กลับมาอีกครั้งกับการระบาดของโควิด 19 ระลอกที่ 3 ในประเทศไทย (ระลอกใหม่เมษายน 2564) ที่ครั้งนี้ส่งผลเป็นวงกว้างไปทั่วทั้งประเทศเลยก็ว่าได้ ทั้งยังรุนแรงกว่า 2 ครั้งก่อนมาก ๆ เพราะล่าสุดผู้ติดเชื้อก็ไม่มีการแสดงอาการใด ๆ ออกมาให้เห็น จึงทำให้ยากต่อการควบคุมโรคเป็นเท่าตัว เนื่องจากผู้ติดเชื้อเองก็ไม่รู้ตัวว่าตนเองได้รับเชื้อมาตั้งแต่ตอนไหน ซึ่งการระบาดในครั้งนี้ถือว่าสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก
ถึงแม้ว่าตอนนี้ประเทศไทยจะมีวัคซีนป้องกันโควิด 19 และเริ่มทยอยฉีดวัคซีนเข็มแรกและเข็มที่สองในกลุ่มเสี่ยงกันแล้ว แต่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงกลับสูงขึ้นเรื่อย ๆ สาเหตุเนื่องจากความหละหลวมในการป้องกันโควิด 19 ของทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการใช้ชีวิตประจำวันที่สวมหน้ากากผิดวิธี, การใช้แต่ Face Shield โดยที่ไม่สวมหน้ากากร่วมด้วย, การออกไปซื้อของใช้ในช่วงโควิดที่ไม่มีความระมัดระวังตัว, การป้องกันโควิดในสถานศึกษาที่ไม่รัดกุม, การท่องเที่ยวแบบ New Normal ที่หลายคนไม่ได้ทำตามข้อปฏิบัติของทางรัฐ รวมถึงการใช้แอปหมอชนะและแอปไทยชนะที่ไม่ค่อยมีการเช็คอินเช็คเอ้าท์กันเหมือนตอนช่วงแรก ๆ อีกแล้ว
อีกทั้งยังมีพฤติกรรมของผู้ติดเชื้อที่ปิดบังเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับไทม์ไลน์ของตัวเอง ส่งผลให้การติดตามตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงยากขึ้นไปอีก ดังนั้นเพื่อช่วยลดภาระให้แก่เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน หากใครที่สงสัยว่าตัวเองมีอาการเหมือนติดเชื้อแล้วหรือถือเป็นผู้มีความเสี่ยงสูง ให้รีบไปตรวจหาเชื้อโดยเร็วที่สุด เพื่อที่ทางการจะได้ควบคุมการระบาดในพื้นที่นั้น ๆ ได้ทันท่วงที ซึ่งคุณไม่ต้องกังวลไปว่าจะลำบากในการเดินทางไปตรวจโควิด เพราะปัจจุบันนี้ทุกคนสามารถเข้าถึงการตรวจหาเชื้อโควิดได้ง่ายมากขึ้น โดยคุณสามารถเลือกไปตรวจในสถานที่ที่ตัวเองสะดวกที่สุดที่ไหนก็ได้ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด โดยไม่เสียเวลาเป็นวัน ๆ อีกต่อไปค่ะ
ตรวจโควิดต้องเสียค่าใช้จ่ายเองหรือไม่?
ในยุคที่เงินฝืดมืออย่างนี้ การที่จะต้องจ่ายเงินในการตรวจหาเชื้อเองคงจะเป็นเรื่องหนักใจของใครหลาย ๆ คน แต่ไม่ต้องเป็นกังวลไปค่ะ หากคุณมีประวัติการเดินทางมาจากจังหวัดที่มีเสี่ยง, มีประวัติใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ, มีอาการคล้ายกับติดเชื้อ หรือหากคุณมั่นใจแล้วว่าคุณมีอาการของโควิด 19 สำหรับผู้ที่ติดเชื้อแล้ว คุณสามารถเข้ารับการตรวจ COVID-19 ได้ที่โรงพยาบาลหรือสถานที่บริการตรวจเชื้อที่คุณสะดวกได้ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ เลยค่ะ ไม่ว่าผลออกมาจะติดโควิด (ผลเป็นบวก) หรือไม่ติดโควิด (ผลเป็นลบ) ก็ไม่เสียเงินค่าตรวจสักบาทแน่นอนค่ะ
คนกลุ่มไหนควรไปตรวจ COVID-19
- หากมีประวัติเสี่ยงเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง + อาการป่วย = ไปตรวจ + กักวัน 14 วัน
- หากมีประวัติเสี่ยงเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง + ไม่มีอาการป่วย = ไปตรวจ + กักตัว 14 วัน
- หากไม่มีประวัติเสี่ยง + มีอาการป่วย = รอดูอาการก่อนอย่างน้อย 48 ชั่วโมง เพราะคุณอาจจะเป็นแค่ไข้หวัดธรรมดา หากภายใน 48 ชั่วโมง ยังไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการป่วย
- หากไม่มีประวัติเสี่ยง + ไม่มีอาการ = ไม่ต้องตรวจ คุณอยู่ในระยะปลอดภัย ไม่ได้ติดเชื้อ
เมื่อไปตรวจโควิดแล้ว จะต้องทำอย่างไร ?
จะต้องกันตัวให้ครบ 14 วัน ไม่ว่าคุณจะอยู่ในจัดอยู่ในสถานภาพใดก็ตาม เช่น กำลังรอผลตรวจโควิดอยู่ หรือ ผลตรวจโควิดออกมาว่าไม่ติด (ก่อนการกักตัวจะครบ 14 วัน) ก็ยังนิ่งนอนใจไม่ได้ค่ะ เพราะหลังจากกักตัวครบ 7 วันแรก จะต้องตรวจรอบเชื้อรอบที่ 2 และอาจจะมีการตรวจรอบที่ 3,4 ตามมาได้ หากคุณมีอาการที่น่าสงสัย (ทำไมต้องกักตัวให้ครบ 14 วัน)
สำหรับใครที่มีความเสี่ยงอย่างเช่นมีอาการหรือได้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ ในขณะที่รอผลตรวจจะต้องกักตัวที่บ้านของตัวเองหรืออาจจะไปกักตัวในสถานที่ที่ทางรัฐกำหนดไว้ ซึ่งในกรณีที่กักตัวที่บ้าน คุณจะต้องแยกห้องนอน ห้องน้ำ และของใช้ต่าง ๆ อย่างชัดเจน หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ รวมถึงเว้นระยะห่าง ห้ามใกล้ชิดกับคนอื่น ๆ และคนในครอบครัวในระหว่างกักตัว คุณสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดต่าง ๆ ของ “การเรียนรู้วิธีกักตัวอยู่บ้าน 14 วัน ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ในกรณีที่คุณเป็นกลุ่มเสี่ยง” ได้เลยค่ะ
สำหรับใครที่ผลตรวจออกมาว่าติดโควิดแล้ว เรามีบทความ “แนะนำ ขั้นตอนต่าง ๆ เมื่อรู้ตัวว่าติดโควิดแล้วควรทำอย่างไร” มาฝากกันค่ะ ในบทความนี้จะมีบอกทั้งทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อขอรับการรักษา ไปจนถึงคำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนเข้าโรงพยาบาลสนามค่ะ
อาการป่วย ที่ควรไปตรวจ COVID-19
- มีไข้สูง
- ไอ
- เจ็บคอ
- ปวดเมื่อยตามตัว
- หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก
- จมูกไม่ได้กลิ่น / ลิ้นไม่รับรส (อาการระลอกใหม่ของ เมษายน 2564)
- ตาแดง (อาการระลอกใหม่ของ เมษายน 2564)
- มีผื่น (อาการระลอกใหม่ของ เมษายน 2564)
- มีน้ำมูกไหล (อาการระลอกใหม่ของ เมษายน 2564)
- ไม่มีไข้ (อาการระลอกใหม่ของ เมษายน 2564)
หมายเหตุ อาการเหล่านี้เป็นอาการเริ่มต้นของผู้ติดเชื้อโควิด 19 แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นอาจจะต้องขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์อีกครั้งนะคะ
ตรวจโควิด ได้ที่ไหนบ้าง
การตรวจโควิด-19 ด้วยตัวอย่างน้ำลาย (Pooled Saliva Samples)

การตรวจโควิด-19 ด้วยตัวอย่างป้ายหลังโพรงจมูกและป้ายลำคอ (Pooled Nasopharyngeal and Throat Swab Samples)

หน่วยงานที่รับชอบ สายด่วน 1330 หรือ 1669 หรือ 1668
- 1330 เป็นสายด่วน สปสช. ช่วยประสานงานจัดหาเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด สามารถได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- 1669 เป็นสายด่วย COVID-19 เฉพาะกิจ สามารถโทรในเวลา 08.00-22.00 น. ทุกวัน
- 1668 สายด่วนของกรมการแพทย์ ติดต่อประสานงานหาเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด สามารถได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- เป็นผู้ป่วยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล สามารถ ติดต่อผ่านไลน์ @sabaideebot เพื่อรับการรักษาได้เลยค่ะ
ขอบคุณข้อมูล กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข