เทคนิค สอนให้พี่น้องรักกัน ทำได้ง่ายๆ

สารบัญ

การที่จะมีสมาชิกใหม่เพิ่มเข้ามาในครอบครัวนั้น เป็นเรื่องที่น่ายินดีปรีดาเป็นอย่างมากของคนเป็นพ่อเป็นแม่ แต่ไม่ใช่ว่าสมาชิกทุกคนจะมีความสุขและตื่นเต้นไปกับพ่อแม่สะทุกคน พี่ชาย/พี่สาว อาจจะมีอะไรในใจที่ขุ่นคิด ไม่ได้ดีใจ 100 % อย่างพ่อแม่ ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกนะคะ เพราะสถานะของเขาก็เปลี่ยนไปเช่นกัน ก็อาจส่งผลกระทบต่อพี่สาว/พี่ชาย ผู้ซึ่งเคยได้รับความเอาใจใส่อย่างเต็มที่มาก่อนได้ เด็กบางคนก็รู้สึกไม่ได้มีความสุข ไม่ตื่นเต้น และรู้สึกต้องปรับตัวยาก ไม่เพียงแต่พ่อแม่ต้องเตรียมความพร้อมของตัวเองเท่านั้นนะคะ พ่อแม่เองยังต้องเตรียมความพร้อมพี่ๆก่อนด้วยเช่นกัน โดย

เตรียมความพร้อมพี่สาว/พี่ชาย ระหว่างกำลังตั้งครรภ์

เตรียมความพร้อมพี่สาว/พี่ชาย ระหว่างกำลังตั้งครรภ์
  • บอกว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ เราจะมีสมาชิกคนใหม่เข้ามาในบ้านเร็วๆนี้
  • โชว์รูปภาพของเด็กทารก
  • อ่านหนังสือเกี่ยวกับการคลอดบุตร (ต้องดูให้เหมาะสมกับวัยของลูกด้วยนะคะ)
  • พาลูกไปเยี่ยมบ้านที่มีเด็กแรกเกิด
  • ร่วมกันตั้งชื่อน้อง
  • อาจจะพาลูกไปหาหมอด้วยกัน จะได้ฟังเสียงหัวใจน้องในท้อง และเห็นภาพอัลตร้าซาวด์




เช็กโปรโมชั่น Lazada ลดราคาสินค้าลาซาดาเดือนมีนาคมเช็กโปรโมชั่น Lazada ลดราคาสินค้าลาซาดาเดือนมีนาคมเช็กโปรโมชั่น Lazada ลดราคาสินค้าลาซาดาเดือนมีนาคม

เคล็ดลับที่พ่อแม่ควรทำให้พี่สาว/พี่ชายเมื่อสมาชิกใหม่คลอดมาแล้ว (1)

1. กิจวัตรประจําวันและกิจกรรมเดิมของพี่สาว/พี่ชาย

พยายามที่จะทำให้กิจวัตรที่เคยทำอยู่ยังคงดำเนินไปเหมือนเดิมไม่ว่าจะไปเล่นที่สนามเด็กเล่น, ไปเจอเพื่อนๆวัยเดียวกับลูก และเล่านิทานก่อนนอน อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะจัดการบริหารเวลาในช่วงสัปดาห์แรกๆ แต่ถ้ายึดมั่นในการปฏิบัติที่จัดไว้ก็จะช่วยให้พี่รู้สึกว่าเขายังได้รับเวลาจากพ่อแม่เหมือนเดิม

2. ต้องยอมรับว่าพี่สาว/พี่ชาย อาจไม่รักน้องในตอนแรก

พวกเขาอาจไม่รู้สึกในแบบที่คุณคิดว่าพี่ต้องรักน้อง เข้าใจดีค่ะว่าพ่อแม่จะมีความสุขเมื่อเห็นพี่น้องโอบอ้อมอารีแบ่งปันความสุขกัน แต่บางครั้งมันก็ไม่ได้เป็นอย่างที่เราคิด พยายามลดความคาดหวังเพราะเป็นอะไรที่ใหม่สำหรับเขา คือต้องใช้เวลาในการสานความสัมพันธ์แบบค่อยเป็นค่อยไป

3. เตรียมพร้อมที่จะรับมือกับความต้องการที่มากขึ้น

พี่สาว/พี่ชาย อาจต้องการความสนใจมากขึ้น ซึ่งเรื่องนี้เพื่อนๆ หรือญาติๆ อาจเข้ามาช่วยคุณได้ โดยมาเล่นกับพี่ พาออกไปเดินเล่น แต่พี่ๆก็ยังต้องการเวลาตัวต่อตัวกับคุณพ่อคุณแม่นะคะ เพื่อให้พวกเขาไม่รู้สึกว่าพวกเขาถูกลืมไป

4. ช่วยส่งเสริมให้พี่สาว/พี่ชายให้ความสนใจน้อง

เด็กบางคนไม่ได้รักน้อง แต่เขาพบว่าเด็กทารกน่าสนใจ คุณพ่อคุณแม่สามารถช่วยสนับสนุนได้โดยการพูดคุยกับเขาเกี่ยวกับเมื่อตอนเด็กเขาก็เป็นทารกแบบนี้ เอาของเล่นเก่าๆของเขาออกมา และให้โชว์รูปลูกเมื่อตอนยังเป็นทารกให้ดู

5. หันเหความสนใจของพี่สาว/พี่ชาย ระหว่างที่คุณกำลังให้นมหรือป้อนอาหาร ทารก

พี่สาว/พี่ชาย อาจจะรู้สึกไม่ได้รับความสนใจและอิจฉาเมื่อคุณกําลังให้นมทารกอยู่ เพราะทารกยังเป็นวัยที่ต้องช่วยเหลือขณะที่ให้นมหรือป้อนอาหาร ดังนั้นก่อนที่คุณจะเริ่มให้นมทารกหรือป้อนอาหาร ก็อาจจะหากิจกรรมให้พี่ได้ทำได้เล่นก่อน หรืออาจใช้ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเล่านิทาน อ่านหนังสือ หรือพูดคุยกันกับพี่

6. อดทนกับพฤติกรรมที่พี่สาว/พี่ชายกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งนีง

พี่ๆอาจขอขวดนม ต้องการให้อุ้ม หรืออยากจะฝึกเข้าห้องน้ำ(potty trained)อีกครั้ง นี่คือพฤติกรรมที่ปกติดังนั้นอย่าให้พฤติกรรมเหล่านี้เข้ารบกวนคุณ และคุณไม่ควรลงโทษพวกเขา

7. ความอิจฉาและความไม่พอใจ

เป็นเรื่องที่มีเปอร์เซนการเกิดขึ้นมากทีเดียวสำหรับการอิจฉา อันนี้แก้ได้ด้วยการขอความช่วยเหลือจากคุณพ่อ เพื่อนหรือญาติ เพื่อให้คุณได้มีเวลาอยู่คนเดียวกับลูกแต่ละคน นี่ก็จะช่วยให้คุณจัดการกับความต้องการของลูกๆแต่ละคนได้

8. ให้พี่สาว/พี่ชาย มีส่วนร่วมกับการเลี้ยงน้อง

คุณอาจจะให้พี่มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนผ้าอ้อมน้อง ช่วยหยิบของใช้ ให้ช่วยอ่านหนังสือให้น้องฟัง พูดคุยกับน้อง หรือเล่นเกมส์ต่างๆ โดยให้พี่เป็นฮีโร่มาช่วยน้องให้พ้นอันตราย




วิธีส่งเสริมความสัมพันธ์พี่น้องที่ดี

วิธีส่งเสริมความสัมพันธ์พี่น้องที่ดี (2)

ลูกของคุณมีความสัมพันธ์ที่ดีหรือไม่ หรือพวกเขามีแนวโน้มที่จะต่อสู้มากกว่าเล่นสนุกด้วยกันหรือเปล่า?

คุณพ่อคุณแม่มีบทบาทสําคัญในการช่วยเพิ่มความสัมพันธ์ที่ดีของพี่น้อง และลดการแข่งขัน ความขัดแย้งกัน โดยส่งเสริมกิจกรรมที่เสริมการทํางานเป็นทีม, ให้เล่นเพื่อความสนุกสนานร่วมกัน และให้ลูกได้รู้กับการรับมือกับการขัดแย้งได้อย่างสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ที่ดีที่ช่วยให้พวกเข้าเป็นส่วนหนี่งของกันและกันที่ในชีวิตของพวกเขา

การวิจัยได้แสดงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ของพี่น้องมักจะส่งต่อถึงบทบาทสําคัญในความสัมพันธ์อื่น ๆ เช่น กับเพื่อน, คนรัก และอื่น ๆ ในภายภาคหน้าของชีวิต

เคล็ดลับเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ดี

ความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องมีความสําคัญอย่างมาก หลายครอบครัวสามารถส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างลูกบุญธรรมและลูกของเขา ซึ่งเขาทำได้อย่างไรนั้น เรามาดูกันคะ

1. อย่าเปรียบเทียบพี่กับน้อง

ก่อนอื่นพยายามอย่าพูดสิ่งที่ต้องการ “ทําไมลูกไม่ฟังเหมือนพี่ชายล่ะ” การเปรียบเทียบลูกเป็นวิธีที่อาจไปจุดไฟการแข่งขันของพี่น้องและสร้างความไม่พอใจ อิจฉากันของลูกได้

2. หาสาเหตุว่ามีอะไรอยู่เบื้องหลังความขัดแย้งของพี่น้อง

ลูกๆ ของคุณมักจะเถียงกันเมื่อเขาพยายามที่จะได้รับความสนใจจากคนอื่นๆ หรือไม่, พวกเขาแข่งขันที่จะให้คุณสนใจเขาหรือไม่,  ลูกทะเลาะกันมากขึ้นเมื่อพวกเขาเหนื่อยหรือเบื่อหรือไม่?

เมื่อคุณเห็นรูปแบบความขัดแย้งที่เกิดขึ้นของลูกๆ ก็อาจพบคำตอบที่อธิบายพฤติกรรมที่เกิดได้, พยายามที่จะแก้ไขปัญหาเหล่านั้นเพื่อลดความขัดแย้งของพี่น้อง ตัวอย่างเช่น คุณลองใช้เวลาตัวต่อตัวกับลูกแต่ละคน และพยายามช่วยให้ลูกมองหาวิธีที่จะรับมือกับการที่ลูกอีกคนเรียกร้องความสนใจโดยใช้วิธีสันติ

3. สอนลูกให้ลูกยอมรับความแตกต่างของกันและกัน

ลูกของคุณคนหนึ่งอาจจะเป็นเด็กที่รักการนั่งและอ่านอย่างเงียบๆ และอีกคนหนึ่งอาจจะชอบเล่นเกมส์ เมื่อเด็กมีความสนใจและมีอารมณ์ที่แตกต่างกันมากๆ อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งเกิดขึ้นได้

สิ่งที่สําคัญคือการสอนลูกวิธีการเคารพความแตกต่างเหล่านั้น และเป็นห่วงซึ่งกันและกัน รักกัน หากลูกคนหนึ่งต้องการที่จะทำกิจกรรมที่ผาดโผน ในขณะลูกอีกคนที่ต้องการทํากิจกรรมที่เงียบสงบ คุณสามารถที่จะวางแผนให้ลูกๆ ได้สามารถทํากิจกรรมร่วมกัน หรือผลัดกันทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ หรือหาสิ่งที่ลูกมีความสนใจร่วมกันเพื่อให้สนุกกันทั้งพี่และน้อง

4. ให้ลูกทํางานเป็นทีม

นี่เป็นหนึ่งในวิธีที่บริษัทสร้างการทํางานเป็นทีมและความร่วมมือในหมู่พนักงานของเขา เมื่อพนักงานมีส่วนร่วมในการออกกําลังกายและกิจกรรมที่สนับสนุนการทํางานร่วมกัน ก็ทำใหเงานลุล่วงไปด้วยดี คุณพ่อคุณแม่สามารถใช้หลักการนี้กับลูกๆ โดยให้ลูกทํางานบ้านร่วมกันในหรือช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

อาจจะเริ่มจากกิจกรรมง่ายๆ เช่นตกแต่งห้องด้วยกัน รดน้ำต้นไม้ หรือการทําความสะอาดโรงรถด้วยกัน โดยกิจกรรมและเวลาที่จะให้ลูกทำนั้นต้องมีความเหมาะสมกับอายุของลูก

หรืออาจจะแบ่งทีม โดยให้ลูกๆอยู่ทีมเดียวกัน และผู้ใหญ่อยู่อีกทีมหนึ่ง สามารถส่งเสริมให้ลูกทํางานร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน

5. สร้างทักษะการฟัง

ความสามารถในการฟังเป็นทักษะที่สําคัญสําหรับเด็กที่จะพัฒนาและช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะเอาใจใส่กับคนอื่นๆรอบข้าง และเห็นมุมมองของคนอื่น เพื่อเข้าใจความคิดเห็นของกันและกัน

6. ให้ความสําคัญต่อการเคารพซึ่งกันและกัน

การฟังเป็นวิธีหนึ่งที่จะแสดงถึงความเคารพซึ่งกันและกัน และความเคารพเป็นสิ่งสําคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีได้ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนหรือพี่น้อง คอยเตือนลูกว่าเขาควรปฏิบัติต่อผู้อื่นในแบบที่เขาต้องการได้รับการปฏิบัติกลับด้วยความเมตตาและความห่วงใยต่อความรู้สึกของคนอื่นๆ

การเคารพรวมไปถึงการพูดคุยกันโดยใช้น้ำเสียงที่ดีแม้ในขณะที่ไม่เห็นด้วย และไม่ละเมิดพื้นที่และทรัพย์สินของคนอื่น เช่น ไม่เข้าไปในห้องพี่/น้องโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือใช้ของคนอื่นโดนไม่ได้รับอนุญาต

7. สอนให้พวกเขาความเคารพความแตกต่าง

คนที่รักกันบางครั้งอาจมีความเห็นไม่ตรงกันบ้าง – นั่นคือสัจธรรมของชีวิต แต่เรามีวิธีการที่จะจัดการกับความขัดแย้งเหล่านั้นได้ โดยการ สอนลูกๆ ของคุณว่าพวกเขาไม่ใช้สรรพนามเรียกชื่อคนอื่นหรือพี่น้องด้วยคำหยาบคาย ควรโต้ตอบกันด้วยเหตุ คำพูดที่ดีไม่ใช่การทำร้ายร่างกายกัน

8. สร้างเวลาแห่งความสนุกสนาน

ครอบครัวที่สนุกสนานด้วยกันจะมีโอกาสน้อยที่จะมีความขัดแย้ง ลองเลือกเกมส์และกิจกรรมที่สามารถเพลิดเพลินได้ทั้งครอบครัว เช่น ปั่นจักรยาน หรือดูหนังใหม่สําหรับเด็ก เป็นต้น

9. ตำหนิลูกต่อหน้าพี่หรือน้อง

การดุตำหนิลูกต่อหน้าคนอื่น จะทำให้ลูกรู้สึกเสียหน้าคนอื่นหรือพี่น้อง อาจทำให้ลูกขาดความมั่นใจ และคนอื่นเองก็อาจจะไม่เกรงใจลูกในอนาคต แต่ในทางกลับกันหากคุณชมลูกคนหนึ่ง คนใดบ่อยๆ ต่อหน้าคนอื่นหรือพี่น้อง ลูกที่ถูกชมก็จะมีความถือตัวเองเป็นสำคัญ คนอื่นก็จะอิจฉาและเกิดความหมางใจได้ คุณพ่อคุณแม่ควรเรียกลูกมาพูดทีละคน ถามไถ่ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แล้วจึงอบรม แนะนำลูก

ขอให้พ่อแม่มีความพยายาม หมั่นฝึกฝนตัวเอง เพราะมีหลายๆทักษะอาจจะฝืนความเป็นธรรมชาติของตัวคุณ แต่เมื่อคุณมีความพยายามมุ่งมั่น และมีเป้าหมายชัดเจน ก็จะช่วยลูกรักใคร่ปรองดอง เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน นำมาซึ่งความความสงบร่มเย็นภายในบ้านของคุณ คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็สบายใจไปด้วย คุณจะรู้สึกว่าเวลาที่คุณได้ทุ่มเทไปไม่เสียไปไหนเลย

ส่งเสริมความสัมพันธ์ดีระหว่างพี่น้อง

สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่กำลังมองหาเคล็ดลับที่จะทำอย่างไรให้ทารกหรือลูกน้อยของคุณหลับได้นานขึ้น เรามีบทเพลงกล่อมเด็กในเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษมาแนะนำกันค่ะ อีกทั้งยังมีเทคนิคการให้นมลูกสำหรับคุณแม่ที่ปัญหา และการทำอย่างไรให้ลูกน้อยหยุดร้อง เป็นต้น

แต่สำหรับใครที่มีประสบการณ์การเลี้ยงเด็กจากลูกคนแรกอยู่แล้ว และคุณต้องการเคล็ดลับในการเลี้ยงลูกสำหรับเด็กวัยกำลังโตมากกว่า เราก็มีบทความดี ๆ มาแนะนำเช่นกันค่ะ ไม่ว่าจะเป็น เคล็ดลับการเรียนออนไลน์สำหรับเด็กในยุคใหม่, การฝึกลูกนั่งกระโถนเพื่อเลิกแพมเพิส, เมนูอาหารสำหรับเด็กกินยาก, เลี้ยงลูกอย่างไรให้เด็กรู้สึกไว้ใจ, ต้องทำอย่างไรเมื่อลูกจำเป็นต้องย้ายโรงเรียนและสุดท้ายคือการเลี้ยงลูกเชิงบวก เพื่อให้ลูกของคุณเติบโตมาอย่างมีคุณภาพ เราหวังว่าบทความเหล่านี้จะช่วยคุณได้บ้างไม่มากก็น้อยนะคะ

References

  1. Introducing your toddler to a new baby : Your pregnancy and baby guide
  2. Sibling Relationships and Influences in Childhood and Adolescence
Best Review Asia

Best Review Asia

เขียน แปล เรียบเรียงบทความ และพิสูจน์อักษร จากทีมเบสท์รีวิว เอเชีย เราหวังว่าบทความนี้จะให้ประโยชน์กับทุก ๆ คนค่ะ

Next Post