Coronavirus หรือ COVIC-19 เป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ที่กำลังแพร่กระจายไปแล้วทั่วโลก เริ่มต้นของเชื้อนั้นเกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2019 จนปัจจุบันนี้ เมษายน 2020 เชื้อไวรัสโคโรน่ายังคงแพร่ระบาดอยู่อย่างไม่มีท่าทีว่าจะยุติลง ทั้งยังได้ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อโควิดทั่วโลกอยู่ที่ประมาณ 1.5 ล้านราย และยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 87,984 ราย (ณ วันที่ 9 เมษายน 2020) แม้ว่าจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นทุกวัน ๆ แต่ก็ยังไม่มียาที่สามารถฆ่าไวรัสหรือวัคซีนที่สามารถป้องกันได้
มีความคืบหน้าอะไรที่กำลังจะเกิดขึ้นบ้าง?
อย่างที่เคยกล่าวไว้แล้วในบทความก่อนเกี่ยวกับ “วัคซีนสำหรับไววัสโคโรน่า” ที่ว่าเชื้อ Coronavirus นั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น SARS-CoV, MERS-CoV, Human Coronavirus (ซึ่งเชื้อเหล่านี้เราได้เคยคิดค้นวัคซีนได้แล้ว) และหนึ่งในอีกเชื้อที่ชื่อว่า SARS-CoV-2 นั้นคือเชื้อของโรค COVIC-19 (โควิด-19) ที่เรากำลังเผชิญอยู่นี้ โดยตามหลักแล้วเมื่อมันเป็นเชื้อที่อยู่ในกลุ่ม Coronavirus เหมือนกัน จึงมีโครงสร้างรหัสพันธุกรรมคล้าย ๆ กัน โดยก่อนหน้านี้ได้มีการเริ่มทดสอบวัคซีนกับสัตว์ และกำลังจะมีการทดสอบกับมนุษย์กลางปี 2020
ซึ่ง ณ ตอนนี้กำลังเริ่มเข้ากลางปีมีความคืบหน้าอะไรที่กำลังจะเกิดขึ้นบ้าง เราจะมา Update ข่าวสารให้คุณได้อ่านกันค่ะ
ความคืบหน้าเกี่ยวกับวัคซีนสำหรับ COVIC-19
การวิจัยมีความคืบหน้าจนเร็วอย่างน่าตกใจ และมีวัคซีนมากกว่า 20 ชนิดที่กำลังพัฒนาอยู่ อาทิเช่น
มีวัคซีนที่ใช้ในการทดลองกับมนุษย์ครั้งแรก โดยนักวิทยาศาสตร์ที่ห้องปฏิบัติการในเมือง Seattle ประเทศสหรัฐอเมริกา แม้ว่าการทดลองครั้งนี้จะไม่ได้ทดลองกับสัตว์ก่อน เพื่อทดสอบความปลอดภัยหรือประสิทธิภาพของวัคซีนเลยก็ตาม
ห้องปฏิบัติการของสหรัฐอเมริกา ที่กำลังพัฒนาวัคซีนโคโรนาไวรัส คลิปวีดีโอจาก www.bbc.com
นักวิทยาศาสตร์ชาวออสเตรเลีย มีการทดสอบวัคซีนที่มีศักยภาพสองชนิดไปแล้วกับสัตว์ทดลอง (พังพอน) และกำลังอยู่ในขั้นตอนทดสอบกับมนุษย์ภายในสิ้นเดือนเมษายน
การทดสอบเช่นนี้กำลังเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางคนใช้วิธีทดสอบตามมาตราฐานคือการทดลองกับสัตว์ก่อนแล้วจึงทดลองกับมนุษย์ หรืออาจจะทดลองกับมนุษย์เลย แต่ไม่ว่าจะด้วยวิธีไหน นักวิทยาศาสตร์ทั่วทุกมุมโลกก็ต่างกำลังเร่งพัฒนาวัคซีนกันอย่างรวดเร็ว แม้จะไม่มีการรับประกันว่าทุกอย่างจะราบรื่น โดยมีการคาดการร์กันว่า นักวิทยาศาสตร์จะสามารถผลิตวัคซีนที่ประสบความสำเร็จในครึ่งหลังของปี 2021
ยาที่มีอยู่สามารถรักษา COVIC-19 ได้หรือไม่?
ขณะนี้แพทย์กำลังทดสอบยาต้านไวรัสในปัจจุบันที่มีอยู่ เพื่อดูว่ายาพวกนี้สามารถรักษา COVIC-19 ได้หรือไม่ สิ่งนี้จะช่วยเร่งการวิจัยให้เร็วขึ้น เนื่องจากพวกเขารู้ว่าปลอดภัยสำหรับคน
ยา Remdesivir: การทดลองนี้เกิดขึ้นที่อังกฤษและสก็อตแลนด์ กับผู้ป่วยจำนวนน้อยที่มีเชื้อไวรัส โดยใช้ยาเรมเดซิเวียร์ (Remdesivir) ที่ได้รับการพัฒนามาเป็นยาอีโบลา (Ebola) แต่ก็มีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสหลากหลายชนิด ซึ่งการทดลองที่คล้ายคลึงกันนี้ ได้ดำเนินการแล้วในประเทศจีนและสหรัฐอเมริกาและคาดว่าจะได้ผลลัพธ์ในอีกไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า
ยา Lopinavir และ Ritonavir: มีการคาดหวังว่ายารักษาสำหรับผู้ป่วย HIV ได้แก่ โลพินาเวียร์ (Lopinavir) และ รีโทรนาเวียร์ (Ritonavir) จะมีประสิทธิภาพในรักษา COVIC-19ได้ แต่ข้อมูลที่จากการทดลองนั้น ไม่สามารถใช้รักษาได้ เพราะไม่สามารถลดการเสียชีวิต หรือลดจำนวนไวรัสโคโรน่าในผู้ป่วย Covid-19 ที่ร้ายแรงได้ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการทดลองกับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยหนัก ๆ ซึ่งผลออกมาหนึ่งในสี่นั้นเสียชีวิต บางทีมันอาจจะสายเกินไปสำหรับผู้ที่ติดเชื้อ จนยาไม่สามารถที่จะรักษาได้
ยา Chloroquine: นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเกี่ยวกับยาต้านมาลาเรียที่เรียกว่า Chloroquine ซึ่งการทดสอบในห้องปฏิบัติการ แสดงให้เห็นว่ามันสามารถฆ่าไวรัสและยังมีหลักฐานพอสมควรจากแพทย์ที่ดูเหมือนว่าจะช่วยรักษาได้ อย่างไรก็ตามล่าสุดองค์การอนามัยโลก WHO กล่าวว่าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาตัวนี้
วัคซีนจะปกป้องคนได้ทุกวัยหรือไม่?
ความสามารถของวัคซีนจะน้อยลงในในผู้สูงอายุ แน่นอนว่าสิ่งนี้ไม่ได้เกิดจากตัววัคซีนเอง แต่ระบบภูมิคุ้มกันสำหรับผู้ที่มีอายุมากขึ้น ร่างกายจะไม่ตอบสนองต่อการสร้างภูมิคุ้มกันมากเท่าหนุ่มสาว เราจะเห็นสิ่งเหล่านี้ได้ทุกปี จากโรคไข้เลือดออก เป็นต้น

ใครจะได้รับวัคซีนบ้าง?
หากวัคซีนได้รับการพัฒนาแล้ว แน่นอนว่ามันจะอยู่ค่อนข้างจำกัดในช่วงแรก ๆ ดังนั้นผู้ที่จะได้รับวัคซีนป้องกันจะต้องจัดตามลำดับความสำคัญ อาทิเช่น บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเสี่ยงสูงสุด เพราะต้องใกล้ชิดกับผู้ป่วย Covid-19 ที่จะมาเป็นอันดับแรก ลองลงมาก็จะเป็นผู้สูงอายุ เพราะ Covid-19 เป็นอันตรายถึงชีวิตมากที่สุดในผู้สูงอายุ (หากวัคซีนนั้นมีประสิทธิภาพในกลุ่มผู้สูงอายุ) แต่อย่างไรก็ตาม อาจเป็นการดีกว่าที่จะฉีดวัคซีนให้สำหรับผู้ที่ต้องอยู่ใกล้ชิดหรือผู้ที่ต้องดูแลผู้สูงอายุแทน
ระหว่างรอการพัฒนาวัคซีน ควรทำอย่างไร
หากคุณไม่ได้ติดเชื้อสิ่งที่ควรทำคือการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโคโรน่าหรือเตรียมตัวรับมือให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distinction) ทั้งในภายและนอก อาทิเช่นการเว้นระยะห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร งดออกไปข้างนอก หรือไปพื้นที่เสี่ยงการติดเชื้อ (พื้นที่ผู้คนแออัด) โดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องออกควรสวมหน้ากากผ้าหรือสามารถเรียนรู้วิธีทำ Face Shield ง่ายเพื่อเป็นเกราะป้องกันใบหน้าอีกขั้น และพกแอลกอฮอล์เจล แอลกอฮอล์แผ่นทำความสะอาด หรือ ทิชชู่ผสมแอลกอฮอล์ โดยที่ทุกอย่างจะต้องมีความเข้มข้นแอลกอฮอล์อย่าง 70% ในการฆ่าเชื้อให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่เน้นกักตัวอยู่ที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหรือแพร่กระจายเชื้อ ควรมีรายการสิ่งของที่ต้องเตรียมไว้สำหรับของใช้จำเป็นในชีวิตประจำวันและรวมถึงของใช้ที่จำเป็นสำหรับเด็กด้วยเช่นกัน เพื่อที่จะนอกไปข้างบ้านเท่าที่จำเป็น
หากคุณมีอาการหรือติดเชื้อ Covid-19 สำหรับคนส่วนใหญ่มันจะไม่รุนแรงและสามารถรักษาได้ง่าย ๆ โดยทานยาและรักษาไปตามอาการ สำหรับต่างประเทศนั้นผู้ป่วยประเภทนี้สามารถรักษาตัวได้ทั้งบ้าน แต่ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการรุนแรงมากนั่นคือภาวะเชื้อลงปอดจะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาล
ที่มา www.bbc.com