อย่างที่เรารู้กันดีอยู่แล้วว่าเด็กอายุต่ำกว่า 6 เดือนต้องทานนมแม่เป็นหลักหรือนมที่ดัดแปลงสำหรับทารก ยังไม่ควรให้ทานอาหารอย่างอื่น เพราะระบบย่อยอาหารของเด็กนั้นยังไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ แต่เมื่อถึงอายุวัย 6 เดือนแล้วนั้น นมอย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของร่างกายลูกน้อยแล้ว และในช่วงวัยนี้ลูกก็มีความพร้อมที่มากขึ้นเกี่ยวกับการกลืนอาหารด้วยตัวเองอีกด้วยนะคะ ซึ่งเป็นเรื่องน่าตื่นเต้นสำหรับคุณแม่คุณพ่อและลูกน้อยใช่มั๊ยคะ ที่ลูกน้อยถึงวัยที่จะได้ลิ้มลองอาหารใหม่ ๆ นอกเหนือจากนมแม่แล้ว
แต่ก็ใช่ว่าลูกน้อยสามารถทานอาหารได้ทุกชนิด เพราะระบบย่อยอาหารของลูกน้อยยังไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ เมื่ออาหารชนิดนั้นผ่านเข้าสู่ลำไส้และกระแสเลือด ระบบภูมิคุ้มกันของลูกก็พยายามที่จะกำจัดสิ่งแปลกปลอมนั้นออกไป ทำให้เกิดอาการโรคภูมิแพ้เกิดขึ้น ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่จึงควรมาทำความรู้จักกับอาหารกลุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้สำหรับลูกน้อย แต่ก็ใช่ว่าลูกจะไม่สามารถทานอาหารเหล่านั้นได้ตลอดไปนะคะ แค่รอให้ถึงวัยที่เหมาะสม และระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างสมบูรณ์เสียก่อน เรามาดูกันค่ะว่าอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงมีอะไรกันบ้าง
10 อาหารสำหรับเด็กเล็ก ที่ควรหลีกเลี่ยง (1,2,3,4,5)
1. เกลือ (Salt)
โดยเรารู้กันดีอยู่แล้วว่าการรับประทานเกลือในปริมาณมากมีผลต่อการทำงานของไต ซึ่งยิ่งเด็กวัยทารกนี่ยิ่งควรหลีกเลี่ยงอย่างยิ่ง เพราะระบบภายในของเด็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่
ดังนั้นอย่าใส่เกลือลงในอาหารหรือเครื่องปรุงอาหารต่าง ๆ ของลูกน้อย และอย่าใช้ก้อนปรุงรส (สต็อกก้อน) หรือน้ำราดเกรวี่ เพราะอาหารเหล่านี้มักมีปริมาณโซเดียมที่สูง
หากคุณวางแผนที่จะให้ลูกน้อยทานอาหารแบบเดียวกันกับสมาชิกคนอื่นในบ้านแล้วนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงอาหารเหล่านี้ เช่น เบคอน, ไส้กรอก, มันฝรั่งทอดโรยเกลือ, แครกเกอร์ และอาหารสำเร็จรูปต่าง ๆ เป็นต้นค่ะ
2. น้ำตาล (Sugar)

อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่าน้ำตาลนั้นนอกจากให้รสชาติที่อร่อยแล้วนั้น ยังไม่เห็นประโยชน์อย่างอื่นอย่างใดเลย เพราะน้ำตาลคือเจ้าตัวที่ทำให้ลูกน้อยเสี่ยงต่อโรคอ้วนและฟันผุ ในที่นี่ไม่ใช่เพียงน้ำตาลที่เรารู้จักเพียงอย่างเดียวนะคะ แต่รวมไปถึงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลแฝงอยู่ด้วย เช่น น้ำอัดลม, ตังเม, คาราเมล, เจลลี่, น้ำผลไม้ และชอคโกแลต เป็นต้น
3. ไขมันอิ่มตัว (Saturated Fat)
ไขมันอิ่มตัวเป็นไขมันที่อันตรายต่อร่างกาย การรับประทานไขมันอิ่มตัวในปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลพุ่งสูงขึ้นได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูงมากเกินไป ซึ่งอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงได้แก่ ขนมปังกรอบ, บิสกิต (Biscuit), ชีส ,เนย และเค้ก เป็นต้น
4. น้ำผึ้ง (Honey)

คุณพ่อคุณแม่หลายท่านคงคิดว่าน้ำผึ้งไม่น่าจะเป็นอันตรายต่อร่างกาย เนื่องจากเป็นความหวานจากธรรมชาติ แต่คุณอาจลืมไปอย่างหนึ่งว่าน้ำผึ้งคือของดิบ ซึ่งนั่นคือในน้ำผึ้งอาจมีแบคทีเรียปะปนมาได้ ซึ่งแบคทีเรียตัวนี้สามารถสร้างสารพิษในลำไส้ของทารกที่จะนำไปสู่โรคโบทูลิซึมในทารก (Botulism) ซึ่งเป็นอาการป่วยที่ร้ายแรงมากในเด็กทารก ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงอย่าให้รับประทานน้ำผึ้งจนกว่าลูกจะอายุเกิน 1 ขวบ อีกอย่างหนึ่งคือน้ำผึ้งมีความหวาน ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงก็จะช่วยป้องกันฟันผุได้เช่นกัน
5. ถั่วและถั่วลิสง (Whole Nuts And Peanuts)
ถั่วคือแหล่งโปรตีนที่สูงในพืช แต่ถึงจะมีประโยชน์อย่างไรก็ไม่ควรให้ด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี รับประทานถั่วและถั่วลิสงเพราะอาจทำให้เด็กสำลักได้ หากคุณต้องการให้ลูกรับประทานถั่วและถั่วลิสง คุณสามารถให้ได้ตั้งแต่อายุประมาณ 6 เดือน แต่คุณต้องบดให้ละเอียดที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ เช่น เนยถั่ว (Peanut Butter)
![]() | Wealthy เนยถั่วรสช็อคโกแลตเข้มข้น สูตรหวานน้อย | |
![]() | Healthy Mate เนยถั่วคลีน Unsweetened | |
![]() | SKIPPY เนยถั่วลิสงบดชนิดละเอียด |
หากมีประวัติแพ้อาหารหรืออาการแพ้อื่น ๆ ในครอบครัวของคุณ คุณควรปรึกษาแพทย์ของคุณก่อนจะให้ลูกน้อยทานถั่ว
6. ชีส (Cheese)
ชีสอุดมไปด้วยแคลเซียม โปรตีน และวิตามิน ทารกตั้งแต่ลูกน้อยอายุ 6 เดือน สามารถรับประทานชีสไขมันเต็มที่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ได้ ซึ่งรวมถึงชีสชนิดแข็งเช่น เชดดาร์ชีสชนิดอ่อน คอทเทจชีส และครีมชีส
ทารกและเด็กเล็กไม่ควรกินชีสชนิดเนื้อนิ่มที่สุกจากเชื้อรา เช่น บรี (Brie) หรือคาเมมเบอร์ท (Camembert) หรือชีสนมแพะที่สุกแล้ว และชีสชนิด Blue gained เนื่องจากมีความเสี่ยงสูงที่ชีสเหล่านี้อาจมีแบคทีเรียที่เรียกว่า ลิสเทอเรีย (Listeria)
ชีสหลายชนิดทำจากนมที่ไม่ได้ผ่านการฆ่าเชื้อ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งเหล่านี้เนื่องจากความเสี่ยงจากแบคทีเรียลิสเทอเรีย (Listeria) คุณสามารถตรวจสอบฉลากบนชีสเพื่อให้แน่ใจว่าทำจากนมพาสเจอร์ไรส์หรือไม่
7. ไข่ดิบและสุกเล็กน้อย (Raw And Lightly Cooked Eggs)
ทารกสามารถทานไข่ได้ตั้งแต่ประมาณ 6 เดือน คุณพ่อคุณแม่ไม่ควรให้ลูกน้อยทานไข่ดิบ หรือไข่ที่ไม่สุกดี เพราะมีหลายคนที่แพ้ไข่ โดยแบ่งเป็นการแพ้ 3 ประเภทคือแพ้ไข่ขาว แพ้ไข่แดง และแพ้ไข่ทั้งฟอง ซึ่งส่วนใหญ่ที่แพ้คือแพ้ไข่ขาว หากคุณจะให้ลูกน้อยทานไข่ คุณควรให้ลูกทานไข่แดงก่อน และเริ่มป้อนไข่ขาวในปริมาณน้อยๆ ได้ แต่หากครอบครัวของคุณมีประวัติแพ้อาหาร คุณควรรอจนกว่าลูกจะอายุ 1 ขวบ จึงค่อยให้ลูกลองทานไข่ คุณควรหลีกเลี่ยงไข่ดิบรวมไปถึงส่วนผสมของเค้กที่ไม่ได้ปรุงให้สุก ไอศกรีมโฮมเมดมายองเนสโฮมเมด หรือขนมหวานที่มีไข่ดิบ
แนะนำเครื่องต้มไข่ไฟฟ้า
8. สัตว์น้ำที่มีเปลือกและหอยชนิดต่างๆ (Raw Shellfish)
สัตว์น้ำที่มีเปลือก เช่น หอยนางรม, หอยแมลงภู่, ปลาหมึก, กุ้ง, ปู, กุ้งทะเลขนาดใหญ่, กุ้งแม่น้ำ, กุ้งก้ามกราม และปู คุณควรให้ลูกเริ่มรับประทานอาหารทะเลหลังจากอายุ 1 ขวบไปแล้ว เพราะอาหารทะเลเหล่านี้อาจจะพิษที่อันตรายต่อทารกได้ค่ะ
9. ชาหรือกาแฟ (Tea And Coffee)

เครื่องดื่มใดๆ ก็ตามที่มีคาเฟอีนไม่เหมาะสำหรับทารกและสารแทนนิน (Tannin) ในชาอาจขัดขวางการดูดซึมธาตุเหล็ก ไม่ว่าจะเป็นชา, ชาเขียว หรือกาแฟ เป็นต้น
10. นมวัว (Cow’s Milk)

นมวัวอุดมไปด้วยแคลเซียม และโปรตีนปริมาณที่สูง ซึ่งปริมาณโปรตีนที่สูงอาจทำให้ร่างกายลูกไม่สามารถรับปริมาณโปรตีนที่สูงได้ จึงอาจจะส่งผลให้แพ้นมวัว ช่วงเวลาที่เหมาะสมหรับการให้ลูกลองดื่มนมวัวคือช่วงวัย 1 ขวบขึ้นไป โดยให้ลองในปริมาณน้อยๆ ก่อนนะคะ เพื่อดูว่าร่างกายของลูกตอบสนองอย่างไรบ้าง หากไม่มีอาการอะไรก็ค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น
เด็กทารกเป็นวัยที่ต้องการทะนุถนอมเป็นอย่างมากในทุกๆด้าน รวมไปถึงเรื่องอาหารด้วย หวังว่าคุณแม่คุณพ่อทุกท่านคงได้ความรู้จากบทความนี้แล้ว ดังนั้นควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดนะคะ คุณควรรอจนกว่าจะแน่ใจว่าลูกของคุณมีความพร้อมในการทานอาหารเหล่านี้เมื่อถึงวัยอันควร และควรให้ลูกลองรับประทานในปริมาณน้อยๆก่อน เพื่อตรวจสอบการตอบสนองของร่างกาย ลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภูมิแพ้ของลูกด้วยค่ะ
ก่อนจากกันเราก็มีบทความดี ๆ เกี่ยวกับการให้อาหารลูกน้อย ที่ไม่ว่าจะเป็น การให้นมลูกท่าไหนดี สำหรับคุณแม่ที่มีปัญหาในการให้นมลูก, อาหารเสริมสำหรับทารกที่จะช่วยให้ลูกคุณได้สารอาหารอย่างครบถ้วนตามวัยที่พวกเขาต้องการ, เครื่องทำอาหารเด็กที่จะช่วยบดอาหารที่คุณทำเองให้อย่างละเอียดลดการสำลัก และอย่าลืมที่สอนเด็ก ๆ เรียนรู้ที่จะหยิบตักอาหารเข้าปากด้วยตัวเองเพื่อเป็นการเสริมสร้างพัฒนาของลูก คุณอาจจะต้องมีตัวช่วยให้ลูกทำกิจกรรมเหล่านี้ด้วยการใช้ ผ้ากันเปื้อนเด็กและไฮแชร์เก้าอี้นั่งกินข้าวสำหรับเด็กเป็นต้น
References