างได้รับความเสียหาอย่างร้ายแรง
- คุณต้องไม่ใช้ผู้ที่มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทน กรณีชราภาพ
- คุณมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนได้ตั้งแต่วันที่ 8 จากการเริ่มว่างงาน
- ไม่เป็นผู้ประกันตนโดยสมัครใจตามมาตรา 39
สิทธิที่คุณจะได้รับ กรณีว่างงาน ของผู้ประกันตนมาตรา 33
- กรณีถูกเลิกจ้าง
- คุณได้รับเงินทดแทนในช่วงที่ว่างงานไม่เกิน 180 วัน/ปี ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างโดยเฉลี่ย
- ซึ่งจะคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำ เดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดที่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ตัวอย่างเช่น : คุณมีเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 บาท คุณก็จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 5,000 บาท
- กรณีลาออกหรือหมดสัญญาการจ้างงานตามระยะเวลาที่กำหนด
- คุณจะได้รับเงินทดแทนในช่วงที่ว่างงานไม่เกิน 90 วัน/ปี ในอัตราร้อยละ 30 ของค่าจ้างโดยเฉลี่ย
- ซึ่งจะคำนวณจากฐานเงินสมทบขั้นต่ำเดือนละ 1,650 บาท และฐานเงินสมทบสูงสุดที่ไม่เกิน 15,000 บาท
- ตัวอย่างเช่น : คุณมีเงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 10,000 บาท คุณก็จะได้รับเงินชดเชยเดือนละ 3,000 บาท
- กรณีที่คุณลาออก คุณสามารถใช้สิทธิประกันสังคมต่อไปได้อีก 6 เดือน โดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย อาทิเช่น เจ็บป่วยต้องการค่ารักษาพยาบาลหรือค่าทำฟัน, กรณีคลอดบุตร, กรณีทุพพลภาพและกรณีเสียชีวิต เป็นต้น โปรดตรวจสอบ “ประโยชน์ของ ประกันสังคม แต่ละมาตรา“
- คุณต้องยื่นเรื่องรับเงินชดเชยภายใน 1 ปี
เว้นแต่ กรณีคุณว่างงานและยังเป็นผู้ประกันตนคุณจะต้องยื่นขึ้นทะเบียนว่าว่างงาน ณ สำนักงานจัดหางานของรัฐ โดยต้องยื่นสิทธิภายใน 30 วัน หลังจากถูกเลิกจ้างหรือลาออกจากงานเอง หากคุณยื่นสิทธิเกินกว่า 30 วัน หรือเกินตามที่วันกำหนด คุณจะไม่ได้รับสิทธิย้อนหลังใด ๆ และหากยื่นสิทธิเกินวันที่จะได้รับสิทธิไปแล้ว คุณจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์หรือเงินทดแทนในกรณีว่างงาน
หลักฐานที่ต้องใช้เพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7
- บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนาที่ถ่ายเอกสารบัตรประจำตัวประชาชน
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป โดยถ่ายไม่เกิน 6 เดือน
- หนังสือรองรับการออกจากงานหรือสำเนาการแจ้งการลาออกของผู้ประกันตนหรือ สปส. 6-09
กรณีที่ไม่มีสำเนา สปส. 6-09 ก็สามารถขึ้นทะเบียนว่างงานได้ - หนังสือของนายจ้างที่ให้ออก (ถ้ามี)
- สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากของธนาคาร ประเภทออมทรัพย์โดยต้องเป็นสำเนาหน้าแรกที่มีชื่อและเลขที่บัญชีของผู้ประกันตน
การขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน แบบลงทะเบียนออนไลน์
ลงทะเบียนว่างงาน กับกรมการจัดหางาน
ขั้นตอนที่ 1 : ไปที่เว็บไซต์ของ กรมการจัดหางาน หรือ empui.doe.go.th โดยเค้าจะมีให้คุณเลือกว่าคุณกำลังประสบปัญหาด้านใดอยู่ หากเป็นในช่วงสถานการณ์โควิด คุณสามารถอ่านได้จากหัวข้อด้างล้างของเรา “สิทธิผู้ประกันตน มาตาร 33 ที่ว่างงาน ในกรณีสถานการณ์โควิด 19” หากไม่ใช่ให้กดที่ข้อ 1 ค่ะ หรือไปที่ https://empui.doe.go.th/auth/register_member/1 เลยก็ได้เช่นกันค่ะ
ขั้นตอนที่ 2 : กรมการจัดหางานจะขึ้นหน้าต่างแบบในรูปมาให้คุณอ่านรายละเอียดและกดยอมรับเงื่อนไข โดยคุณหากคุณไม่กด คุณจะไม่สามารถดำเนินการขั้นตอนต่อไปได้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 3 : กรอกรายละเอียดเกี่ยวกับเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคุณตามความจริง เพื่อให้ระบบตรวจสอบความถูกต้อง และเมื่อกรอกครบถ้วนแล้วให้กดที่ตรวจสอบข้อมูล (หมายเหตุโปรดระวังตัวโอ O กับเลขศูนย์ 0 อาจจะมีความคล้ายกัน)

ขั้นตอนที่ 4 : หลังจากที่ระบบตรวจบัตรประจำตัวประชาชนเรียบร้อยแล้วจะมาที่หน้าเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนตัว ที่คุณจะต้องกรอกตามความเป็นจริงเช่นกันค่ะ โดยในส่วนแรกจะเป็นการระบุ การใช้เป็น user ในการเข้าสู่ระบบครั้งต่อไป ซึ่งคุณจะต้องจำรหัสผ่าน ที่คุณตั้งไว้ให้ดีด้วยนะคะ และต้องมีรูปภาพ สกุล .jpg/.gif/.png ที่มีขนาดไฟล์ไม่เกิน 5 MB สำหรับในส่วนที่สองคือการกรอกข้อมูลส่วนตัวปกติ จากนั้นกดลงทะเบียน

ขั้นตอนที่ 5 : เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อย ระบบจะให้คุณทำการออกหนังสือรับรองว่างงานทันที โดยคุณจะต้องกดที่ปุ่ม ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน ตามรูปเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 6 : เมื่อคุณกดที่ “ดำเนินการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนกรณีว่างงาน” เรียบร้อยแล้ว ให้คุณกดเลือก “หนังสือรับรองการขึ้นทะเบียน” เพื่อทำการนัดหมายและรายงานตัว โดยจะมีใบนัดรายงานตัวและแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 ให้คุณสามารถนำไปปริ๊นได้ค่ะ

ขั้นตอนที่ 7 : เอกสารที่ต้องเตรียมไปยื่นที่สำนักงานประกันสังคม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงาน (สปส.2-01/7)
- สำเนาสมุดบัญชีธนาคารหน้าแรกที่เป็นชื่อของคุณ
การขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน แบบเดินทางไปยื่นเอกสารด้วยตนเอง
ขั้นตอนขอรับสิทธิประโยชน์ทดแทน (เงินชดเชย) กรณีว่างงานจากสำนักงานประกันสังคม
- ไปขึ้นทะเบียนกับผุ้ว่างานที่สำนักงานจัดหางาน
- กรอกรายละเอียดแบบฟอร์มในใบขึ้นทะเบียนผู้ประกันตน กรณีที่ว่างงาน และแนบ
- 2.1 บัตรประจำตัวประชาชน พร้อมสำเนา
- 2.2 รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว 1 รูป
- กรอกรายละเอียดในแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงาน และแนบ
- 3.1 หนังสือรองรับการออกจากงาน สปส. 6-09 หรือ หนังสือของนายจ้างที่ให้ออก
- 3.2 สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากหน้าแรก
- เจ้าหน้าที่ของทางสำนักจัดหางาน จะสัมภาษณ์และตรวจสอบคุณสมบัติ รวมถึงประวัติการทำงาน
- เจ้าหน้าที่จะเลือกตำแหน่งงานมาให้ 3 ตำแหน่ง และให้คุณได้พิจารณา หากยังไม่มีงานที่เหมาะสม เจ้าหน้าที่จะส่งฝึกอบรมแรงงานตามความจำเป็น หากคุณปฏิเสธงานที่เจ้าหน้าที่จัดให้ หรือไม่ไปฝึกไม่ไปรายงานตัวตามวันที่กำหนด สำนักงานประกันสังคมจะงดจ่ายเงินทดแทนทันที
- เจ้าหน้าที่บันทึกสถานะว่างงานของคุณเข้าระบบฐานข้อมูลกลาง
- เจ้าหน้าที่สำนักงานประกันสังคม จะดึงข้อมูลของคุณ ขึ้นมาวินิจฉัยว่าตรงตามเงื่อนไขหรือไม่
- หากคุณมีคุณสมบัติครบถ้วน สำนักงานประกันสังคมจะโอนเงินทดแทน ให้แก่คุณตามข้อกำหนด เดือนละครั้ง
- หากคุณไม่พอใจในคำสั่งจ่ายเงินทดแทน สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง
คุณสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดต่อสอบถามด้วยตนเองได้ที่สํานักงานประกันสังคมทุกแห่ง หรือเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ เว็บไซต์ www.sso.co.th หรือโทร. 1506 (ตลอด 24 ชั่วโมง)
สิทธิผู้ประกันตน มาตรา 33 ที่ว่างงาน ในกรณีสถานการณ์โควิด 19
โดย ณ ตอนนี้สถานการณ์ที่ผู้คนส่วนใหญ่ตกงานในช่วงโควิด 19 นั้น สำนักงานประกันสังคมได้เปิดให้ลงทะเบียนรับเงินชดเชยสำหรับคนว่างงาน ซึ่งคุณหากคุณยื่นเรื่องขอรับเงินชดเชยผ่าน คุณจะได้รับเงินสูงสุดเกิน 7,500 บาทต่อเดือน โดยมีเงื่อนไขและขั้นตอนดังต่อไปนี้ค่ะ
เงื่อนไขขอรับเงินชดเชย กรณีว่างงาน ในช่วงโควิด 19
1. กรณีที่ภาครัฐ มีคำสั่งให้หยุดกิจการชั่วคราว
- สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประกันตนในกรณีที่ว่างงาน ร้อยละ 50 โดยจะจ่ายให้ในระยะเวลาไม่เกิน 60 วัน ซึ่งจะจ่าย 50% ไม่เกิน 7,500 บาท
- โดยคุณต้องใช้ แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 แต่ไม่ต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน
- หากนายจ้างของคุณไม่ให้คุณทำงาน 14 วัน (ชั่วคราว) เพื่อกักตัวตามนโยบายของรัฐ สืบเนื่องมาจากคุณอาจจะไปสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด 19 นายจ้างต้องรับรองการเป็นลูกจ้าง และต้องมีการระบุวันที่ลูกจ้างไม่สามารถไปทำงานได้ตามจริง โดยสามารถยื่นคำขอผู้ประกันตนและนายจ้างได้ที่ e-form เว็บไซต์ www.sso.co.th หรือไปที่ https://www.sso.go.th/eform_news/e_form.html
2. กรณีผู้ประกันตนที่ไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงาน เนื่องจากโควิด 19
- สำนักงานประกันสังคมจะจ่ายเงินชดเชยให้ผู้ประกันตนในกรณีที่ว่างงาน ร้อยละ 50 โดยจะจ่ายให้ในระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน ซึ่งจะจ่าย 50% ไม่เกิน 7,500 บาท
- คุณจะต้องเป็นผู้ประกันตน และจะต้องขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน หรือไปรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้ง ได้ที่บนเว็บไซต์ www.empui.doe.go.th โดยยื่นแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน ในกรณีว่างงาน หรือ สปส. 2-01/7 ที่ e-form เว็บไซต์ www.sso.co.th หรือ ไปที่ https://www.sso.go.th/eform_news/e_form.html
3. หรือสามารถยื่นเอกสาร ดำเรื่อง ผ่านช่องทางอื่น ๆ ได้ดังต่อไปนี้
- ไปยื่นเอกสารด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมตามที่คุณอาศัยได้ทั่วประเทศ
- คุณสามารถส่งเอกสารทางช่องทางไปรษณีย์
- หรือส่งเอกสารทาง FAX ของสำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขา
- นอกจากนี้ยังสามารถส่งเอกสารผ่านทาง e-mail หรือสำนักงานประกันสังคมพื้นที่จังหวัด/สาขากำหนด
- และสุดท้ายส่งเอกสารทางไลน์ที่สำนักงานประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขากำหนด
- โดย คุณสามารถ ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ช่องทาง :
- Facebook เพจ “สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน“
- ที่อยู่สำนักงานประกันสังคม (สำนักงานใหญ่) ได้จาก เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000
- E-mail : info@sso1506.com
- โทร. 1506 กระทรวงแรงงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง
