ทุกคนต่างทราบดีว่าเมนูอาหารเช้าที่มีประโยชน์และใช้เวลาทำไม่นานอย่างข้าวโอ๊ตนั้น เป็นเมนูอาหารเช้าที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในตอนนี้ เพราะว่าข้าวโอ๊ตมีทั้งคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน, วิตามิน, แร่ธาตุ รวมถึงไฟเบอร์และยังปราศจากกลูเตน* ถือว่ามีคุณค่าทางโภชนาการที่สูง ซึ่งข้าวโอ๊ตจะช่วยคุณในเรื่องการลดน้ำหนัก, ลดคอเลสเตอรอล และทำให้ระบบภายในลำไส้ของคุณแข็งแรง ดังนั้นเราจึงไม่แปลกใจที่ใคร ๆ ต่างก็หันมาบริโภคข้าวโอ๊ตกันอย่างล้นหลาม แต่อันที่จริงแล้วข้าวโอ๊ตนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่เรากล่าวมา ซึ่งเราจะมาบอกถึงประโยชน์ทั้ง 7 ของข้าวโอ๊ตกันในบทความนี้ค่ะ
หมายเหตุ* ข้าวโอ๊ตบางชนิดยังคงมีกลูเตนอยู่ ดังนั้นโปรดตรวจสอบยี่ห้อที่คุณทานก่อนทุกครั้ง หากคุณเป็นผู้ที่แพ้กลูเตน
7 ประโยชน์ของข้าวโอ๊ต
1. ข้าวโอ๊ต อุดมไปด้วยไฟเบอร์ (Fiber)
ข้าวโอ๊ตในปริมาณ 1 ชาม นั้นจะให้ไฟเบอร์ (Fiber) ที่คุณควรได้รับตามปริมาณที่แนะนำต่อวันได้อย่างพอดี ถามที่สถาบันวิชาการแห่งชาติด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา หรือ National Academies of Sciences, Engineering, and Medicine ระบุไว้ว่า
- ผู้ชายอายุต่ำกว่า 50 ปี : ควรบริโภคไฟเบอร์อย่างน้อย 38 กรัมต่อวัน
- ผู้หญิงอายุต่ำกว่า 50 ปี : ควรบริโภคไฟเบอร์อย่างน้อย 25 กรัมขึ้นไปต่อวัน
ดังนั้นการการรับประทานอาหารที่อุดมด้วยไฟเบอร์ หรือ อาหารที่อุดมด้วยธัญพืช จะสามารถช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, มะเม็งเต้านม, มะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งทวารหนัก (1)
2. ข้าวโอ๊ตเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสำหรับทานคู่กับอย่างอื่น
ข้าวโอ๊ตจะอุดมไปด้วยคาร์โบไฮเดรต ดังนั้นเพื่อให้อาหารเช้าของคุณกลายเป็นมื้อที่มีดีต่อสุขภาพมากขึ้น คุณสามารถเพิ่มท็อปปิ้งด้วยโปรตีนและไขมันที่ดีต่อสุขภาพได้ อาทิเช่น วอลนัท, นมอัลมอนด์, พีแคน, เนยถั่ว หรือเมล็ดเจีย เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะช่วยเพิ่มโปรตีน, ไขมันไม่อิ่มตัว และไฟเบอร์มากยิ่งขึ้น หรืออาจจะเป็นผลไม้สดก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่ดีเช่นกัน คุณลองใส่สตรอเบอร์รี่, บลูเบอร์รี่, ราสเบอร์รี่ หรือโยเกิร์ต ลงในชามข้าวโอ๊ตของคุณดู คุณจะพบว่านอกจากเสริมสารอาหารเพิ่มเติมอย่างไฟเบอร์แล้วยังมีรสชาติที่อร่อยอีกด้วยนะคะ (2)

![]() | เมล็ดเจีย iHealth Organic Chia Seeds | |
![]() | เมล็ดเจียออร์แกนิค Organic Garden Chia Seeds | |
![]() | Organic Chia seeds Slim Healthy เมล็ดเจีย |
3. ข้าวโอ๊ตช่วยเสริมสร้างระบบการย่อยอาหารที่ดีขึ้น
เส้นใยหรือ Fiber ในข้าวโอ๊ตเป็นสิ่งที่ดีสำหรับสุขภาพโดยรวมของคุณ และมันยังมีบทบาทที่สำคัญเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารอีกด้วย เพราะไฟเบอร์ในข้าวโอ๊ตนั้น มีส่วนช่วยให้การทำงานของลำไส้และป้องกันอาการท้องผูกทำให้อุจจาระง่ายขึ้น และยังทำให้ต่อจุลินทรีย์ชนิดดีที่อาศัยในลำไส้ให้มีสุขภาพดีขึ้น จุลินทรีย์ชนิดดีเหล่านี้อาจช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหารของคุณ อาทิเช่น ท้องร่วง,ท้องผูก และโรคลำไส้แปรปรวน (3)
4. ข้าวโอ๊ต ช่วยลดคอเลสเตอรอล
ในข้าวโอ๊ตมีเส้นใยที่ละลายน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เรียกว่า เบต้ากลูแคน (β-glucan) ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลที่อาจสะสมในผนังหลอดเลือดรวมถึงระดับน้ำตาลกลูโคสได้ (3,4) ซึ่งหากคุณไม่ควบคุมระดับคอเลสเตอรอลเลย และปล่อยให้คอเลสเตอรอลสูงอาจจะระดับเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจได้อีกด้วยนะคะ (5)
5. ข้าวโอ๊ต ช่วยลดไขมันหน้าท้อง
ข้อดีอีกประการหนึ่งสำหรับเส้นใยที่ละลายน้ำได้ในข้าวโอ๊ตคือ อาจช่วยลดไขมันที่สะสมในอวัยวะภายใน ซึ่งเป็นประเภทของไขมันส่วนกลางที่เกาะอยู่ตามอวัยวะของคุณ และไขมันพวกนนี้อาจจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ แม้ว่าดัชนีมวลกายของคุณจะถือว่าเป็นปกติก็ตาม
มีการศึกษาจากผู้ที่เป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ที่ทานข้าวโอ๊ต สามารถลดน้ำตาลในเลือด, ไขมันในเลือดและลดน้ำหนักได้ดีกว่ากลุ่มคนที่กินอาหารเพื่อสุขภาพ ไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้เป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่ช่วยกำจัดไขมันสะสม อีกทั้งยังควบคุมฮอร์โมนแห่งความอยากอาหารได้อีกด้วยนะคะ ทำให้คุณรู้สึกอิ่มนานขึ้น จึงเหมาะสำหรับคนที่ลดน้ำหนัก (6,7
6. ข้าวโอ๊ตสามารถช่วยเพิ่มพลังให้กับร่างกาย และอาจเพิ่มภูมิคุ้มกันได้
ข้าวโอ๊ตนั้นประกอบไปด้วยวิตามินบีรวม, แมงกานีส, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม และสังกะสี ตัวอย่างเช่นข้าวโอ๊ตปรุงสุก 1 ถ้วย จะมีธาตุเหล็กประมาณ 1-2 มิลลิกรัม (8) ซึ่งธาตุเหล็กเหล่านี้จะเพิ่มพลังให้กับร่างกาย และช่วยกระตุ้นกระบวนการนำพาออกซิเจนผ่านร่างกายของคุณ โดยผ่านจากปอด (9) ข้าวโอ๊ตปรุงสุก 1 ถ้วย ยังให้สังกะสี (Zinc) อยู่ที่ประมาณ 1.5 มิลลิกรัม ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันด้วยนะคะ (10)
7. ข้าวโอ๊ตเต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เพื่อช่วยป้องกันโรค
บ่อยครั้งที่หากจะพูกสารต้านอนุมูลอิสระ สิ่งแรกที่คุณนึกถึงคือผลไม้และผัก แต่อันที่จริงแล้วข้าวโอ๊ตก็มีสารต้านอนุมูลอิสระเช่นกัน ซึ่งมันมีสารต้านอนุมูลอิสระเฉพาะที่เรียกว่า Avenanthramides (AVAs) ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม Polyphenol เป็นสารตัวต่อต้านมะเร็ง (11)
References
- Carbohydrate quality and human health: a series of systematic reviews and meta-analyses
- Know Your Food Groups : Fruits
- The Nutrition Source : Oats
- Meta-analysis of the effect of β-glucan intake on blood cholesterol and glucose levels
- HDL (Good), LDL (Bad) Cholesterol and Triglycerides
- Short- and Long-Term Effects of Wholegrain Oat Intake on Weight Management and Glucolipid Metabolism in Overweight Type-2 Diabetics: A Randomized Control Trial
- Dietary fiber and satiety: the effects of oats on satiety
- Oatmeal, regular or quick, made with water, fat not added in cooking
- Iron Fact Sheet for Consumers
- Zinc Fact Sheet for Health Professionals
- Overview of the Anticancer Profile of Avenanthramides from Oat