“ทำไมเราจึงต้องมีการกักตัว?“ หลาย ๆ คนอาจจะตั้งคำถามนี้ขึ้นมาในช่วงที่สถานการณ์โรคโควิด 19 กำลังระบาด เพราะการกักตัวดูเหมือนจะเป็นกิจกรรมยอมนิยมของทุกคนไปโดยปริยาย เหตุผลที่คุณจำเป็นต้องกักตัวนั้นก็เพราะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะแพร่กระจายเชื้อและรับเชื้อ แน่นอนค่ะว่าการกักตัวนั้นไม่ได้มีเพียงในกรณีของผู้ที่เสี่ยงติดเชื้อ/ผู้ที่ติดโควิดแล้วเท่านั้น เพราะคนปกติ/คนที่มีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อก็สามารถกักตัวอยู่บ้านได้เช่นกัน เพียงแต่ข้อบังคับต่าง ๆ ของการกักจะไม่มีรายละเอียดปลีกย่อยมากมายให้น่าปวดหัว ดังนั้นเพื่อไม่ให้คุณต้องมาคอยลิสต์รายการที่จะต้องทำ ในวันนี้เราจึงมี “วิธีกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน กรณีเข้าข่ายเป็นกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิค 19” มาฝากกันค่ะ

สำหรับใครที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิค 19 นั้น อย่างแรกเลยคุณต้องทราบก่อนว่า ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการว่าป่วยในช่วงประมาณ 14 วันแรกที่รับเชื้อเข้ามา โดยจะเรียกว่าเป็นระยะฟักตัวของเชื้อนั้นเอง แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นก็มีรายงานว่าพบผู้ป่วยที่แสดงอาการหลังผ่านไปแล้ว 24 วัน นั้นหมายความระยะฟักตัวของเชื้อโควิค 19 นั้นอาจจะขึ้นอยู่กับสุขภาพร่างกายของแต่ละคนด้วย แต่โดยส่วนใหญ่แล้วจะแสดงอาการไม่เกิน 14 วัน ดังนั้นนี่จึงเป็นคำตอบสำหรับผู้ที่สงสัยว่าทำไมต้องกักตัวเองเพื่อดูอาการเป็นเวลาตั้ง 14 วันค่ะ
คุณจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิค 19 ที่ต้องกักตัว หรือไม่?
กลุ่มเสี่ยงในที่นี้คือ บุคคลที่ได้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ หรือ ผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง
หากเป็นเมื่อก่อน คุณอาจจะแค่กักตัวเพื่อดูอาการให้ครบ 14 วัน หากมีอาการแล้วค่อยไปตรวจหาเชื้อใช่มั้ยคะ? แค่ปัจจุบันนี้คุณสามารถตรวจหาเชื้อแล้วกักตัวได้พร้อมกัน โดยจะอาจจะมีการตรวจหาเชื้อมากกว่า 1 รอบต่อคน เพราะเนื่องจากเราพบผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการและผลตรวจก็ไม่ติดเชื้อมากขึ้น ดังนั้นเมื่อผลตรวจรอบแรกออกมาแล้วว่าไม่ติดเชื้อ ก็ยังคงต้องกักตัวต่อให้ครบ 14 วันอยู่ดีค่ะ จึงสรุปได้ว่า
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจร่างกายเพื่อหาเชื้อโควิด-19 (ค้นหาสถานที่ตรวจโควิด)
-
- ติดโควิด : รักษาที่โรงพยาบาล 2-7 วัน และจะส่งไปยังโรงพยาบาลเฉพาะกิจหรือ Hospitel ซึ่งแล้วแต่อาการความรุนแรงของแต่ละคน (โดยผู้ป่วยจะต้องกันตัวเป็นระยะเวลา 14 วันนับจากตรวจพบเชื้อ) สามารถอ่านต่อได้ที่ “การแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามอาการ“
- ไม่ติดโควิด : ต้องกักตัวต่อให้ครบ 14 วัน และอาจจะต้องมีการตรวจเชื้อซ้ำ
ขั้นตอนที่ 2 กักตัว เพื่อสังเกตอาการ 14 วัน
หมายเหตุ : ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ต่อให้มีอาการคล้ายจะเป็นโควิดหรือไม่มีอาการ ก็ต้องได้รับการตรวจหาเชื้อและต้องกักตัวให้ครบ 14 วันค่ะ
สิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการกักตัวอยู่ในบ้าน กรณีจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิค 19 (1)
→ ฉันต้องกักตัวไหม หากผลตรวจ ไม่ติดโควิด?
หากคุณเป็นแค่คนที่ไม่มีประวัติเสี่ยง แล้วผลออกมาว่าไม่ติดโควิด คุณก็ไม่จำเป็นต้องกักตัว แต่กรณีนี้ค่อยข้างเกิดขึ้นได้น้อยมาก เนื่องจากการตรวจโควิดฟรีของรัฐนั้นจะตรวจให้เฉพาะกับผู้ที่มีอาการและผู้ที่มีประวัติเสี่ยงเท่านั้นค่ะ
ซึ่งหากคุณเป็นคนที่มีประวัติเสี่ยง อาทิเช่น เดินทางมาจากต่างประเทศ คุณก็ต้องกักตัวที่โรงแรมสําหรับกักตัว Alternative State Quarantine (ASQ) ก่อนค่ะ หรือคุณเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ รวมถึงเดินทางมาจากจังหวัดที่เสี่ยง ไม่ว่าผลตรวจจะออกมาเป็นอย่างไร คุณจะต้องกักตัวเป็นวัน 14 วัน เพื่อรอดูอาการ และตรวจผลรอบ 2
→ การเดินทาง (สำหรับเริ่มกักตัววันแรก)
แน่นอนว่าคุณจะต้องไปตรวจเชื้อก่อนเริ่มกักตัวและจะต้องรอผลตรวจเป็นวัน ซึ่งหากคุณไม่ได้กักตัวกับสถานที่ที่ทางหน่วยงานรัฐจัดไว้ให้ นั้นหมายความว่าคุณจะต้องเดินทางกลับมากักที่บ้าน ซึ่งการเดินทางนั้นควรจะใช้รถส่วนตัวมากกว่า แต่ในกรณีที่คุณจำเป็นต้องใช้รถสาธารณะ ก็สามารถใช้ได้ค่ะ เพียงแค่ให้คุณรีบกลับเข้าที่พักทันทีโดยไม่แวะที่ไหนต่อ, พยายามรักษาระยะห่างทางสังคม ระหว่างตัวเองและผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร และสวมหน้ากากตลอดทางกลับบ้าน ซึ่งห้ามถอดหน้ากากหรือเอาหน้ากากมาไว้ใต้คางโดยเด็ดขาด และจะต้องใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ, สเปรย์แอลกอฮอล์ หรือสำลีชุบแอลกอฮอลล์เช็ดทำความสะอาดพื้นผิวที่สัมผัสอยู่เสมอ เพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเข้มข้นของแอลกอฮอล์อย่างน้อย 70-75% เพื่อให้สามารถฆ่าเชื้อไวรัสโคโรน่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ


→ เริ่มต้นกักตัวที่บ้านอย่างไรดี หากที่บ้านอาศัยเป็นครอบครัว?
นี่เป็นปัญหาที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้สำหรับผู้ที่ต้องอาศัยอยู่กับพ่อแม่และพี่น้อง สิ่งแรกที่คุณต้องทำเลยก็คือแยกพื้นที่ให้ชัดเจน หากคุณมีห้องนอนเป็นของตัวเองก็จงกักตัวเองไว้ในห้องนอนเป็นเวลา 14 วัน โดยพยายามออกมานอกห้องให้น้อยที่สุด หากมีความจำเป็นจริง ๆ จะต้องมีการทำความสะอาดในพื้นที่บริเวณนั้นอย่างจริงจัง โดยใช้น้ำยาทำความสะอาดที่สามารถฆ่าเชื้อได้
นอกจากนี้ทั้งคุณผู้อาศัยในบ้านคนอื่น ๆ จะต้องหมั่นทำความล้างมือตัวเองเป็นประจำบ่อย ๆ โดยการใช้สบู่และน้ำสะอาดก็เพียงพอต่อการกำจักเชื้อโรคได้แล้วเคล็ดลับการล้างมือที่ถูกต้องต้องใช้เวลาประมาณ 20 วินาที หรือร้องเพลงแฮปปีเบิร์ดเดย์ สองรอบ หรือคุณอาจจะสวมถุงมือยางอนามัยเพื่อป้องกันก็ยังได้ค่ะ กรณีที่ต้องเช็ดทำความสะอาดวัตถุหรือพื้นผิวใดบ่อย ๆ แนะนำให้ใช้แผ่นเช็ดทำความสะอาดฆ่าเชื้อแบบทำเองหรือทิชชู่เปียกผสมแอลกอฮอล์ 75% เพราะใช้งานสะดวกและใช้เวลาในการทำความสะอาดไม่นานด้วย และนี่ก็คือรายการที่เราได้ลิสต์มาให้คุณแล้ว มาดูกันค่ะ

- แยกห้อง : ทำการแยกห้องนอน ห้องน้ำ กับสมาชิกในบ้าน ห้องนอนควรมีอาการถ่ายเท แสงแดดส่องถึง
- กรณีที่ต้องใช้ห้องนอนร่วมกัน ให้ตั้งเตียงห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
- กรณีที่ต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน คุณจะต้องอาบน้ำเป็นคนสุดท้าย และจะต้องทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ ที่สัมผัสด้วยแอลกอฮอล์ที่เข้มข้นอย่างน้อย 70-75% สำหรับการกดชักโครกก็ต้องปิดฝากด เพื่อป้องกันน้ำกระเด็น
- แยกของใช้ส่วนตัว : เสื้อผ้า, ผ้าเช็ดตัว, ผ้าห่ม, ยาสีฟัน, สบู่, ช้อนส้อม, จานชาม, แก้วน้ำ, สก็อตไบร์ทล้างจาน ฯลฯ
- สำหรับเสื้อผ้านั้นต้องแยกทำคงามสะอาดและไม่ควรสะบัดผ้า ที่สำคัญควรทำความสะอาดส่วนต่าง ๆ ของเครื่องซักผ้าด้วย คุณสามารถเข้าไปอ่าน วิธีซักผ้าอย่างไรในช่วงสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 เพิ่มเติมได้ค่ะ
- เตรียมอุปกรณ์ป้องกันให้พร้อม : แม้ว่าจะแยกห้องออกแล้ว แต่คุณจะต้องมี หน้ากากอนามัย, ปรอทวัดไข้, แอลกอฮอล์ที่เข้มข้นอย่างน้อย 70-75%, ยารักษาตามอาการเบื้องต้น อย่างเช่น ยาลดไข้ , ยาแก้ไอ
- แยกถังขยะ: และควรจะมีฝาปิดให้มิดชิด สำหรับขยะของคุณเองจะต้องใช้ถุงขยะอย่างน้อย 2 ชั้น และให้เก็บถุงขยะเหล่านั้นไว้ก่อน จนกว่าคุณจะทราบผลตรวจเชื้ออีกครั้งหลังวันที่ 14
- ไม่ทานข้าวร่วมกับสมาชิกคนอื่น
- เว้นระยะห่าง อย่างน้อย 2 เมตร หรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิด โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ เด็กเล็ก หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว
- สวมหน้ากาก ตลอดที่ต้องออกจากห้องส่วนตัว
- ล้างทำความสะอาดมือบ่อย ๆ
- งดกิจกรรมนอกบ้านทุกอย่าง
- กรณีอยากจะจามหรือไอ : ใช้กระดาษทิชชูแทนการเอามือป้องปิดปาก เพราะไม่ควรจามหรือไอตรง ๆ โดยไม่มีอะไรปิดปาก จากนั้นทิ้งกระดาษทิชชูลงถังขยะให้เรียบร้อย กรณีที่ไม่ได้พกกระดาษทิชชูให้ใช้ข้อศอกแทนค่ะ
→ กักอยู่ที่บ้ายคนเดียว แต่ต้องการความช่วยเหลือ ทำอย่างไร?
การกักตัวหมายถึงการอยู่บ้านเป็นเวลา 14 วัน โดยไม่ไปทำงาน, ไม่ไปโรงเรียน หรือสถานที่สาธารณะอื่น ๆ กรณีต้องการความช่วยเหลือ หากคุณต้องการอาหาร หรือยารักษาโรค คุณสามารถขอให้เพื่อนหรือคนรู้จักช่วยส่งของให้ แต่ไม่ควรให้พวกเขาเหล่านั้นเข้ามาในบ้าน คุณอาจจะออกไปเอาด้วยตัวเองโดยการสวมหน้ากากให้มิดชิด หรือถ้าจะให้ดีมาก ๆ ให้พวกเขาเหล่านั้นแขวนของใช้ที่จำเป็นไว้หน้าประตู และอย่าลืมเตือนให้พวกเขาล้างมือด้วยนะคะ โดยคุณอาจจะเอาแอลกอฮอล์เจลล้างมือที่ทำเองตั้งไว้หน้าประตู เพื่อเป็นการขอบคุณในน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ วิธีเหล่านี้สามารถใช้ร่วมกับพนักงานส่งอาหารได้ด้วยนะคะเพื่อน ๆ

→ หากคุณมีอาการคล้ายจะติดโควิดระหว่างกักตัว
มีไข้ (หรือไม่มีก็ได้), มีการไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส, มีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก หายใจถี่ หรือรู้สึกเจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที (2,3)
หมายเหตุ พบอาการใหม่โควิด-19 : ให้วิธีสังเกตความผิดปกติของผิวหนังและดวงตาว่า “มีผื่น” + “ตาแดง” หรือไม่? (2,3)
ให้คุณไปติดต่อยังหน่วยวานกรมควบคุมโรคติดต่อ หรือโทร 1669 ในเวลา 08.00-22.00 น. ทุกวัน สำหรับสายด่วนโทร 1330 และ 1668 เพื่อประสานงานรับตัวไปรักษา โดยอย่าลืมแจ้งให้แพทย์ทราบว่าคุณจัดอยู่ในคนกลุ่มเสี่ยงประเภทใด และคุณมีอาการอย่างไร ที่สำคัญห้ามปิดบังหรือให้ข้อมูลอันเป็นเท็จกับแพทย์เด็ดขาดนะคะ

References