เมื่อสถานการณ์การระบาดของโควิด 19 ในประเทศไทยกลับมาไม่สู้ดีอีกครั้ง ซึ่งในครั้งนี้ถือว่าเป็นระลอกที่ 3 แล้วที่พวกเราทุกคนจะต้องเผชิญกับความยากลำบากในการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะมันได้แพร่กระจายเป็นวงกว้างทั่วทุกจังหวัดและผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ก็ไม่แสดงอาการใด ๆ ให้ผิดสังเกตอีกด้วย ดังนั้นทุกคนจึงต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่เพื่อควบคุมการระบาดของเชื้อ ไม่ว่าจะเป็น การไม่ออกไปยังสถานที่คนแออัด, การสวมหน้ากากที่ถูกต้องตลอดเวลาเมื่ออยู่นอกที่พัก, การล้างทำความสะอาดมืออยู่บ่อย ๆ หรือการใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือเมื่ออยู่ข้างนอก, การรักษาระยะห่างจากผู้คนรอบข้างอย่างน้อย 2 เมตร, การใช้แอปหมอชนะสำหรับเก็บข้อมูลการเดินทางของคุณ และการลงทะเบียนเข้าใช้สถานที่ต่าง ๆ ในแอปไทยชนะ
ถึงแม้ว่าข้อควรปฏิบัติในสถานการณ์โควิด 19 เหล่านี้จะกลายเป็นกิจวัตรประจําวันของพวกเราไปแล้ว แต่ตัวเลขของผู้ติดเชื้อในประเทศไทยที่พุ่งสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนน่าตกใจนั้น ก็ได้สร้างความวิตกกังวลและทำให้เกิดอาการแพนิคจากข่าวโควิด 19 ได้ง่าย ๆ เพราะตอนนี้ทุกอย่างดูจะเป็นสถานการณ์ในเชิงลบมาก ๆ หลาย ๆ คนจึงเริ่มไม่มั่นใจอยากจะตรวจหาเชื้อโควิดเพื่อความสบายใจ และเพื่อที่จะควบคุมได้ทันท่วงที สิ่งเหล่านี้ถือเป็นความคิดที่ดีและดูมีความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นอย่างยิ่ง
แต่บางครั้งคุณอาจจะไปเพิ่มภาระให้แก่แพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องให้ทำงานหนักมากขึ้นกว่าก็ได้นะคะ ดังนั้นเรามา “ตรวจสอบอาการของโรคโควิด 19 ก่อนไปตรวจหาเชื้อ” กันสักหน่อยดีกว่าค่ะ เพราะบางครั้งคุณอาจจะคิดมากไปเอง จนเข้าใจว่าไข้หวัดธรรมดาคือการติดเชื้อโควิด สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงแต่สร้างความตื่นตระหนกให้แก่ตนเองเท่านั้น แต่ยังทำผู้คนรอบข้างพลอยเดือดร้อนและจิตตกตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อสร้างความมั่นใจแก่ตัวเอง เราควรจะเช็กอาการของโควิดให้ชัวร์ ก่อนจะเดินทางไปตรวจหาเชื้อโควิดกันสักหน่อยดีกว่านะคะ เพื่อเป็นการคลายเครียดในกรณีที่คุณกังวลกับการติดเชื้อ COVID-19 มากเกินไป
อาการของโรคโควิด 19 ล่าสุด – องค์การอนามัยโลก (WHO)
อาการของโควิด 19 ล่าสุดนั้น มีหลายแบบมากค่ะ มีทั้งแบบไม่แสดงอาการ แบบรุนแรงเล็กน้อย (คล้ายกับไข้หวัดธรรมดาทั่วไป) และแบบรุนแรงมาก (จนถึงขั้นปอดอักเสบและเสียชีวิต) แต่โดยส่วนใหญ่แล้ว ผู้ที่ติดเชื้อจะมีอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง บางรายก็สามารถหายเองได้โดยไม่รู้ตัวก็มีค่ะ
หากคุณ มีไข้ (หรือไม่มีก็ได้), มีการไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส, มีอาการที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ เช่น หายใจลำบาก หายใจถี่ หรือรู้สึกเจ็บหน้าอก ควรรีบไปพบแพทย์ทันที (4,5)
หมายเหตุ พบอาการใหม่โควิด-19 : ให้วิธีสังเกตความผิดปกติของผิวหนังและดวงตาว่า “มีผื่น” + “ตาแดง” หรือไม่? (4,5)

อาการ COVID-19 เล็กน้อยถึงปานกลาง (1)
-
- อาการที่พบบ่อยที่สุด : มีไข้, ไอแห้ง, อ่อนเพลีย, ปวดเมื่อยเนื้อตัว
- อาการที่พบไม่บ่อย : สูญเสียความสามารถในการดมกลิ่นและรับรส, คัดจมูก, ตาแดง, เจ็บคอ, ปวดศีรษะ, มีผื่นบนผิวหนัง, คลื่นไส้หรืออาเจียน, ท้องร่วง, หนาวสั่นหรือเวียนศีรษะ, นิ้วมือนิ้วหรือเท้าเปลี่ยนสี
อาการ COVID-19 ขั้นรุนแรง (1)
-
- อาการที่พบบ่อยที่สุด : มีอุณหภูมิสูง (สูงกว่า 38 °C), หายใจถี่, เบื่ออาหาร, เจ็บหน้าอก
- อาการที่พบไม่บ่อย : หงุดหงิด, ซึมเศร้าวิตกกังวล, อาการชัก, นอนหลับยาก, มีภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่รุนแรง เช่นโรคหลอดเลือดสมอง, การอักเสบของสมอง, อาการเพ้อ และความเสียหายของเส้นประสาท
สังเกตอาการมีไข้สูง ได้จาก (2)
-
- มีอุณหภูมิสูงกว่า 37.5 C ตัวร้อน ปวดเนื้อตัว และหนาวสั่น
สังเกตอาการที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ได้จาก (2)
-
- ไอ จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก หายใจลำบาก
ความแตกต่าง ไข้หวัดธรรมดา vs โควิด 19
อาการ | โควิด-19 (COVID-19) | ไข้หัวดธรรมดา |
มีไข้ | ไข้สูงมากกว่า 37.5 °C (2) | มีไข้สูงเพียงแค่ 3-4 วัน หลังจากนั้น อาการจะดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด |
ไอ จาม เสมหะ | มีอาการทั้งไอแห้งหรือไอมีเสมหะ (แต่แบบจะเสมหะพบได้น้อย) และมีอาการเจ็บคอนานเกิน 4 วัน | มีอาการไอหรือจามเล็กน้อย หลังจาก 3-4 วัน อาการจะดีขึ้น |
ท้องเสีย | บางคนมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน และท้องเสีย | ไม่มีอาการ |
หายใจลำบาก | หายใจไม่สะดวก หายใจติดขัด รู้สึกเจ็บหน้าอก อาจจะรุนแรงถึงปอดอักเสบหรือปอดบวม |
เกิดจากการคัดจมูก มีน้ำมูกอัดตัน ทำให้หายใจไม่สะดวก ไม่ได้เกิดจากภายใน |
ปวดเมื่อยตามตัว | ปวดเมื่อย ตามตัว หนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปวดข้อ | อ่อนเพลีย ปวดตามตัว |
ความรุนแรงของไข้หวัดธรรมดา
สำหรับไข้หวัดธรรมดานั้น ก็จะมีไข้ไม่สูงมาก มีน้ำมูก อาการไอ เจ็บคอ และจาม ซึ่งไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนอะไรที่รุนแรง สามารถรักษาหายได้ใน 3-4 วัน โดยให้พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำในแต่ละวันให้มาก ๆ ทานอาหารที่มีประโยชน์ และทานยารักษาตามอาการ อาทิเช่น ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก ยาแก้ไอ เป็นต้น
ความรุนแรงของโรคโควิด 19 ( COVID-19) (2)
เริ่มต้นมักจะมีอาการคล้ายไข้หวัด ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อมีภูมิต้านทานไม่ดี สุขภาพไม่แข็งแรง หากมีโรคประจำตัวเกี่ยวกับปอด หรือโรคหัวใจ มักจะส่งผลร้ายไปถึงขั้นปอดอักเสบ ปอดบวม และเสียชีวิต โดยจะแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามอาการดังนี้
- กลุ่มที่ 1 : ไม่มีอาการ (20% ของผู้พบเชื้อ)
- กลุ่มที่ 2 : อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ที่เชื้อไม่ได้ลงปอด และรักษาให้หายได้
- กลุ่มที่ 3 : อาการไม่รุนแรงคล้ายไข้หวัด ปอดปกติ แต่มีปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ที่ต้องดูแลอย่างใกล้ชิด
- กลุ่มที่ 4 : ปอดอักเสบแบบไม่รุนแรง (12% ของผู้พบเชื้อ) ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
- กลุ่มที่ 5 : ปอดอักเสบแบบรุนแรง (3% ของผู้พบเชื้อ) ต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
ตาราง เปรียบเทียบ อาการแตกต่างระหว่าง COVID-19, ภูมิแพ้, ไข้หวัดธรรมดา |
|||
อาการ | ภูมิแพ้ | ไข้หวัด | COVID-19 |
ไอมีเสมหะ | ![]() |
![]() |
![]() |
ไอไม่มีเสมหะ | ![]() |
![]() |
![]() |
ปวดศีรษะ | ![]() |
![]() |
![]() |
มีน้ำมูก | ![]() |
![]() |
![]() |
ตาแดง | ![]() |
![]() |
![]() |
จาม | ![]() |
![]() |
น้อย |
ไข้สูงเฉียบพลัน | ![]() |
![]() |
![]() |
มีไข้ (ไม่สูง ไม่เฉียบพลัน) | ![]() |
![]() |
![]() |
หายใจติดขัด ลำบาก | ![]() |
![]() |
![]() |
เจ็บคอ | ![]() |
![]() |
![]() |
ปวดเมื่อยตามตัว | ![]() |
![]() |
![]() |
เมื่อไหร่ต้องไปตรวจโควิด?
เมื่อเราทราบถึงอาการแล้ว ก็จะเกิดคำถามว่าเจาะลึกอีกว่า “อาการแบบนี้ต้องตรวจหาเชื้อดีไหม?” อย่างที่บอกไปแลวว่าอาการของโควิดนั้นคล้ายกับไข้หวัดมาก ดังนั้นเมื่อเราพบว่าตนเองมีอาการที่ตรงกับโควิดก็อย่างเพิ่งด่วนสรุปไปก่อน คุณสามารถอ่านรายละเอียดในการคัดกรองเหตุผลว่าตนเองควรไปตรวจโควิดหรือไม่ได้จากข้อมูลด้านล่างนี้ค่ะ
ต้องขอบอกเลยว่าปัจจุบันนี้อาการของโควิด 19 นั้นมีทั้งแบบที่แสดงอาการรุ่นแรง, แสดงอาการเล็กน้อย ไปจนถึงไม่แสดงอาการอะไรเลย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องยากมาก หากกรณีที่คุณอยู่ในกลุ่มไม่แสดงอาการ เพราะคุณจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดโควิด 19 แล้วรึยัง? สิ่งเดียวที่สามารถยืนยันได้ว่าคุณติดโควิด 19 แล้ว คือ “ผลตรวจเชื้อจากห้องทดลอง” ที่ทางรัฐได้จัดสถานที่ตรวจเชื้อโควิดไว้คอยบริการตามจุดต่าง ๆ ทั่วประเทศ แต่การจะเข้าไปใช้บริการตรวจเชื้อฟรีนั้น คุณจะต้องเป็นบุคคลที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการของโรคโควิด ซึ่งความเสี่ยงที่ว่านี้คือ เป็นผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงเป็นต้นค่ะ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ (3)
- กลุ่มสัมผัสเสี่ยงที่มีอาการ : มีไข้, มีการไอ, มีน้ำมูก, รู้สึกเจ็บคอ + สัมผัสใก้ลชิดกับผู้ป่วยโควิด หรือ กลับมาจากพื้นที่เสี่ยง กลุ่มนี้มีความเสี่ยงติดเชื้อสูงมาก ดังนั้นจะต้องตรวจเชื้อและกักตัว 14 วัน
- กลุ่มที่มีอาการ : มีไข้สูง ไอ, รู้สึกหอบเหนื่อย, หายใจลำบาก
- กลุ่มเสี่ยงที่หากติดเชื้อจะส่งผลรุนแรง : มีไข้, ไอ, มีน้ำมูก, เจ็บคอ, หอบเหนื่อย, เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน, มีโรคประจำตัวป่วยเรื้อรัง และเป็นผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป (คุณสามารถเข้าไปเช็กว่าตัวเองเป็นกลุ่มเสี่ยงในแง่ของสุขภาพร่างกายที่เมื่อติดโควิด 19 แล้วจะมีอาการหนักหรือไม่)
หมายเหตุ สำหรับผู้ที่จัดอยู่ใน “กลุ่มสัมผัสเสี่ยง” (ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ หรือ เดินทางจากพื้นที่เสี่ยง) จะต้องตรวจหาเชื้อโควิด-19 แม้ว่าจะมีอาการหรือไม่ก็ตาม
หากคุณเป็นผู้เสี่ยงติดเชื้อ จะต้องทำอย่างไร?
หากคุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสัมผัส ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง หรือ ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ จะมีขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ตรวจร่างกายเพื่อหาเชื้อโควิด-19 (2)
หากพบเชื้อก็จะดำเนินการรักษาในขั้นตอนต่อไป คือการรับการดูแลในโรงพยาบาลก่อน 2-7 วัน หากยังไม่พบเชื้อก็ยังคงต้องกักตัว 14 วัน เพื่อสังเกตอาการ
ขั้นตอนที่ 2 การแยกกักตัว เพื่อสังเกตอาการ 14 วัน (2)
ข้อควรปฏิบัติ
ห้ามเดินทางข้ามจังหวัด, หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด (งดได้ก็จะดีมากค่ะ หรือหากหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก็ไม่ควรใช้รถสาธารณะในการเดินทาง), ล้างมือบ่อย ๆ , แยกห้องน้ำ ห้องนอน ของใช้ส่วนตัวกับคนในครอบครัว, เว้นระยะห่างกับผู้คนรอบตัว 2 เมตร + สวมหน้ากาก
ตรวจหาเชื้อโควิด-19 อีกครั้ง
ในระหว่างที่กักตัว 14 วัน จะมีการตรวจหาเชื้ออีกครั้ง เนื่องจากคุณอาจจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไม่มีอาการ ซึ่งระหว่างกักตัวนั้นก็ต้องสังเกตอาการของตัวเองร่วมด้วย หากพบว่าเริ่มมีอาการของโควิดจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้รับทราบทันที
สรุป : หากคุณตรวจเชื้อรอบแรกแล้ว ไม่พบเชื้อ แต่ถ้าคุณเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คุณก็ยังคงต้องกักตัว 14 วันอยู่ดี เพื่อสังเกตอาการ (เพราะฉะนั้นใครที่คิดว่าตรวจไม่พบแล้วจะออกไปลั้ลลาตามใจชอบ หยุดความคิดนั้นไว้ก่อนนะคะ) โดยหากพบเชื้อแล้ว ทุกรายต้องรับการดูแลในโรงพยาบาลก่อน 2-7 วัน
ข้อสำคัญที่ต้องเน้นย้ำคือการกักตัวอยู่ในบ้านให้มากที่สุดเพื่อเป็นการลดโอกาสแพร่กระจายโรคน้อยลง
โควิด 19 แพร่กระจายเชื้อหรือติดต่อกันอย่างไร?
ไวรัสโคโรน่านั้นจะแพร่กระจายเชื้อ ผ่านการไอหรือจาม ที่มี เสมหะ น้ำลาย หรือน้ำมูก ปะปนในอากาศ หากเราสูดดมละอองฝอยจากการไอหรือจามของผู้ป่วยติดเชื้อ ก็จะเป็นการรับเอาเชื้อไวรัสโคโรน่าเข้าสู่ร่างกาย นอกจากนี้มือของเราที่ใช้ในการหยิบจับหรือสัมผัสพื้นผิวใด ๆ อยู่เป็นประจำ ก็สามารถสัมผัสโดนเชื้อไวรัสโคโรนาได้เช่นกัน หากพื้นผิวตรงนั้นมีละอองฝอยจากการไอ หรือจามของผู้ป่วยติดเชื้อติดอยู่ และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ให้หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสใบหน้า (2)
- ทางดวงตา : ไม่เอานิ้วมือไปขยี้ดวงตา เพราะดวงตาของเรามีท่อน้ำตาที่สามารถเป็นช่องทางให้เชื้อเข้าไปได้
- ทางจมูก : ไม่เอานิ้วมือไปแคะจมูก เพราะในโพรงจมูกสามารถนำเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจได้
- ทางปาก : ไม่เอามือจับปาก หรือเอานิ้วเข้าไปในปาก เพราะปากเป็นช่องร่วมที่เชื้อสามารถเข้าสู่ทางเดินหายใจได้เช่นกัน
สำหรับใครจัดอยู่ในประเภทกลุ่มเสี่ยง (อาทิเช่น กลับจากการเดินในประเทศกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อหรือมีการระบาด ทำงานใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวต่างชาติหรือทำงานใกล้ชิดกับผู้ป่วยติดเชื้อ ผู้ที่อาศัยอยู่ในสถานที่แออัดในระยะประชัดชิด หรือผู้ที่อยู่ในพื้นที่พบคนติดเชื้อ) แต่ยังไม่แสดงอาการเจ็บป่วย และคิดว่าตัวเองไม่น่าจะติดเชื้อ ขอให้ลองทบทวนดูใหม่ เพราะว่าโรค COVID-19 นั้นมีระยะในยการฟักตัว 2-14 วัน (หรืออาจจะนานกว่านั้น) ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคนด้วย ซึ่งในระยะฟักตัวนั้นจะยังไม่มีอาการใด ๆ แต่ในร่างกายนั้นมีเชื้อแล้วแน่นอน และสามารถแพร่กระจายเชื้อสู้ผู้อื่นได้อีกด้วย
ดังนั้นจึงควรสวมหน้ากากป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากอนามัย, หน้ากาก N95 หรือหน้ากากผ้าฝ้ายมัสลิน-ผ้าสาลู และควรล้างมือให้สะอาดเป็นประจำ รวมถึงพกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือหรือแอลกอฮอล์สเปรย์ ที่มีความเข้มข้นอย่างน้อย 70-75% ติดตัวตลอดที่ออกไปข้างนอกบ้านด้วยนะคะ
บทสรุป
คุณสามารถตรวจสอบตัวเอง ก่อนมาขอตรวจเชื้อ COVID-19 เพื่อเป็นการช่วยลดภาระแก่แพทย์และเจ้าหน้าที่ โดยสามารถทำแบบประเมินความเสี่ยงของตนเอง(ที่มาของแบบประเมินจากโรงพยาบาลราชวิถี) สำหรับใครที่ไม่มั่นใจในสิทธิของตัวเองไม่ว่าจะเป็นสิทธิประกันสังคมหรือสิทธิบัตรทอง สามารถอ่านเงื่อนไขการใช้สิทธิขอตรวจฟรีรวมไปถึงสิทธิค่ารักษา เพิ่มเติมได้
หากคุณจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยง หรือมีอาการดังกล่าว จะต้องเดินทางไปพบแพทย์โดยทันที โดยสามารถแจ้งหน่วยวานกรมควบคุมโรคติดต่อ หรือโทร 1669 ในเวลา 08.00-22.00 น. ทุกวัน สำหรับสายด่วนโทร 1330 และ 1668 เพื่อประสานงานรับตัวไปรักษา
References