9 เคล็ดลับสำหรับผู้ปกครอง เปลี่ยนการเรียนออนไลน์ที่ว่ายาก ให้กลายเป็นเรื่องง่ายๆ
การระบาดของโรคโควิด 19 ยังคงรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ไปทั่วโลกและในประเทศไทยเองก็ด้วยเช่นกัน จากการระบาดระลอกที่ 2 ทำให้มีผู้ติดเชื้อในประเทศเราทุกวัน ด้วยเหตุนี้เอง กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)ได้ประกาศปิดสถานศึกษาในพื้นที่ควบคุมพิเศษ ดังนั้นระบบการศึกษาในพื้นที่ดังกล่าว(รวมทั้ง กรุงเทพฯ) จึงต้องปรับตัวกลับไปใช้การเรียนรู้ออนไลน์อีกครั้ง เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อไวรัสโคโรน่า
แต่ปัญหาส่วนใหญ่นั้นไม่เกิดจากระบบการศึกษามหาวิทยาลัย แต่มักจะเป็นระบบการศึกษาโรงเรียนสำหรับเด็กเล็ก ที่ต้องปรับตัวยากอยู่บ้างในเรื่องของการเรียนรู้สอนออนไลน์ทางไกลแบบนี้ ดังนั้นผู้ปกครองจึงต้องให้ความร่วมมือกับการปรับเปลี่ยนครั้งใหญ่สำหรับลูก ๆ ของคุณอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน
แน่นอนว่าหน้าที่ในการให้ความรู้แก่นักเรียนต้องในคอร์สออนไลน์ผ่านแอพพลิเคชั่น เช่น Zoom หรือ Google Meet จะมีครูเป็นผู้สอน แต่การทำกิจกรรมเหล่านี้ให้เสร็จสมบูรณ์ได้นั้น จำเป็นต้องได้รับความร่วมมือและคำแนะนำจากผู้ปกครองด้วยเช่นกัน ที่ไม่ว่าจะเป็นการสร้างบรรยากาศในห้องเรียน การนำเข้าสู่บทเรียน การมีกิจกรรมออนไลน์สอดแทรกระหว่างการเรียน แม้ว่าสถานการณ์โควิดอาจจะทำให้เป็นช่วงเวลาที่ตึงเครียดสำหรับทุกคน แต่สิ่งสำคัญคือต้องวางแผนและไม่ตื่นตระหนก
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
- ลูกเรียนออนไลน์ – วิธี ช่วยเด็กวัยอนุบาล ประถม 4-12 ขวบ เรียนจากที่บ้าน
- วิธี ช่วยเด็กวัยเนอสเซอรี่ 2-4 ขวบ เรียนรู้จากที่บ้าน
นอกจากการสร้างกิจกรรมที่ทำร่วมกับเด็ก ๆ ในบ้านในช่วงสถานการณ์โควิดแล้ว เมื่อใกล้ถึงเวลาเปิดเทอมนี่อาจจะเป็นช่วงเวลาที่เครียดและคาดเดาไม่ได้สำหรับทุกคน ที่ไม่ว่าจะเป็นครอบครัวผู้ปกครองหรือแม้กระทั้งตัวเด็ก ๆ เองก็ตาม แต่คุณสามารถช่วยลูกของคุณได้ ด้วยการจัดโครงสร้างและกิจวัตรประจำวันให้กับพวกเขา มันจะเป็นพลังบวกที่ดีในสร้างความกระตือรือร้นสำหรับการศึกษาของเด็ก ๆ ให้พวกเขาอยากมีส่วนร่วม และนี่คือคำแนะนำสำหรับการศึกษาออนไลน์กับลูก ๆ ของคุณ
1. จำกัดสิ่งที่ทำให้เด็ก ๆ ไขว้เขว
เพื่อให้ความสนใจของเด็ก ๆ จดจ่อกับการเรียนรู้ในคลาสออนไลน์ คุณควร เก็บพวกอุปกรณ์ของเล่นหรือสิ่งของต่าง ๆ ของเด็ก ๆ ที่พวกเชาชอบใช้ดวลาไปกับพวกมันอย่างเปล่าประโยชน์ อาทเช่น หุ่นยนต์ รถบังคับ ตุ๊กตาบาร์บี้ตัวโปรด หรือรายการโทรศัพท์ต่าง ๆ เป็นต้น โดยเก็บจนกว่าพวกเขาจะทำการบ้านเสร็จ ซึ่งคุณอาจจะมีเวลาพักเบรกให้เด็ก ๆ สำหรับคลายเครียดเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ให้พวกเขาได้อุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านั้นตามเวลาที่กำหนด และข้อสำคัญคือต้องทำให้พวกเขาทราบว่าพวกเขามีเวลาจำกัดในการเล่น เพื่อที่จะต้องกลับไปทำหน้าของตัวเองต่อ

2. สร้างพื้นที่สำหรับการเรียนรู้
หลาย ๆ คน สร้างห้องทำงานในบ้านไว้สำหรับใช้เป็นที่ทำงานของตัวเองโดยเฉพาะ ทุกคนทราบดีว่าพื้นการมีที่ส่วนตัวนั้นมันเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับการจดจ่อกับใดสิ่งหนึ่งเป็นเวลานาน เพื่อให้คุณทำงานได้อย่างประสบความสำเร็จ แน่นอนค่ะว่า เด็ก ๆ เองก็ต้องการพื้นที่เหล่านั้นสำหรับการเรียนรู้ออนไลน์เช่นกัน พื้นที่ที่เงียบสงบและมีสะดวกสบายจะทำให้เด็ก ๆ และโต๊ะเรียนหนังสือ ไม่มีเสียงดังรบกวน จัดข้าวของต่าง ๆ อย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย จะทำให้เด็ก ๆ มีความมุ่งมั่นทุ่มเท เพื่อการเรียนรู้อย่างเคร่งครัด ซึ่งจะต้องเป็นพื้นที่ที่แตกต่างจากที่เคยเล่นเกมหรือดูโทรทัศน์ด้วยนะคะ

3. มีการแบ่งเวลาที่ชัดเจน
กิจวัตรและตารางเรียนมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเด็กที่โรงเรียน และสำหรับการเรียนรู้จากที่บ้านก็ไม่ได้แตกต่างกันค่ะ เด็ก ๆ จะเรียนรู้ได้ดีที่สุด หากคุณรักษากิจวัตรประจำวันให้ใกล้เคียงกับกับตอนที่พวกเขาอยู่ที่โรงเรียนตามปกติ ไม่ว่าจะเป็น ชั่วโมงการเรียนรู้ในตอนเช้าอย่างการนอกสถานที่สำหรับให้เด็กออกไปรับวิตามินจากแสงแดดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการออกเดินเล่นหรือขี่จักรยานรอบ ๆ หมู่บ้าน หรือการพักทานเวลาอาหารกลางวันที่ดูน่าทาน โดยอาจจะให้พวกเขามีส่วนร่วนในการปรุงอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อเป็นการฝึกทักษะการทำอาหารไปด้วยในตัว หรือจะเป็นการทานของขนมขบเคี้ยวหรือชวนออกกำลังกายบ้างเล็กน้อยในช่วงเวลาพักเบรก เพื่อที่จะช่วยทำให้พวกเขาไม่เบื่อจนเกินไปที่ต้องเรียนรู้ตลอดทั้งวัน

4. อนุญาตให้พวกเขาโต้ตอบกับเพื่อน ๆ ผ่านวิดีโอแชท
มนุษย์เป็นสัตว์สังคมทุกคนต่างก็ทราบดี สำหรับตัวเด็ก ๆ เองนั้น พวกเขาก็คุ้นเคยกับการติดต่อพูดคุยหรือเล่นกับเพื่อน ๆ ที่โรงเรียนเป็นประจำ ดังนั้นเพื่อไม่ให้พวกเขารู้สึกถึงความเหินห่างจากเพื่อน ๆ (ซึ่งอาจจส่งผลกระทบให้ลูก ๆ คุณซึมเศร้าได้) คุณควรอนุญาตให้พวกเขามีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ ตามปกติ ผ่านโซเชียลมีเดียโดยการส่งข้อความหรือวิดีโอแชทเป็นต้น มันเป็นวิธีที่ดีในการเข้าสังคมโดยไม่ทำอันตรายตัวเองหรือผู้อื่นในสถานการณ์ที่ไวรัสกำลังระบาดเช่นนี้ หากลูก ๆ ของคุณไม่ได้แชทกับเพื่อนเป็นประจำ หรือไม่ได้มีเพื่อนสนิทที่เป็นชัดเจน คุณสามารถพูดคุยกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ คนอื่นในชั้นเรียนได้นะคะ

5. ปรับเลี่ยนการเรียนรู้ผ้านหน้าจออย่างเดียวเป็นอย่างอื่นบ้าง
การใช้เวลากับหน้าจอนานเกินไปสำหรับการเรียนรู้นั้น ไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีหนักสำหรับเด็กเล็กนะคะ มันอาจส่งผลเสียต่อสมองและสายตาของเด็กได้ ดังนั้นคุณควรมีการปรับเปลี่ยนการเรียนรู้ให้เข้ากับช่วงเวลาเช่นนี้ เพราะในบ้างครั้งคุณก็ต้องให้เวลาสำหรับการพักผ่อนแก่เด็ก ๆ ด้วยการให้พวกเขาเล่นเกมในโทรศัพท์ หรือดูรายการทีวีผ่านหน้าจอด้วยเช่นกัน ดังนั้นสิ่งที่คุณทำได้สำหรับการจำกัดเวลาใช้งานสำหรับหน้าจอก็คือ หลีกเลี่ยงการพิมพ์งานหรือทำการบ้านส่งคุณครูผ่านการพิมพ์ แต่ให้ขอใช้เป็นหนังสือเรียนจากโรงเรียนแทน แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นคุณก็ควรให้เด็กได้เรียนรู้ทักษะการพิมพ์งานด้วยเช่นกันนะคะ โดยอาจจะแบ่งเป็นครั้งคราวไปตามความเหมาะสม เพื่อสร้างความสมดุลในการเรียนรู้แก่เด็ก ๆ ให้มากที่สุด

6. ติดต่อกับผู้ปกครองคนอื่น ๆ
การสังสรรค์ทางสังคมมีความสำคัญในช่วงเวลานี้ แต่การติดต่อกับผู้ปกครองท่านอื่นก็เป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน เพื่อขอคำแนะนำและเคล็ดลับในการช่วยให้เด็ก ๆ เข้าถึงการเรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะว่าผู้ปกครองแต่ละคนจะมีประสบการณ์ใหม่ ๆ สำหรับเด็ก ๆ ที่ต่างกันออกไป การพูดคุยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อดูว่าใครมีวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเรียนรู้ทางออนไลน์มากที่สุด เพื่อที่ได้จะช่วยให้ลูกของคุณมีพัฒนาการที่ดีขึ้น หรือบางทีก็เพื่อที่ได้ถามว่ามีผู้ปกครองคนไหนที่ต้องการความช่วยเหลือหรือไม่ มันเป็นเรื่องที่ดีถ้าเราจะมีน้ำใจให้แก่กันในยามวิกฤตเช่นนี้ 🙂
7. ตารางเรียน ตารางเวลา สำคัญเสมอ
การเรียนจากที่บ้านอาจจะเป็นประสบการณ์ครั้งแรกของผู้ปกครองหลาย ๆ คน ดังนั้นการกำหนดตารางที่ชัดเจนจึงเป็นเรื่องสำหรับ โดยเป็นตารางที่ไม่เพียงแต่ใช้ในเวลาเรียนรู้เท่านั้นแต่รวมไปถึงเวลานอนหลับด้วย โดยพยายามทำให้ตารางเวลานนั้นมีความคล้ายกับตัวที่พวกเขาไปโรงเรียนตามปกติมากที่สุด การจัดตารางเวลาต่าง ๆ ให้ชัดเจน อาทิเช่น ตารางเรียน วันกำหนดส่งการบ้าน รายการที่ต้องทำให้ช่วงเวลานี้ และรายที่ห้ามทำในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกำหนดเป็นสีให้ชัดเจน วิธีเหล่านี้จะช่วยทำให้เด็ก ไม่รู้สึกว่าตัวอยู่บ้านไปวัน ๆ แบบไร้ความหมาย เพราะพวกเขามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบ ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าคุณควรจะสร้างเป้าหมาย และกำหนดเวลาเหมือนผู้ใหญ่ เพื่อที่เวลาเด็ก ๆ บรรลุเป้าหมายพวกเขาจะได้มีความภูมิใจตัวเอง

8. อย่าปล่อยให้ลูก ๆ ของคุณ คิดว่านี่เป็นวันหยุดพักผ่อน
เวลานี้ที่บ้านอาจรู้สึกเหมือนเป็นวันหยุดพักผ่อนสำหรับลูกของคุณ แต่สิ่งสำคัญคือต้องเตือนพวกเขาว่าการศึกษาของพวกเขายังคงต้องมาก่อนเสมอ พวกเขามีหน้าที่ต้องรับผิดชอบเช่นเดิมนั้นคือการเรียน และเกรดการทดสอบต่าง ๆ จะไม่ได้หายไปเพียงเพราะเราปรับมาเรียนแบบออนไลน์ ทุกอย่างจะยังคงอยู่เช่นเดิม และอย่าลืมให้ความช่วยเหลือในยามที่เด็กต้องการ หรือในยามที่เด็ก ๆ ไม่เข้าใจเนื้อหาการเรียน การปล่อยให้เด็ก ๆ ต้องเรียนรู้เพียงลำพัง เพราะไม่เช่นนั้นจะมใหเพวกเขาเบื่อที่จะเรียนในที่สุดนะคะ

9. อย่าลืมกำหนดเวลาเพื่อความสนุกสนาน
แม้ว่านี่จะไม่ใช่วันหยุดพักผ่อน แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่คุณจะต้องสนุกกับลูก ๆ ของคุณบ้าง ขณะที่พวกเขาอยู่ที่บ้าน มันจะเป็นเรื่องยากที่คุณจะมีเวลาอยู่กับลูก ๆ ของคุณ ดังนั้นใช้โอกาสนี้ในการสร้างความสัมพันธ์ของคุณกับลูก ๆ อาทิเช่นการเกมที่ไม่ใช่แค่เกมในโทรศัทพ์ อย่าง การต่อจิ๊กซอว์, ต่อ Legos, เล่นเกมล่าสมบัติ, เล่น Bubble Bath หรือเล่นลูกโป่ง เป็นต้น